คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

อักษรธรรมล้านนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรธรรมล้านนา
Remove ads

อักษรธรรมล้านนา เป็นอักษรสระประกอบ (Abugida) ในตระกูลอักษรพราหฺมี ซึ่งใช้สำหรับเขียน ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) ภาษาไทลื้อ และภาษาไทเขิน รวมไปถึงภาษาสำหรับพระพุทธศาสนาคือ ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต อักษรธรรมล้านนาแต่เดิมเรียกว่า ตัวธัมม์ หรือ ตั๋วธรรม (ᨲ᩠ᩅᩫᨵᨾ᩠ᨾ᩼​ หรือ ᨲ᩠ᩅᩫᨵᩢᨾ᩠ᨾ᩼) โดย ตัว หรือ ตั๋ว หมายถึง อักษร ส่วน ธัมม์ หรือ ธรรม หมายถึง คัมภีร์ แต่ในประเทศไทย ปัจจุบันนิยมเรียกอย่างเป็นทางการว่า อักษรธรรมล้านนา และเรียกแบบลำลองว่า ตั๋วเมือง (ᨲ᩠ᩅᩫᨾᩮᩬᩥᨦ​; ใช้คู่กับ คำเมือง ซึ่งเป็นชื่อเรียกภาษาพูด) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอักษรนี้อีกหลายอย่าง เช่น อักษรไทธรรม (Tai Tham script) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ อักษรไทลื้อเก่า ซึ่งใช้เรียกในเมืองสิบสองปันนา ประเทศจีน เนื่องจากรัฐบาลจีนได้มีการประดิษฐ์อักษรแบบใหม่สำหรับภาษาไทลื้อ ซึ่งเรียกว่าอักษรไทลื้อใหม่ ส่วนในรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวไทใหญ่เรียกอักษรชนิดนี้ว่า ลิ่กยวน หมายถึงอักษรของชาวไทยวน (ชาวล้านนา) ใช้เขียนเอกสารทางศาสนา

ข้อมูลเบื้องต้น อักษรธรรมล้านนา, ชนิด ...
Remove ads

ในประเทศลาว และภาคอีสานของไทย อักษรธรรมล้านนาได้รับการดัดแปลงรูปแบบให้เข้ากับภาษาลาว นิยมเรียกอักษรรูปแบบนี้ว่า โตธรรมลาว หรือ โตธรรมอีสาน ส่วนอักษรธรรมล้านนาแบบดั้งเดิมนั้น ทางฝ่ายลาวจะนิยมเรียกว่า อักษรยวน หรือ อักษรโยน ซึ่งเป็นชื่อที่เชื่อมโยงกับอาณาจักรโยนกเชียงแสน ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งของชาวไทยวน (ชาวล้านนา)

Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

จารึกอักษรธรรมล้านนาที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบคือจารึกจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ พ.ศ. 1919 ซึ่งค้นพบที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย[4] ในจารึกมีทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี โดยภาษาบาลีจะจารึกเป็นอักษรธรรม ส่วนภาษาไทยจะจารึกเป็นอักษรไทยสุโขทัย จารึกที่เก่ารองลงมาคือจารึกวัดเชียงมั่นปี พ.ศ. 2008 โดยจารึกเป็นภาษาบาลีและภาษาไทย โดยอักษรธรรมในจารึกทั้งสองนี้มีรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียงกับอักษรมอญที่ใช้กันในอาณาจักรหริภุญไชยราวพุทธศตวรรษที่ 18 นักวิชาการส่วนมากจึงสรุปว่าอักษรธรรมล้านนามีที่มาจากอักษรมอญโบราณ[5]

ในอาณาจักรล้านนานั้น ยังปรากฏการใช้อักษรไทยฝักขามซึ่งวิวัฒนาการมาจากอักษรไทยสุโขทัยควบคู่กันกับอักษรธรรมไปอีกด้วย ซึ่งอักษรฝักขามนี้ ก็ได้ส่งอิทธิพลต่ออักษรธรรมล้านนาเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการใช้สัญลักษณ์แทนวรรณยุกต์[6] ต่อมาภายหลังก็ได้เกิดอักษรลูกผสมระหว่างอักษรฝักขามและอักษรธรรมเรียกว่าอักษรไทยนิเทศ ซึ่งพบว่ามีการใช้บันทึกงานวรรณกรรมในช่วงสั้น ๆ ประมาณ พ.ศ. 2100[7]

ในภายหลัง อักษรธรรมล้านนาได้แผ่ขยายออกไปสู่อาณาจักรข้างเคียง ได้แก่ เชียงตุง เชียงรุ่ง และ ล้านช้าง[5] โดยในเชียงตุงและเชียงรุ่ง อักษรธรรมล้านนาได้ถูกปรับอักขรวิธีและรูปลักษณ์ที่มีความกลมมนมากขึ้นจนเป็นเอกลักษณ์ของอักษรธรรมแบบไทเขิน (เชียงตุง) และไทลื้อ (เชียงรุ่ง) เช่นเดียวกับในล้านช้างที่อักษรธรรมล้านนาได้รับการดัดแปลงทั้งอักขระวิธีและรูปลักษณ์อักษรให้ต่างออกไป เรียกว่า โตธรรมลาว โดยนิยมใช้สำหรับงานเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นสำคัญ

