โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

โรงพยาบาลตติยภูมิสังกัดกองทัพเรือ ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขนาด 750 เตียงในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งขึ้นตรงกับกรมแพทย์ทหารเรือ ในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลหลักของกองทัพเรือในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร มีภารกิจที่ได้รับหมอบมาย คือ ให้การรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ ข้าราชการกลาโหมและครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วไป รวมทั้งเป็นสถาบันฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ ทำการวิจัย และให้การสนับสนุนภารกิจกองทัพเรือ ปัจจุบันดำเนินการเรียนการสอนให้กับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในชั้นคลินิก และให้กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในบางสาขาวิชา

ข้อมูลเบื้องต้น โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า, ภูมิศาสตร์ ...
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
กรมแพทย์ทหารเรือ
Thumb
Thumb
อาคารผู้ป่วยนอก
Thumb
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเลขที่ 504 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร, เขตธนบุรี, กรุงเทพมหานคร, ไทย
พิกัด13°42′36″N 100°29′13″E
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลตติยภูมิ
สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง750[1]
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์มี
ประวัติ
เปิดให้บริการ27 มีนาคม พ.ศ. 2500
ลิงก์
เว็บไซต์www.spph.go.th
ปิด

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ในเนื้อที่จากการเวรคืน จำนวน 181 ไร่ ผู้ริเริ่มสร้างโรงพยาบาล คือ พลเรือเอกหลวงสินธุ์สงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) กับ พลเรือตรีนายแพทย์เล็ก สุมิตร ที่จะรวมโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพและกรมแพทย์ทหารเรือที่อยู่ปากคลองมอญไว้ด้วยกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2500 กองทัพเรือได้เปิดอนุมัติให้เปิดโรงพยาบาล โดยใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลทหารเรือบุคคโล[2] ในระยะแรกมีตึกอยู่ 4 ตึก คือ ตึกอำนวยการ ตึกสูตินรีเวชกรรม และตึกผ่าตัด และได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อ "โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า"[3] เมื่อวันที่ 11 พฤษจิกายน พ.ศ. 2502 ได้สร้างตึก 9 ชั้น (100 ปีกิจการแพทย์ทหารเรือ) เมื่อ พ.ศ. 2532[4]ผู้อำนวยการคนปัจจุบันได้แก่ พลเรือตรี สมชาย จันทโรธร[5]

ประวัติ

ในช่วงสงครามแปซิฟิก หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา พลเรือเอกหลวงสินธุ์สงครามชัย (สินธ์ุ กมลนาวิน) ผู้บัญชาการทหารเรือในสมัยนั้นเห็นว่า กรมแพทย์ทหารเรือและสถานพยาบาลของทหารเรือ ซึ่งต้ังอยู่ที่ปากคลองมอญ ธนบุรี มีบริเวณคับแคบและอยู่ในเขตยุทธศาสตร์อาจไม่ปลอดภัยจากการถูกโจมตี จึงมีความประสงค์ให้ย้ายที่ตั้ง โดยเลือกพื้นท่ีตำบลบุคคโลเป็นท่ีตั้งใหม่ บนพื้นท่ี 122 ไร่ 2 งาน ก่อสร้างโรงพยาบาลและได้รับอนุมัติจากกองทัพเรือให้ชื่อว่า โรงพยาบาลทหารเรือบุคคโล เปิดทำการในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2500 ประกอบด้วยตึกอานวยการ ตึกสูตินรีเวชกรรม ตึกผ่าตัด โรงครัว เรือนพักพยาบาล บ้านพักแพทย์ในระยะแรก และมีการก่อสร้างตึกเด็กเพิ่มเติมในเวลาต่อมา วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลทหารเรือบุคคโล เป็น “โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ ท่ี 2 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 4 และทรงเป็นผู้บัญชาการทหารเรือพระองค์แรกของประเทศไทย

บริการ

สรุป
มุมมอง

ปัจจุบัน โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิของกองทัพเรือหลักในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ให้การดูแลรักษาพยาบาลกาลังพล กองทัพเรือ ครอบครัว และประชาชนทั่วไป โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ได้รับการรับรองระบบบริหาร คุณภาพ ISO 9001 : 2000 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2549 โดยได้รับการต่ออายุการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลดังกล่าวต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน[6]

