Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)[ต้องการอ้างอิง] และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2511–2531) ประชาชน (2531–2532) ชาติไทย (2532–2535, 2535–2539) สามัคคีธรรม (2535) ความหวังใหม่ (2539–2543) ชาติพัฒนา (2543–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) พลังประชาชน (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–2554) เพื่อไทย (2554–2560) พลเมืองไทย (2561–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์[1] |
สัมพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายอร่าม กับ นางจี เลิศนุวัฒน์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวสเทรินแปซิฟิค สหรัฐอเมริกา ด้านครอบครัวสมรสกับนางเพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2531 เขาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน[2]
ต่อมาในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และในการเลือกตั้งเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย
กระทั่งได้รับเลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และจากนั้นเขาได้ลาออกเพื่อย้ายไปร่วมงานกับพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ (เลื่อนแทน) จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ในการเลือกตั้งครั้งถัดมา พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย (เลื่อนแทนจากบัญชีรายชื่อ)และ พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อกับพรรคไทยรักไทยอีกครั้ง ซึ่งต่อมาการเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เขาได้รับเลือกตั้งจากระบบสัดส่วน เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทยคนแรกของสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พร้อมกับกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จำนวน 109 คน หลังจากนั้นเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[3]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการสนับสนุนการจัดตั้งพรรคการเมืองใช้ชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[4] โดยเขารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อปี พ.ศ. 2535[5] และในปี พ.ศ. 2540 ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[6]
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 7 สมัย คือ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.