Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐฉี (จีน: 齊)[1] เป็นรัฐในยุคราชวงศ์โจวในจีนโบราณ ซึ่งถูกมองว่าเป็นอาณาจักรชายแดน ดัชชีและอาณาจักรอิสระ มีเมืองหลวงคือหลินจือ ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลซานตงในปัจจุบัน
ฉี 齊 *Dzəj | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1046 ก่อน ค.ศ.–221 ก่อน ค.ศ. | |||||||||
แผนที่รัฐฉีเมื่อ 260 ก่อน ค.ศ. | |||||||||
สถานะ |
| ||||||||
เมืองหลวง | อิงฉิว (ศ.11 –866 ก่อน ค.ศ.) ป๋อกู (866–859 ก่อน ค.ศ.) หลินจือ (859–221 ก่อน ค.ศ.) | ||||||||
ศาสนา |
| ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
กงแห่งรัฐฉี | |||||||||
• 685–643 ก่อน ค.ศ. | ฉีหวนกง | ||||||||
• 547–490 ก่อน ค.ศ. | ฉีจิ่งกง | ||||||||
ช่างชิง (อัครมหาเสนาบดี) | |||||||||
• 685–645 ก่อน ค.ศ. | ก่วน จ้ง | ||||||||
• 556–500 ก่อน ค.ศ. | ยั่น อิง | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• สถาปนาเจียงไท่กงเป็นเจ้าผู้ปกครองรัฐ | 1046 ก่อน ค.ศ. | ||||||||
• ฉีหวนกงตั้งตัวเป็นอธิราช | 667 ก่อน ค.ศ. | ||||||||
• สกุลเถียนเข้าปกครองรัฐฉีแทนสกุลเจียงอย่างเป็นทางการ | 386 ก่อน ค.ศ. | ||||||||
• รัฐฉียกฐานะตนเองเป็นราชอาณาจักร | 356 ก่อน ค.ศ. | ||||||||
• รัฐฉินพิชิตรัฐฉี | 221 ก่อน ค.ศ. | ||||||||
สกุลเงิน | เงินตรารูปมีด | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
รัฐฉีก่อตั้งขึ้นไม่นานหลังจากราชวงศ์โจวโค่นล้มราชวงศ์ซางในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล เจ้าแคว้นคนแรกคือเจียง จื่อหยา อัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าโจวเหวิน และบุคคลในตำนานในวัฒนธรรมจีน ตระกูลของเขาปกครองรัฐฉีเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนที่จะถูกแทนที่โดยตระกูลเถียนเมื่อ 386 ปีก่อนคริสตกาล ใน 221 ปีก่อนคริสตกาล รัฐฉีเป็นรัฐสุดท้ายที่ถูกผนวกโดยรัฐฉินระหว่างการรวมประเทศจีน[2]
ระหว่างที่ราชวงศ์โจวทำสงครามพิชิตราชวงศ์ซาง เจียง จื่อหยา ชาวจวี่เซี่ยน ได้ทำหน้าที่เป็นอัครมหาเสนาบดีให้แก่พระเจ้าโจวอู่หวาง (จิวบู๊อ๋อง) ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันที่เขาเคยรับราชการในสมัยพระเจ้าโจวเหวินหวาง (จิวบุนอ๋อง) ผู้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าโจวอู่หวาง เมื่อราชวงศ์โจวได้รับชัยชนะ ดินแดนส่วนใหญของคาบสมุทรซานตงและพื้นที่ใกล้เคียงบางส่วนได้ถูกรวบรวมก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐฉี มีฐานะเป็นรัฐสามนตราช (รัฐบริวาร) ของกษัตริย์ราชวงศ์โจว โดยมีเจียง จื่อหยา ทำหน้าที่ปกครองและป้องกันดินแดนส่วนนี้ เมื่อพระเจ้าโจวอู่หวางสวรรคต เจียง จื่อหยา ยังคงแสดงความภักดีต่อผู้สำเร็จราชการโจวกงในระหว่างเกิดเหตุการณ์กบฏซานเจี้ยน ในครั้งนั้นเจ้าชายอู่เกิงแห่งราชวงศ์ซางได้ก่อการกบฎร่วมกับดินแดนเหยียน สวี และป๋อกู ในบริเวณตงอี้ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตแดนของรัฐฉี เหตุกบฎครั้งนี้่ถูกปราบปรามลงได้ในช่วง 1039 ปีก่อนคริสตกาล แต่ข้อมูลในเอกสาร "บันทึกไม้ไผ่" (汲冢紀年; จี๋จงจิ้นเหนียน) ระบุไว้ว่า ชนพื้นเมืองในเขตป๋อกูยังคงก่อการกบฏมาอีกราว 1 ทศวรรษก่อนจะถูกทำลายลงเป็นครั้งที่ 2 ในช่วง 1026 ปีก่อนคริสตกาล
เอกสารที่ตกทอดมาจากสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกนั้นมีหลงเหลิออยู่น้อยมาก แต่เป็นที่รับรู้ว่าในรัชสมัยของพระเจ้าโจวอี๋หวาง (865–858 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ได้ส่งกองทัพมาปราบรัฐฉีและลงโทษประหารชีวิตฉีอายกงด้วยการให้ต้มในกระทะทั้งเป็น ต่อมาในสมัยพระเจ้าโจวเซวียนหวาง (827–782 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เกิดการต่อสู้เพื่อช่วงชิงการสืบทอดอำนาจในรัฐฉี ในระยะนี้ชนพื้นเมืองชาวตงอี้เผ่าต่างๆ ได้ถูกหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมราชวงศ์โจวอย่างเต็มที่
วิกฤตการณ์การสืบราชสมบัติหลังการสวรรคตอย่างทารุณของพระเจ้าโจวโยวหวาง (จิวอิวอ๋อง) ได้นำไปสู่ความสูญเสียอำนาจทางการเมืองและการทหารของราชสำนักโจวอย่างใหญ่หลวงจนไม่สามารถกอบกู้คืนมาได้ ภายใต้สภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้ รัฐฉีได้ขึ้นมามีบทบาทเด่นภายใต้การนำของฉีหวนกง (อยู่ในตำแหน่ง 685–643 ปีก่อนคริสตกาล) ทั้งเขาและเสนาบดีก่วน จ้ง ได้เสริมความเข้มแข็งของรัฐฉีด้วยรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางโดยจัดเก็บรายได้จากบรรดาขุนนางเจ้าที่ดิน แบ่งเขตการปกครองด้วยระบบเทศมณฑลซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับโดยตรงของเสนาบดีของรัฐ[3] รัฐฉีได้ผนวกหน่วยการปกครอง 35 หน่วยที่อยู่ในเขตแดนใกล้เคียง เช่น รัฐตั๋น และดินแดนอื่นๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉี แผนการปฏิรูปการบริหารรัฐของก่วน จ้ง ยังได้รวมถึงการให้รัฐเป็นผู้ผูกขาดการค้าเหล็กและเกลือ และโดยรวมแล้วได้จัดการปกครองให้อิงตามกฎหมายของรัฐ ซึ่งเป็นลักษณะเบื้องต้นของแนวคิดนิติธรรม (ฝ่าเฉีย) ในปรัชญาจีนที่จะปรากฏชัดเจนในยุคต่อมา[4]: 526
