Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเขมร (เขมร: ភាសាខ្មែរ, ออกเสียง [pʰiə.ˈsaː kʰmae]) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก และได้รับอิทธิพลหลาย ๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษาและความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ภาษาเขมร | |
---|---|
ภาษากัมพูชา | |
ភាសាខ្មែរ, ខេមរភាសា | |
วลี "ภาษาเขมร" ในอักษรเขมร | |
ออกเสียง | [pʰiəsaː kʰmae] [kʰeːmarapʰiəsaː] |
ประเทศที่มีการพูด | กัมพูชา ไทย (ภาคตะวันออกและภาคอีสาน) เวียดนาม (ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและภาคตะวันออกเฉียงใต้) |
ชาติพันธุ์ | ชาวเขมร |
จำนวนผู้พูด | 16 ล้านคน (2007)[1] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรเอเชียติก
|
รูปแบบก่อนหน้า | เขมรดั้งเดิม
|
ระบบการเขียน | อักษรเขมร อักษรเบรลล์เขมร |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | กัมพูชา
อาเซียน[2] |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ไทย เวียดนาม |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | km |
ISO 639-2 | khm |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:khm – ภาษาเขมรกลางkxm – ภาษาเขมรถิ่นไทย |
Linguasphere | 46-FBA-a |
บริเวณที่มีการใช้ภาษาเขมร |
ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์
ระบบสัทอักษรด้านล่างเป็นเสียงภาษาพูดแบบมาตรฐาน[3] มีเสียงสระและพยัญชนะดังต่อไปนี้ (เขียนตาม IPA)
ปรากฏในตำแหน่งพยัญชนะท้ายได้ 13 หน่วยเสียงคือ p t c k ʔ h m n ɲ ŋ w j l นอกจากนี้ ในคำยืมบางคำปรากฏเสียงพยัญชนะ f/ฟ จากภาษาไทย จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ เวียดนาม และ ʃ, z , และ g ในคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ
นักเขียนหลายคนเสนอระบบสระภาษาเขมรต่างกัน ตารางด้านล่างมาจาก Huffman (1970)[3]
หน้า | กลาง | หลัง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | |
ปิด | i | iː | ɨ | ɨː | u | uː |
กลางปิด | e | eː | ə | əː | o | oː |
กลางเปิด | ɛː | ɔː | ||||
เปิด | a | aː | ɑ | ɑː |
หน้า | กลาง | หลัง | ||
---|---|---|---|---|
สั้น | centering | ĕə | ŏə, ŭə | |
ยาว | centering | iə | ɨə | ɔə, uə |
mid closing | ei | əɨ | ou | |
open closing | ae | aə | ao |
คำในภาษาเขมรมักจะประกอบด้วย 1 หรือ 2 พยางค์ มีเสียงอักษรควบจากพยัญชนะ 2 ตัวอยู่ที่ปรากฏที่ต้นพยางค์อยู่ 85 เสียง และมีอักษรควบจากจาก พยัญชนะ 3 ตัวอยู่ 2 เสียง ดังตาราง
p | ɓ | t | ɗ | c | k | ʔ | m | n | ɲ | ŋ | j | l | r | s | h | ʋ | t+h | k+h | t+r | k+r | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
p | pʰt- | pɗ- | pʰc- | pʰk- | pʔ- | pʰn- | pʰɲ- | pʰŋ- | pʰj- | pʰl- | pr- | ps- | pʰ- | ||||||||
t | tʰp- | tɓ- | tʰk- | tʔ- | tʰm- | tʰn- | tʰŋ- | tʰj- | tʰl- | tr- | tʰ- | tʰʋ- | |||||||||
c | cʰp- | cɓ- | cɗ- | cʰk- | cʔ- | cʰm- | cʰn- | cʰŋ- | cʰl- | cr- | cʰ- | cʰʋ- | |||||||||
k | kʰp- | kɓ- | kʰt- | kɗ- | kʰc- | kʔ- | kʰm- | kʰn- | kʰɲ- | kŋ- | kʰj- | kʰl- | kr- | ks- | kʰ- | kʰʋ- | |||||
s | sp- | sɓ- | st- | sɗ- | sk- | sʔ- | sm- | sn- | sɲ- | sŋ- | sl- | sr- | sʋ- | stʰ- | str- | skr- | |||||
ʔ | ʔʋ- | ||||||||||||||||||||
m | mt- | mɗ- | mc- | mʔ- | mn- | mɲ- | ml- | mr- | ms- | mh- | |||||||||||
l | lp- | lɓ- | lk- | lʔ- | lm- | lŋ- | lh- | lʋ- | lkʰ- |
แต่ละพยางค์จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะหรือพยัญชนะควบกล้ำ ตามด้วยเสียงสระ แต่ละพยางค์สามารถจะมีเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ลงท้าย เมื่อใช้เสียงสระสั้น จะต้องลงท้ายด้วยพยัญชนะ
โครงสร้างของคำในภาษาเขมรที่มีมากที่สุดเป็นพยางค์เต็มตามที่อธิบายไว้ข้างบน ต่อหน้าด้วยพยางค์สั้นที่มีโครงสร้าง CV-, CɽV-, CVN- หรือ CɽVN- (C เป็นพยัญชนะ V เป็นสระ N เป็น m/ม, n/น, ɲ หรือ ŋ/ง). สระในพยางค์สั้นเหล่านี้มักจะออกเสียงเป็น ə ในภาษาพูด การงดออกเสียงบางเสียงในพยางค์แรกของคำสองพยางค์ทำให้ภาษาเขมรโดยเฉพาะภาษาพูดกลายเป็นคำพยางค์ครึ่ง (sesquisyllable)
