Loading AI tools
อดีตพระมหากษัตริย์กัมพูชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (เขมร: នរោត្ដម សីហនុ; นโรตฺฎม สีหนุ ออกเสียง โนโรด็อม สีหนุ[1]; 31 ตุลาคม 2465 – 15 ตุลาคม 2555) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 112 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี 2484 – 2498 และ 2536 – 2547 โดยการสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรสนโรดม สีหมุนี และดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหาวีรกษัตริย์ (พระวรราชบิดา) ในท้ายสุด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระบรมฉายาลักษณ์ใน ค.ศ. 1983 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระมหากษัตริย์กัมพูชา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครองราชย์ ครั้งที่ 1 | 24 เมษายน ค.ศ. 1941 – 2 มีนาคม ค.ศ. 1955 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชาภิเษก | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้าหลวงใหญ่ | ดูรายชื่อ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครองราชย์ ครั้งที่ 2 | 24 กันยายน ค.ศ. 1993 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 2004 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิรีวัฒนา (ในฐานะพระมหากษัตริย์) พระองค์เอง (ในฐานะประมุขแห่งรัฐ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชสมภพ | 31 ตุลาคม ค.ศ. 1922 พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 15 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ปี) ปักกิ่ง ประเทศจีน | (89||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถวายพระเพลิง | 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ลานพระเมรุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บรรจุพระอัฐิ | วัดพระแก้วมรกต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระภรรยาเจ้า | พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี (สมรส 1942; หย่า 1951) พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีเกสร (สมรส 1944; เสียชีวิต 1946) สมเด็จพระราชกนิษฐานโรดม นรลักษมิ์ (สมรส 1955; หย่า 1968) ปอล-โมนีก อิซซี (สมรส 1955) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระสนม | พัต กันฮอล (สมรส 1942; หย่า 1946) มะนีวัน พานีวง (สมรส 1949; หย่า 1955) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร รายละเอียด | 14 พระองค์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชสกุล | นโรดม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิรีวัฒนา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพ | นักดนตรี ผู้กำกับภาพยนตร์ นักการเมือง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลายพระอภิไธย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | สังคมราษฎรนิยม (ค.ศ. 1955–1970) ฟุนซินเปก (ค.ศ. 1981–1991) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัย กระทั่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมือง ที่ทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายที่สุดในโลก (the world's greatest variety of political offices) [2][3][4][5] กล่าวคือ เป็นพระมหากษัตริย์ 2 สมัย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (ดำรงตำแหน่งกษัตริย์โดยไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก) 2 สมัย ประธานาธิบดี 1 สมัย นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลพลัดถิ่นของพระองค์เองอีก 1 สมัย ทั้งนี้พระองค์เป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลเขมรแดงช่วงปี 2518 – 2519[6]
พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 ที่พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคลในกรุงพนมเปญ มีพระยศแต่เดิมว่า นักองราชวงศ์นโรดม สีหนุ เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกและพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ที่ประสูติแต่พระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์เสรีวัฒนา พระองค์มีพระอนุชา และพระขนิษฐาต่างมารดา ได้แก่ พระองค์เจ้านโรดม วิชรา, สมเด็จกรมขุนนโรดม สิริวุธ และพระองค์เจ้านโรดม ปรียาโสภณ[7] ที่ประสูติแต่คุณเทพกัญญาโสภา (คิม อันยิป) [8]
พระองค์สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล ได้แก่ ราชสกุลนโรดม กับ ราชสกุลสีสุวัตถิ์ สองราชสกุลที่ขัดแย้งกันในพระราชวงศ์ การที่พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตจากราชสกุลนโรดมและสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนาจากราชสกุลสีสุวัตถิ์ นั้นทำให้พระองค์ทรงเป็นเสมือนผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างสองราชสกุลให้ยุติลงและหันมาปรองดองกัน[9]
สมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส และพระองค์เจ้านโรดม พงางาม พระอัยกาฝ่ายพระชนกของพระองค์ เป็นพระราชบุตรในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร แต่ต่างมารดากัน โดยสมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส ประสูติแต่คุณจอมเอี่ยมบุษบา สตรีชาวไทยจากสกุลอภัยวงศ์[10] ส่วนพระอัยยิกาฝ่ายพระชนกคือ พระองค์เจ้านโรดม พงางาม ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานวล[10] ดังนั้นพระองค์นับเป็นพระญาติชั้นที่ 2 ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงอุบัติในสกุลอภัยวงศ์ และพระญาติชั้นที่ 3 ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม ผ่านทางคุณจอมเอี่ยมบุษบา ทวดของพระองค์[11][12]
ส่วนพระอัยกาฝ่ายพระชนนีคือ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กษัตริย์รัชกาลก่อนหน้า ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ส่วนพระอัยยิกาฝ่ายพระชนนีคือ นักองมจะ นโรดม กาญจนวิมาน นรลักขณเทวี พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์[13]
พระองค์ได้นิยามตัวตนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่าเป็น "เด็กแก่น"[14] หรือ "เด็กซน"[4][5]
หลังจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2484 ทางวิชีฝรั่งเศสได้คัดเลือกลำดับรัชทายาท 5 พระองค์ คือ กรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ กรมพระนโรดม สุทธารส นักองเจ้านโรดม สุรามฤต พระองค์มจะ นโรดม นรินทเดช และหม่อมราชวงศ์นโรดม สีหนุ ตามลำดับ
กรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ พระราชโอรสรัชทายาทลำดับแรก และกรมพระนโรดม สุทธารส รัชทายาทลำดับที่สอง ได้มีแนวคิดต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศสจึงถูกตัดสิทธิ์ในการสืบราชสันตติวงศ์ ส่วนรัชทายาทลำดับที่สามนักองเจ้านโรดม สุรามฤต พระราชบิดาและพระองค์เจ้านโรดม นรินทเดชก็ทรงถูกฝรั่งเศสข้ามลำดับเช่นเดียวกัน และท้ายที่สุดฝรั่งเศสได้ตัดสินใจมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระนโรดม สีหนุ ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์ทรงมีพระชนม์มายุเพียง 18 พรรษาเท่านั้น เนื่องจากฝรั่งเศสเห็นว่าสามารถควบคุมพระองค์ได้ง่าย
แม้จะมีการกล่าวกันว่าฝรั่งเศสมีปัจจัยในการเลือกพระองค์ขึ้นครองราชย์ อันเนื่องมาจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล คือ นโรดมจากพระบิดา และสีสุวัตถิ์จากพระมารดา เมื่อเลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ก็ถือเป็นการประนีประนอมแก่ทั้งสองราชสกุล และพระองค์ก็ใช้เหตุผลนี้อ้างเช่นกัน[15] แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะมีเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทั้งสองราชสกุล และอยู่ใกล้การสืบสันตติวงศ์มากกว่าพระองค์ด้วยซ้ำ[16] เช่น สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์[17] และพระองค์เจ้านโรดม นรินทเดช ผู้นำคณะเสรีภาพ ก็เหมาะเป็นตัวเลือกของฝรั่งเศสในการสืบราชสมบัติต่อพระบาทสมเด็จสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์[18] เป็นต้น
ในช่วงที่ฝรั่งเศสอ่อนแอหลังจากความพ่ายแพ้ต่อเยอรมันในปี ค.ศ. 1940[19] และการที่ฝรั่งเศสยอมโอนอ่อนให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งกองทหารในอาณานิคมอินโดจีนปลายปีเดียวกัน ตามด้วยการไกล่เกลี่ยสงครามฝรั่งเศสกับไทยช่วงต้นปี ค.ศ. 1941 ซึ่งลงเอยด้วยการเสียดินแดน[19] จนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 ฝรั่งเศสก็ยอมให้ทหารญี่ปุ่น 8,000 นาย เข้ามาตั้งในกัมพูชา[19] แม้ฝรั่งเศสจะประนีประนอมกับกัมพูชา แต่กระนั้นก็มิได้ลดความเข้มงวดลงนัก โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องมือต่อการธำรงอำนาจของตนต่อไป[19]
หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ฝรั่งเศสจึงส่งราชสมบัติไปยัง นักองราชวงศ์นโรดม สีหนุ เชื้อพระวงศ์หนุ่มที่กำลังศึกษาอยู่ในลีเซ Chasseloup-Laubat ในไซ่ง่อน นักองราชวงศ์นโรมดม สีหนุ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์ของกัมพูชากลับมายังสายของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ หรือนักองราชาวดีอีกครั้งหนึ่ง[20] ด้วยฝรั่งเศสมั่นใจอย่างยิ่งยวดว่าจะสามารถคุมสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ได้[19]
ต้นรัชกาล ผู้ที่ทรงอำนาจเหนือกว่าพระองค์กลับเป็น ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) เสนาบดีผู้ภักดีต่อการปกครองของฝรั่งเศส พระองค์เคยกล่าวถึงเขาว่า "[เป็น] ราชาองค์น้อย ๆ อย่างแท้จริง ทรงอำนาจดุจเรสิดังสุเปริเออร์ [Residents-Supérieur]"[21][22] แต่เขาก็พ้นจากตำแหน่งหลังการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ฝรั่งเศสเอาใจยุวกษัตริย์พระองค์ใหม่ แม้ฝรั่งเศสจะเหลือขุนนางที่ภักดีต่อตนบ้าง เช่น จวน ฮล บุตรของออกญาวังวรเวียงชัย แต่ก็ไม่ทรงอิทธิพลเท่าบิดา[17]
อย่างไรก็ตามช่วงที่พระองค์ครงราชย์นั้นเป็นช่วงที่มีการต่อต้านฝรั่งเศสและเกิดกระแสชาตินิยม แต่ฝรั่งเศสก็ยังมีความสามารถที่จะปกป้องระบบการปกครองของตน ดังเมื่อเกิดการประท้วงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1942 เนื่องจากการที่ฝรั่งเศสจับกุมพระภิกษุรูปหนึ่งในข้อหาวางแผนรัฐประหารโดยมิให้ลาสิกขาเสียก่อน ฝรั่งเศสจึงใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมกว่าพันคนอย่างรวดเร็ว[23] และช่วงปี ค.ศ. 1940 ก็มีการชุมนุมเรียกร้องเอกราชที่พระตะบองนำโดยปก คุณ (วิบูล ปกมนตรี) และรัฐบาลไทยในช่วง ค.ศ. 1940–1948 ก็ต่างสนับสนุนทุน, ฐาน และอื่น ๆ แก่เขมรอิสระ จึงมีการติดอาวุธต่อสู้กับฝรั่งเศสแถบชายแดนไทยอยู่เนือง ๆ [24] แต่ภายหลังเมื่อรัฐบาลไทยยุติการสนับสนุนเขมรอิสระจึงแตกเป็นหลายกลุ่ม เช่น ฝ่ายซ้ายเข้ากับเวียดมินห์ ส่วนฝ่ายขวาก็ทำการต่อต้านฝรั่งเศสและสีหนุ เป็นอาทิ[24]
วันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 กองทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างหลวม ๆ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1940 ได้เข้าปลดอาวุธฝรั่งเศสทั่วอินโดจีน และให้เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสลาออกจากตำแหน่งการปกครอง[25] รวมทั้งมีการติดอาวุธให้แก่ชาวกัมพูชา และปลุกกระแสชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศสมาใช้เพื่อทานการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่คาดว่าจะเกิดในปีนั้น[25] โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงออกมาประกาศเอกราชและยกเลิกสนธิสัญญาและพันธะกรณีทั้งปวงที่มีต่อฝรั่งเศสออกเสีย และสร้างข้อตกลงกับญี่ปุ่นแทน[25]
ในวันที่ 9 สิงหาคม – 10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ได้มีการรัฐประหารต่อต้านกษัตริย์ซึ่งเป็นพวกของเซิง งอกทัญ ขณะที่เซิง งอกทัญ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนเดียวกัน[26] หลังจากการรัฐประหารที่คลุมเครือ และไม่กี่วันต่อมาญี่ปุ่นก็ยอมแพ้แก่สัมพันธมิตรให้หยั่งเสียงการสนับสนุนเอกราช ซึ่งเป็นไปอย่างท่วมท้น แต่ภายหลังนายกเซิง งอกทัญ ก็ถูกปลดออก และฝรั่งเศสก็กลับมามีอำนาจแทนที่[27]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2498 ให้แก่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชบิดา เพื่อทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา
เมื่อทรงเวนราชสมบัติถวายพระราชบิดา ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์ที่พระมหาอุปยุวราชในพระนามสมเด็จพระนโรดมสีหนุ เมื่อพระราชบิดาเสด็จสุรคตใน พ.ศ. 2503 ก็ได้มีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้น มีสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์มุนีเรศเป็นองค์ประธาน ต่อมา สมเด็จพระนโดมสีหนุตัดสินพระทัยให้มีตำแหน่งประมุขของรัฐขึ้นมาแทนที่พระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งนั้น แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงอยู่โดยมีพระราชชนนีของพระองค์เองเป็นพระนิมิตรูปหรือสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระนโรมดมสีหนุได้ตั้งพรรคการเมืองสังคมราษฎร์นิยมขึ้นมาเพื่อลงเลือกตั้งใน พ.ศ. 2498 โดยทรงชนะการเลือกตั้ง และได้ทรงบริหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบ้าง ประมุขแห่งรัฐบ้างไปอีกถึง 15 ปี และที่สำคัญคือทรงเป็น "สมเด็จโอว" หรือ "สมเด็จพ่อ" ของประชาชนชาวกัมพูชานั่นเอง
พ.ศ. 2513 สมาชิกสภาแห่งชาติลงมติปลดสมเด็จพระนโรดมสีหนุออกจากตำแหน่งประมุขรัฐขณะเสด็จเยือนต่างประเทศ แผนการรัฐประหารครั้งนี้นำโดยนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะและมีลอน นอลเป็นผู้ลงนามประกาศสบับสนุนการปลดพระองค์ในสภาแห่งชาติ และมีการสถาปนาสาธารณรัฐเขมรขึ้น
หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองหลายปี เมื่อมีการสถาปนาราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นมาใหม่ ทรงครองราชสมบัติครั้งที่สองเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2536 ทรงสละราชสมบัติเมี่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ขณะมีพระชนมพรรษา 82 พรรษา และทรงดำรงพระบรมราชอิสริยยศเป็น "พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา เอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร"
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการพระหทัยวาย ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 หลังจากที่ทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็งในพระอันตะ, เบาหวาน และความดันโลหิตสูง[28][29] สิริพระชนมพรรษาได้ 89 ปี 349 วัน [30]