รัฐฉี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำว่า "ฉี" ในรูปลักษณ์อักษรจ้วนชู (อักษรตราประทับ) (บน), อักษรจีนตัวเต็ม (กลาง), และอักษรจีนตัวย่อ (ล่าง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 齊 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 齐 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ในช่วง 667 ปีก่อนคริสตกาล เจ้าผู้ปกครองรัฐฉี รัฐหลู่ รัฐซ่ง รัฐเฉิน และรัฐเจิ้ง ได้จัดการชุมนุมร่วมกันระหว่างรัฐสามนตราชของราชวงศ์โจวเป็นครั้งแรก และที่ประชุมได้เลือกให้ฉีหวนกงเป็นผู้นำของบรรดารัฐสามนตราชเหล่านั้น หลังจากนั้นพระเจ้าโจวฮุ่ยหวาง จึงได้พระราชทานสมัญญานามแก่ฉีหวนกงว่า ป้า (霸; "Bà"[5] โดยศัพท์แปลว่า ลูกพี่ใหญ่) ซึ่งพอจะแปลโดยนัยได้ว่า "อธิราช" (ในหนังสือเลียดก๊กฉบับแปลภาษาไทยเรียกว่า หัวเมืองเอกใหญ่กว่าหัวเมืองทั้งปวง) โดยเจ้าผู้ครองรัฐที่ดำรงตำแหน่งนี้จะต้องให้สัตย์ในการปกป้องราชสำนักโจวและรับรองพระราชอำนาจของโอรสสวรรค์ (กษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว) ฉีหวนกงถือเป็นอธิราชคนแรกในหมู่ห้าอธิราช[6] เขาได้รับเครื่องบรรณาการจากรัฐสามนตราชขนาดรองต่างๆ และมีเกียรติยศได้รับการรับรองจากราชสำนักโจวยิ่งกว่าบรรดาสามนตราชทุกรัฐ และสามารถส่งกองทัพไปรบในพระนามของกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวได้ ด้วยอำนาจเช่นนี้เอง ในช่วง 11 ปีแรกแห่งการเป็นอธิราช ฉีหวนกงจึงได้เข้าแทรกแซงความขัดแย้งทางการเมืองภายในรัฐหลู่ ปกป้องรัฐเยียนจากการรุกรานของชนนอกด่านเผ่าซีหรง ขับไล่ชนเผ่าเป๋ยตี๋ซึ่งเข้ามารุกรายรัฐเหว่ยและรัฐซิง บำรุงราษฎรด้วยการสะสมเสบียงอาหารและจัดหากำลังทหารป้องกันรัฐ และเป็นผู้นำคณะพันธมิตรแปดรัฐในการปราบปรามรัฐไช่และสกัดกั้นไม่ให้รัฐฉู่ขยายอำนาจเข้ามาคุกคามบรรดารัฐสามนตราชทางทิศเหนือได้[7]
หลังจากฉีหวนกงถึงแก่อสัญกรรม เกิดสงครามแย่งชิงการสืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองรัฐฉีระหว่างผู้อ้างสิทธิ์กลุ่มต่างๆ ทำให้รัฐฉีอ่อนแลลงมากและเป็นจุดสิ้นสุดแห่งความเป็นรัฐอธิราช ถึง 632 ปีก่อนคริสตกาล รัฐฉีได้ช่วยรัฐจิ้นในการทำสงครามกับรัฐฉู่ในสมรภูมิเฉิงผู ก่อนที่รัฐจิ้นจะเอาชนะรัฐฉีในสงครามได้ในอีกราวสามสิบปีให้หลัง กระทั่งเมื่อ 579 ปีก่อนคริสตกาล รัฐฉิน รัฐจิ้น รัฐฉู่ และรัฐฉี สี่มหาอำนาจแห่งยุคนั้น จึงได้ประกาศพักรบและจำกัดกำลังทหารของแต่ละฝ่ายลง