ปัจจุบันสถานท่ีและสิ่งอานวยความสะดวกภายใน รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. ประกอบด้วยอาคารผู้ป่วยนอก อาคารพิเคราะห์และบาบัดโรค อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร 100 ปี อาคารเทียมเชิด บุญเมือง อาคารรังสีวิทยา อาคารเภสัชกรรม อาคารตรวจโรคฉุกเฉิน อาคารสโมสรโรงพยาบาล ห้องรับรองนายทหารชั้นผู้ใหญ่ อาคารทันตกรรม อาคารพยาธิวิทยา อาคารนิติเวชวิทยา อาคารสโมสร รพ.สมเด็จพระปิ่เกล้า[6]

อาคารผู้ป่วยนอก เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิของกรมแพทย์ทหารเรือ ในด้านบริการ จะเป็นส่วน ให้บริการตรวจรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน ประกอบด้วย ห้องฉุกเฉิน ห้องตรวจโรคอายุรเวชกรรม ห้องตรวจ ระบบประสาท ห้องตรวจต่อมไร้ท่อ ห้องตรวจข้อและรูมาติสซั่ม ห้องตรวจโลหิตวิทยาและเนื้องอก ห้องเคมีบาบัด ห้องตรวจโรคผิวหนัง และ กามโรค ห้องตรวจระบบทางเดินอาหาร ห้องตรวจระบบทางเดินหายใจ ห้องตรวจโสต ศอ นาสิกกรรม คลินิกให้คาปรึกษา ห้อง ตรวจประกันสังคม และประกันสุขภาพ ห้องตรวจทันตกรรม ห้องตรวจสุขภาพคลินิกอาชีวเวชกรรม คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ เป็นต้น [6]

อาคารพิเคราะห์และบำบัดโรค เป็นอาคารที่เชื่อมต่อกับอาคารผู้ป่วยนอก ให้บริการการตรวจรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วย นอกและการวินิจฉัยเฉพาะด้าน ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัย ประกอบด้วย ห้องตรวจโรคศัลยกรรม ห้องตรวจพิเศษศัลยกรรม ห้องตรวจโรคศัลยกรรมกระดูก ห้องตรวจโรคสูติ นรีเวชกรรม ห้องตรวจโรคกุมารเวชกรรม ห้องตรวจโรคจักษุกรรมและศูนย์รักษา สายตาศรีศิริ ศูนย์สมองและระบบประสาท ศูนย์หัวใจ หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (Cardiac Intensive Care Unit) ห้องผ่าตัด กลุ่มงาน วิสัญญีกรรม หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม ห้องตรวจโรคไตและห้องไตเทียม กลุ่มงานรังสีวิทยา กลุ่มงานพยาธิวิทยา ศูนย์นมแม่ คลินิกแก้ไข การพูดและบาบัดเสียง ห้องจ่ายยา ผู้ป่วยนอก และห้องเจาะเลือด เป็นต้น[6]

ผู้ป่วยนอก

  • บริการแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)
  • บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
  • บริการแผนกห้องผ่าตัด
  • บริการทันตกรรม
  • บริการโรคตามสาขา

ผู้ป่วยใน

  • อายุรกรรม
  • ศัลยกรรม
  • จักษุกรรม โสต ศอ นาสิกกรรม
  • สูติ – นรีเวชกรรม
  • กุมารเวชกรรม
  • ศัลยกรรมกระดูก

ศูนย์

  • ศูนย์หัวใจและห้องปฏิบัติการสวนหัวใจผ่านทางข้อมือ ทำการฉีดสี ทำบอลลูน ใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สวนหัวใจเร่งด่วนในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ชนิด STEMI แบบผ่านทางข้อมือ
  • ศูนย์จักษุกรรม เป็นหน่วยตติยภูมิชั้นสูงที่มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษา ประกอบด้วย ศูนย์จอตาและจุดภาพชัด R-MaC (Retina and Macular Center) ศูนย์รักษาสายตา (Refractive Surgery Center) ศูนย์ต้อหิน (Glaucoma Center) และงานด้านศัลยกรรมตกแต่งเสริมสร้างทางตาและโพรงเบ้าตา (Oculoplastic Surgery)
  • ศูนย์เวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง บำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง หรือ Hyperbaric Oxygen Therapy (HBOT)

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.