คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
เจเคเอ็น 18
สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
เจเคเอ็น 18 (อังกฤษ: JKN18) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ปัจจุบันดำเนินการโดย บริษัท เจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ จำกัด ในเครือเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ในรูปแบบของการให้เช่าเวลาผลิตรายการโดยบริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด (สำนักข่าวท็อปนิวส์)
Remove ads
เดิมใช้ชื่อว่า เดลินิวส์ ทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในเครือหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น นิวทีวี และ นิว 18 หลังจากเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล และเน้นการนำเสนอสารคดีต่าง ๆ โดยเฉพาะสารคดีชุดสำรวจโลก ของบริษัท เนกซ์สเตป จำกัด และรายการข่าวจากเดลินิวส์ แต่ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เจเคเอ็นได้เข้ามาควบคุมการออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง และรายการข่าวที่เคยออกอากาศอยู่เดิมถูกย้ายไปออกอากาศในช่องทางออนไลน์ทั้งหมด และในวันที่ 9 เมษายน เจเคเอ็นได้เข้าซื้อกิจการช่องนิว 18 จากนั้นได้ปรับปรุงผังรายการของช่องใหม่ ก่อนจะเริ่มออกอากาศรายการในผังใหม่เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม และเปลี่ยนชื่อสถานีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม แต่ต่อมาเนื่องจากปัญหาหุ้นกู้ของเจเคเอ็น จึงได้ให้บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด นำเนื้อหาจากช่องท็อปนิวส์มาออกอากาศทางช่องเจเคเอ็น 18 ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 จนถึงปัจจุบัน
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
เดลินิวส์ทีวี
บริษัท เดลินิวส์ทีวี จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท นิวช้อป จำกัด) เป็นผู้ที่เริ่มประกอบกิจการโทรทัศน์ของเครือเดลินิวส์ครั้งแรก โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554[1] และทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมชื่อว่า เดลินิวส์ ทีวี (อังกฤษ: Daily News TV) ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม[2] โดยมีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555[3] แต่เนื่องจากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ภายในประเทศ ซึ่งบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตช่วงหน้าอาคารที่ทำการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ซึ่งเป็นที่ตั้งของเดลินิวส์ ทีวี ในขณะนั้น ก็เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยดังกล่าวด้วยเช่นกัน จึงส่งผลกระทบให้เดลินิวส์ทีวีต้องเลื่อนการออกอากาศปฐมฤกษ์มาเป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[4]
นิวทีวี
หลังจากเข้าประมูลช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทธุรกิจระดับชาติจาก กสทช. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเครือเดลินิวส์ได้ส่ง บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด เข้าประมูล และได้ช่องหมายเลข 18 เดลินิวส์ทีวีจึงได้โอนกรรมสิทธิ์การประกอบกิจการโทรทัศน์ไปยังดีเอ็น บรอดคาสต์ และเปลี่ยนชื่อช่องเป็น นิวทีวี (อังกฤษ: new)tv) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป[5]
ในระยะแรก นิวทีวีออกอากาศรายการสารคดีตลอดทั้งวันสลับกับข่าวต้นชั่วโมง ต่อมาในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ฝ่ายข่าวกีฬาเดลินิวส์ได้จัดรายการพิเศษเพื่อรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของฟุตบอลโลก โดยช่วงนั้นนิวทีวียังไม่มีการออกอากาศรายการข่าว นอกเหนือจากสารคดีสลับกับข่าวต้นชั่วโมงซึ่งออกอากาศอย่างต่อเนื่อง จนกลางปีเดียวกัน นิวทีวีจึงกลับมาออกอากาศรายการข่าวเต็มรูปแบบอีกครั้ง
ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 นิวทีวีได้ย้ายที่ตั้งของสถานีจากอาคารที่ทำการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ไปยังอาคารแห่งใหม่ที่เลขที่ 818 ซอยแบริ่ง 19 หมู่ที่ 2 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270 โดยได้เปิดการใช้งานการเชื่อมต่อระบบออกอากาศอย่างเป็นทางการในเวลา 00:01 น. ของวันเดียวกัน[6]
นิว 18
และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 นิวทีวีได้ปรับโฉมสถานีใหม่ทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อช่องเป็น นิว 18 (อังกฤษ: NEW 18)[7] ซึ่งได้มีการเปิดตัวชื่อนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการปรับโครงสร้างของบริษัทและนโยบายของช่องใหม่ เพื่อเน้นการออกอากาศสารคดี โดยเฉพาะสารคดีชุดสำรวจโลกของบริษัท เนกซ์สเตป จำกัด โดยยังมีรายการข่าวเป็นองค์ประกอบเสริม จึงมีการปลดพนักงานฝ่ายข่าวออกบางส่วน[8]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการออกอากาศรายการข่าวจากช่องฟ้าวันใหม่คู่ขนานไปด้วย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม และได้นำรายการสารคดีออกไปเกือบทั้งหมด[9] แต่ออกอากาศได้เพียง 5 เดือน นิว 18 ก็กลับมาออกอากาศสารคดีตามปกติ
ในวันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน นิว 18 ได้ย้ายโครงข่ายโทรทัศน์จาก MUX#5 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ไปยัง MUX#4 ของไทยพีบีเอส[10]
ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนเดียวกัน มีข่าวว่า สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และกลุ่มผู้ประกาศข่าวที่ลาออกจากเนชั่นทีวี โดยกลุ่มผู้ประกาศข่าวดังกล่าวมีอุดมการณ์ทางการเมืองชัดเจน และพยายามนำเสนอข่าวสารด้วยความจริงที่ข่าวสื่ออื่นมักไม่นำเสนอ ทำให้กลุ่มผู้ประกาศข่าวดังกล่าวถูกฝ่ายความเห็นตรงข้ามกล่าวหาว่าเสนอข่าวสารเพื่อด้อยค่าและทำลายฝ่ายตรงข้าม จะเข้ามาจัดรายการทางช่องนิว 18 และเริ่มงานในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563[11] แต่สุดท้ายผังรายการในเดือนธันวาคมของนิว 18 ก็ยังคงเป็นรูปแบบเดิม[12]ต่อมากนกชี้แจงว่าวันดังกล่าวกลุ่มของตนยังไม่ได้เริ่มงาน[13] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 8 ธันวาคม ก็มีข่าวอีกว่า ผู้บริหารของดีเอ็น บรอดคาสต์ ได้เจรจาขายใบอนุญาตของช่องนิว 18 ให้กลุ่มของสนธิญาณไปบริหารต่อ โดยมีชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เป็นคนกลางในการเจรจา โดยสนธิญาณได้สั่งซื้อโฆษณาระยะยาวจากบริษัท 6-7 บริษัท ซึ่งจะทำรายได้ให้สถานีรวมกว่า 800 ล้านบาท และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภค แม้การนำบุคลากรจากกลุ่มเนชั่นเดิม มาร่วมงานกับนิว 18 อาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ผู้สนับสนุนโฆษณาเหล่านี้เลิกให้การสนับสนุน (ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับช่องเนชั่นทีวีในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ปีเดียวกัน)[14] แต่ต่อมา เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการบริหารข่าวของนิว 18 ในขณะนั้นได้ปฏิเสธข่าวลือดังกล่าว และในวันที่ 21 ธันวาคม ที่ข่าวระบุว่ากลุ่มสนธิญาณจะเข้าไปบริหาร ยังคงเป็นผังเดิม และกราฟิกโปรโมทไม่ได้จัดทำขึ้นโดยทีมของนิว 18[15] ต่อมา อัญชะลี ไพรีรัก หนึ่งในผู้ประกาศข่าวในกลุ่มของสนธิญาณจะปฏิเสธข่าวดังกล่าวอีกครั้ง และเลื่อนการเปิดตัวทีมข่าวของตนออกไป[16] ปัจจุบันกลุ่มนี้ได้ก่อตั้งท็อปนิวส์เพื่อทำรายการข่าวออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและสื่อสังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไม่สามารถตกลงในรายละเอียดกับนิว 18 ได้[17]
