เขตพญาไท
เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พญาไท เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เขตพญาไท | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Phaya Thai |
อาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมริมถนนพหลโยธิน บริเวณย่านอารีย์ | |
คำขวัญ: เขตพญาไทยิ่งใหญ่ด้วยสถาน หน่วยงานทหารกระทรวงการคลัง โทรทัศน์ดังช่องห้าสี อีกทั้งกรมประชาสัมพันธ์ สถานสำคัญการสื่อสาร สะพานควายหนาแน่นผู้คน พหลโยธินรถไฟฟ้า ชาวประชาสุขสันต์ | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตพญาไท | |
พิกัด: 13°46′48″N 100°32′34″E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 9.595 ตร.กม. (3.705 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 64,037 คน |
• ความหนาแน่น | 6,674.00 คน/ตร.กม. (17,285.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10400 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1014 |
ต้นไม้ ประจำเขต | พญาสัตบรรณ |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 13 ซอยอารีย์สัมพันธ์ 2 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตพญาไทตั้งอยู่ทางฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดินแดง มีถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตดินแดงและเขตราชเทวี มีถนนดินแดงฟากใต้และคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
อำเภอพญาไท ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2509[2] ตั้งชื่อตามพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นตำหนักสำหรับเสด็จประพาสบนที่ดินริมคลองสามเสน ทุ่งพญาไท[3] ช่วงแรกอำเภอพญาไทแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล เป็นพื้นที่อำเภอดุสิตเดิม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี ตำบลมักกะสัน และตำบลสามเสนใน และเป็นพื้นที่อำเภอบางกะปิเดิม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยขวางและตำบลบางกะปิ[2] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[4] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[5] ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย อำเภอพญาไทได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพญาไท ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวง
จากนั้นทางราชการได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่ปกครองของเขตพญาไทหลายครั้ง เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความสมดุล เริ่มตั้งแต่ใน พ.ศ. 2516 แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิได้รับการยกฐานะเป็นเขตห้วยขวาง[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2521 แขวงดินแดงและบางส่วนของแขวงสามเสนในถูกโอนไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง ในขณะที่พื้นที่บางส่วนของแขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิก็ถูกโอนมารวมกับแขวงสามเสนในและแขวงมักกะสัน[7] ใน พ.ศ. 2532 พื้นที่ 4 แขวงทางทิศใต้ของเขตได้ถูกแยกออกไปตั้งเป็นเขตราชเทวี[8] การปรับปรุงเขตปกครองครั้งนี้ส่งผลให้เขตพญาไทเหลือแขวงสามเสนในอยู่เพียงแขวงเดียว ส่วนพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขต รวมทั้งถนนพญาไทก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของเขตอีกต่อไป แต่ไปอยู่ในเขตราชเทวีแทน และสุดท้ายในปี พ.ศ. 2537 พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตก็ถูกแยกไปรวมกับเขตดินแดงที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่[9]
การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงพญาไทแยกจากพื้นที่แขวงสามเสนใน โดยใช้ถนนพหลโยธินเป็นเส้นแบ่งเขต และให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตพญาไทในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[10] ได้แก่
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตราชเทวี
ประชากร
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตพญาไท[11] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 196,977 | – |
2536 | 192,005 | 4,972 |
2537 | 171,447 | 20,558 |
2538 | 108,728 | 62,719 |
2539 | 102,133 | 6,595 |
2540 | 93,296 | 8,837 |
2541 | 92,852 | 444 |
2542 | 91,616 | 1,236 |
2543 | 91,091 | 525 |
2544 | 90,780 | 311 |
2545 | 90,492 | 288 |
2546 | 90,557 | 65 |
2547 | 78,096 | 12,461 |
2548 | 77,232 | 864 |
2549 | 77,343 | 111 |
2550 | 77,202 | 141 |
2551 | 76,477 | 725 |
2552 | 75,493 | 984 |
