คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

อาณาจักรหริภุญชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาณาจักรหริภุญชัย
Remove ads

อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน

ข้อมูลเบื้องต้น หริภุญชัย Haripuñjaya (บาลี), เมืองหลวง ...
Remove ads

นามอาณาจักร

สรุป
มุมมอง

จารึก

จารึกอักษรมอญโบราณสมัยหริภุญไชยระบุชื่อไว้ดังนี้

  • ปุนเชญํ[2] (อ่านแบบมอญว่า ปุนะเจณง) จากจารึกอาณาจักรปุนไชย (ลพ.5) วัดจามเทวี
  • (ปุ)ญฺเชยฺย[2] (อ่านแบบมอญว่า ปุญเจ้ยยะ) จากจารึกวัดแสนข้าวห่อ (ตะจุ๊มหาเถร) (ลพ.7)
  • ภุญเชยฺย[2] จากจารึกวัดดอนแก้ว (ลพ.4) จารึกวัดบ้านหลวย (ลพ.6) ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 2 และจารึกจากเวียงเถาะ ด้านที่ 1

จารึกสมัยล้านนา–รัตนโกสินทร์ระบุชื่อไว้ดังนี้

  • หริบุญไชย และ หรี(ริ)บุญไช[2] จากจารึกพระยืน (หลักที่ 62) พ.ศ. 1913 อักษรไทยล้านนา (ฝักขาม) ภาษาบาลี-ไทย
  • หะริภุนไช[2] จากจารึกพระมหาเถรนำพระพุทธศาสนาจากลังกามาหริภุญไชย (ชร.4) พ.ศ. 2041 อักษรฝักขาม ภาษาไทย
  • หริบูญชบุรี[2] จากจารึกหริปุญชบุรี (ลพ.15 หลักที่ 71) พ.ศ. 2043 อักษรฝักขาม ภาษาไทย
  • หรีบูรไชญบูริ[2] จากจารึกวัดพระนอนม่องช้าง (ลพ.39) พ.ศ. 2339 รัชกาลพระเจ้ากาวิละ อักษรฝักขาม ภาษาไทย
  • หะริพรูนใช[2] จากจารึกบนฆ้อง (กังสดาล) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สมัยรัชกาลที่ 3
  • หริภุญเชยฺย[2] จากจารึกบนแผงพระพิมพ์ไม้บรรจุพระพุทธรูป 28 องค์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย

เอกสาร

  • หริบุญฺเชยฺยนามกํ และ หริปุญจปุระ[2] ใน คัมภีร์จามเทวีวํส ต้นฉบับภาษาบาลีรจนาโดยพระโพธิรังสี พระเถระชาวเชียงใหม่ ปี พ.ศ.1953–60
  • หริภุญไชย[2] ใน ตำนานมูลศาสนา ต้นฉบับภาษาพื้นเมืองโบราณรจนาพระพุทธญาณเถระ และพระพุทธพุกาม วัดสวนดอก ปี พ.ศ.1960–72
  • หริปุญเชยฺย[2] ใน ชินกาลมาลีปกรณ์ พ.ศ. 2071
  • หริปุญไชย[2] ใน ตำนานพระธาตุหริปุญไชย พ.ศ. 2108
  • หริปุญช์[2] ใน ตำนานเมืองลำพูน ต้นฉบับจากหลวงพระบาง พ.ศ. 2289
  • หริภุญชัย และ เวียงละพูน[2] ใน ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับวัดเมธังกราวาส จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2432
  • หริภุญไชย[2] ใน พงศาวดารโยนก พ.ศ. 2442–43 โดยพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) สมัยรัชกาลที่ 5
  • หริภุญช์ หริภูญช์ หริปุญช์ และ หริปุญชยะ[2] ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี พ.ศ. 2538
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

ตามตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ และสิงหนวัติ บันทึกไว้ว่าพระฤๅษีทั้งสี่ตนเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัย (ลัมภูญนคร) ขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1200–6[3] ปรากฏนามว่า ฤๅษีวาสุเทพ ฤๅษีสุกกทันตะ ฤๅษีตะปนานะ และจันทสิกตุงคฤาษี[3] แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ)

ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญาญี่บาได้ อาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 47 พระองค์

ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชยที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีโบราณสถานอีกหลายแห่งที่จังหวัดเชียงใหม่เช่น เวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง, เวียงเถาะ ตำบลบ้านสองแคว อำเภอดอยหล่อ และเวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง

ได้มีการพบจารึกอักษรมอญโบราณสมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 จำนวน 7 หลัก ที่ลำพูน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน[4] บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่ายังมีคนพูดภาษามอญและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญอยู่

Remove ads

รายพระนามผู้ปกครอง

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads