Loading AI tools
นักการเมืองชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยา แก้วภราดัย (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2498) กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) กรรมการในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช หลายสมัย อดีตประธานวิปรัฐบาล อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
วิทยา แก้วภราดัย | |
---|---|
วิทยา ใน พ.ศ. 2552 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | เฉลิม อยู่บำรุง |
ถัดไป | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 177 วัน) | |
รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (2 ปี 96 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2498 อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
พรรคการเมือง | ก้าวหน้า (2531–2532) เอกภาพ (2532–2535) พลังธรรม (2535–2538) ประชาธิปัตย์ (2538–2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | จิระประไพ แก้วภราดัย |
วิทยา เกิดวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อเล่น น้อย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเรียนปี 4 วิทยาเป็นหนึ่งในนิสิตที่เข้าร่วมการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่ขาในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน 2 เดือน และต้องพักฟื้นที่บ้านอีก 7-8 เดือนจึงสามารถเดินได้เป็นปกติ และกลับเข้าเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษาในที่สุด
วิทยา ประกอบอาชีพเป็นทนายความก่อนเข้าสู่วงการเมือง และเมื่อเข้าสู่วงการเมืองแล้วยังเป็นหนึ่งในทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ ได้รบเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2531, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554
วิทยา ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2537-2538[1] เป็นประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ปี พ.ศ. 2538-2539
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 นายวิทยาเป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบงาน "สมัชชาประชาธิปัตย์คืนอีสาน" การจัดงานหาเสียงครั้งใหญ่ในพื้นที่อีสานของพรรคประชาธิป้ตย์
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ วิทยา แก้วภราดัย ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเงา
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ วิทยา แก้วภราดัย ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคใต้[2]
ในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 วิทยา แก้วภราดัย ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [3] ซึ่งต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข [4] ไปรับตำแหน่งประธานวิปรัฐบาล
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 วิทยาได้ตัดสินใจจะลงสมัคร ส.ส. ระบบแบ่งเขตในพื้นที่เขต 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช และส่งปานระพี บุตรสาวคนที่สอง ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 121[5]
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] กระทั่งวันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 วิทยาได้ให้สัมภาษณ์ว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ผ่านทางเจ้าหน้าที่ของพรรค[7] และต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)[8] ทั้งนี้ในปีถัดมา เขาได้ลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อสังกัด รทสช. ลำดับที่ 7[9] และสนับสนุนให้พูน แก้วภราดัย บุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 1 ในสังกัดพรรคเดียวกันด้วย[10]
ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิทยาเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยมีบทบาทเป็นแกนนำผู้ชุมนุมเมื่อเข้ายึดกระทรวงการคลัง[11] และเป็นแกนนำของเวทีชุมนุมที่แยกศาลาแดงและสวนลุมพินี [12]
ซึ่งในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนั้น ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยวิทยาเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 6[13] [14]
หลังเหตุการณ์นี้ วิทยาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเข้าจำพรรษาที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ ด้วย [15]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.