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง ทำให้นิว 18 มีรายได้ลดลงอย่างมากเนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคจนมีผู้สนับสนุนถอนตัวออกจากนิว 18 ไปเป็นจำนวนมาก ทำให้นิว 18 ต้องปรับผังรายการใหม่เพื่อสร้างรายได้[18] โดยทำสัญญาควบคุมการออกอากาศกับบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ของจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ตลอดเวลาออกอากาศเป็นระยะเวลาเบื้องต้น 2 เดือน (รวมถึงออกอากาศคู่ขนานบางรายการจากเจเคเอ็นทีวี) เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น. ส่วนรายการประจำที่มีอยู่เดิมจะย้ายไปออกอากาศในช่องทางออนไลน์ทั้งหมด[17] โดยเจเคเอ็นได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าเป็นการทำข้อตกลงให้บริษัท เจเคเอ็น นิวส์ จำกัด เช่าเวลาไม่เกิน 40% เพื่อออกอากาศรายการข่าว และที่เหลือเป็นการร่วมผลิตรายการ โดยกระบวนการเป็นไปตามกฎระเบียบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทุกประการ[19] และเป็นการปฏิเสธข่าวลือในช่วงแรกของการเข้าควบคุมการออกอากาศของเจเคเอ็นที่ กสทช. ได้ให้เจ้าพนักงานร้องขอข้อมูลไปยังนิว 18 เพื่อตรวจสอบข่าวการให้เช่าเวลาออกอากาศทั้งสถานี[20]
เจเคเอ็น 18
วันที่ 9 เมษายน จักรพงษ์ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 เมษายน ให้เจเคเอ็นเข้าซื้อกิจการและหุ้นสามัญจดทะเบียนของดีเอ็น บรอดคาสต์ ผู้รับใบอนุญาตของช่องนิว 18 รวมถึงอาคารสำนักงานของช่องและอุปกรณ์การออกอากาศทั้งหมด จากกลุ่มผู้บริหารของเดลินิวส์ คิดเป็นมูลค่า 1,060,000,000 บาท[21] และจ่ายอีก 150,000,000 บาท ให้แก่ กสทช. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม เพื่อเข้าบริหารทีวีดิจิทัลภายใต้ใบอนุญาตใบเดิมจาก กสทช.[22] รวมทั้งสิ้น 1,210,000,000 บาท ทำให้ดีเอ็น บรอดคาสต์ กลายเป็นบริษัทย่อยของเจเคเอ็น และเจเคเอ็นมีสิทธิ์ในการบริหารผังรายการของช่องนิว 18 ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจการพาณิชย์ และสร้างรายได้ให้เจเคเอ็นมากขึ้น[21]โดยจะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้รับใบอนุญาต และจะมีการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น เจเคเอ็น 18 (อังกฤษ: JKN18) โดยไม่มีการปลดพนักงานเดิมออก โดยแอนได้ถ่ายทอดสดแถลงผ่านทางเฟซบุ๊กของตัวเองเมื่อช่วงค่ำของวันเดียวกัน[23]
วันที่ 19 เมษายน เจเคเอ็นได้ประกาศแผนการตลาดของตนในรูปแบบใหม่เป็น "Content Commerce Company" โดยดึงเนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคมาต่อยอดสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ และใช้ช่องเจเคเอ็น 18 เป็นช่องทางสนับสนุนเพิ่มเติม[24] รวมถึงจะมีการปรับปรุงต่อเติมอาคารสำนักงานเดิมของช่องนิว 18 ที่ซอยแบริ่ง 19 และตั้งชื่อใหม่ว่า "เจเคเอ็น เอ็มไพร์" ทั้งนี้ ทีมงานฝ่ายข่าวซึ่งอยู่ภายใต้ เจเคเอ็น นิวส์ ได้ย้ายไปทำงานที่เจเคเอ็น เอ็มไพร์ ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ส่วนอาคารหลังเดิมที่ศาลายาจะยังใช้ถ่ายทำรายการบางส่วน จากนั้นในวันที่ 26 เมษายน เจเคเอ็นได้แจ้งเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้รับใบอนุญาตของช่องนิว 18 จากดีเอ็น บรอดคาสต์ เป็น บริษัท เจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ จำกัด และปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจแบ่งเป็น 2 แผนก แผนกหนึ่งคือการประกอบกิจการทีวีดิจิทัลช่องเจเคเอ็น 18 และอีกแผนกหนึ่งเป็นแผนกของการจำหน่ายสินค้า[25] และ เจเคเอ็นทีวี ได้ยุติการออกอากาศในวันที่ 30 เมษายน เพื่อควบรวมเนื้อหาเข้ากับช่องเจเคเอ็น 18[26]
วันที่ 5 พฤษภาคม ได้เริ่มออกอากาศรายการในผังใหม่ของเจเคเอ็น 18 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเน้นไปที่รายการข่าวจำนวน 55% ตามกฎ กสทช.[27] และวันนั้นตั้งแต่ 00:01 น. ได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้ Interlude ของเจเคเอ็น 18 แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อสถานี จนกระทั่งหลังจาก กสทช. มีมติอนุมัติการเปลี่ยนชื่อช่องในการประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมแล้ว[28] วันรุ่งขึ้นคือวันที่ 26 พฤษภาคม ทางสถานีจึงได้เปลี่ยนชื่อสถานีเป็น เจเคเอ็น 18 อย่างเป็นทางการ โดยการเปลี่ยนโลโก้ทางมุมบนขวาของจอโทรทัศน์ตั้งแต่เวลา 00:01 น.
