Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (อังกฤษ: Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มก่อการร้ายและกองกำลังติดอาวุธข้ามชาติที่ดำเนินการตามแนวคิดญิฮัดซาลาฟี ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2015 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิสถานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ | |
---|---|
الدولة الإسلامية في العراق والشام ad-Dawlah al-Islāmiyah fī 'l-ʿIrāq wa-sh-Shām | |
ปฏิบัติการ | 1999–ปัจจุบัน
|
แนวคิด | อุดมการณ์รัฐอิสลาม ลัทธิกุฏบ์ ตักฟีรี ลัทธิวะฮาบีย์ ลัทธิซาลาฟี แพน-อิสลาม ต่อต้านชาวยาซิดี ต่อต้านชีอะห์ ต่อต้านคริสเตียน ต่อต้านฮินดู ต่อต้านความหลากหลายทางเพศ ต่อต้านชาวยิว ต่อต้านเพศหญิง |
กลุ่ม | จังหวัดอัลจีเรีย จังหวัดคอเคซัส จังหวัดแอฟริกากลาง จังหวัดเอเชียตะวันออก จังหวัดกาซา จังหวัดสะฮารา จังหวัดคุรอซาน จังหวัดลิเบีย จังหวัดไซนาย จังหวัดโซมาเลีย จังหวัดแอฟริกาตะวันตกจังหวัดเยเมน |
ผู้นำ | ผู้นำ: อะบู ฮัฟส์ อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี[11]
อดีตผู้นำ: อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี †[12], อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี †[13], อะบู อัลฮะซัน อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี †[14], อะบู อัลฮุสเซน อัลฮุสเซนี อัลกุเราะชี †[15] รองหัวหน้าในอิรัก: อะบู ฟะฏิมะห์ อัลญะฮัยชี[16] รองหัวหน้าในซีเรีย: อะบู อะลี อัลอันบารี †[17][18] รองหัวหน้าในลิเบีย: อับเดลบาเกร์ อันนัจดี[19] หัวหน้าทหาร: อะบูซาเลฮ์ อัลโอบัยดี[16] หัวหน้าสภาชูรอ: อะบูอัรกาน อัลอะเมรี[20] หัวหน้าโฆษก: อะบูโมฮัมมัด อัลอัดนานี †[21][22][23][24][25] หัวหน้าปฏิบัติการทหารซีเรีย: อาบู โอมาร์ อัลชิชานี †[22][26][27][28][29] กระทรวงสงคราม: กุลมูรอด คาลีโมฟ[30] กระทรวงข้อมูล: วะอิล อะดิล ฮะซํน ซัลมาน อัลฟะยัด †[31] โฆษก: อะบู ฮูไทฟา อัลอันซารี |
กองบัญชาการ |
|
พื้นที่ปฏิบัติการ | ดินแดนของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เป็นสีเทา ในช่วงเวลาที่ขยายได้สูงสุด (พฤษภาคม ค.ศ. 2015). รายละเอียดในแผนที่
|
กำลังพล | จำนวนทหาร
|
ส่วนหนึ่งของ | อัลกออิดะฮ์ (2004-2014) |
ถือกำเนิดที่ | ญะมาอัต อัตเตาฮีด วัลญิฮาด (1999)[52] |
พันธมิตร | ดูข้างล่าง |
ปรปักษ์ | รัฐศัตรู
อัฟกานิสถาน ศัตรูที่ไม่ใช่รัฐ |
การสู้รบและสงคราม | สงครามอิรัก (2003-2011) การก่อความไม่สงบในอิรัก สงครามกลางเมืองซีเรีย สงครามในอิรัก (2013-2017) สงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่สอง การก่อความไม่สงบของกลุ่มโบโกฮาราม การก่อความไม่สงบในแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา สงครามในอัฟกานิสถาน สงครามกลางเมืองเยเมน และสงครามอื่นๆ |
วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (อาหรับ: الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้"[53][54][55][56] สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL
กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 1999 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2004 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรักในปี 2003 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2006 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (Islamic State of Iraq หรือ ISI) ในเดือนตุลาคม 2006 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2011 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2011 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2013 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant หรือ ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2014 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2014 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก[57][58][59][60]
เดือนตุลาคม 2014 กองกำลังเฉพาะกิจร่วมนำโดยสหรัฐเริ่มปฏิบัติการโจมตีรัฐอิสลามทางอากาศอย่างหนัก พร้อมด้วยสนับสนุนด้านที่ปรึกษา ยุทโธปกรณ์และการฝึกให้แก่กองทัพอิรักและกองทัพประชาธิปไตยซีเรีย ปฏิบัติการนี้สร้างความเสียหายให้รัฐอิสลามอย่างมาก[61] เดือนกันยายน 2015 รัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางอากาศในซีเรีย ซึ่งยิ่งสร้างความเสียหายแก่รัฐอิสลาม[62] เดือนกรกฎาคม 2017 รัฐอิสลามเสียเมืองโมซูลซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ตามด้วยอัรร็อกเกาะฮ์ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมืองหลวงให้แก่กองทัพอิรัก[63] หลังจากนั้น รัฐอิสลามเสียดินแดนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดือนธันวาคม 2017 ไฮเดอร์ อัล-อะบาดี นายกรัฐมนตรีอิรักประกาศว่ากองทัพอิรักสามารถขับไล่ที่มั่นสุดท้ายของรัฐอิสลามในอิรักได้สำเร็จ[64] เดือนมีนาคม 2019 รัฐอิสลามเสียที่มั่นสำคัญสุดท้ายในตะวันออกกลาง[44] ในวันที่ 27 ตุลาคม 2019 อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี เคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลามปลิดชีพตัวเองด้วยระเบิดที่ติดไว้กับตัวหลังถูกหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐไล่ล่า[65][66][67][68][69] วันที่ 31 ตุลาคม 2019 รัฐอิสลามยืนยันการเสียชีวิตของอัลบัฆดาดี และประกาศว่าอะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์คนใหม่[70] วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2022 ทางการสหรัฐรายงานว่าอัลกุเราะชีปลิดชีพตนเองพร้อมสมาชิกในครอบครัวด้วยระเบิดหลังถูกหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐบุกจู่โจมที่เมืองอัตมะฮ์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย[71] วันที่ 10 มีนาคม 2022 อะบู โอมาร์ อัลมูฮาจีร์ โฆษกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ประกาศว่าอะบู อัลฮะซัน อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[72] วันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ประกาศว่าอะบู อัลฮะซันเสียชีวิตในการต่อสู้ และอะบู อัลฮุสเซน อัลฮุสเซนี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[73] วันที่ 30 เมษายน 2023 เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกีประกาศว่าองค์การข่าวกรองแห่งชาติตุรกีได้สืบหาและสังหารอะบู อัลฮุสเซนในวันที่ 29 เมษายน ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน อะบู ฮูไทฟา อัลอันซารี โฆษกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ยืนยันการเสียชีวิตของอะบู อัลฮุสเซน และประกาศว่าอะบู ฮัฟส์ อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[74]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.