Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2518) ชื่อเล่น กิ๊ฟ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ[2] สังกัดพรรคพลังพลเมืองไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ | |
---|---|
ศิลัมพา ใน พ.ศ. 2565 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 เมษายน พ.ศ. 2518 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2548–2551) ภูมิใจไทย (2551–2554) พลเมืองไทย (2554–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สืบศักดิ์ ผันสืบ |
ศิลัมพา เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2518 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนที่สองของ สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย กับ เพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์
ด้านชีวิตครอบครัว เธอสมรสกับ พันตำรวจโทสืบศักดิ์ ผันสืบ อดีตนักตะกร้อชื่อดังดีกรีทีมชาติไทย ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 มีบุตรชาย 1 คน [3][4]
ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ เรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ต่อมาเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งระดับปริญญาโท 2 สาขา คือ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ศิลัมพา เข้าทำงานเมื่อปี 2542 เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศาลและผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลเมือง รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี 2544 จึงกลับมาทำงานในประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม (เทสโก้ โลตัส) ต่อมาเป็นเจัาหนัาที่ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ทีเอ) และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในปัจจุบัน กระทั่งในปี 2548 ได้เข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรีและเขตคลองสาน สังกัดพรรคไทยรักไทย โดยการสนับสนุนของบิดา ต่อมาในปี 2549 มีการยุบสภา เธอได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในเขตเลือกตั้งเดิม และมีการประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ศิลัมพา เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นพดล ปัทมะ) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (สมพงษ์ อมรวิวัฒน์) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ทรงศักดิ์ ทองศรี) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (สุชาติ โชคชัยวัฒนากร)
ต่อมาในปี 2551 เธอย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย และทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการพรรคภูมิใจไทย จนถึงสิ้นปี 2554 หลังจากนั้นเมื่อบิดาของเธอได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้น ชื่อว่า พรรคพลังพลเมืองไทย[5] เธอจึงเข้าร่วมงานในตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค[6] และได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคพลเมืองไทย
ในปี 2566 เธอย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[7] และลงสมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 24[8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เธอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.