ในกัมพูชามีการลดธงครึ่งเสาและงดงานรื่นเริงทั่วประเทศ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน, พระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ พระวรราชมารดา และสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ได้เสด็จพระราชดำเนินและเดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อรับพระบรมศพพระวรราชบิดามายังพระบรมราชวังจตุมุข[31] และหลังจากนี้จะมีการตั้งพระบรมศพไว้เป็นเวลา 3 เดือนก่อนที่จะมีพระราชพิธีปลงพระบรมศพซึ่งจะกระทำตามอย่างโบราณราชประเพณีเช่นเดียวกับงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ในปี 2503[32]
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย[33] ส่วนยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็ได้แสดงความเคารพพระบรมศพด้วย[34]
1 กุมภาพันธ์ 2556 ชาวกัมพูชานับแสนคนร่วมแสดงความอาลัยแน่นตลอดเส้นทางก่อนเคลื่อนพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระวรราชบิดา และอดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชา พระบรมศพของพระองค์ถูกอัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระเมรุซึ่งสร้างขึ้นตามราชประเพณี โดยมีการยิงสลุต 101 นัด และเคลื่อนขบวนพระบรมศพเพื่อให้พสกนิกรได้มีโอกาสถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย[35]
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพถูกจัดขึ้นในเวลา 16.00 นาฬิกา ของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556[36] ถือเป็นงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์กัมพูชาในรอบ 52 ปี[37] พระราชพิธีเสร็จสิ้นลงในเวลา 18.30 นาฬิกา[38] ในการนี้มีชาวกัมพูชาร่วมแสดงความไว้อาลัยเป็นจำนวนมากซึ่งคาดว่าอาจมีมากถึง 6 แสนคน[39] รวมทั้งผู้แทนจาก 16 ประเทศก็ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย[38]
ส่วนพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐินั้นมีขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน พระบรมราชสรีรางคารส่วนหนึ่งจะถูกอัญเชิญไปลอยในจุดบรรจบของแม่น้ำโขง, แม่น้ำบาสัก และแม่น้ำโตนเลสาบ[37] ส่วนพระสรีรางคารอีกส่วนจะถูกอัญเชิญไปยังพระบรมมหาราชวังเพื่อบรรจุในพระบรมโกศ[36] ซึ่งตั้งเคียงข้างโกศพระอัฐิของพระองค์เจ้าหญิงคันธาบุปผา พระราชธิดา[40]
อนึ่งในพระราชพิธีดังกล่าวมีธรรมเนียมปฏิบัติปลีกย่อยต่าง ๆ ล้วนคล้ายคลึงกับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในไทยทั้งราชรถและธรรมเนียมการแห่ เพียงแตกต่างเป็นบางประการเท่านั้น อาทิ ชาวกัมพูชาสวมชุดไว้ทุกข์สีขาวตามธรรมเนียมชาวเอเชียอาคเนย์ ขณะที่ไทยสวมชุดดำไว้ทุกข์ตามธรรมเนียมตะวันตก, ชาวกัมพูชาทั้งชายและหญิงยังมีการโกนหัวไว้ทุกข์ขณะที่ไทยยกเลิกธรรมเนียมดังกล่าวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่บรรจุพระศพเป็นโลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขณะที่ไทยเป็นโกศแบบโถยอดที่มีลักษณะกลมเป็นทรงสูง[37][41] เป็นต้น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
พระนโรดม สีหนุเสด็จปราสาทเขาพระวิหาร (ภาษาเขมร) ที่ยูทูบ} |
ในช่วงพระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรียาวนานจนถึงประมุขแห่งรัฐช่วงแรก เพื่อนโยบายชาตินิยมและคะแนนเสียงของพระองค์[42] จึงได้มียกประเด็นกรณีพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหาร[43] ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก รอยต่อของจังหวัดพระวิหาร และจังหวัดศรีสะเกษของไทย กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (หรือ ศาลโลก) อ้างกรรมสิทธิเหนือเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502[44] และศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา[44]
ระหว่างนั้น กัมพูชาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตของไทย[42] ในปลายปี พ.ศ. 2501 แต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2502 ก็กลับมามีความสัมพันธ์กันใหม่ ก่อนที่จะตัดความสัมพันธ์อีกครั้งในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2504[44]
