Remove ads
หน่วยงานบริหารราชสำนักไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักพระราชวัง (อังกฤษ: Bureau of the Royal Household; BRH) เป็นหน่วยราชการในพระองค์ มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบราชการในพระองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ในพระองค์พระมหากษัตริย์ และมีเลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชกิจราชการ
เครื่องหมายราชการสำนักพระราชวังในรัชกาลที่ 10 | |
อาคารศาลาว่าการพระราชวัง | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | รองเลขาธิการพระราชวัง |
สำนักงานใหญ่ | |
งบประมาณต่อปี | 3,435.4143 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | พระมหากษัตริย์ไทย |
ลูกสังกัดหน่วยงาน | |
เว็บไซต์ | www.royaloffice.th/ |
สำนักพระราชวังเป็นส่วนราชการที่สืบเนื่องมาจากส่วนราชการสำคัญของบ้านเมืองมาแต่โบราณกาล มีหลักฐานที่อาจทบทวนย้อนไปได้ถึงพุทธศักราช 1893 ในปีนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองในราชธานีเป็นสี่กรม หรือที่เรียกว่าจตุสดมภ์ ได้แก่
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปการปกครองราชอาณาจักร แบ่งส่วนราชการระดับกระทรวงให้เป็นไปตามความจำเป็น และเหมาะสมแก่การปกครองประเทศยิ่งขึ้น กระทรวงเดิมในแบบจตุสดมภ์ทั้ง 6 ก็ให้คงอยู่ เพิ่มกระทรวงในหน้าที่ที่สมควรใหม่อีก 4 กระทรวง รวมเป็น 12 กระทรวงแต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการ
จากการปฏิรูปการปกครองในประเทศในครั้งนี้เอง โปรดเกล้าฯ ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ปฏิบัติราชการในพระราชสำนัก ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่า กรมวัง หรือ จตุสดมภ์กรมวัง เป็นกระทรวงมีชื่อว่า กระทรวงวัง แต่โปรดเกล้าฯ ให้โอนงานที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีไปขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ ดังนั้นส่วนราชการในจตุสดมภ์กรมวังที่มีชื่อว่า กรมพระตำรวจหลวงว่าความฎีกา อันเป็นกรมหนึ่ง ซึ่งสมัยก่อน ๆ ถือว่าเป็นส่วนราชการที่มีความสำคัญมากถึงกับในบางรัชกาลต้องโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยที่สุดไปทรงกำกับราชการอยู่ เช่น ในรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอฯ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ไปทรงกำกับราชการอยู่นั้น จึงสูญไปจากทำเนียบราชการแต่นั้นมา
เสนาบดีกระทรวงวังตามแผนปฏิรูปการปกครองใหม่ในครั้งนั้น ตัวเสนาบดีมิใช่สามัญชน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์กรมวังอยู่ก่อนแล้ว เป็นเสนาบดีกระทรวงวังตามระบบการปกครองที่ปฏิรูปใหม่ จึงนับได้ว่าทรงเป็น "เสนาบดีกระทรวงวังพระองค์แรก"
การตั้งเสนาบดีกระทรวงในรัชกาลที่ 5 นั้น จะเห็นได้ว่าทรงพระราชดำริว่ากระทรวงวังนั้นสำคัญและปฏิบัติงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาก จึงทรงเลือกสรรพระราชวงศ์ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีสืบต่อกันมาหลายพระองค์
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงวัง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่ราชการในพระองค์หลายประการ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะกรมมหาดเล็กหลวง ในกระทรวงวังขึ้นเป็นกรมอิสระ ขึ้นตรงต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก (เจ้าพระยารามราฆพ) เป็นผู้บังคับบัญชา มีกรมต่าง ๆ ที่หัวหน้ากรมเป็นข้าราชการขั้นอธิบดีขึ้นอยู่ 13 กรม ได้แก่
|
|
ส่วนทางกระทรวงวังก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกรมขึ้น 20 กรม ได้แก่
|
|
กรมในกระทรวงวังก็ดี กรมในมหาดเล็กก็ดี แม้หัวหน้ากรมจะมีฐานะเป็นอธิบดี แต่ก็มีหลายกรมเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น เช่น
กรมในสังกัดกระทรวงวัง
กรมอื่นนอกจากนี้
แต่ที่เรียกว่าผู้อำนวยการกรมก็มี นอกจากนั้นยังพระราชทานเกียรติยศแก่ กรมตำรวจหลวงรักษาพระองค์ กรมทหารรักษาพระองค์และกรมทหารรักษาวัง โดยทรงรับเข้าดำรงตำแหน่ง "สมเด็จพระตำรวจ" ในกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ และตำแหน่ง "ผู้บังคับการพิเศษ" ในกรมทหารรักษาวังด้วย
สำหรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังนั้น ก็ยังคงใช้ราชทินนามบุคคลผู้เป็นเจ้ากระทรวงว่า "ธรรมธิกรณาธิบดี" อันเป็นราชทินนามที่สืบเนื่องมาแต่ "ธรรมาธิการ" ครั้งยังเป็นจตุสดมภ์อยู่ แม้ว่าจะได้แยกหน้าที่การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี อันเป็นหน้าที่เดิมของจตุสดมภ์กรมวังไปเป็นหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวมาแล้วก็ตาม
ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้โอนกรมธรรมการ กรมสังฆการี กรมราชบัณฑิต กรมกัลปนา และกรมศิลปากร ไปสังกัดกระทรวงธรรมการ และยุบฐานะกรมมหาดเล็กหลวงซึ่งแยกไปเป็นกรมพิเศษในรัชกาลที่ 6 ลงเป็นกรมสามัญสังกัดกระทรวงวังตามเดิม
ต่อมาเมื่อประเทศสยามได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงประกาศพระบรมราชโองการ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ให้เปลี่ยนชื่อ "กระทรวงวัง" เป็น "ศาลาว่าการพระราชวัง" แต่ครั้งถึงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ก็กลับมามีฐานะเป็นกระทรวงขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พุทธศักราช 2476 และมี "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง" เป็นเจ้ากระทรวง ซึ่งในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมฉบับดังกล่าวนี้ ได้ตัดทอนส่วนราชการในกระทรวงวังออกเหลือ 7 กรม ได้แก่
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478 โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้เอง ได้เปลี่ยนฐานะของกระทรวงวังลงเป็นทบวง มีฐานะเป็นกรม เทียบเท่าทบวง มีชื่อว่า "สำนักพระราชวัง" และให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีโดยตรง มีเลขาธิการพระราชวัง (ระดับ 11 เทียบเท่าปลัดกระทรวง) รับผิดชอบในการบริหารราชการ สำหรับกรมในสังกัดก็ยุบลงเป็นกองบ้าง แผนกบ้าง เว้นบางกรมไปสังกัดกระทรวงอื่น เช่น
นอกจากนี้ยังได้โอนราชการในหน้าที่ต่าง ๆ อีกหลายหน้าที่ไปสังกัดกรมอื่น เช่น โอนงานในหน้าที่การช่างที่เรียกว่า "กรมวังนอก" ตลอดจนงานที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ อันได้แก่กองพิณพาทย์หลวง กองดุริยางค์หลวง โขนหลวงและละครหลวง ไปสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ)
เมื่อได้ยุบกระทรวงวังเป็นสำนักพระราชวังแล้ว ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการตามความจำเป็นและเหมาะสมแก่การปฏิบัติภารกิจหลายครั้ง ในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ยังทรงพระเยาว์และประทับอยู่ในต่างประเทศ ได้มีการพิจารณาเห็นว่าภารกิจของสำนักพระราชวังมีน้อย ก็ปรับปรุงหนักไปทางตัดทอน ครั้นต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร บรรลุพระราชนิติภาวะ และเสด็จฯ นิวัติมาประทับในราชอาณาจักรเป็นการถาวรเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 และได้บริหารราชการในฐานะพระประมุขแล้ว รัฐบาลก็เห็นความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพให้มากขึ้น เพื่อเพียงพอที่จะสนองรองรับพระราชกรณียกิจได้
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขานุการในพระองค์ พุทธศักราช 2478 ฉบับลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ได้กำหนดให้มีกองในสังกัด 4 กอง ได้แก่ 1. สำนักงานเลขานุการ (4 แผนก)
2. กองมหาดเล็ก (3 แผนก)
3. กองวังและพระราชพิธี (3 แผนก)
4. สำนักงานพระคลังข้างที่ (ไม่มีการแบ่งหน่วยงานในสังกัด)
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[5] ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี "สำนักพระราชวัง" มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์ทั่วไป การเลขานุการในพระองค์ การจัดการพระราชวังและงานพระราชพิธี การดูแลรักษาทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์และการอื่นตามพระราชอัธยาศัย[6]
ก่อนปี พ.ศ. 2560 สำนักพระราชวัง แบ่งหน่วยงานออกเป็น 16 กอง ประกอบด้วย[7]
ในปี พ.ศ. 2560 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มีส่วนราชการ ดังนี้[10]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 2 โดยกำหนดส่วนราชการในสำนักพระราชวัง ดังนี้[11]
ลำดับ | รูป | รายพระนาม/รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | พ.ศ. 2438 | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2439 | - | |
2 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2439[12] | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2439 | ผู้แทนเสนาบดีกระทรวงวัง | |
1 กันยายน พ.ศ. 2439[13] | 18 กันยายน พ.ศ. 2441 | เสนาบดีกระทรวงวัง | |||
3 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา | 19 กันยายน พ.ศ. 2541[14] | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2448[15] | - | |
- | พระยาเพ็ชรพิไชย (เจิม อมาตยกุล) | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2448 | รักษาราชการแทนเสนาบดีกระทรวงวัง | |
4 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2448[16] | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 | - | |
- | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 | รักษาราชการแทนเสนาบดีกระทรวงวัง | |
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) | |||||
5 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2453[17] | 14 เมษายน พ.ศ. 2456 | - | |
6 | เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) | 15 เมษายน พ.ศ. 2456[18] | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 | - | |
7 | เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2469[19] | 31 มีนาคม พ.ศ. 2470 | ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง | |
1 เมษายน พ.ศ. 2470[20] | พ.ศ. 2475 | เสนาบดีกระทรวงวัง | |||
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 จึงเปลี่ยนชื่อ "กระทรวงวัง" เป็น "ศาลาว่าการพระราชวัง"
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | พ.ศ. 2475 | พ.ศ. 2476 | |
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 กลับมามีฐานะเป็นกระทรวงขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พุทธศักราช 2476
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | พ.ศ. 2476 | พ.ศ. 2477 | |
หลังจากการปรับปรุงฐานะเป็นสำนักพระราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2478 ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง[21] ได้แก่
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) | 1 เมษายน พ.ศ. 2478 | 31 มกราคม พ.ศ. 2490 | |
2 | พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2509 | |
3 | ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509 | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 | |
4 | พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 | |
5 | แก้วขวัญ วัชโรทัย | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 | 15 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
6 | รองศาสตราจารย์ ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา | 23 กันยายน พ.ศ. 2559 | 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 | |
7 | พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล | 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 | ปัจจุบัน | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.