วันที่ 18 ตุลาคม จักรพงษ์ได้ประกาศแต่งตั้ง องอาจ สิงห์ลำพอง ซึ่งลาออกจากช่อง 8 ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของเจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ และผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เจเคเอ็น 18[29] หลังจากนั้นวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เจเคเอ็น เมตาเวิร์ส ในเครือเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ได้เข้าซื้อองค์กรนางงามจักรวาล ทำให้เจเคเอ็น 18 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของเจเคเอ็นเอง ได้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการประกวดนางงามจักรวาลให้กับผู้รับชมในประเทศไทยไปโดยปริยาย โดยเริ่มตั้งแต่นางงามจักรวาล 2022 เป็นต้นไป[30]
ท็อปนิวส์ ทาง เจเคเอ็น 18

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ได้ออกหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ถึงการจ่ายหนี้หุ้นกู้บริษัทซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ให้เฉพาะผู้ถือหุ้นบางส่วน ด้วยสาเหตุว่ากระแสเงินสดของบริษัทไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ในวันเดียวกัน มูลค่าหุ้นของบริษัทปรับลดตัวลงถึง 24% และลดต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่วันนั้น กระทั่งวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566 มีกระแสข่าวว่า บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมท็อปนิวส์ ได้เจรจากับจักรพงษ์เพื่อเข้าซื้อกิจการสถานีโทรทัศน์เจเคเอ็น 18 ซึ่งเป็นช่องเดียวกับที่เคยมีกระแสข่าวว่ากลุ่มบุคลากรของท็อปนิวส์จะย้ายมาทำงานในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 โดยเข้าซื้อกิจการด้วยมูลค่าประมาณ 500,000,000 บาท ซึ่งหากสำเร็จจะใช้ชื่อช่องว่า ท็อปนิวส์ 18[31] และปรากฏหลักฐานว่าจักรพงษ์ได้จำหน่ายหุ้นในเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ออกไปโดยไม่ปรากฏผู้ซื้อ ก่อนรับกลับเข้ามาถือหุ้นตามเดิม
ความสับสนในกรณีดังกล่าวทำให้ข่าวลือมีน้ำหนักมากขึ้น แต่แล้วจักรพงษ์ได้ปฏิเสธผ่านการแจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 กันยายน ว่าการเจรจาดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงในการผลิตรายการข่าวร่วมกันระหว่างเจเคเอ็น 18 กับท็อปนิวส์เท่านั้น โดยท็อปนิวส์จะเช่าช่วงเวลาในฐานะผู้เช่าตามสัดส่วนที่ กสทช. กำหนดเป็นระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ไปจนกว่าใบอนุญาตของเจเคเอ็นจะหมดอายุ ในขณะที่เจเคเอ็นจะยังคงสถานะการเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์เจเคเอ็น 18 และยังคงทำรายการปกิณกะเพื่อออกอากาศในสถานีต่อไปตามเดิม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายของ กสทช. และประเด็นเรื่องการเปลี่ยนเจ้าของบริษัท[32]ส่วนการแสดงตราสัญลักษณ์บนจอโทรทัศน์นั้นแสดงทั้ง 2 สัญลักษณ์ คือสัญลักษณ์ของช่องเจเคเอ็น 18 อยู่มุมบนขวา และสัญลักษณ์ของท็อปนิวส์อยู่มุมบนซ้าย
(ทั้งนี้ ตั้งแต่เที่ยงคืนวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 สถานีฯ ได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 มาประดับไว้ที่มุมบนซ้าย ส่งผลให้ต้องวางแสดงสัญลักษณ์ของช่องไว้ที่มุมล่างขวา ในขณะเดียวกันก็วางสัญลักษณ์ท็อปนิวส์ไว้ที่มุมล่างขวาเช่นกัน โดยวางไว้ด้านซ้ายมือติดกับสัญลักษณ์ของช่อง ทั้งนี้มีกำหนดแสดงไปจนสิ้นสุดห้วงการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ยกเว้นมีเหตุเปลี่ยนแปลง)
ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 มีกระแสข่าวว่าจักรพงษ์กำลังเจรจาดีลลับเพื่อยกเลิกสัญญาให้เช่าเวลาแก่ท็อปนิวส์ของเจเคเอ็น 18 โดยเปลี่ยนเป็นการขายช่องเจเคเอ็น 18 ให้กับกลุ่มของคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในราคาประมาณ 200 ล้านบาท[33]
Remove ads
ฝ่ายข่าว
สรุป
มุมมอง
ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 รายการข่าวของนิว 18 ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกให้เจเคเอ็น นิวส์ เช่าเวลาออกอากาศรายการข่าวทางทีวีดิจิทัล และอีกส่วนหนึ่งคือรายการข่าวที่ฝ่ายข่าวเดิมของนิว 18 ผลิตเอง ออกอากาศทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และติ๊กต็อกของนิว 18 ซึ่งส่วนนี้ออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 และตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ผู้ประกาศข่าวเดิมของนิว 18 ทั้งหมด และพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วนได้ถูกควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเจเคเอ็น นิวส์ ส่วนฝ่ายข่าวอีกส่วนหนึ่งได้ก่อตั้งสำนักข่าวออนไลน์ในชื่อ "นิวออนไลน์"
ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการทำข้อตกลงในการผลิตรายการข่าวร่วมกันระหว่างเจเคเอ็น 18 กับท็อปนิวส์ และท็อปนิวส์ย้ายรายการทั้งหมดไปออกอากาศทางช่องเจเคเอ็น 18 ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 เจเคเอ็น 18 จึงประกาศเลิกจ้างพนักงานฝ่ายข่าวเดิม รวมถึงฝ่ายข่าวเจเคเอ็น–ซีเอ็นบีซีทั้งหมด เพื่อเคลียร์สล็อตเวลาให้กับท็อปนิวส์
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
- กนก รัตน์วงศ์สกุล
- ธีระ ธัญไพบูลย์
- สันติสุข มะโรงศรี
- อุบลรัตน์ เถาว์น้อย
- สถาพร เกื้อสกุล
- นิธิตรา เชาว์พยัคฆ์
- วรเทพ สุวัฒนพิมพ์
- รุ่งราตรี สุหงษา
- อุดร แสงอรุณ
- ณรงค สุทธิรักษ์
- วุฒินันท์ นาฮิม
- ชนุตรา เพชรมูล
- ศิรวิฑย์ ชัยเกษม
- พรสวรรค์ จารุพันธ์
- ศิศศิญา วิสุทธิปราณี
- สำราญ รอดเพชร
- อารยา สาริกะกูติ
- จารุณี เดส์แน็ช
- ณัฏฐ์ บุณยสิริยานนท์
- สุชาทิพ มั่นสินธร
- ร่มเกล้า อมาตยกุล
- อรรทิตย์ฌาน คูหาเรืองรอง
- ชวิศร์ ชูประทุม
- สายัณห์ กรมสาคร
- ชยธร ธนวรเจต
- เสรี วงษ์มณฑา
- วิทเยนทร์ มุตตามระ
- เถกิง สมทรัพย์
- บัวขาว บัญชาเมฆ
- นราวิชญ์ จิตรบรรจง
- ปรมินทร์ นิลพันธุ์
- อมร แต้อุดมกุล
- จักรภพ เพ็ญแข
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต
- สุรพงศ์ ทวี (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
- ชิบ จิตนิยม (ปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา)
- ชัยรัตน์ ถมยา (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ธีระ ธัญญอนันต์ผล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- ณพล พรมสุวรรณ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- จตุพร เอี่ยมสะอาด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อัญชลีพร กุสุมภ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนและพิธีกรอิสระ)
- ปนัดดา วงศ์ผู้ดี (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนและพิธีกรอิสระ)
- บุญยอด สุขถิ่นไทย (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- เบญจลักษณ์ เจริญศักดิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรรณศิริ ศิริวรรณ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี)
- สุชาดา แก้วนาง (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- อุษา หงส์ขาว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดาราวรรณ ขันติวงษ์ (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
- ปวีณา ปทุมานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภาคภูมิ เตมะสิริ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อรรฆพันธ์ อภิรักษ์พงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภควัต โฉมศรี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อติ บุญเสริม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ประจักษ์ มะวงศ์สา (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- มนตรี จอมพันธ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ศตคุณ ดำเกลี้ยง (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- ดารินทร์ หอวัฒนกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- ณัชชานันท์ พีระณรงค์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นนทกฤช กลมกล่อม (ปัจจุบันอยู่โมโน 29)
- วรรณวณิช ภัสสรธนาพิชัย (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- ชุมานันท์ วิเชียรศรี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปวัน สิริอิสสระนันท์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- สุภัชชา อินทรฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- จิรัฐิติ ขันติพะโล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอสและสื่อมวลชนอิสระ)
- ปารดา ธนาศรีชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศรัณภัสร์ ตั้งไพศาลธนกุล (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31และจีเอ็มเอ็ม 25 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
- วรารัตน ไชยภัทรคุณเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศิรประภา ชัยเจริญ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- พรทิวา กันธิยาใจ (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- ตะวันรุ่ง ปริสุทธิธรรม (ชื่อเดิม: เตี๋ยประดิษฐ์) (ปัจจุบันอยู่โมโน 29)