เนื่องจากนโยบายชาตินิยมของรัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยอดีต ทำให้ไม่มีการสอนอักษรธรรมล้านนาในระบบโรงเรียนอย่างเป็นทางการอีกต่อไป ส่งผลให้ผู้รู้อักษรธรรมล้านนาในไทยในปัจจุบันมักมีจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงของพระสงฆ์ นักวิชาการ ช่างศิลป์พื้นเมือง และหมอพื้นบ้าน เท่านั้น ไม่เป็นที่รับรู้ของบุคคลทั่วไปมากนัก อย่างไรก็ดี ในเมืองเชียงตุงและเขตรัฐฉานประเทศเมียนมาร์ ยังพบว่ามีการใช้อักษรธรรมล้านนาในชีวิตประจำวันอยู่อย่างแพร่หลาย

Remove ads

พยัญชนะ

สรุป
มุมมอง

อักษรธรรมล้านนามีพยัญชนะ 43 ตัว แบ่งเป็นสามกลุ่ม คือ พยัญชนะในวรรค (ᨻ᩠ᨿᩢᨬ᩠ᨩᨶᨶᩲᩅᩢᨣ᩠ᨣ᩼), พยัญชนะอวรรค (ᨻ᩠ᨿᩢᨬ᩠ᨩᨶᩋᩅᩢᨣ᩠ᨣ᩼), และ พยัญชนะเพิ่ม โดยพยัญชนะในวรรคและพยัญชนะอวรรค เป็นกลุ่มอักขระที่วิวัฒนาการมาจากอักษรมอญโบราณซึ่งใช้สำหรับการเขียนภาษาบาลีและสันสกฤต ในทำนองเดียวกับอักษรเทวนาครี อักษรปัลลวะ และ อักษรพม่า พยัญชนะในวรรคจะแบ่งได้เป็น 5 วรรค (ᩅᩢᨣ᩠ᨣ᩼) คือ วรรค ᨠ (ก), วรรค ᨧ (จ), วรรค ᨭ (ฏ), วรรค ᨲ (ต), วรรค ᨷ (ป) ส่วนพยัญชนะเพิ่มนั้น เป็นพยัญชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพิ่มเติมสำหรับเขียนคำในภาษาตระกูลไท ซึ่งแต่เดิมจะไม่พบในภาษาบาลี อนึ่ง ในพจนานุกรม มักจัดเอาตัว ᩂ​ (ฤ) และ ᩄ (ฦ) เข้าไว้ในหมวดพยัญชนะด้วย โดยมีลำดับถัดมาจากอักษร ᩁ (ร) และ ᩃ (ล) ตามลำดับ แต่กระนั้น อักษรทั้งสองตัวนี้แท้จริงแล้วถือว่าเป็นอักขระแทนพยางค์ (syllabary) ไม่ใช่พยัญชนะแท้ นอกจากนี้อักษรธรรมล้านนายังมีพยัญชนะรูปพิเศษเช่น​ ᩕ​- (ร ควบ) ᩔ (สฺส)​ ᨬ᩠ᨬ (ญฺญ)​ ᩓ (แล) เป็นต้น อีกด้วย

ตารางพยัญชนะ

อักษรธรรมล้านนามีพยัญชนะ 43 ตัว ได้แก่ พยัญชนะในวรรค 25 ตัว พยัญชนะอวรรค 10 ตัว และ พยัญชนะเพิ่ม 8 ตัว อย่างไรก็ดี อักษรไทยที่ปรากฏเป็นการปริวรรต (ถ่ายอักษร) เท่านั้น เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ในสัทอักษร ซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย

นอกจากนี้ ในทำนองเดียวกับอักษรมอญและเขมร อักษรธรรมล้านนายังมีพยัญชนะรูปตัวเชิง ซึ่งเป็นรูปของพยัญชนะที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะหรือสระ เรียกว่า หาง (ᩉᩣ᩠ᨦ) ตัวซ้อน (ᨲ᩠ᩅᩫᨪᩬ᩶ᩁ) ตัวห้อย (ᨲ᩠ᩅᩫᩉᩬ᩠ᨿ᩶) หรือ ตัวเสียบ (ᨲ᩠ᩅᩫᩈ᩠ᨿᨷ) พยัญชนะตัวเชิงใส่ไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกดหรือห้ามไม่ให้พยัญชนะตัวข่ม (อักษรที่อยู่ด้านบนของตัวเชิง) ออกเสียงอะ (ในกรณีที่เขียนภาษาบาลีสันสกฤต) เช่น ᨻᩩᨴ᩠ᨵ (พุทฺธ) จะอ่านเป็น ปุ๊ด-ทะ ไม่อ่านว่า ปุ๊ด-ต๊ะ-ทะ นอกจากนี้ ตัวเชิงของอักษร ᩅ​ (ว) ᨿ​ (ย) และ ᩋ​ (อ) ยังใช้เป็นรูปสระได้ด้วย ทั้งนี้ พยัญชนะในวรรคและอวรรคจะมีตัวเชิงทุกตัว และโดยทั่วไปก็มีลักษณะคล้ายเดิมกับพยัญชนะปกติ ยกเว้นบางตัวซึ่งเปลี่ยนรูปไป เช่น ตัวเชิงของ ᨮ​ (ฐ) ᨻ (พ) ᨷ​ (บ) ᨶ​ (น) ᨾ​ (ม) ᨿ​ (ย)​ ᩁ (ร) ᩋ​ (อ) อย่างไรก็ดี อักษรบางตัวเช่น ᩃ (ล)​ ᨷ (บ)​ ᩁ (ร) อาจจะมีรูปตัวเชิงมากกว่าหนึ่งแบบ ซึ่งตัวเชิงแต่ละแบบอาจมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันในแต่ละปริบทหรือตามความนิยม ตัวอย่างเช่น รูป ◌᩠ᨷ​​​ จะใช้ในกรณีที่เป็นตัวสะกด ส่วนรูป ◌ᩝ จะใช้ในกรณีที่เป็นคำสะกดแบบพิเศษ เช่น ᨣᩴ᩵ᩝ​ (ก็บ่) ส่วนพยัญชนะเพิ่ม (ซึ่งแสดงในแถวตารางสีเหลือง) จะไม่มีรูปตัวเชิงแต่อย่างใดเนื่องจากประดิษฐ์ขึ้นภายหลัง อนึ่ง ในการป้อนอักขระอักษรธรรมด้วยระบบยูนิโคด จะสามารถแปลงพยัญชนะเป็นรูปตัวเชิงได้ด้วยการป้อนสัญลักษณ์ สะกด (รหัสอักขระ U1A60) (◌᩠) ซึ่งในขณะที่ป้อน จะปรากฏเป็นสัญลักษณ์กากบาทอยู่ใต้อักษร[8]

ในส่วนของมาตราตัวสะกด อักษรธรรมล้านนาก็มีแม่ตัวสะกดเช่นดียวกับอักษรไทย คือ แม่กก แม่กบ แม่กด แม่กง แม่กม แม่เกย และ แม่เกอว โดยนิยมเรียกว่า แม่กัก แม่กับ แม่กัด แม่กัง แม่กัม แม่กัย และ แม่กัว อย่างไรก็ดีจะมีความแตกต่างจากอักษรไทยเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ตัว ᨫ (ฌ) ในอักษรธรรมล้านนาสามารถเป็นตัวสะกดในมาตราแม่กดได้ แต่กับอักษรไทยจะทำเช่นนี้ไม่ได้ อนึ่งอักษรธรรมล้านนาสามารถจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ได้ในทำนองเดียวกับอักษรไทยและอักษรลาว

Thumb
ป้ายชื่อวัดหม้อคำตวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา (ᩅᩢ᩠ᨯᩉ᩠ᨾᩬᩴᩢᨤᩣᩴᨴ᩠ᩅᨦ᩼)
ปริวรรตเป็นอักษรไทย : "วัดหม้อฅำทวง"
คำอ่าน : "วัดหม้อคำตวง"
ข้อมูลเพิ่มเติม วรรค, อักษร ...
หมายเหตุ
  1. พยัญชนะเพิ่มซึ่งประดิษฐ์ขึ้นสำหรับเขียนคำในภาษาตระกูลไท พยัญชนะเหล่าแท้จริงจะไม่จัดอยู่ในวรรค และไม่มีรูปตัวเชิง แต่ในที่นี้จะแทรกไว้ในแต่ละวรรคเพื่อให้เทียบเคียงกับอักษรไทยได้ง่าย
  2. การออกเสียงเฉพาะในภาษาไทลื้อ
  3. อิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาบาลีสันสฤต
  4. สำหรับเขียนคำในภาษาตระกูลไท
  5. สำหรับเขียนคำที่รากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสฤต
  6. สำหรับเขียนคำที่มาจากภาษาตระกูลไทเท่านั้น ไม่ใช้สำหรับคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสฤต
  7. หากนำตัวอักษรนี้ไปเขียนบนตัวพยัญชนะอื่นๆ สามารถทำเป็นทัณฑฆาตได้ โดยจะเรียกตัวนี้ว่า ระห้าม
  8. นิยมปริวรรตเป็นอักษร ร สำหรับอักษรไทย หรือ r สำหรับอักษรละติน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาบาลีสันกฤต


Thumb
รูปพยัญชนะตัวเต็มเทียบพยัญชนะตัวเชิงของอักษรธรรมล้านนาตามแบบอักษร LN Tilok ซึ่งได้รับการจัดสร้างโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พยัญชนะกลุ่ม ห นำ

อักษรต่ำบางตัว ได้แก่ ᨦ​ (ง) ᨶ​ (น)​​ ᨾ (ม)​ ᨿ (ย) ᨬ​ (ญ) ᩁ​ (ร) ᩃ​ (ล) ᩅ​ (ว) จะไม่มีคู่อักษรสูงสำหรับผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ อักษรเหล่านี้เรียกว่าอักษรต่ำเดี่ยว ดังนั้นเพื่อให้สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ คู่อักษรสูงของอักษรเหล่านี้จะอยู่ในรูป ᩉ​ (ห) นำ โดยมีอักษรตัวตามอยู่ในรูปตัวเชิง ดังแสดงในตาราง โดยสำหรับอักษร ᨬ​ (ญ) จะนิยมใช้รูป ᩉ᩠ᨿ (หย) แทน[11]

ข้อมูลเพิ่มเติม อักษร, ชื่ออักษร ...
หมายเหตุ
  1. การออกเสียงเฉพาะในภาษาไทลื้อ
  2. นิยมปริวรรตเป็นอักษร ร สำหรับอักษรไทย หรือ r สำหรับอักษรละติน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาบาลีสันกฤต
  3. อิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาบาลีสันสฤต

พยัญชนะรูปพิเศษ

ข้อมูลเพิ่มเติม อักษร, ชื่ออักษร ...

    พยัญชนะควบ

    อักษรธรรมล้านนามีพยัญชนะควบ 3 รูป คือ พยัญชนะควบตัวละ (ᩃ) พยัญชนะควบตัวระโรง (ᩕ) และ พยัญชนะควบตัววะ (ᩅ) โดยมีเพียงพยัญชนะควบตัววะเท่านั้นที่เป็นพยัญชนะควบแท้ ส่วนพยัญชนะควบตัวละ และควบตัวระโรง เป็นพยัญชนะควบไม่แท้ สาเหตุที่มีรูปพยัญชนะควบ 3 รูป (เหมือนภาษาไทย) แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ได้เกิดการผันแปรของเสียงอ่านไปมากจนเหลือแต่เสียงควบ ว ที่ยังเป็นพยัญชนะควบแท้ ก็เนื่องด้วยว่าสิ่งเหล่านี้เป็นร่องรอยของเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำในภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม (ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษาล้านนา, ไทย ฯลฯ) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในดินแดนล้านนาและไทยในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2000​ และคาบเกี่ยวกับช่วงต้นของการประดิษฐ์อักษรธรรม[12]

    พยัญชนะต้นควบตัวละ

    การเขียนพยัญชนะต้นควบตัวละ (ᩃ) จะใช้รูปตัวเชิงตัวละหน้อย (◌ᩖ) หรือรูปตัวละเสียบ​ (-᩠ᩃ) ซ้อนไว้ใต้พยัญชนะ อย่างไรก็ตาม ในภาษาล้านนาปัจจุบันนั้น พยัญชนะควบตัวละถือเป็นพยัญชนะควบไม่แท้ เพราะจะไม่ออกเสียงควบกล้ำ ล แต่อย่างใด โดยยังคงออกเสียงตามเสียงพยัญชนะต้นเช่นเดิม เสมือนไม่มีการควบ เช่น คำว่า ​ᨸᩖᩦ (ปลี) หรือ​ ᨸᩦ (ปี) ก็ล้วนแต่ออกเสียงว่า ปี๋ ทั้งคู่

    ข้อมูลเพิ่มเติม อักษร, ชื่ออักษร ...

    พยัญชนะต้นควบระโรง (ระโฮง หรือ ระวง)

    การควบตัวระโรงเป็นรูปที่พิเศษที่ใช้เขียนการควบกล้ำด้วยตัว ᩁ (ร) ในทำนองเดียวกับอักขรวิธีของอักษรขอมไทย และอักษรเขมร ในขณะที่รูปเชิงซึ่งเป็นตัวสะกดจะใช้ -᩠ᩁ โดยระโรงอาจเรียกได้หลายอย่าง ซึ่งจะเรียกว่า ระโฮง (ตามการอ่านแบบล้านนา) หรือ ระวง ก็ได้

    พยัญชนะควบตัวระโรงถือเป็นพยัญชนะควบไม่แท้ การควบด้วยตัวระโรงนั้น แม้จะเทียบเคียงได้กับการควบพยัญชนะ ร ในภาษาไทย แต่ในภาษาล้านนานั้นไม่มีเสียง ร ดังนั้นการควบด้วยระโรงจึงไม่ใช่การควบเสียง ร อย่างที่ปรากฏในภาษาไทย ในทางตรงกันข้าม การควบด้วยระโรงจะมีกฎการผันเสียงโดยเฉพาะ สามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เกิดการผันเสียง และกลุ่มที่ไม่เกิดการผันเสียง และในบางกรณีอาจมีการเติมหน่วยเสียง ล เข้าไปแทรกในทำนองเดียวกับอักษรนำด้วย เช่น ᨴᩕᩣ᩠ᨿ (ทฺราย; หมายถึงทะลายมะพร้าว) อาจออกเสียงเป็น ทาย หรือ ทะลาย ก็ได้ (ไม่ออกเสียงว่า ซาย แบบภาษาไทย)

