โรงเรียนวิเชียรมาตุ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวิเชียรมาตุ (วิ-เชียน-มา-ตุ) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนแบบสหศึกษาทั้งชายและหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มี 11 ห้อง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 13 ห้อง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง Wichienmatu School | |
---|---|
Wichienmatu School | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ว.ช. (WCH.) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล สังกัด สพฐ. - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
สถาปนา | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 (107ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | I1092140330 |
ผู้อำนวยการ | นายยงยุทธ ปูขาว |
ผู้อำนวยการ | นายยงยุทธ ปูขาว |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น |
สี | น้ำเงิน-ขาว |
เพลง | สดุดีวิเชียรมาตุ |
เว็บไซต์ | www.wch.ac.th |
ประวัติ
โรงเรียนวิเชียรมาตุถือกำเนิดขึ้นจากพระราชประสงค์ อันกอปรด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชินีนาถใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากสมุดหมายเหตุรายวันเล่มแรกของโรงเรียน ถูกบันทึกไว้เป็นความสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พุทธศักราช 2455 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสจังหวัดตรัง ประทับพักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถ ณ ตำหนักผ่อนกาย ทรงปรารภว่า พื้นภูมิทำเลตำบลทับเที่ยงนี้เหมาะสมดี ควรมีสถานศึกษาไว้เพาะปลูกปัญญาแก่กุลบุตรกุลธิดาสืบไป จึงได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นเงิน 4,000 บาท ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สร้างโรงเรียนขึ้น และพระราชทานนามให้ว่า โรงเรียนวิเชียรมาตุ ซึ่งหมายความถึง พระบรมราชชนนีในพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีพุทธศักราช 2458 อำมาตย์โท พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้น และรองอำมาตย์โท ขุนเพาะนิสัยชอบ (เชื้อ รัชตรัตน์) ธรรมการจังหวัดตรัง ได้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างทั้งหมด 8,155 บาท เสร็จเรียบร้อยในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2459
ปีพุทธศักราช 2459 นั้นเอง ทางการได้ย้ายศาลากลางจังหวัด จากอำเภอกันตัง มาตั้งที่อำเภอบางรัก และได้ย้ายครู-นักเรียนจากโรงเรียนตรังคภูมิ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเดิม มาเรียนที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ โรงเรียนประจำจังหวัดใหม่ ในวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2459 ซึ่งขณะนั้นกำลังก่อสร้างอาคารบางส่วนอยู่ เมืองตรังที่ตั้งใหม่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนสนใจการศึกษาอย่างมาก ทำให้โรงเรียนวิเชียรมาตุ ไม่สามารถรับนักเรียนได้พอกับความต้องการ จึงต้องตัดจำนวนนักเรียนส่วนหนึ่งออก ความทราบถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระองค์จึงพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวน 6,000 บาท สร้างอาคารเรียนหลังที่สองขึ้น พร้อมพระราชทานนาม อาคารหลังนั้นว่า สภาราชินี
