ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (อังกฤษ: United Airlines) เป็นสายการบินหลักของสหรัฐ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอย[4][5][6] ตามจำนวนฝูงบินและจุดหมายปลายทาง ยูไนเต็ดแอร์ไลน์เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลก หลังจากการผนวกกิจการเข้ากับคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ในปี 2010[7] ยูไนเต็ดมีฐานการบินหลักในท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ และเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของสตาร์อัลไลแอนซ์
| |||||||
ก่อตั้ง | 6 เมษายน ค.ศ. 1926 (98 ปี) (ในชื่อ วาร์นีย์แอร์ไลน์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 28 มีนาคม ค.ศ. 1931 (93 ปี) | ||||||
AOC # | CALA014A[1] | ||||||
ท่าหลัก | ชิคาโก-โอแฮร์ เดนเวอร์ กวม ฮิวส์ตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล ลอสแอนเจลิส นวร์ก ซานฟรานซิสโก วอชิงตัน-ดัลเลส | ||||||
สะสมไมล์ | ไมล์เอจ พลัส[2] | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์[3] | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 954 | ||||||
จุดหมาย | 354 | ||||||
บริษัทแม่ | ยูไนเต็ดแอร์ไลน์โฮลดิ้ง | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ชิคาโก รัฐอิลลินอย สหรัฐ | ||||||
บุคลากรหลัก | สกอตต์ เคอร์บี (ซีอีโอ) เอดวาร์ด 'เท็ก' ฟิลิป (ประธาน) เจน การ์วีย์ (ประธาน) เบรตต์ ฮาร์ท (ประธาน) เจอร์รี ลาเดอร์แมน (ซีเอฟโอ) | ||||||
ผู้ก่อตั้ง | วอล์ตเตอร์ ที. วาร์นีย์ | ||||||
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ มีต้นกำเนิดจาก วานนีย์แอร์ไลน์ (VAL) ก่อตั้งโดย วอลเทอร์ วานนีย์ ในปี ค.ศ. 1926 เมืองบอยซี รัฐไอดาโฮ ในระยะแรกให้บริการเที่ยวบินขนส่งไปรษณีย์ภายในสหรัฐอเมริกา[8][9][10]
กิจการองค์กร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จุดหมายปลายทาง
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางในประเทศ 238 แห่งและปลายทางระหว่างประเทศ 118 แห่งใน 48 ประเทศใน 6 ทวีป[11]
ฐานการบิน
ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2023 ยูไนเต็ดแอร์ไลน์มีฐานการบินทั้งหมดแปดแห่ง ตามเครือข่ายฮับแอนด์สโปกของสายการบิน ดังนี้:[12]
- ชิคาโก-โอแฮร์ – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภูมิภาคตะวันตกกลางของสหรัฐ โอแฮร์เป็นฐานการบินที่ใหญ่ที่สุดโดยรวมของสายการบิน โดยยูไนเต็ดควบคุมส่วนแบ่งการตลาด 47% ในสนามบิน ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสนามบิน[13] สำนักงานใหญ่ของยูไนเต็ดก็อยู่ในชิคาโกเช่นกัน
- เดนเวอร์ – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภูมิภาคเทือกเขาร็อกกีของสหรัฐ ยูไนเต็ดมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 42% ในเดนเวอร์ ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสนามบิน จากจำนวนเที่ยวบิน เดนเวอร์เป็นฐานการบินที่ใหญ่ที่สุดของยูไนเต็ดในปี 2021
- กวม – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภูมิภาคแปซิฟิก ยูไนเต็ดมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 98.8% ที่กวม ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสนามบิน[14]
- ฮิวส์ตัน–อินเตอร์คอนติเนนตัล – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภาคใต้ของสหรัฐและละตินอเมริกา ปัจจุบันยูไนเต็ดมีส่วนแบ่งที่นั่งประมาณ 78% ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสนามบิน อดีตฐานการบินของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์
- ลอสแอนเจลิส – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภูมิภาคตะวันตกของสหรัฐ รวมถึงเอเชียและออสเตรเลีย ยูไนเต็ดมีส่วนแบ่งตลาด 15% ที่สนามบิน ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสามของสนามบิน
- นวร์ก – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภูมิภาคตะวันออกของสหรัฐ ในขณะที่รวมถึงเที่ยวบินอื่นๆ ที่เลือกไปยังละตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย[15] ยูไนเต็ดมีส่วนแบ่งตลาด 68% ที่นวร์ก ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสนามบิน[16][17] อดีตฐานการบินของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์
- ซานฟรานซิสโก – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภูมิภาคตะวันตกของสหรัฐ รวมถึงเอเชียและออสเตรเลีย ยูไนเต็ดมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 46% ที่สนามบิน ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสนามบิน[18]
- วอชิงตัน–ดัลเลส – ฐานการบินของยูไนเต็ดสำหรับเที่ยวบินในภูมิภาคชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ ยูไนเต็ดมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 65% ที่วอชิงตัน ดัลเลส ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสนามบิน
พันธมิตรการบินและข้อตกลงการบินร่วม
- แอร์ลิงกัส
- อาเอโรมาร์
- แอร์แคนาดา
- แอร์ไชน่า
- แอร์อินเดีย
- แอร์โดโลมีติ
- แอร์นิวซีแลนด์
- ออล นิปปอน แอร์เวย์
- เอเชียนาแอร์ไลน์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- อาเบียงกา
- อาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์
- บูติกแอร์
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์
- เคปแอร์
- โกปาแอร์ไลน์
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- เอมิเรตส์[19]
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- ยูโรวิงส์
- อีวีเอแอร์
- ฮาวาเอียนแอร์ไลน์
- ลอตโปลิชแอร์ไลน์
- ลุฟท์ฮันซ่า[20]
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม
- ซิลเวอร์แอร์เวย์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- ตัปแอร์ปูร์ตูกัล
- การบินไทย
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- วิสตารา
- เวอร์จินออสเตรเลีย[21]
ฝูงบิน
ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 ยูไนเต็ดแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[22][23][24]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
J | F | W | Y+ | Y | รวม | อ้างอิง | ||||
แอร์บัส เอ319-100 | 81 | — | — | 12 | — | 36 | 78 | 126 | [25] | จะเปลี่ยนที่นั่งใหม่เป็น ยูไนเต็ดส์ซิกเนเจอร์ ภายในปี 2025[26] |
แอร์บัส เอ320-200 | 89 | — | — | 12 | — | 42 | 96 | 150 | [27] | |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 8 | 157 | — | 20 | — | 57 | 123 | 200 | [28][29][30] | ส่งมอบจนถึงปี 2032[29] |
แอร์บัส เอ321 เอกซ์แอลอาร์ | — | 50[31] | รอประกาศ | เริ่มส่งมอบในปี 2024[31] | ||||||
แอร์บัส เอ350-900 | — | 45[32] | รอประกาศ | ส่งมอบตั้งแต่ปี 2030[33] | ||||||
โบอิง 737-700 | 40 | — | — | 12 | — | 36 | 78 | 126 | [34] | จะเปลี่ยนที่นั่งใหม่เป็น ยูไนเต็ดส์ซิกเนเจอร์ ภายในปี 2025[26] |
โบอิง 737-800 | 141 | — | — | 16 | — | 48 | 102 | 166 | [35] | |
42 | 108 | |||||||||
โบอิง 737-900 | 12 | — | — | 20 | — | 42 | 117 | 179 | [36] | |
โบอิง 737-900อีอาร์ | 136 | — | — | 20 | — | 45 | 114 | 179 | ||
42 | 117 | |||||||||
39 | 120 | |||||||||
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 87 | 41[37] | — | 16 | — | 54 | 96 | 166 | [35] | |
โบอิง 737 แมกซ์ 9 | 79 | 34[37] | — | 20 | — | 48 | 111 | 179 | [36] | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[38] |
โบอิง 737 แมกซ์ 10 | — | 277[37] | — | 20 | — | 64 | 104 | 188 | [39] | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[40] |
โบอิง 757-200 | 40 | — | 16 | — | — | 45 | 108 | 169 | [41] | |
42 | 118 | 176 | ||||||||
โบอิง 757-300 | 21 | — | — | 24 | — | 54 | 156 | 234 | [42] | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[26] |