2553 | 74,693 | 800 |
2554 | 73,553 | 1,140 |
2555 | 73,084 | 469 |
2556 | 72,495 | 789 |
2557 | 72,203 | 292 |
2558 | 71,864 | 339 |
2559 | 72,102 | 762 |
2560 | 70,238 | 1,864 |
2561 | 70,341 | 103 |
2562 | 69,382 | 959 |
2563 | 67,388 | 1,994 |
2564 | 66,212 | 1,176 |
2565 | 65,275 | 937 |
2566 | 64,037 | 1,238 |
สถานที่สำคัญ
ตามที่ปรากฏในคำขวัญของเขต เขตพญาไทมีสถานที่ราชการ โดยเฉพาะที่ตั้งหน่วยทางทหารและตำรวจอยู่หลายแห่ง มีส่วนราชการพลเรือนระดับกระทรวงอยู่ 2 กระทรวง นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและโทรคมนาคมด้วย กล่าวคือ กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก ทรูวิชั่นส์ ทีเอ็นเอ็น24 ทรูโฟร์ยู วอยซ์ทีวี พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีระบบรถไฟฟ้าตัดผ่านในพื้นที่เขต และมีย่านสะพานควาย ซึ่งแต่เดิมเคยมีสภาพเป็นทุ่งนาและตลาดนัดซื้อขายโคกระบือ แต่ต่อมาเมื่อบ้านเมืองขยายตัวขึ้น ก็ได้กลายสภาพเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่น มีอาคารร้านค้า ห้างสรรพสินค้า อาทิ ศรีศุภราชอาเขต ที่ตั้งห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ สะพานควาย (เลิกกิจการไปแล้ว) และห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เป็นต้น สถานที่สำคัญในเขตนี้ มีอาทิ
- วัดไผ่ตัน เป็นวัดพุทธศาสนาแห่งเดียวในพื้นที่เขต
- วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และกองพันในสังกัด คือ กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และกองพันในสังกัด คือ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และ กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- สนามกีฬากองทัพบก
- กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน
- กระทรวงการคลัง
- กรมสรรพากร
- กรมธนารักษ์
- กรมบัญชีกลาง
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
- กรมควบคุมมลพิษ
- กรมทรัพยากรน้ำ
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
- ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก
- โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
- ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก
- วอยซ์ทีวี
- ทรูวิชั่นส์
- ทรูโฟร์ยู
- สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน
- กรมประชาสัมพันธ์
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
- ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่พหลโยธิน
- โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
- โรงงานผลิตน้ำสามเสน การประปานครหลวง (โรงกรองน้ำสามเสน) และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้การประปาไทย
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
- สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ
- อาคารเดอะ ไรซ์ ตั้งอยู่ตรงหัวมุมสี่แยกสะพานควาย (อดีตที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ สะพานควาย)
โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
- โรงพยาบาลพญาไท พหลโยธิน (เดิมชื่อ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน)
- โรงพยาบาลพญาไท 2
- โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
- โรงพยาบาลวิมุต
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
การคมนาคม
- ถนน
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตพญาไท ได้แก่
- ถนนพหลโยธิน
- ถนนประดิพัทธ์
- ถนนวิภาวดีรังสิต
- ถนนดินแดง
- ถนนพระรามที่ 6
- ถนนนครไชยศรี
- ถนนกำแพงเพชร
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางยกระดับอุตราภิมุข
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
- ถนนสาลีรัฐวิภาค
- ถนนกำแพงเพชร 5
- ถนนเศรษฐศิริ
- ถนนเศรษฐศิริ 2
- ซอยพหลโยธิน 2 (กาญจนาคม)
- ซอยพหลโยธิน 5 (ราชครู) และซอยพระรามที่ 6 ซอย 30 (อารีย์สัมพันธ์)
- ซอยพหลโยธิน 7 (อารีย์) และซอยอารีย์ 5 (ใต้)
- ซอยพหลโยธิน 11 (เสนาร่วม)
- ซอยพหลโยธิน 14 (ศุภราช) และซอยอินทามระ 4 (พงษ์ศรีจันทร์ 2)
- ซอยประดิพัทธิ์ 4 (เรวดีฝั่งใต้)
- ซอยประดิพัทธิ์ 5 (เรวดีฝั่งเหนือ)
- ซอยพระรามที่ 6 ซอย 37 (ระนอง 1)
- ระบบขนส่งมวลชน
ในพื้นที่เขตพญาไท ตามแนวเหนือถนนพหลโยธิน มีสถานีสะพานควาย สถานีสนามเป้า และสถานีอารีย์ของรถไฟฟ้าบีทีเอส
- รถไฟ
ทางรถไฟสายเหนือ โดยถือเป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพญาไทกับเขตดุสิต มีสถานีสามเสนตั้งอยู่ในเขตพญาไท โดยมีพื้นที่บางส่วนของสถานีอยู่ในเขตดุสิต
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.