ศิริ สิริโยธิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตรี ศิริ สิริโยธิน (5 สิงหาคม 2458 - 31 กรกฎาคม 2522) เป็นอดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 5 สมัย
ศิริ สิริโยธิน | |
---|---|
![]() | |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | นายวรการบัญชา |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
รองประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
ก่อนหน้า | พระประจนปัจจนึก |
ถัดไป | ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มีนาคม พ.ศ. 2497 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ถัดไป | พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 12 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงสุนาวินวิวัฒน์ |
ถัดไป | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ |
ถัดไป | ทวิช กลิ่นประทุม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ประชุม รัตนเพียร |
ถัดไป | ภิญโญ สาธร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
ก่อนหน้า | ชาย สุอังคะ |
ถัดไป | ดรงค์ สิงห์โตทอง ประจวบ ศิริวรวาท |
เขตเลือกตั้ง | เขต 1 (2500/1,2500/2,2512) |
ดำรงตำแหน่ง 4 เมษายน พ.ศ. 2519 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 | |
ก่อนหน้า | ประจวบ ศิริวรวาท |
ถัดไป | คณิน บุญสุวรรณ |
เขตเลือกตั้ง | เขต 2 (2519,2522) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2458 จังหวัดชลบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (63 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา สหประชาไทย ชาติไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงอำไพ ศิริโยธิน |
ประวัติ
พลตรี ศิริ สิริโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2458 สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และ ได้รับปริญญาสังคมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล[1] สมรสกับคุณหญิงอำไพ ศิริโยธิน
งานการเมือง
สรุป
มุมมอง
พลตรีศิริ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[2] และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2522 รวม 5 สมัย
พลตรี ศิริ สิริโยธิน ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10[3] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ[4] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลจอมพลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2500[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2518[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[7] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[8] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[9]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พลตรีศิริ สิริโยธิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดชลบุรี ไม่สังกัดพรรคการเมือง[10]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคสหประชาไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
พลตรี ศิริ สิริโยธิน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 สิริอายุรวม 63 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2523 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พลตรี ศิริ สิริโยธิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2512 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2497 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2513 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2477 –
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[14]
- พ.ศ. 2491 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[16]
- พ.ศ. 2497 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2499 –
เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2499 –
เยอรมนี :
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2499 –
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.