Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย 3 ช่องคือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ททบ.5 เอชดี ช่อง 7HD เพื่อทำงานร่วมกันในการจัดรายการสดที่ไม่ใช่รายการข่าว และการจัดรายงานข่าวสดเกี่ยวกับกิจกรรมพิเศษเช่นพระราชพิธี กิจกรรมภาครัฐบาล คำประกาศ แถลงการณ์ คำปราศรัยในโอกาสต่าง ๆ และการแข่งขันกีฬาเช่นโอลิมปิกฤดูร้อน เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ และฟุตบอลโลก[1][2][3]
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ประเทศ | ไทย |
---|---|
ก่อตั้ง | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 |
สถานีโทรทัศน์ | |
พื้นที่ฉาย | ประเทศไทย |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้แก่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ของ บมจ.อสมท ในปัจจุบัน), สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5 เอชดี ในปัจจุบัน) และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7HD ในปัจจุบัน) ของกรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่าควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ผู้อำนวยการของ ททบ.5 เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ต่อมา สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 3 เอชดี ในปัจจุบัน) เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที 2 เอชดี ในปัจจุบัน) และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และต่อมามีสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติมอีก 21 ช่อง รวมทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาที่เข้ามาในภายหลัง รวมเป็น 28 ช่อง ก่อนจะลดลงเหลือ 19 ช่องในเวลาต่อมาจากการคืนใบอนุญาตและปิดสถานีลง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.