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ทางจังหวัดตรังได้รับโรงเรียนวิเชียรมาตุ เข้าในทะเบียนโรงเรียนของจังหวัดตรัง โดยมีรองอำมาตย์ตรี ซุ่นกิ๊ต สินธวานนท์ เป็นครูใหญ่ อำมาตย์โท พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองอำมาตย์โท ขุนเพาะนิสัยชอบ ธรรมการจังหวัดเป็นผู้จัดการ
ปีพุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองปักษ์ใต้ได้ผ่านจังหวัดตรัง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กระทำพิธีเปิดโรงเรียนวิเชียรมาตุเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 มีนายพลโท พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาล กราบบังคมทูลถวายรายงาน มีกระแสพระราชดำรัสตอบ ความว่า
...เรามีความยินดีเป็นอันมากที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมโรงเรียนนี้ ซึ่งเสด็จแม่ของเราได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างขึ้น เป็นสถานที่งดงาม ถือว่าเป็นอนุสาวรีย์อย่างหนึ่งสำหรับพระองค์ สำหรับชาติ และเป็นประโยชน์ในการที่จะเพาะกุลบุตรขึ้นไว้ให้ทำหน้าที่ต่อไป ตามสิทธิที่สมุหเทศาภิบาลได้กล่าวมาแล้ว เราเชื่อว่าถ้าเมื่อเราได้นำความกราบทูลให้ทรงทราบ คงจะทรงพระปิติเป็นอันมาก ในการที่กิจการได้ทำแล้วสำเร็จ ไปสมดังพระประสงค์ ตัวเราก็มีความยินดีและพลอยนิยมในพระราชกุศลนี้ด้วย และในเวลานี้เรามีความยินดีที่ได้มาเป็นผู้แทนพระองค์ในการเปิดโรงเรียนนี้ และขอให้พรแก่บรรดาผู้ที่แนะนำหรือผู้กำกับการศึกษา ตลอดจนครูบาอาจารย์และนักเรียนที่ได้มาศึกษในสถานที่นี้ ขอจงได้มีความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล และส่วนผู้ที่มีหน้าที่ประสิทธิประสาท วิทยาการ ก็ขอให้ได้เห็นผลตามความตั้งใจของตนเองโดยเร็วพลันทันใด และขอให้ผู้ที่ได้ศึกษาวิชาในโรงเรียนนี้ไป ให้ได้วิชาโดยเป็นประโยชน์ แก่ตัว และแก่ชาติบ้านเมืองต่อไปชั่วกาลนาน
— พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ ปี พ.ศ. 2475 จังหวัดตรังได้เปิด โรงเรียนสตรีประชาบาล เป็นโรงเรียนสำหรับกุลธิดาของจังหวัดตรัง ได้ใช้อาคารสภาราชินี เปิดดำเนินการสอนนักเรียนฝ่ายสตรีจนกระทั่ง ปีพุทธศักราช 2478 ได้ย้ายนักเรียนสตรีจากอาคารสภาราชินี ไปอยู่ที่โรงเรียนสตรีประชาบาล และต่อมาได้ใช้ชื่อ อาคารสภาราชินี เป็นชื่อ โรงเรียนสภาราชินี จนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรม 90 ปีโรงเรียนวิเชียรมาตุ โดยพลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ซึ่งเป็นบุตรของหลวงบริหารสิกขกิจ ( ซุ่นกิ๊ต สินธวานนท์) ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน เป็นประธานในพิธี
รายนามผู้บริหาร
ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | รองอำมาตย์ตรี ซุ่นกิ๊ด สินธวานนท์ | อาจารย์ใหญ่ | ก.ค. 2459 - ก.ค. 2460 |
2 | นายจรูญ มัธยมบุรุษ | อาจารย์ใหญ่ | ก.ค. 2460 - พ.ค. 2466 |
3 | รองอำมาตย์ตรี ชิต มีปัญญา | อาจารย์ใหญ่ | พ.ค .2466 - ส.ค. 2467 |
4 | รองอำมาตย์ตรี โต๊ะ จุลดิลก | อาจารย์ใหญ่ | ก.พ. 2467 - เม.ย. 2473 |
5 | นายจัง จริงจิตร | อาจารย์ใหญ่ | เม.ย. 2473 - มิ.ย. 2474 |
6 | นายภู่ สิทธิพงษ์ | อาจารย์ใหญ่ | มิ.ย. 2474 - พ.ค. 2475 |
7 | นายป่วน เตียวเดชะ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ค. 2475 - ก.ย. 2476 |
8 | นายเทพ อินทสุวรรณ | อาจารย์ใหญ่ | ก.ย. 2476 - ส.ค. 2481 |
9 | นายพงษ์ แสงทอง | อาจารย์ใหญ่ | ส.ค. 2481 - มิ.ย. 2491 |
10 | นายชื้น เรืองเวช | อาจารย์ใหญ่ | มิ.ย. 2491 - ก.ค. 2497 |
11 | นายผ่อง รักษจิต | อาจารย์ใหญ่ | ส.ค. 2497 - มิ.ย. 2498 |