คำต่าง ๆ สามารถประกอบด้วย 2 พยางค์เต็มได้
คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอื่น ๆ
ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่
ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น "อึม.เปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "trej" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroic โกรจ ในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น khoic" โขจ
ตามแบบลักษณ์ภาษา ชนิดของคำในภาษาเขมรจัดอยู่ในกลุ่มสองกลุ่ม คือภาษาคำโดดและภาษาคำติดต่อ คำส่วนใหญ่เป็นคำโดด แต่มีการสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำซึ่งเป็นลักษณะของภาษาคำติดต่อก็มีมาก ส่วนโครงสร้างประโยคพื้นฐานเป็น ประธาน-กริยา-กรรม และคำขยายมักจะอยู่ด้านหลังของคำหลัก ยกเว้นคำขยายกริยาสามารถปรากฏหน้าหรือหลังของคำกริยาได้โดยมีความหมายเดียวกัน ภาษาเขมรมีลักษณนาม มีคำลงท้ายประโยคที่แสดงทัศนคติหรืออารมณ์ ส่วนลักษณะบางประการทางไวยากรณ์ของภาษาเขมรใกล้เคียงกับไวยากรณ์ในภาษาไทยและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะส่วนภาคพื้นทวีป
ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะเหมือนเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอาหรับ ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ
ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย
ภาษาขอมมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน ทางด้าน ๑ รูปลักษณะตัวอักษร ๒ คำยืม ๓ รูปแบบไวยากรณ์บางประการ ๔ การเปลี่ยนแปลงเสียงบางประการจากเสียงเดิมในภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ป>บ ต>ด โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยสุโขทัย (จารึกหลักที่หนึ่ง) โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้
ในภาษาเขมรนั้นมีการยืมคำภาษาไทยมาใช้เป็นจำนวนมาก โดยติดมากับการค้าขาย โดยคำที่ยืมมาจะมีหลักสังเกตได้ง่าย เช่น ในภาษาเขมรแท้ ๆ จะไม่มีหน่วยเสียง /f/ (เสียง ฝ ฟ) พยัญชนะเขมรจึงไม่มีการประดิษฐ์อักษรที่แทนหน่วยเสียงนี้โดยชัดเจน แต่จะใช้ตัว ហ ซ้อนกับเชิงของ វ เป็น ហ្វ แทนเสียง /f/ ที่เป็นคำยืมในภาษาต่างๆ โดยเฉพาะภาษาไทย
เลขเขมร ตั้งแต่เลข 30 40 50 60 70 80 90 จะเรียกว่า ซามเซ็บ แซ็ยเซ็บ ฮาเซ็บ ฮกเซ็บ เจ็ดเซ็บ แปดเซ็บ เกาเซ็บ ตามลำดับ สังเกตได้ว่าเป็นคำยืมการนับเลขจากภาษาไทย และสังเกตว่านับมาได้ช้านานแล้ว
ภาษาเขมรในประเทศไทยพบผู้พูดกระจายอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพบจำนวนผู้พูดกระจุกตัวอยู่มากที่สุด ในภาคกลางของประเทศไทยมีประวัติว่ามีผู้พูดภาษาเขมรในราชบุรี สุพรรณบุรี แต่มีผู้พูดน้อยแล้ว ในกรุงเทพมหานครยังมีชุมชนแขกบ้านครัวที่เป็นชาวเขมรและชาวจามอพยพมาจากพระตะบอง คนสูงวัยบางคนยังจำภาษาเขมรได้บ้างไม่กี่คำ
ข้อความด้านล่างมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1
เขมร | មនុស្សទាំងអស់កើតមកមានសេរីភាពនិងភាពស្មើៗគ្នាក្នុងសិទ្ធិ និងសេចក្ដីថ្លៃថ្នូរ ។ មនុស្សគ្រប់រូបសុទ្ធតែមានវិចារណញ្ញាណនិងសតិសម្បជញ្ញៈ ហើយត្រូវប្រព្រឹត្ដចំពោះគ្នាទៅវិញទៅមកក្នុងស្មារតីរាប់អានគ្នាជាបងប្អូន ។ |
---|---|
ปริวรรตแบบ UNGEGN |
Mônŭss teăng ás kaeut môk méan sériphéap nĭng phéap smaeu-smaeu knéa knŏng sĕtthĭ, nĭng séchâkdei thlaithnor. Mônŭss krôb rub sŏtth tê méan vĭcharônânhnhéan nĭng sâtĕsâmbâchônhnheă, haeuy trov brâprœ̆tt châmpŏăh knéa tŏu vĭnh tŏu môk knŏng smarôtei roăp an knéa chéa bâng b'on. |
สัทอักษสากล | /mɔnuh tĕaŋ ɑh kaət̚ mɔːk̚ miən seːrəjpʰiəp̚ nɨŋ pʰiəp̚ smaəsmaə kniə knoŋ sət̚ nɨŋ seːc̚k̚ɗəj tʰlaj tʰnou. mɔnuh krup̚ ruːp̚ sot̚ tae miən vicaːranaɲiən nɨŋ satəsampacŏəɲɲeaʔ haəj trouʋ prɑprɨt cɑmpŭəh kniə tɨw ʋɨɲ tɨw mɔːk̚ knoŋ smaːrɔːɗəj rŏəp̚ ʔaːn kniə ciə ɓɑːŋ pʔoun/. |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.