Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (29 ตุลาคม พ.ศ. 2398 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2453) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง เป็นต้นราชสกุลคัคณางค์[1] และเป็นพระอัยกาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2439 |
ประสูติ | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398 |
สิ้นพระชนม์ | 11 มีนาคม พ.ศ. 2453 (54 ปี) |
หม่อม | หม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา หม่อมสุมิตรา คัคณางค์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี หม่อมเจ้ากลาง หม่อมเจ้าฉวีวลัย หม่อมเจ้าน้อย หม่อมเจ้ากลาง หม่อมเจ้าปรีดิยากร |
ราชสกุล | คัคณางค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2411 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล รับหน้าที่เป็นนายด่าน ทำการก่อสร้างหอพระคันธารราฐ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งก่อสร้างค้างมาตั้งแต่รัชกาลก่อน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสังเกตเห็นว่าพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นี้ มีพระอัธยาศัยนิยมศึกษาตัวบทกฎหมายและอรรถคดี จึงโปรดฯ ให้ไปศึกษากฎหมายและการพิจารณาความกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งทรงบัญชาการศาลรับสั่ง อยู่ในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตั้งองคมนตรีสภา (เดิมคือ ปรีวีเคาน์ซิล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นองคมนตรีในครั้งนั้นด้วย และแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี พิจารณาความรับสั่งบางเรื่อง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตั้งศาลฎีกา ขึ้นในปี พ.ศ. 2419 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล ทรงเป็นอธิบดีศาลฎีกา พระองค์แรก และทรงได้รับการสถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร และเป็นอธิบดีศาลแพ่งกลาง และศาลแพ่งเกษม อีก 2 ศาล ในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงขึ้นไปรักษาเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้ทรงจัดการศาลต่างประเทศ และจัดการระเบียบการปกครองภาคเหนือใหม่ ต่อมาเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2428 และในวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2429 ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงศักดินา 15,000[2]
ในปี พ.ศ. 2434 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงเป็นข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว เสด็จขึ้นไปว่าราชการอยู่ที่หัวเมืองลาวกาว ประจำอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองทางภาคอีสาน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงหัวเมืองชั้นนอก ประมาณ 20 หัวเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ยังมิได้รวมเป็นมณฑล ในการเสด็จออกตรวจราชการตามท้องที่ต่าง ๆ ทำให้พระองค์ทรงมีความรู้เกี่ยวกับชายแดนลาว และเขมร เป็นอย่างดี
เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นผู้พิพากษาฝ่ายไทยร่วมกันพิจารณาคดีความร่วมกับฝรั่งเศส ในกรณีพระยอดเมืองขวาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ที่สอง สืบต่อจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์ ซึ่งถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเสด็จไปราชการ ณ ประเทศยุโรป และได้เป็นรัฐมนตรีด้วย[3][4][4]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงมีความรู้ด้านการแพทย์ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่คิดประดิษฐ์ปรุงยาไทยผสมกับยาต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีพระอัจฉริยภาพในด้านการพระนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเรื่อง เช่น ท้ายกาสีหา นางปทุมสังกา พระองค์ยังได้ร่วมกับพระเจ้าพี่ยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอจัดตั้งหอสมุดวชิรญาณขึ้นในปี พ.ศ. 2423 เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงศึกษาภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองจนกระทั่งอ่านสามารถ fiction และ novel ภาษาอังกฤษได้คล่อง ทรงนิพนธ์เรื่องสนุกนึก ซึ่งเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรก ที่เรียกว่าเป็นบันเทิงคดี ตามแบบอย่างนิยายฝรั่งถือเป็นนิยายเรื่องแรกของไทย
ในปี พ.ศ. 2439 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เพราะประชวรพระวัณโรคภายใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้แพทย์หลวงไปประกอบถวายพระโอสถ แต่พระอาการยังทรงกับทรุดจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2452 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2453) เวลา 04.00 น. เศษ สิริพระชันษาได้ 54 ปี 133 วัน ถึงเวลา 2 ทุ่ม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงพระลอง ประดิษฐานเหนือแว่นฟ้า 2 ชั้น พระสงฆ์มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นประธานสวดสดับปกรณ์ เจ้าพนักงานประกอบพระโกศมณฑปเป็นเกียรติยศ[5]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มีหม่อมสองท่านคือ หม่อมสุ่น ต่อมาในพ.ศ. 2427 เสกสมรสกับหม่อมอีกท่านคือเจ้าสุมิตรา ธิดาเจ้าราชวงศ์ (ขัติยะ)[6] มีพระโอรสและพระธิดาทั้งหมด 6 พระองค์/องค์ เป็นชาย 3 องค์ และหญิง 3 พระองค์/องค์ ซึ่งทั้ง 6 พระองค์/องค์ ประสูติแต่หม่อมสุ่น ได้แก่
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี (พ.ศ. 2472: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี) | ที่ 1 ในหม่อมสุ่น | 28 มีนาคม พ.ศ. 2417 | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2481 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ | |
2. หม่อมเจ้าหญิง (กลาง) | ที่ 2 ในหม่อมสุ่น | พ.ศ. 2418 | พ.ศ. 2424 | ||
3. หม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | ที่ 3 ในหม่อมสุ่น | 29 มีนาคม พ.ศ. 2424 | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ | |
4. หม่อมเจ้า (น้อย) | ที่ 4 ในหม่อมสุ่น | พ.ศ. 2427 | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 | ||
5. หม่อมเจ้า (กลาง) | ที่ 5 ในหม่อมสุ่น | ไม่ทราบปี | พ.ศ. 2431 | ||
6. หม่อมเจ้าปรีดิยากร | ที่ 6 ในหม่อมสุ่น | พ.ศ. 2432 | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 | หม่อมวาศน์ | |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มีพระนัดดารวม 22 พระองค์/องค์/คน ดังนี้
นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม |
ชั้นยศ | พลตรี |
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.