ในช่วงต้นของยุครณรัฐ รัฐฉีได้ทำการผนวกรัฐขนาดเล็กต่างๆ จำนวนหนึ่งเข้าเป็นดินแดนของตนเอง และริเริ่มในการให้ความอุปถัมภ์บัณฑิตและนักปราชญ์ต่างๆ ในช่วง 532 ปีก่อนคริสตกาล สกุลเถียนได้ทำลายตระกูลคู่แข่งต่างๆ ลงและก้าวเข้ามามีบทบาทชี้นำทิศทางของรัฐฉี ถึงช่วง 485 ปีก่อนคริสตกาล สกุลเถียนได้สังหารทายาทผู้สืบทอดสกุลเจียงซึ่งเป็นสกุลผู้ปกครองรัฐฉีโดยชอบธรรม และต่อสู้แย่งชิงอำนาจกับตระกูลอื่นๆ กระทั่งในอีก 4 ปีต่อมา ประมุขสกุลเถียนก็ได้สังหารเจ้าผู้ปกครองหุ่นเชิด ครอบครัวส่วนใหญ่ของเจ้าผู้ปกครองรัฐ และผู้นำสกุลคู่แข่งอีกจำนวนหนึ่ง แล้วเข้ากุมอำนาจการปกครองส่วนใหญ่ของรัฐฉี คงไว้ให้เจ้าผู้ปกครองสกุลเจียงมีอำนาจเพียงในเขตเมืองหลวงหลินจือและพื้นที่แถบเขาไท่ซานเท่านั้น ในช่วง 386 ปีก่อนคริสตกาล สกุลเถียนก็ได้เข้าปกครองรัฐฉีแทนที่สกุลเจียงโดยสมบูรณ์และได้รับการรับรองจากราชสำนักโจว ยุครณรัฐได้ดำเนินต่อมาจนกระทั่งสิ่นสุดลงเมื่อรัฐฉินเข้าพิชิตรัฐฉีได้เป็นรัฐสุดท้ายในสงครามรวมแผ่นดินเมื่อ 222 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐฉี และเป็นจุดเริ่มต้นยุคจักรวรรดิของชาวจีน
ยศ | ชื่อตัว | ดำรงตำแหน่ง | ความสัมพันธ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ฉีไท่กง 齊太公 | ช่าง 尚 | ศตวรรษที่ 11 ก่อน ค.ศ. | ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระเจ้าโจวอู่หวัง (จิวบู๊อ๋อง), เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ เจียงไท่กง หรือ ไท่กงวั่ง, ตั้งเมืองหลวงที่อิงฉิว | |
ฉีติงกง 齊丁公 | จี๋ 伋 | ศตวรรษที่ 10 ก่อน ค.ศ. | ทายาทชั้นลืบ (ทายาทรุ่นที่ 5) นับจากฉีไท่กง (เจียงไท่กง) | โดยธรรมเนียมแล้วเชื่อว่าเป็นบุตรของฉีไท่กง |
ฉีอี่กง 齊乙公 | เต๋อ 得 | ศตวรรษที่ 10 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีติงกง | |
ฉีกุ่ยกง 齊癸公 | สีหมู่ 慈母 | ราวศตวรรษที่ 10 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีอี่กง | |
ฉีอายกง 齊哀公 | ปู้เฉิน 不辰 | ศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีกุ่ยกง | ถูกพระเจ้าโจวอี๋หวางลงโทษให้ต้มในกระทะทั้งเป็น |
ฉีหูกง 齊胡公 | จิ้ง 靜 | ศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีกุ่ยกง | ย้ายเมืองหลวงมายังเมืองป๋อกู, ถูกสังหารโดยฉีเซียนกง |
ฉีเซี่ยนกง 齊獻公 | ชาน 山 | 859?–851 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีกุ่ยกง | ย้ายเมืองหลวงกลับมายังเมืองหลินจือ |
ฉีอู่กง 齊武公 | โช่ว 壽 | 850–825 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีเซี่ยนกง | |
ฉีลี่กง 齊厲公 | อู๋จี้ 無忌 | 824–816 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีอู่กง | ถูกสังหารโดยผู้สนับสนุนของฉีหูกง |
ฉีเหวินกง 齊文公 | ชี่ 赤 | 815–804 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีลี่กง | |