    การเขียนคำยืมที่มาจากภาษาต่างประเทศ ที่มีเสียงควบ ร หรือ r ก็อาจอนุโลมให้ใช้การควบด้วยรูประโรงก็ได้ เช่น ฟรี หรือ free สามารถเขียนเป็น ᨼᩕᩦ โดยอาจออกเสียงเป็น ฟี หรือ ฟรี ตามการออกเสียงในภาษาดั้งเดิมก็ได้[13]

    การควบระโรงแบบมีการผันเสียง

    ในกรณีที่พยัญชนะต้นมีเสียงอโฆษะสิถิล ได้แก่ เสียง ก (ᨠ,​ ᨣ); ต​ (ᨲ​, ᨴ); ป​ (ᨷ,​​ ᨻ) การควบด้วยระโรงจะทำให้เกิดการผันเสียงเป็นเสียงอโฆษะธนิต ได้แก่ เสียง ค, ท, พ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในเอกสารโบราณอาจพบรูปที่มีการควบระโรงซ้ำซ้อนได้เช่นรูป ᨡᩕ​ (ขฺร) และ ᨹᩕ​ (ผฺร) หรือแม้แต่การควบ ปฺร ด้วยรูป ᨸᩕ อย่างไรก็ดี มักถือว่าเป็นการเขียนที่ไม่ตรงกับหลักอักขรวิธี

    ข้อมูลเพิ่มเติม อักษร, ชื่ออักษร ...
    การควบระโรงแบบไม่มีการผันเสียง

    ในกรณีที่พยัญชนะต้นมีเสียงอื่นนอกจากเสียงอโฆษะสิถิล จะไม่มีการผันเสียงพยัญชนะ แต่มักจะนิยมเติมหน่วยเสียง ล เข้าไปในทำนองเดียวกับอักษรนำ เช่น ᩈᩕᩦ (สฺรี)​ อ่านว่า สะหลี เป็นต้น

    ข้อมูลเพิ่มเติม อักษร, ชื่ออักษร ...

    พยัญชนะต้นควบตัววะ

    พยัญชนะควบตัววะถือเป็นพยัญชนะควบแท้ เพียงหนึ่งเดียว

    ข้อมูลเพิ่มเติม อักษร, ชื่ออักษร ...
    Remove ads

    สระ

    สรุป
    มุมมอง

    สระลอย

    สระลอยคือรูปสระที่ออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องประสมกับพยัญชนะ สระลอยในอักษรธรรมล้านนามีใช้สำหรับเขียนภาษาบาลีสันสกฤตเป็นหลัก เว้นแต่รูปสระ ᩐᩣ (เอา) ซึ่งเป็นรูปสระพิเศษแทนคำว่า เอา ซึ่งเป็นคำภาษาตระกูลไท ไม่ใช้กับคำภาษาบาลีสันสกฤต[18]

    ข้อมูลเพิ่มเติม อักษรธรรม, คำอ่าน ...

    สระจม

    เป็นสระที่ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้ การเรียกชื่อสระจมจะเรียกชื่อคล้ายสระในอักษรไทยทุกประการ แต่ในอักษรธรรมจะเรียกโดยขึ้นต้นด้วยคำว่าไม้ เช่นว่า ไม้ก๋ะ ไม้ก๋า ไม้กิ ไม้กี๋ ฯลฯ

    ข้อมูลเพิ่มเติม สระเสียงสั้น (ใช้กับพยัญชนะ ᨠ), สระเสียงยาว (ใช้กับพยัญชนะ ᨠ) ...

    สระพิเศษสำหรับภาษาสันสกฤต

    อักษรธรรมล้านนานั้นแต่หนเดิมได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เขียนภาษาบาลีก่อนเป็นเบื้องแรก ดังนั้นจึงใช้เขียนภาษาบาลีได้อย่างราบรื่น แต่ทว่าการณ์มิได้เป็นเช่นนั้นสำหรับภาษาสันสกฤต เนื่องจากการใช้อักษรธรรมเขียนภาษาสันสกฤตนั้นได้เกิดขึ้นในสมัยหลัง และแม้โดยพื้นฐานแล้วภาษาสันสกฤตจะใกล้เคียงกับภาษาบาลีมาก แต่ก็มีเสียงสระที่เพิ่มขึ้นมาคือ สระไอ และ สระเอา เพื่อให้สามารถเขียนภาษาสันสกฤตได้ จึงมีการดัดแปลงไม้แก๋ (รูปสระแอ) สำหรับใช้แทนเสียง สระไอ และ สระเอา ในภาษาสันสกฤต ดังตารางด้านล่าง จากหลักฐานจะพบเพียงรูปสระจมของสระทั้งสองนี้เท่านั้น ไม่พบรูปสระลอย และรูปสระ ᩐᩣ​ ก็จะไม่นำไปใช้กับภาษาสันสฤต นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์รูปสระจมของตัว ฤ ขึ้นใช้สำหรับภาษาสันสกฤตด้วย โดยอักขระนี้อาจมีรูปลักษณ์คล้ายหางป๊ะ (◌ᩛ) หรือเขียนเป็นตัว ᩂ อยู่ใต้พยัญชนะ ​[19]