หลังจากที่ศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ได้มีการเฉลิมฉลองทั่วทั้งพระราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลพระองค์ได้จัดให้มีการประกาศวันเฉลิมฉลองชัยชนะแห่งชาติและวันหยุดราชการ และในปีต่อมา พ.ศ. 2506 พระองค์ได้เสด็จขึ้นปราสาทพระวิหารเพื่อทำพิธีบวงสรวง ทางสะพานโบราณ (ช่องบันไดหัก) หลังจากที่ทรงทราบว่ากัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหาร[45]
จากเหตุการณ์ดังกล่าวชาวไทยในยุคนั้นจึงมองพระองค์อย่างไม่เป็นมิตรนัก[42] ทั้งยังได้ตั้งคำถามล้อเลียนว่า สีอะไรเอ่ยคนไทยเกลียดมากที่สุด ? คำตอบคือ "สีหนุ"[4][5][46]
สืบเนื่องจากความขัดแย้งกับในจากกรณีปราสาทเขาพระวิหาร[43] ประกอบกับการที่กษัตริย์สีหนุมีความระแวงไทยอย่างมาก[47] ในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกฎหมายห้ามชาวเกาะกงพูดภาษาไทย ห้ามมีเงินไทย และห้ามมีหนังสือไทยไว้ในบ้าน หากเจ้าหน้าที่ค้นพบจะถูกทำลายให้สิ้นซาก โดยเฉพาะหากพูดภาษาไทยจะถูกปรับคำละ 25 เรียล และเพิ่มขึ้นเป็น 50 เรียลในปีต่อมา[43][48]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 พระองค์ได้ประกาศว่า ทรงพบเอกสารคอมมิวนิสต์ที่เกาะกง โดยบางชิ้นเป็นภาษาไทย ทำให้พระองค์มีพระราชวินิจฉัยว่าเขมรแดงได้รับคำสั่งจาก "นาย" ต่างประเทศ เพื่อปลุกระดมให้คนเขมรแปลกแยกจากสังคม [พรรคสังคมราษฎร์นิยม พรรคที่พระองค์จัดตั้งขึ้น] และพระองค์[47]
ความสัมพันธ์เมื่อครานั้นของไทยกับกัมพูชา ปรากฏในหนังสือชุด สามเกลอ-พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต ตอน "เขมรแหย่เสือ" ได้เขียนลงบทนำตอนหนึ่ง ความว่า[44]
"...คนไทยที่มีเชื้อชาติไทยสัญชาติเขมร และชาวเขมรในเกาะกง หรือจังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดตราดและจันทบุรี ถูกรัฐบาลเขมรกดขี่ข่มเหงรีดนาทาเร้นด้วยประการต่าง ๆ จึงอพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อนโรดม สีหนุ ทราบข่าวนี้ ก็สั่งให้กองทัพเรือจับชาวประมงในน่านน้ำไทย ยึดเรือและนำตัวไปกักขังไว้ ปฏิบัติต่อคนไทยที่ถูกคุมขังอย่างโหดเหี้ยมทารุณราวกับสัตว์ป่า ชาวประมงหลายคนต้องเสียชีวิตเพราะถูกทารุณ เพราะอดอาหาร หรือเจ็บป่วยก็ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล..."
ในเหตุการณ์ช่วงนั้นจา เรียง อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งกัมพูชาได้ทำการบันทึกไว้ว่า ช่วงปี พ.ศ. 2509 มีชาวเกาะกงเชื้อสายไทยถูกสังหารไปราว 160 คน[47] ส่วนจรัญ โยบรรยงค์ ที่ได้รวบรวมบันทึกของชาวเกาะกงเชื้อสายไทย และนำมาเขียนเป็นหนังสือ "รัฐบาลทมิฬ" ได้อ้างอิงคำพูดของลอน นอล เมื่อครั้งทำงานใกล้ชิดกับสีหนุ และเดินทางมาประชุมที่เกาะกงความว่า "...คนไทยเกาะกง แม้ว่าจะสูญหายตายจากไปสักห้าพันคน ก็ไม่ทำให้แผ่นดินเขมรเอียง"[49] ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้คือมีคนเชื้อสายไทยจำนวนมากอพยพออกจากเกาะกงไปจังหวัดตราดของไทย[50] และเกิดปัญหาสถานะบุคคลจนถึงปัจจุบัน[51][52]
งานทางด้านดนตรี พระองค์ทรงรอบรู้เรื่องดนตรีเป็นอย่างดีและทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน, แคลริเน็ต, แอกคอร์เดียน และเปียโน
พระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงเป็นจำนวนมากทั้งแบบขับร้องและบรรเลง[53] โดยทรงประพันธ์เพลงเป็นภาษาเขมร, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และละตินไว้หลายเพลง[46] อาทิ ราตรีนี้ได้พบพักตร์ (Reatry Baan Joub peak) ซึ่งเป็นเพลงยอดนิยมและได้รับการขับร้องหลายเวอร์ชัน[53] และ บุปผาเวียงจันทน์ พระราชทานแด่หม่อมมุนีวรรณ หม่อมชาวลาวที่พระองค์โปรดปราน และถือเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงมากเพลงหนึ่ง[54] นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดปรานร้องเพลงต่างชาติเพื่อสร้างความบันเทิงแก่แขกต่างประเทศ ทั้งนี้พระองค์โปรดเพลงไทยของสวลี ผกาพันธุ์ และเพลงไทยอื่น ๆ อาทิ รักคุณเข้าแล้ว, ฝัน ฝัน[46] และ เพลงรักเธอเสมอ[55]
เมื่อครั้งที่พระองค์พำนักอยู่ที่เปียงยางและปักกิ่ง ได้ประพันธ์เพลงเปียงยาง และเพลงคิดถึงจีน (Nostalgie de la Chine) เป็นของขวัญมิตรภาพให้กับผู้นำประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งสองประเทศ[46]
พระองค์โปรดการภาพยนตร์ และการกำกับยิ่ง พระองค์ทรงกำกับเขียนบทและเป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง เงามืดอังกอร์ นอกจากนี้ยังสร้างภาพยนตร์เรื่อง ป่าสำราญ, เจ้าชายน้อย และ สายันต์[46] ซึ่งนักแสดงนำในภาพยนตร์ที่สีหนุกำกับนั้นคือโรลัง เอง อดีตทูตกัมพูชาประจำไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นน้องของพระองค์เจ้านโรดม มารี รณฤทธิ์ อดีพระชายาในสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นโอรสคนที่สองของสีหนุ[46] และภาพยนตร์เรื่อง Ombre sur Angkor ซึ่งพระองค์ได้แสดงเองโดยคู่กับพระชายาโมนิก พระภรรยาองค์สุดท้าย[56] นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง ระบำเทพมโนรมย์ (La Forêt Enchantée) ได้ออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมอสโกครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2510[57][58]
แม้ผลงานของพระองค์จะเป็นภาพยนตร์รัก ๆ ใคร่ ๆ ทั่วไป แต่สิ่งที่พระองค์ได้สอดแทรกผ่านบทภาพยนตร์ทั้งฉากในการถ่าย รวมไปถึงมุมกล้อง ล้วนเป็นสิ่งที่พระองค์ต้องการสื่อสารความเป็นกัมพูชาทั้งศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงแง่มุม ความคิด และวิวทิวทัศน์ภายในประเทศของพระองค์สู่สายตาอารยะประเทศผ่านโลกของแผ่นฟิลม์อย่างแยบคาย[53] ดังปรากฏในพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ความว่า
"ผู้กล่าวถึงข้าพเจ้าว่าสร้างแต่หนังรัก หากที่จริงแล้วเป็นเพียงฉากหน้า ในการนำผู้คนให้หันมาสนใจกัมพูชา ไม่เพียงเห็นภาพของวัดวาอารามเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงวิธีคิด และวิถีชีวิตของพวกเราชาวกัมพูชา เช่นเดียวกับปัญหาที่พวกเรากำลังประสบ"
ทั้งนี้พระองค์ได้ผลักดันจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติขึ้น ณ กรุงพนมเปญ[46] ครั้งนั้นนอกจากผู้รับเชิญมางานภาพยนตร์นานาชาติพนมเปญมีทั้งผู้กำกับและนักแสดงชั้นนำจากฮ่องกง ไต้หวันและยุโรปแล้ว ยังสามารถดึงเอาประธานจัดงานภาพยนตร์เมืองคานส์มาร่วมงานได้[46]
แม้พระองค์จะกล่าวว่าพระองค์เป็น "ชาตินิยม" ก็ตาม[46] กระนั้นพระองค์โปรดปรานอาหารฝรั่งเศสอย่างยิ่ง และกระยาหารแทบทุกมื้อที่เสวยล้วนเป็นอาหารฝรั่งเศส[46] แม้กระทั่งอาหารไทยซึ่งคล้ายกับอาหารเขมรนั้นได้เคยจัดถวายบนเรือขณะล่องแม่น้ำเจ้าพระยานั้น พระองค์ก็มิได้แตะต้องเลย อีกทั้งตรัสว่า "หากเป็นไปได้ ทุกมื้อเสิร์ฟเป็นอาหารฝรั่งเศสยิ่งดี"[46]
ทั้งนี้พระองค์ทรงประกอบอาหารฝรั่งเศสด้วยพระองค์เองบ่อย ๆ ทรงคิดสูตรตำรับ "ไก่ไวน์แดง" และได้รับคำชื่นชมด้านรสชาติ[46]
ก่อนเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามเดิมคือ นักองราชวงศ์นโรดม สีหนุ[17]
ต่อมาเมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยว่า พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ราชหริวงศ์ อุภโตสุชาติ วิสุทธิวงศ์ อัคคมหาบุรุษรัตน์ นิกโรดม ธัมมิกมหาราชาธิราช บรมนาถ บรมบพิตร พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี[note 1]