ฉีเฉิงกง 齊成公 | เยฺว่ 說 | 803–795 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีเหวินกง | |
ฉีจวงกงที่ 1 (ฉีเฉียนจวงกง) 齊前莊公 | โก้ว 購 | 794–731 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีเฉิงกง | อยู่ในตำแหน่ง 64 ปี |
ฉีซีกง 齊僖公 | ลู่ฝู่ 祿甫 | 730–698 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีจวงกงที่ 1 | |
ฉีเซียงกง 齊襄公 | จูเอ๋อร์ 諸兒 | 697–686 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีซีกง | มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับนางเหวิน เจียง ซึ่งเป็นน้องสาวของตนเอง, สังหารหลู่หวนกง สามีของน้องสาว, ยึดครองรัฐจี้สำเร็จ, ถูกกงซุนอู๋จือผู้เป็นญาติสังหาร |
ไม่มี | อู๋จือ 無知 | 686 ก่อน ค.ศ. | ญาติของฉีเซียงกง, หลานปู่ของฉีจวงกงที่ 1 | ถูกสังหารโดยหย่ง หลิน |
ฉีหวนกง 齊桓公 | เสี่ยวไป๋ 小白 | 685–643 ก่อน ค.ศ. | น้องชายของฉีเซียงกง | ตั้งตัวเป็นอธิราชคนแรกในหมู่ห้าอธิราช, รัฐฉีเรืองอำนาจมากที่สุดในยุคนี้, ถูกเหล่าเสนาบดีกักบริเวณให้อดอาหารจนถึงแก่อสัญกรรม |
ไม่มี | อู๋คุ่ย หรือ อู๋กุ้ย 無虧 หรือ 無詭 | 643 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีหวนกง | ถูกสังหารโดยผู้สนับสนุนฉีเซี่ยวกง |
ฉีเซี่ยวกง 齊孝公 | จาว 昭 | 642–633 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีหวนกง | ผู้สืบทอดโดยชอบธรรม (ไท่จื่อ) แห่งรัฐฉี |
ฉีจาวกง 齊昭公 | พาน 潘 | 632–613 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีหวนกง | ผู้สนับสนุนของฉีจาวกงสังหารบุตรของฉีเซี่ยวกง |
ไม่มี | เฉ่อ 舍 | 613 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีจาวกง | ถูกสังหารโดยฉีอี้กง |
ฉีอี้กง 齊懿公 | ชางเหริน 商人 | 612–609 ก่อน ค.ศ. | อาของกงจื่อเฉ่อ, บุตรของฉีหวนกง | ถูกสังหารโดยเสนาบดี 2 คน |
ฉีฮุ่ยกง 齊惠公 | หยวน 元 | 608–599 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีหวนกง | ปราบปรามเผ่าตี๋ซึ่งรุกรานชายแดนได้สำเร็จ |
ฉีฉิ่งกง 齊頃公 | อู่เหย่ 無野 | 598–582 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีฮุ่ยกง | พ่ายแพ้ต่อรัฐจิ้นที่สมรภูมิอัน |
ฉีหลิงกง 齊靈公 | หวน 環 | 581–554 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีฉิ่งกง | ผนวกรัฐไหล; พ่ายแพ้ต่อรัฐจิ้นที่สมรภูมิผิงอิน, เมืองหลวงหลินจือถูกเผา |
ฉีจวงกงที่ 2 (ฉีโฮ่วจวงกง) 齊後莊公 | กวง 光 | 553–548 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีหลิงกง | ได้สืบทอดตำแหน่งโดยการสังหารกงจื่อหยา โดยได้รับความช่วยเหลือจากเสนาบดีชุย จู้; เป็นชู้กับอนุภรรยาของชุย จู้ และถูกชุย จู้ สังหาร |