12 | นายจรัล ประโมจนีย์ | อาจารย์ใหญ่ | ก.ค. 2498 - มิ.ย. 2499 |
13 | นายทองเติม นิลโมจน์ | อาจารย์ใหญ่ | มิ.ย. 2499 - พ.ย. 2500 |
14 | นายเวศ พิทักษ์ | อาจารย์ใหญ่ | มิ.ย. 2500 - พ.ค. 2503 |
15 | นายอมร สาครินทร์ | อาจารย์ใหญ่ | มิ.ย. 2503 - มี.ค. 2525 |
16 | นายศุภชัย บุญเรืองขาว | ผู้อํานวยการ | มิ.ย. 2525 - พ.ค. 2527 |
17 | นายเกษียร ภู่กลาง | ผู้อํานวยการ | พ.ค. 2527 - ก.ย. 2533 |
18 | นายมิตร ศรีชาย | ผู้อํานวยการ | ต.ค. 2533 - ก.ย. 2535 |
19 | นายสว่าง โฮฬาริกบุตร | ผู้อํานวยการ | ต.ค. 2535 - ก.ย. 2538 |
20 | นายแข นนทแก้ว | ผู้อํานวยการ | มี.ค. 2539 - ก.ย. 2540 |
21 | นายกระจ่าง รอดความทุกข์ | ผู้อํานวยการ | พ.ย. 2540 - ธ.ค. 2541 |
22 | นายสมพงษ์ พิทยาภา | ผู้อํานวยการ | ธ.ค. 2541 - ก.ย. 2546 |
23 | นายกระจ่าง รอดความทุกข์ | ผู้อํานวยการ | ธ.ค. 2546 - ก.ย. 2548 |
24 | นายสุชาติ จริงจิตร | ผู้อํานวยการ | ก.ย. 2548 - พ.ย. 2554 |
25 | ดร.มนทิพย์ ทรงกิติพิศาล | ผู้อํานวยการ | พ.ย. 2554 - ก.ย. 2560 |
26 | นายยงยุทธ มณีโชติ | ผู้อํานวยการ | ก.ย. 2560 - ก.ย. 2561 |
27 | นางยุภา พรเศรษฐ์ | ผู้อํานวยการ | ก.ย. 2561 - ก.ย. 2565 |
28 | นายยงยุทธ ปูขาว | ผู้อํานวยการ | ต.ค. 2565 - ปัจจุบัน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- ศ.นพ. จรัส สุวรรณเวลา - อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2528 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สุวัฒน์ วรดิลก ศิลปินแห่งชาติ (ชั้นประถม 3 - มัธยม 1)
- สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ (มัธยม 3)
- ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน
- หมอหยอง สุริยัน สุจริตพลวงศ์ (มัธยมต้น) - นักโหราศาสตร์
- สาทิตย์ วงศ์หนองเตย - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- วิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- อาคม เฉ่งไล่ นักมวยเหรียญทองแดงโอลิมปิค
- เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง อดีตนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ พ.ศ. 2514
- กิติ สุวรรณหมัด อดีตนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ พ.ศ. 2525
- พ.ต.ท.ธวัชชัย นคราวงศ์ อดีตนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ พ.ศ. 2530
- ปฏิวัติ ทองสลับ นักกีฬาเทควันโดทีมชาติ
- ทนงศักดิ์ จักรราช อดีตนักฟุตบอลทีมชาตินักเรียนไทย พ.ศ. 2526
- ชำนาญ สุวรรณเวลา อดีตนักฟุตบอลทีมชาติชุดมหาวิทยาลัยอาเซียน
- วิสุทธิ์ ขาวเนียม นักเชียนกวีเยาวชนดีเด่น
- ประสิทธิ์ กิ้มนวล อดีตนักฟุตบอลทีมชาติ พ.ศ. 2516
- เดชา จินดาพล สมาชิกวงรอยัลสไปร์ทส(เครื่องเป่า)
- พร ศรีไครรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์(เสียชีวิต)
- พล.อ.อ.กานต์ สุระกุล สมาชิกวุฒิสภา,ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ(เสียชีวิต)
- สมศักดิ์ โล่ห์สถาพรพิพิธ สมาชิกวุฒิสภา
- วิเชียร คันฉ่อง สมาชิกวุฒิสภา,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- สมชาย โล่สถาพรพิพิธ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ชยาพร น้อยหนู หรือ ตาล ชยาพร อาร์สยาม เดอะอาร์สยาม คนแรกของ ประเทศไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์โรงเรียนวิเชียรมาตุ[ลิงก์เสีย]
- โรงเรียนวิเชียรมาตุ ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนวิเชียรมาตุในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.