ภายหลังเมื่อสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2547 แล้ว จึงทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พระมหาวีรกษัตริย์ โดยทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดาเอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร [note 2]
หลังการเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระบรมปัจฉามรณนาม (พระนามหลังเสด็จสวรรคต) ของสมเด็จพระราชบิดาว่า พระกรุณา พระบรมรัตนโกศ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[59][60] ซึ่งเทียบกับภาษาไทยคือ "พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ"[61]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระราชโอรสและพระราชธิดา | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | พระชันษา | |||
นักนางพัต กันฮอล (พ.ศ. 2463 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) อภิเษก: พ.ศ. 2485 / ภายหลังทรงหย่า | ||||||
สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี | 8 มกราคม พ.ศ. 2486 | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 | 76 ปี | |||
สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ | 2 มกราคม พ.ศ. 2487 | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | 77 ปี | |||
พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี (เจ้าโมง) (26 มกราคม พ.ศ. 2472 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517) อภิเษก: พ.ศ. 2485 / หย่า: พ.ศ. 2494 | ||||||
สมเด็จพระบรมเรียมนโรดม ยุวนาถ | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2486 | 14 มกราคม พ.ศ. 2564 | 77 ปี | |||
พระองค์เจ้านโรดม ระวีวงศ์สีหนุ | พ.ศ. 2487 | พ.ศ. 2516 | 29 ปี | |||
สมเด็จพระมเหศวรนโรดม จักรพงศ์ | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2488 | ยังทรงพระชนม์ | 79 ปี | |||
พระองค์เจ้านโรดม สุริยเรืองสี | พ.ศ. 2490 | พ.ศ. 2519 | 29 ปี | |||
พระองค์เจ้านโรดม คันธาบุปผา | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2495 | 4 ปี | |||
พระองค์เจ้านโรดม เขมานุรักษ์สีหนุ | พ.ศ. 2492 | พ.ศ. 2518 | 33 ปี | |||
พระองค์เจ้านโรดม ปทุมบุปผา | 18 มกราคม พ.ศ. 2494 | เดือนเมษายน พ.ศ. 2519 | 25 ปี | |||
พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีเกสร (6 เมษายน พ.ศ. 2472 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489) อภิเษก: พ.ศ. 2487 | ||||||
พระองค์เจ้านโรดม นรทีโป | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2519 | 30 ปี | |||
สมเด็จพระราชกนิษฐานโรดม นรลักษมิ์ (29 กันยายน พ.ศ. 2470 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2521) อภิเษก: พ.ศ. 2489 ทางการ: 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 | ||||||
หม่อมมะนีวัน พานีวง (พ.ศ. 2477 – 19 เมษายน พ.ศ. 2518) อภิเษก: พ.ศ. 2492 | ||||||
พระองค์เจ้านโรดม สุเชษฐาสุชะตา | พ.ศ. 2496 | พ.ศ. 2518 | 22 ปี | |||
สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 | ยังทรงพระชนม์ | 69 ปี | |||
สมเด็จพระราชินีนโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา (เดิม ปอล โมนิก อิซซี; 18 มิถุนายน พ.ศ. 2479 – ปัจจุบัน) อภิเษก: พ.ศ. 2495 ทางการ: พ.ศ. 2498 | ||||||
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 | ยังทรงพระชนม์ | 71 ปี | |||
สมเด็จพระนโรดม นรินทรพงษ์ | 18 กันยายน พ.ศ. 2497 | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546 | 49 ปี |
พงศาวลีของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.