Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 — 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539) เป็นองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อดีตเลขาธิการพระราชวัง และอดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย
กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา | |
---|---|
เลขาธิการพระราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ |
ถัดไป | พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ |
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2500 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน |
ก่อนหน้า | ฉาย วิโรจน์ศิริ |
ถัดไป | แสวง เสนาณรงค์ |
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | พระยาภะรตราชา |
ถัดไป | ชัยอนันต์ สมุทวณิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 |
เสียชีวิต | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539 (81 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงทินะประภา อิศรเสนา ณ อยุธยา |
บุตร | อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา คุณหญิงภัทราภา อิศรเสนา ณ อยุธยา |
ศาสตราจารย์ กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 เป็นบุตรคนแรกของพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) และท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา เมื่อศาสตราจารย์ กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา มีอายุได้ 7 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาภะรตราชาออกไปรับราชการเป็นผู้ปกครองนักเรียนไทยในประเทศอังกฤษ
ศาสตราจารย์ กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งติดตามครอบครัวไปประเทศอังกฤษจึงได้เข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนปาร์คเฮาส์ (Park House) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่ Paignton ในประเทศอังกฤษ และได้ติดตามครอบครัวกลับสู่ประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาภะรตราชาย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งเลขานุการกระทรวงธรรมการในปี พ.ศ. 2469 แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์[1]จนจบชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์ (มัธยมปีที่ 8) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 นั้น ได้เข้าสอบชิงทุนสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ได้ไปศึกษาที่โรงเรียนเอาน์เดิล (Oundle) ซึ่งเป็นพับลิคสกูลในอังกฤษที่พระยาภะรตราชาเคยศึกษามาก่อน แล้วเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเซนต์แคเธอรีน (St. Catharine’s College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี (Bachelor of Arts) เมื่อ พ.ศ. 2479 แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Science) เมื่อ พ.ศ. 2481 จากนั้นไปศึกษาต่อชั้นปริญญามหาบัณฑิต (Master of Arts) ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สำเร็จการศึกษาเป็น Doctor of Philosophy เมื่อปี พ.ศ. 2483
ศาตราจารย์ กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้สมรสกับหม่อมราชวงศ์ทินะประภา อิศรเสนา (ราชสกุลเดิม ศุขสวัสดิ) มีบุตรธิดา 2 คน คือ
ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นอาจารย์ผู้ช่วยโท แผนกวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2483 แล้วได้เป็นอาจารย์โท อาจารย์เอก และศาสตราจารย์ แผนกวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2499 แล้วได้ไปช่วยราชการในตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อนายพจน์ สารสิน กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จึงกลับไปรับราชการที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามเดิม ถึงปี พ.ศ. 2502 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนย้ายไปรับราชการประจำสำนักพระราชวัง แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง รองเลขาธิการพระราชวัง และเลขาธิการพระราชวัง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2509
ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับกรรมการอำนวยการ ประกอบกับเป็นผู้ที่ทราบกิจการของวชิราวุธวิทยาลัยด้วยดีตลอดมา คณะกรรมการอำนวยการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในตำแหน่งนายกกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยสืบแทนพระยาภะรตราชาที่ถึงอนิจกรรม แต่ในเวลานั้นศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ยังคงดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังอยู่ ราชเลขาธิการจึงได้หารือไปยังสำนักพระราชวัง เมื่อสำนักพระราชวังตอบรับว่า การดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยไม่ขัดหรือเป็นผลเสียแก่การปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการพระราชวังแต่อย่างใด ราชเลขาธิการจึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย มาตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ตลอดระยะเวลาที่ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยติดต่อกันมา 4 วาระ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 — พ.ศ. 2539]] นั้น ท่านได้สืบทอดการจัดการอบรมนักเรียนตามแนวทางที่พระยาภะรตราชาได้เคยปฏิบัติไว้ แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมแก่ยุคสมัยไปบ้าง เช่น มีการปรับเวลาเรียนจากวันละ 5 ชั่วโมงเป็น 6 คาบเรียนตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ปรับเวลาเลิกเรียนในตอนบ่ายจาก 13.00 น. เป็น 13.30 น. มีการจัดสร้าง "ครัวรวม" เพื่อประกอบอาหารจัดเลี้ยงนักเรียนทุกคณะแทนการให้แต่ละคณะเป็นผู้ประกอบจัดเลี้ยงซึ่งได้ปฏิบัติติดต่อกันมาช้านานการกันเอง ในส่วนของการบริหารงานโรงเรียนในสมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับการนั้น ได้มีการเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษาจากภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาศึกษาและนำเสนอโครงสร้างการบริหารงานของวชิราวุธวิทยาลัยต่อคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติให้เริ่มทดลองใช้โครงสร้างใหม่นั้นแทนโครงสร้างการบริหารงานเดิมที่ใช้กันมาแต่ครั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง โครงสร้างการบริหารงานใหม่ที่คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้อนุมัติให้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 นั้น เมื่อได้ทดลองใช้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ได้พบความไม่เหมาะสมบางประการ เฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งซอยหน่วยงานในแต่ละฝ่ายที่แยกย่อยเกินความจำเป็น จึงได้มีการปรับโครงสร้างให้กระชับขึ้นโดยยุบรวมหน่วยงานย่อยๆ ที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกันจัดเป็นแผนก และมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานในแต่ละแผนกมาตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 นอกจากนั้นในสมัยที่ศาตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยอยู่นั้น วิทยาการแขนงต่าง ๆ ได้พัฒนาก้าวหน้าไปเป็นอันมาก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษา ท่านผู้บังคับการ ศาตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ก็ได้ริเริ่มให้วชิราวุธวิทยาลัยจัดซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จำนวน 10 ชุด มาใช้ในการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 เป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2532 แล้วจึงจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมพร้อมกับขยายการสอนไปยังระดับชั้นอื่น ๆ รวมทั้งเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผลในงานธุรการของโรงเรียน สิ่งที่ศาตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้ริเริ่มไว้ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย คือ การจัดตั้งงานแนะแนวการศึกษาขึ้นในฝ่ายวิชาการ โดยท่านเห็นความจำเป็นที่ว่า โรงเรียนประจำนั้นนอกจากผู้กำกับคณะ และครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน ปัญหาชีวิต พฤติกรรมการปรับตัวและปัญหาอื่น ๆ แล้ว สมควรที่จะมีหน่วยงานด้านการแนะแนวขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ของนักเรียน และยังเป็นหน่วยงานที่จะส่งเสริมให้นักเรียนมีแนวทางที่จะศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปอีกด้วย
ในระหว่างที่ ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังและผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยพร้อมกันนั้น ท่านได้มอบหมายให้ครูจิต พึ่งประดิษฐ์ รองผู้บังคับการเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยในโรงเรียนแทน แต่ทุกวันตอนเช้าก่อนที่จะไปปฏิบัติงานประจำที่สำนักพระราชวัง ท่านจะแวะมาปฏิบัติหน้าที่ที่วชิราวุธวิทยาลัยทุกวัน ตราบจนเกษียณอายุราชการจากตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 แล้วจึงได้มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยเต็มเวลา และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2522[2]
กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
ศาตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยมาจนถึงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 จึงได้ล้มป่วย และถึงอสัญกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539 สิริอายุ 81 ปี 261 วัน โดยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโกศมณฑปประกอบศพ ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดตั้งประดับ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด และในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ไปพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ลำดับสาแหรกของกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.