Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม [1] และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) อดีตรัฐมนตรีอีกหลายสมัย และอดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ[2]
โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ถัดไป | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
ถัดไป | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2539 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ |
ถัดไป | กร ทัพพะรังสี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | ทนง พิทยะ |
ถัดไป | ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | พินิจ จันทรสุรินทร์ |
ถัดไป | นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ |
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | สถาพร กวิตานนท์ |
ถัดไป | วิทย์ รายนานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (73 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ยุพนา ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
ลายมือชื่อ | |
โฆสิต เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2486
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เกิดและโตที่ย่านบางลำพู กรุงเทพมหานคร[3] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2506 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการคลัง (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2508 จบปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และเข้ารับการอบรมหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2531
เริ่มทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ประจำธนาคารโลก ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงกลับมารับราชการจนได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการรับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) ในปี พ.ศ. 2535[4] และรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน[5] และรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกครั้ง ในรัฐบาลของนายอานันท์ พ.ศ. 2535[6]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา แทนนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[7] แทนนายทนง พิทยะ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2542 จึงได้เข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ
นายโฆสิต กลับเข้าสู่งานการเมืองอีกครั้ง ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[8] และได้รับแต่งตั้งให้รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แทนนายสิทธิชัย โภไคยอุดม ซึ่งลาออกจากตำแหน่งจากกรณีการถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550[9][10]
นายโฆสิต เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2539[11]
นายโฆสิต ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อายุ 73 ปี โดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้แทนพระองค์ ในการพระราชทานน้ำหลวง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.