    ข้อมูลเพิ่มเติม สระ, รูปสระจม (จำลองการสะกดด้วยตัว ᨠ) ...
    Remove ads

    วรรณยุกต์

    สรุป
    มุมมอง

    รูปวรรณยุกต์

    อักษรธรรมล้านนามีรูปวรรณยุกต์หลัก ๆ คือไม้เหยาะ (ᨾᩱ᩶ᩀᩰᩬᩡ) และไม้ขอจ๊าง (ᨾᩱ᩶ᨡᩬᩴᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ) ซึ่งเทียบเท่ากับไม้เอกและไม้โทของอักษรไทย โดยไม่มีรูปที่เทียบเท่าไม้ตรีและจัตวา ทำให้การผันเสียงวรรณยุกต์มีระบบที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐานค่อนข้างมาก เนื่องจากภาษาล้านนามีเสียงวรรณยุกต์ถึง 6 เสียง แต่ในการเขียน จะผันเสียงโดยใช้รูปวรรณยุกต์เพียงสองรูปเท่านั้น ขณะที่ภาษาไทยมาตรฐานมีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง แต่ก็มีการประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ให้ใช้ได้ครบทุกเสียง อนึ่ง ในภาษาไทเขิน ก็ได้มีความพยายามในการประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์เพิ่มเติมอีก 3 รูป คือ ไม้ก๋อเหนือ (ᨾᩱ᩶​ᨠᩳ​ᩉ᩠ᨶᩮᩬᩥᩋ) ไม้สองเหนือ (ᨾᩱ᩶​ᩈᩬᨦᩉ᩠ᨶᩮᩬᩥᩋ) และไม้สามเหนือ (ᨾᩱ᩶​ᩈᩣ᩠ᨾ​ᩉ᩠ᨶᩮᩬᩥᩋ) สำหรับใช้กับกลุ่มอักษรกลาง ᩋ​ (อ) ᨷ​ (บ) ᨯ​ (ด) ᩀ​ (อย) อย่างไรก็ตาม รูปวรรณยุกต์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้ ยังจำกัดใช้เฉพาะในภาษาไทเขินแบบเชียงตุง ซึ่งมีการออกเสียงวรรณยุกต์ต่างจากภาษาล้านนาที่ใช้ในภาคเหนือของไทย ทั้งยังมีรูปแบบการใช้ที่สับสนและไม่เป็นระบบมากนัก จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายนัก[21]

    ข้อมูลเพิ่มเติม รูป​วรรณยุกต์, ชื่อเรียก ...

    การผันวรรณยุกต์

    คำเมืองสำเนียงเชียงใหม่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง โดยพื้นฐานจะใกล้เคียงกับภาษาไทยมาตรฐานคือมีเสียง 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และ จัตตา แต่มีเสียงครึ่งโทครึ่งตรีเพิ่มมาอีกหนึ่งเสียง ซึ่งในวงวิชาการมักเรียกว่า เสียงโทพิเศษ วรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มีระดับเสียงที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยมาตรฐาน แต่สำเนียงในถิ่นอื่นอาจจะมีความแตกต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐานได้มาก และอาจจะมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง 8 เสียง

    ข้อมูลเพิ่มเติม วรรณยุกต์, ภาษาไทย มาตรฐาน ...

      อักษรธรรมล้านนาแบ่งเป็นระบบไตรยางศ์สำหรับผันวรรณยุกต์ได้เช่นเดียวกับอักษรไทย แต่ก็มีความแตกต่างค่อนข้างมาก เนื่องจากอักษรธรรมมีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เหยาะ (เทียบเท่าไม้เอก) และ ไม้ขอจ๊าง (เทียบเท่าไม้โท) แต่ต้องผันเสียงถึง 6 เสียง อีกทั้งพยัญชนะหลายตัวก็ออกเสียงต่างจากอักษรไทย ดังนั้นในการผันวรรณยุกต์ดัวยอักษรธรรม จะเป็นการผันในลักษณะที่ผันอักษรต่ำคู่ไปกับอักษรสูงให้ครบ 6 เสียง และในส่วนของอักษรต่ำเดียว ก็จะมีรูป ᩉ​ (ห) นำ สำหรับเป็นคู่อักษรสูงเช่นเดียวกับอักษรไทย อย่างไรก็ดีเสียงพยัญชนะของอักษรธรรมจะต่างจากอักษรภาษาไทย เช่น รูป ᨠ​ (ก) กับ ᨣ​ (ค) มีเสียง ก เหมือนกัน และจะใช้ผันเป็นเสียง ก คู่กันจนครบ 6 เสียง คือ ​ᨣᩤ​ ᨠ᩵ᩣ​ ᨣ᩵ᩤ​ ᨠ᩶ᩣ​ ᨣ᩶ᩤ​ ᨠᩣ ดังนั้น คู่ของอักษรที่จะใช้ผันวรรณยุกต์คู่กันจะแตกต่างจากอักษรไทย ซึ่งจะได้แสดงไว้ในตารางข้างล่างนี้[25]

      ข้อมูลเพิ่มเติม เสียงตามสัทอักษร, อักษรธรรม ...
      Notes
      1. ออกเสียง ป ในภาษาบาลี

