Loading AI tools
สมาชิกราชวงศ์สยาม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำมาตย์โท นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 – 5 เมษายน พ.ศ. 2466) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระองค์ อัครราชทูตพิเศษประจำกรุงปารีส และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์[1]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2446 |
ถัดไป | พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) |
ประสูติ | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 |
สิ้นพระชนม์ | 5 เมษายน พ.ศ. 2466 (59 ปี) |
หม่อม | หม่อมเชื้อสาย วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมนุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมชุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 7 พระองค์ |
ราชสกุล | วัฒนวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาบัว ในรัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 63 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน เบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทางฝั่งพระมารดา มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์ ได้แก่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000[2] เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114)
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000[3]
พระตำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ตั้งอยู่ท้ายเกาะลอย เรียกว่าตำหนักตะพานเกลือ เนื่องมีวัดตะพานเกลือ หรือ สะพานเกลือเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในละแวกนั้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยต่อเรือพระนครศรีอยุธยา) ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อปี 2449 พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่พระตำหนักแห่งนี้
วังของพระองค์ ปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชาลัย[4] โดยพระองค์ได้ทรงอุทิศให้รัฐบาลเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ประชวรพระวักกะพิการมานาน อาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 เวลา 01:45 น. สิริพระชันษา 59 ปี 313 วัน เวลา 18:00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานตั้งพระลองบนแว่นฟ้า 2 ชั้น แล้วประกอบพระโกศกุดั่นน้อย ตั้งเครื่องยศ[5]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[6]
พระองค์ทรงรับราชการดังนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ภายใต้ดูแลของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเอา 8 หัวเมือง คือ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี อินทบุรี (ปัจจุบันคืออำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พรหมบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พระพุทธบาท (ปัจจุบันคืออำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี) และสิงห์บุรีเข้าเป็นมณฑลกรุงเก่า และตั้งที่ว่าการมณฑลที่มณฑลกรุงเก่า เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลของมณฑลกรุงเก่าพระองค์แรก[17]
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีณบุรีแทนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ที่ลาออกจากตำแหน่ง[18]
นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และมณฑลปราจีณบุรีในคราวเดียวกัน จนเมือ พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พระองค์ได้ทรงขอพระราชทานพ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า[19] เพื่อปกครองมณฑลปราจีณบุรีแต่เพียงมณฑลเดียว[20][21] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2458
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์ มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่
โดยมีพระโอรสพระธิดารวมทั้งหมด 7 พระองค์ ดังนี้
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าสุวัฒนวิสัย | ที่ 1 ในหม่อมเชื้อสาย | พ.ศ. 2439 | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 | ||
2. หม่อมเจ้าเกรียงไกรมรุพล | ที่ 2 ในหม่อมเชื้อสาย | กันยายน พ.ศ. 2441 | 5 มกราคม พ.ศ. 2464 | ||
3. หม่อมเจ้าหญิงสุวคนธ์ประทุม | ที่ 3 ในหม่อมเชื้อสาย | พ.ศ. 2444 | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 | ||
4. หม่อมเจ้าหญิงจงกลนี | ที่ 4 ในหม่อมเชื้อสาย | 10 เมษายน พ.ศ. 2452 | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2508 | ||
5. หม่อมเจ้าตรีอนุวัตน์ | ที่ 1 ในหม่อมนุ่ม | 23 มกราคม พ.ศ. 2457 | 12 กันยายน พ.ศ. 2491 | หม่อมนิดาภา (ปุณฑริก) | |
6. หม่อมเจ้าหญิงรัตนกมล | หม่อมชุ่ม | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 | 1 กันยายน พ.ศ. 2550 | ||
7. หม่อมเจ้าวัตนานุวัฒน์ (ท่านชายนิด) | ที่ 2 ในหม่อมนุ่ม | 7 มีนาคม พ.ศ. 2464 | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | หม่อมประทุม (ศิริทรัพย์) | |
นายพลตรี นายกองตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พลตรี นายกองตรี |
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.