- โบกัส ซุปตาร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ยุคล วิเศษสังข์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- มนุชา เจอมูล (ปัจจุบันอยู่ทีสปอร์ต 7 ในนามสำนักข่าวเมนสแตนด์)
- สุภาพร วงษ์ถ้วยทอง (ปัจจุบันเป็นนักแสดงและพิธีกรอิสระ)
- ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ (อาจารย์ยิ่งศักดิ์) (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7HD พิธีกรอิสระและผู้อำนวยการวิทยาลัยธุรกิจเทคโนโลยีการอาหารไทยและนานาชาติ TIFTEC)
- พงศธร ลอตระกูล (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- จิรภัทร อุดมสิริวัฒน์ (ชื่อเดิม: ฐิติวัชร) (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- ชลลดา สิริสันต์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภัคจีรา วรรณสุทธิ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- นิภาภรณ์ ฐิติธนการ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ธนากร ชินกูล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- กีรติ ศุภดิเรกกุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ไดอาน่า จงจินตนาการ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- พล นพวิชัย (ปัจจุบันเป็นนักร้องอิสระ)
- ดารณีนุช ปสุตนาวิน (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- พรหมพร ยูวะเวส (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- เมทนี บุรณศิริ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ภัณฑิลา ฟูกลิ่น (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- เตชินท์ พลอยเพชร (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- อนันต์ เสมาทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ญาณี จงวิสุทธิ์ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- สุวัจนี ไชยมุสิก (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- สมพล ปิยะพงศ์สิริ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- สโรชา พรอุดมศักดิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นันทิยา จิตตโสภาวดี (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- จิตกร บุษบา (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- กฤษณพงศ์ เกียรติศักดิ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- นฤมล พุกยม (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- เชาวรัตน์ ยงจิระนันท์ (ปัจจุบันอยู่CGTN)
- กรุณพล เทียนสุวรรณ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธัญญาเรศ เองตระกูล (ปัจจุบันเป็นนักแสดงและพิธีกรอิสระ)
- ภูวนาท คุนผลิน (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- เฉลิมพร ตันติกาญจนากุล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- พัฐดลย์ โสภาจิตต์วัฒนะ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชาญชัย กายสิทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ททบ.5 เอชดี)
- นภัส ธีรดิษฐากุล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี)
- อัครพล ทองธราดล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พิชชาพัทธ อาจพงษา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กนกนวล จรัสกุณโฮง (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- รุ่งนภา สุหงษา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อัญชะลี ไพรีรัก (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- กรสุดา วีระทัต (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เวทิน ชาติกุล (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- บุญระดม จิตรดอน (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์และสื่อมวลชนอิสระ)
- ประชา หริรักษาพิทักษ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- เกริก เกิดกลาง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศลิลนา ภู่เอี่ยม (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนและพิธีกรอิสระ)
- กิตติมา ธารารัตนกุล (ปัจจุบันอยู่นิวส์วันและพิธีกรอิสระ)
- สุพรทิพย์ เทพจันตา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- จิรัฏฐ์วัฒน์ ศิริบุตร (ปัจจุบันอยู่นิวส์วันและพิธีกรอิสระ)
- จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นักธุรกิจและพิธีกรอิสระ)
Remove ads
รายการออกอากาศ
สรุป
มุมมอง
รายการข่าวประจำวัน
หมายเหตุ ตัวเอียง หมายถึง รายการที่ออกอากาศคู่ขนานทางสถานีวิทยุกรมการพลังงานทหาร เอฟเอ็ม 90.5 เมกะเฮิรตซ์
รายการซอฟต์นิวส์, วาไรตี้ และปกิณกะ, สารคดี
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads