Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปองพล อดิเรกสาร (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2485) ชื่อเล่น ป๊อก อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นบุตรของประมาณ อดิเรกสาร อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นบิดาของ ปรพล อดิเรกสาร อดีตสส.สระบุรี และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นิตยสาร TVK mag
ปองพล อดิเรกสาร | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2535 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | อาสา สารสิน |
ถัดไป | อาสา สารสิน |
เลขาธิการพรรคชาติไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2540 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 | |
ก่อนหน้า | เสนาะ เทียนทอง |
ถัดไป | สนธยา คุณปลื้ม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มีนาคม พ.ศ. 2485 อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–2564, 2566–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชาติไทย (2517–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) รวมไทยสร้างชาติ (2564–2566) สร้างอนาคตไทย (2566) |
คู่สมรส | นางธิดา อดิเรกสาร |
นอกจากเป็นนักการเมืองแล้ว ยังเป็นเจ้าของนามปากกา Paul Adirex มีผลงานนิยายภาษาอังกฤษและภาษาไทยหลายเล่ม
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยลีไฮ สหรัฐอเมริกา และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา [1] และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 32
ปองพล อดิเรกสาร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี หลายสมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526, 2535/1, 2538 และ พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2535[2] เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2540-2543 เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2544-2545 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2545-2546 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]
กระทั่งวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายปองพลได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์[4] แต่ต่อมาปองพลได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 6 กันยายน[5] เนื่องจากปรพลซึ่งเป็นบุตรชายต้องการเปลี่ยนการลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากระบบบัญชีรายชื่อ เป็นลงสมัครในระบบเขตแทน แต่พรรครวมไทยสร้างชาติมีผู้สมัครในพื้นที่นั้นเรียบร้อยแล้ว โดยได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย และเปิดตัวพร้อมกับการดำรงตำแหน่งประธานพรรคของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และกลุ่มสี่กุมาร ในอีก 2 วันถัดมา[6] แต่ภายหลัง แกนนำพรรคสร้างอนาคตไทยได้ย้ายกลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ จึงทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเขตเลือกตั้งกับผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ปองพลและปรพลจึงลาออกจากสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566[7] และพาปรพลไปสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในวันรุ่งขึ้น[8]
ปองพลหันมาเขียนนิยายหลังไม่ได้รับการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2535 [9] โดยนิยายส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ ตัวเอกเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เน้นการผสมระหว่างประวัติศาสตร์และงานข่าวกรอง
ปัจจุบัน ได้หันมาเป็นพิธีกรผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และถ่ายรูปสัตว์ป่า ที่มีผลงานออกมาหลายชิ้นทั้งหนังสือสารคดี, หนังสือรวบรวมภาพถ่าย และรายการสารคดีทางโทรทัศน์ เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว ทุกวันเสาร์เว้นวันเสาร์ในเวลา 06.00 น. ทางช่อง 3[10] และ เรื่องเล่าข้ามโลก ทุกวันเสาร์ในเวลา 17.00 น. ทางช่อง NOW26
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.