ฉีจิ่งกง 齊景公 | ฉู่จิ้ว 杵臼 | 547–490 ก่อน ค.ศ. | พี่น้องต่างมารดาของฉีจวงกงที่ 2 | สังหารชุย จู้, ได้ยั่น อิง มาทำหน้าที่อัครมหาเสนาบดี |
อันรู่จื่อ 安孺子 | ตู่ 荼 | 489 ก่อน ค.ศ. | บุตรคนเล็กสุดของฉีจิ่งกง | ถูกถอดถอนโดยเสนาบดีเถียน ฉี และถูกเสนาบดีเต้ากงสังหาร |
ฉีต้าวกง 齊悼公 | หยางเชิง 陽生 | 488–485 ก่อน ค.ศ. | บุตรฉีจิ่งกง | ถูกสังหารโดยเสนาบดีคนหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเถียน เหิง |
ฉีเจี่ยนกง 齊簡公 | เหริน 壬 | 484–481 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีเต่ากง | ถูกสังหารโดยเถียน เหิง |
ฉีผิงกง 齊平公 | อ้าว 驁 | 480–456 ก่อน ค.ศ. | น้องชายของฉีเจี่ยนกง | |
ฉีเซวียนกง, ฉีซวนกง 齊宣公 | จี 積 | 455–405 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีผิงกง | |
ฉีคังกง 齊康公 | ไต้ 貸 | 404–386 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีเซวียนกง | ถูกเถียน เหอ ถอดออกจากตำแหน่ง, ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 379 ก่อน ค.ศ. |
ยศ/พระนาม | ชื่อตัว/พระนามจริง | ดำรงตำแหน่ง/ครองราชย์ | ความสัมพันธ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ฉีไท่กง 齊太公 | เถียน เหอ 田和 | 404–384 ก่อน ค.ศ. | บุตรของเถียนไป๋ | ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ปกครองรัฐฉีโดยชอบธรรมเมื่อ 386 ก่อน ค.ศ., ในทางประวัติศาสตร์เรียกว่า เถียนฉีไท่กง เพื่อให้แตกต่างจากฉีไท่กงแห่งสกุลเจียง |
ไม่มี | เถียน เหยี่ยน 田剡 | 383–375 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีไท่กง | ถูกสังหารโดยฉีหวนกง |
ฉีหวนกง 齊桓公 | เถียน อู่ 田午 | 374–357 ก่อน ค.ศ. | น้องชายของเถียนเหยี่ยน | ในทางประวัติศาสตร์เรียกว่า เถียนฉีหวนกง เพื่อให้แตกต่างจากฉีหวนกงแห่งสกุลเจียง |
พระเจ้าฉีเวยหวาง 齊威王 | เถียน อินฉี 田因齊 | 356–320 ก่อน ค.ศ. | บุตรของฉีหวนกง | อ๋อง (หวาง) องค์แรกแห่งรัฐฉี, รัฐฉีเรืองอำนาจที่สุดในยุครณรัฐ |
พระเจ้าฉีเซวียนหวาง 齊宣王 | เถียน ปี้เจี้ยง 田辟彊 | 319–300 ก่อน ค.ศ. | โอรสของพระเจ้าฉีเวยหวาง | |
พระเจ้าฉีมินหวาง 齊愍王 | เถียน ตี้ 田地 | 300–283 ก่อน ค.ศ. | โอรสของพระเจ้าฉีเซวียนหวาง | ประกาศตัวเป็น "ตงตี้" (จักรพรรดิบูรพา) เป็นระยะเวลาสั้นๆ |
พระเจ้าฉีเซียงหวาง 齊襄王 | เถียน ฝ่าจาง 田法章 | 283–265 ก่อน ค.ศ. | โอรสของพระเจ้าฉีมินหวาง | |
ไม่มี | เถียน เจี้ยน 田建 | 264–221 ก่อน ค.ศ. | โอรสของพระเจ้าฉีเซียงหวาง | รัฐฉินพิชิตรัฐฉีได้สำเร็จ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.