      อย่างไรก็ตาม อักษรกลาง ได้แก่ ᩋ​ (อ) ᨷ (บ)​ ᨯ (ด)​ ᩀ​​ (อย) ไม่มีคู่สำหรับผันให้ครบ 6 เสียง ดังนั้นจึงอนุโลมให้รูปวรรณยุกต์เดียวใช้ผันได้หลายเสียง เช่น ᩋᩩ᩠ᨿ​ (อุย) สามารถออกเสียงเป็น อุย หรือ อุ๋ย ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริบท อนึ่งในภาษาไทเขิน ได้มีการประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์เพิ่มอีก 3 ตัวสำหรับอักษรกลาง คือ ไม้ก๋อเหนือ (᩷) ไม้สองเหนือ (᩸) และ ไม้สามเหนือ (᩹) เพื่อให้สามารถผันเสียงได้ครบ 6 เสียง แต่อย่างไรก็ดี วรรณยุกต์ที่ประดิษฐ์ใช้ใหม่นี้ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และการใช้ยังไม่เป็นระเบียบแบบแผนมากนัก เนื่องจากภาษาไทเขินเองก็มีหลายสำเนียง และมีเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างจากคำเมืองพอสมควร

      การผันวรรณยุกต์ยังต้องคำนึงถึงมาตราตัวสะกด กับคำเป็นคำตาย อีกด้วย คำเป็น คือคำที่มีมาตราตัวสะกด แม่กม แม่กง แม่กน แม่เกย เแม่กอว และ แม่ ก กา (เฉพาะสระเสียงยาว) และ คำตาย คือ คำที่มีมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กบ แม่กด และแม่ ก กา (เฉพาะสระเสียงสั้น) ซึ่งเมื่อรวมกับไตรยางศ์แล้ว ก็สามารถสร้างตารางการผันวรรณยุกต์แบบสมบูรณ์ได้ดังตารางข้างล่างนี้ โดยในแง่ของสัญลักษณ์แทนวรรณยุกต์ กำหนดให้ช่องสีเหลือง เป็นรูปไม้เหยาะ, ช่องสีส้ม เป็นรูปไม้ขอจ๊าง, และช่องสีฟ้า ไม่มีรูปวรรณยุกต์ นอกจากนี้ อักษรสูงกับอักษรต่ำจะเรียงแถวไว้คู่กันเพื่อให้เห็นลักษณะการผันแบบคู่อักษรสูงอักษรต่ำที่สลับกันไปมา

      อนึ่ง ในส่วนของการผันคำตายนั้น มีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะ และนักภาษาศาสตร์บางท่านก็อาจะถือว่าเป็นระบบการผันเสียงวรรณยุกต์ที่แยกออกอีกระบบต่างหาก

      ข้อมูลเพิ่มเติม มาตราตัวสะกด, เสียงสระ ...
      Notes
      1. เป็นรูปการสะกดที่ถือเป็นรูปแบบรอง พบได้น้อยกว่า ตำราบางเล่มอาจจะไม่บันทึกรูปการสะกดนี้ไว้ อย่างไรก็ตามเป็นรูปการสะกดที่พบได้ในพจนานุกรม โดยเฉพาะในคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว (อ)
      2. นักภาษาศาสตร์บางสำนักนับว่าเป็นระบบการผันเสียงวรรณยุกต์ที่แยกออกไปเฉพาะ
      3. โดยส่วนมากจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
      Remove ads

      ตัวเลข

      อักษรธรรมมีตัวเลขสองชุด ชุดแรกคือ "เลขในธรรม" นิยมใช้กับงานเขียนเรื่องทางธรรมะหรืองานเขียนภาษาบาลี อีกชุดคือ "เลขโหรา" ซึ่งนิยมใช้ในงานเขียนเรื่องทางโลกย์ เช่น ตำราโหร เลขยันต์ วรรณกรรม ฯลฯ แต่เดิมนั้นจะใช้เป็นเลขในธรรมอย่างเดียว แต่เมื่ออาณาจักรล้านนาได้ถูกเป็นเมืองประเทศราชในอาณาจักรพม่า จึงทำให้ใช้เลขโหราเป็นเลขที่นิยมใช้โดยทั่วไป และเลขในธรรมก็จะเป็นเลขที่นิยมใช้ในเรื่องทางธรรมรวมถึงภาษาบาลี โดยเลขในธรรมจะมีลักษณะคล้ายตัวเลขลาว ส่วนเลขโหรามีลักษณะคล้ายกับตัวเลขพม่า นอกจากนี้ในปัจจุบันเมื่อใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาหลัก จึงทำให้ใช้ตัวเลขไทยซึ่งคล้ายกับตัวเลขเขมรมาใช้แทนในปัจจุบัน

      ข้อมูลเพิ่มเติม เลขอารบิก, เลขโหรา ...
      Remove ads

      เครื่องหมายวรรคตอน

      อักษรธรรมมีเครื่องหมายวรรคตอนคล้ายอักษรไทย เช่น ไม้ซ้ำคำ (มีลักษณะคล้ายกับ ) ทำหน้าที่เหมือนไม้ยมก

      อักขระวิธีพิเศษ

      อักขระวิธีพิเศษ คือการสะกดคำโดยใช้รูปพิเศษที่ไม่ตรงกับหลักอักขรวิธี โดยส่วนมากมักเป็นไปในลักษณะของการสะกดคำแบบย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้รูปตัวเชิงซึ่งไม่ตรงกับอักขรวิธีปกติ มักมีจุดประสงค์เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนคำที่ใช้บ่อย และมักจะพบคำประเภทนี้ได้ทั่วไปในงานเขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา ตัวอย่างที่พบบ่อยเช่นคำว่า ᨧᩢ᩠ᨠ​ (จัก) ซึ่งมักจะย่อเป็น ᨧᩢ (จั) ทั้งนี้ ในบางครั้งอาจมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์พิเศษขึ้นมาแทนคำ เช่น สัญลักษณ์ ᪠​ (เวียง) แทนคำว่า เวียง หรือ เมือง โดยตัวอย่างของอักขระวิธีพิเศษ จะแสดงไว้ในตารางดังนี้

      ข้อมูลเพิ่มเติม อักขรวิธีพิเศษ, อักขรวิธีปกติ ...
      Remove ads

      ผังยูนิโคด

      อักษรธรรมล้านนาได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดตั้งแต่รุ่น 5.2 ดังนั้นจึงสามารถใช้อักษรธรรมล้านนาในคอมพิวเตอร์ได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยช่วงรหัสของอักษรอื่นดังเช่นที่เคยทำกันในอดีตอีกต่อไป

      ผังยูนิโคดสำหรับอักษรธรรมล้านนาอยู่ในช่วง U+1A20–U+1AAF:

      Tai Tham[1][2]
      Official Unicode Consortium code chart (PDF)
       0123456789ABCDEF
      U+1A2x
      U+1A3x ᨿ
      U+1A4x
      U+1A5x
      U+1A6x    
      U+1A7x ᩿
      U+1A8x
      U+1A9x
      U+1AAx
      หมายเหตุ
      1.^ แม่แบบ:Unicode version
      2.^ พื้นที่สีเทาไม่ได้ระบุตัวรหัส
      Remove ads

      ฟอนต์

      สรุป
      มุมมอง
      Thumb
      ฟอนต์ Lanna Alif กับ Lanna Unicode UI

      ในปัจจุบันนี้ โปรแกรมสำหรับทำงานเอกสารที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ยังรองรับระบบการป้อนอักษรธรรมแบบยูนิโค้ดได้อย่างไม่สมบูรณ์[33] ทำให้เกิดการใช้งานฟอนต์อักษรธรรมแบบนอกระบบยูนิโคด (non-Unicode) อย่างแพร่หลาย ฟอนต์อักษรธรรมที่เผยแพร่โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองก็เป็นฟอนต์นอกระบบยูนิโคด ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาการไม่รองรับของโปรแกรมต่าง ๆ ดั้งที่กล่าวมา และเพื่อให้ฟอนต์สามารถแสดงผลข้อความอักษรธรรมจากบันทึกโบราณได้ โดยบันทึกเหล่านี้มักประกอบด้วยอักษรพิเศษและสัญลักษณ์ที่ช่วงรหัสยูนิโคดของอักษรไทธรรม (Tai Tham) ยังไม่รองรับ [34][35] ฟอนต์อักษรธรรมนอกระบบยูนิโคดมักใช้ช่วงรหัสยูนิโคดของอักษรไทยและอักษรละตินประสมกันสำหรับแสดงผล เพื่อแก้ปัญหาการไม่รองรับอักษรธรรมในระบบไมโครซอฟท์ออฟฟิศ อย่างไรก็ตาม ฟอนต์เหล่านี้อาจมีปัญหาในการแสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์หรือคอมพิวเตอร์ที่ไม่รองรับฟอนต์ดังกล่าว โดยอาจเกิดปัญหาการแสดงผลเป็นภาษาต่างดาวได้

      ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาฟอนต์อักษรธรรมแบบยูนิโคดขึ้นอย่างแพร่หลายเพื่อใช้สำหรับแสดงผลบนเว็บไซต์และเพื่อการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน โดยฟอนต์ Noto Sans Tai Tham ซึ่งจัดทำโดยกูเกิล ได้กลายเป็นฟอนต์เริ่มต้นสำหรับแสดงผลอักษรธรรมในระบบแมคโอเอสและไอโอเอส[36] กระนั้น ฟอนต์ดังกล่าวในรุ่นปัจจุบันยังคงมีปัญหา กล่าวคือยังแสดงผลอักษรธรรมล้านนาได้ไม่ถูกต้อง และมีรูปทรงที่อ่านยาก

      รายการฟอนต์อักษรธรรมที่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะแล้ว ได้จัดรวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้

      ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อฟอนต์, ระบบการป้อน ...
      หมายเหตุ
      1. ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศไม่รองรับ
      2. ใช้ผังยูนิโคด Thai รองรับในไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ

      อ้างอิง

      อ่านเพิ่ม

      แหล่งข้อมูลอื่น

      Loading related searches...

      Wikiwand - on

      Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

      Remove ads