เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 3 เมษายน พ.ศ. 2513) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2484 – 1 สิงหาคม 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 8 ธันวาคม 2494 – 30 มีนาคม 2500 | |
ก่อนหน้า | หลวงวิจิตรวาทการ |
ถัดไป | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 กุมภาพันธ์ 2478 – 19 สิงหาคม 2484 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ถัดไป | พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) |
ถัดไป | พลเรือตรี หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤศจิกายน 2436 กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรสยาม |
เสียชีวิต | 3 เมษายน พ.ศ. 2513 (76 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงมากะริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ[1] (มากะริต ดว๊อต) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2464–2494 |
ยศ | พลเอก |
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ[3] เดิมชื่อเภา เพียรเลิศ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ที่บ้านหน้าวัดอมรินทราราม ในคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรีในครั้งนั้น เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายเพ็ชร์และนางส้มจีน เพียรเลิศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 11 คน จบการศึกษาชั้นประถมบริบูรณ์จากโรงเรียนวัดอมรินทราราม ชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสวนกุหลาบ แล้วเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2449 และเมื่อ พ.ศ. 2452 ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเยอรมัน แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงต้องย้ายไปศึกษาและปฏิบัติงานในราชการกองทัพบก ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ตามลำดับ โดยขณะนั้นมียศร้อยตรี (ร.ต.) ได้เป็นหนึ่งใน 19 นายทหารระดับสูงที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกองทัพไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เรียกว่า "กองทูตศึกสัมพันธมิตร" ที่นำโดย พลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ (ต่อมาคือ พลโท พระยาเทพหัสดิน [4]) จนถึง พ.ศ. 2464 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย รับราชการทหารจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระบริภัณฑ์ยุทธกิจเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2472[5] และดำรงตำแหน่งพลาธิการทหารบกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2477 ขณะมียศเป็นพันเอก[6]
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ เมื่อ พ.ศ. 2484[7]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้เป็น พลตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2484 และรับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษในวันถัดมา[8][9]
ใน พ.ศ. 2478 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการอีกตำแหน่งหนึ่ง หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งและคืนสู่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์[10] ฯลฯ รวมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องรับผิดชอบการเงินหรือการค้าของชาติเป็นระยะ ๆ ตามความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และได้รับพระราชทานยศทางทหารสูงขึ้นเป็นลำดับจนถึงชั้นพลเอก ใน พ.ศ. 2494
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เกิดรัฐประหาร ยุบคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐประหารประกาศแต่งตั้งคณะบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการในคณะบริหารดังกล่าว[11] พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ จึงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยตำแหน่งในช่วงเวลานั้น ได้ขอจดทะเบียนนามสกุลใหม่ตามบรรดาศักดิ์ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ ในปี พ.ศ. 2484
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร 2 สมัย[12]
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2500[13]
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ สมรสกับคุณหญิงมาเกอริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ (นางสาวมาเกอริต ดว๊อต) มีบุตรและบุตรบุญธรรม คือ เรืออากาศเอก กระจัง บริภัณฑ์ยุทธกิจ (ถึงแก่กรรม) นายอังกูร บริภัณฑ์ยุทธกิจ และนางวลัยวรรณ ติตติรานนท์ (บุตรบุญธรรม) พลเอก เภาเพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2513 สิริอายุ 76 ปี 4 เดือน 24 วัน[ต้องการอ้างอิง] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.