องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานอาหารและสารอาหาร รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ อาหาร การเกษตร ป่าไม้และประมง ให้ประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการเกษตร โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทย ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านการเกษตร โดยเฉพาะด้านการผลิต ตามการร้องขอของ FAO เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และเผยแพร่ต่อไป โดยที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ตอบแบบสอบถามของ FAO ในเรื่องปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับภาคเกษตร รวมถึงพยายามลดปริมาณผู้ยากไร้ขาดอาหาร ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในนครเกแบ็ก รัฐเกแบ็ก ประเทศแคนาดา และในปี พ.ศ. 2490 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ วอชิงตัน ดี.ซี. และในปัจจุบันสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรม ประเทศอิตาลี
![]() | |
ชื่อย่อ | เอฟเอโอ (FAO) |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 ตุลาคม 1945 |
ก่อตั้งที่ | นครเกแบ็ก ประเทศแคนาดา |
ประเภท | หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ |
สถานะตามกฎหมาย | ดำเนินการอยู่ |
สํานักงานใหญ่ | โรม ประเทศอิตาลี |
อธิบดี | Qu Dongyu |
องค์กรปกครอง | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ |
เว็บไซต์ | www |
ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 197 ประเทศ มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี โดยตัวแทนประเทศและสหภาพยุโรป ซึ่งเลือกสมาชิกสภาผู้บริหาร 49 คน[1] อธิบดีปัจจุบัน คือ Qu Dongyu จากประเทศจีนทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร[2] มีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ดูแลเรื่องต่าง ๆ เช่น การเงิน โปรแกรม เกษตรกรรม และการประมง
ประวัติ
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงสร้าง
อธิบดี
John Boyd Orr ตุลาคม 1945 – เมษายน 1948
Norris E. Dodd เมษายน 1948 – ธันวาคม 1953
Philip V. Cardon มกราคม 1954 – เมษายน 1956
Herbert Broadley (ทำงาน) เมษายน 1956 – พฤศจิกายน 1956
Binay Ranjan Sen พฤศจิกายน 1956 – ธันวาคม 1967
Addeke Hendrik Boerma มกราคม 1968 – ธันวาคม 1975
Edouard Saouma มกราคม 1976 – ธันวาคม 1993
Jacques Diouf มกราคม 1994 – ธันวาคม 2011
José Graziano da Silva มกราคม 2012 – กรกฎาคม 2019
Qu Dongyu สิงหาคม 2019 - 31 กรกฎาคม 2023[3]
สำนักงาน
สรุป
มุมมอง

สำงานใหญ่เอฟเอโอ
สำนักงานใหญ่เอฟเอโอของโลกตั้งอยู่ที่โรม ประเทศอิตาลี ซึ่งในอดีตเป็นที่ตั้งทำเนียบการพัฒนาของอิตาลีแอฟริกาตะวันออก
สำนักงานภูมิภาค
- สำนักงานประจำภูมิภาคแอฟริกาในอักกรา ประเทศกานา
- สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
- สำนักงานประจำภูมิภาคยุโรปและเอเชียกลางในบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
- สำนักงานประจำภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนในซานเตียโก ประเทศชิลี
- สำนักงานประจำภูมิภาคตะวันออกใกล้ในไคโร ประเทศอียิปต์
สำนักงานย่อย
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคแอฟริกากลางในลีเบรอวีล ประเทศกาบอง
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคเอเชียกลางในอังการา ประเทศตุรกี
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกในอาดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคมีโซอเมริกาในปานามาซิตี ประเทศปานามา
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคแอฟริกาเหนือในตูนิส ประเทศตูนิเซีย
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคแอฟริกาใต้และแอฟริกาตะวันออกในฮาราเร ประเทศซิมบับเว
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคแคริบเบียนในบริดจ์ทาวน์ ประเทศบาร์เบโดส
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคความร่วมมืออ่าวสภาสหรัฐอเมริกาและประเทศเยเมนในอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- สำนักงานย่อยประจำภูมิภาคหมู่เกาะแปซิฟิกในอาปีอา รัฐเอกราชซามัว
สำนักงานประสานงาน
- สำนักงานประสานงานประจำภูมิภาคอเมริกาเหนือในวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
- สำนักงานประสานงานร่วมกับญี่ปุ่นในโยโกฮามะ
- สำนักงานประสานงานร่วมกับสหภาพยุโรปและเบลเยียมในบรัสเซลส์
- สำนักงานประสานงานร่วมกับรัสเซียในมอสโก
- สำนักงานประสานงานร่วมกับองค์การสหประชาชาติในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- สำนักงานประสานงานร่วมกับองค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก สหรัฐ
ทูตสันถวไมตรีเอฟเอโอ
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมาชิก
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.