โบอิง 767-300อีอาร์ | 13 | — | 30 | — | 24 | 32 | 113 | 199 | จะปลดประจำการภายในปี 2030[43] | |
24 | 46 | — | 22 | 43 | 56 | 167 | ||||
โบอิง 767-400อีอาร์ | 16 | — | 34 | — | 24 | 48 | 125 | 231 | [44] | |
โบอิง 777-200 | 19 | — | — | 28 | — | 102 | 234 | 364 | [45] | ลูกค้าเปิดตัว[46] ใช้ในเที่ยวบินภายในประเทศ[47] |
โบอิง 777-200อีอาร์ | 51 | — | 50 | — | 24 | 46 | 156 | 276 | [45] | |
4 | — | 32 | — | 124 | 206 | 362 | ใช้ในเที่ยวบินภายในประเทศ[47] | |||
โบอิง 777-300อีอาร์ | 22 | — | 60 | — | 24 | 62 | 204 | 350 | [48] | |
โบอิง 787-8 | 12 | 150[38] | 28 | — | 21 | 36 | 158 | 243 | [49] | สั่งซื้อพร้อม 50 ตัวเลือก[50] จะทดแทนโบอิง 767 ที่เก่ากว่าและโบอิง 777[43] |
โบอิง 787-9 | 38 | 48 | — | 21 | 39 | 149 | 257 | [51] | ||
โบอิง 787-10 | 21 | 44 | — | 21 | 54 | 199 | 318 | [52] | ||
บูม โอเวอร์เชอร์ | — | 15 | รอประกาศ | สั่งซื้อ 35 ตัวเลือก | ||||||
รวม | 954 | 769 |
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 16.3 ปี
ข้อกังวลและความขัดแย้งของสายการบิน
ปัญหาด้านบริการต่อผู้โดยสาร
เดฟ แคร์รอลล์ และยูไนเต็ดเบรกส์กีตาส์
ในปี ค.ศ. 2008 ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ได้ทำกีตาร์ของเดฟ แคร์รอลล์ (Dave Carroll) พังเสียหาย แคร์รอลล์ได้อ้างว่า ในขณะลงจากเครื่องบิน เขาได้ยินผู้โดยสารรายอื่นร้องขึ้นว่าพนักงานยกกระเป๋าโยนกระเป๋ากีตาร์แตก และเขาได้เห็นกีตาร์ของเขาพังเสียหายอยู่บนพื้นสนามบิน เขาได้ดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายและดำเนินการทางกฎหมายต่าง ๆ อยู่นานหลายเดือนแต่ก็ไม่เป็นผล จึงตัดสินใจออกเพลง (และมิวสิกวิดีโอ) ประท้วงยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ชื่อเพลง ยูไนเต็ดเบรกส์กีตาส์ (United Breaks Guitars) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 และจากนั้นไม่นานก็ได้ออกเพลง ยูไนเต็ดเบรกส์กีตาส์ 2 และ ยูไนเต็ดเบรกส์กีตาส์ 3 ซึ่งเพลงในชุด ยูไนเต็ดเบรกส์กีตาส์ นี้ประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนในสหรัฐฯ ได้รับรู้ถึงเหตุการณ์หรือปัญหาในลักษณะดังกล่าวนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการใช้บริการสายการบิน และทำให้เกิดภาพที่ไม่ดีต่อยูไนเต็ดแอร์ไลน์ โดยเฉพาะในด้านการบริการ อีกทั้งยังมีรายงานข่าวจากบีบีซีว่าราคาหุ้นของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ได้ตกต่ำลงราว 10% ในช่วง 3-4 สัปดาห์นับจากวันที่แคร์รอลล์ออกเพลงประท้วงเพลงแรกอีกด้วย[53]
ยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรส เที่ยวบินที่ 3411
เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2017 ยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรส เที่ยวบินที่ 3411 มีผู้โดยสารเต็มลำ ทุกคนปฏิเสธที่จะยอมสละที่นั่งให้กับพนักงานสายการบิน 4 คน แม้ว่าจะได้รับค่าชดเชยและการเปลี่ยนเที่ยวบินให้ก็ตาม จึงได้เลือกบังคับผู้โดยสาร 4 คนให้ออกจากเครื่องบิน ผู้โดยสารสามคนแรกยินยอมปฏิบัติตาม และเดวิด เต๋า คือคนที่สี่ เต๋าปฏิเสธ เจ้าหน้าที่ตำรวจของท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์จึงใช้กำลังขับไล่เต๋าออกจากเครื่อง จนเต๋าได้รับบาดเจ็บ วิดีโออุบัติการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกโดยผู้โดยสาร จนกลายเป็นไวรอลบนสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจต่อยูไนเต็ดแอร์ไลน์อย่างรุนแรง (ยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรสเป็นสายการบินในเครือยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ซึ่งใช้ชื่อยี่ห้อและโลโก้ร่วมกัน)
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เครื่องบินของยูไนเต็ดแอร์ไลน์จำนวน 2 ลำ คือ เที่ยวบินที่ 93 และเที่ยวบินที่ 175 ได้ประสบกับวินาศกรรม 11 กันยายน
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.