Loading AI tools
รัฐจักรวรรดิพหุชนชาติภายใต้การปกครองของราชวงศ์ออสมัน (ค.ศ. 1299–1922) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกีออตโตมัน: دولت عليه عثمانيه Devlet-i ʿAlīye-i ʿOsmānīye แปลตรงตัว "รัฐออตโตมันอันประเสริฐ"; ตุรกีแบบปัจจุบัน: Osmanlı İmparatorluğu หรือ Osmanlı Devleti; ฝรั่งเศส: Empire ottoman)[16] เป็นรัฐที่ควบคุมยุโรปตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 จักรวรรดินี้ก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอานาโตเลียในเมืองเซอกืต (ปัจจุบันคือจังหวัดบีเลจิค) โดยผู้นำเผ่าเตอร์โกแมน[17][18]สุลต่านออสมันที่ 1[19] หลัง ค.ศ. 1354 พวกออตโตมันได้ข้ามไปยังฝั่งยุโรปและพิชิตคาบสมุทรบอลข่าน, เบย์ลิกออตโตมันจึงเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิข้ามทวีป พวกออตโตมันที่นำโดยสุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตพิชิตพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลใน ค.ศ. 1453 ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์สิ้นสุดลง[20] จักรวรรดิออตโตมันเริ่มเสี่อมถอยอย่างช้า ๆ จนกระทั่งล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางแห่งจักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และราชอาณาจักรบัลแกเรียที่เป็นฝ่ายแพ้สงคราม
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
รัฐออตโตมันอันประเสริฐ دولت عليه عثمانیه Devlet-i ʿAlīye-i ʿOsmānīye | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1299–1922 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1566 ในช่วงที่สุลัยมานผู้เกรียงไกรสวรรคต | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จักรวรรดิออตโตมัน ณ จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1683 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมืองใหญ่สุด | คอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เดมะนิม | ชาวออตโตมัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (1299–1876; 1878–1908; 1920–1922) และรัฐเคาะลีฟะฮ์ (1517–1924[10]) ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (1876–1878; 1908–1920) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุลต่าน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• ป. 1299–1323/4 (องค์แรก) | ออสมันที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 1918–1922 (องค์สุดท้าย) | เมห์เหม็ดที่ 6 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เคาะลีฟะฮ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 1517–1520 (องค์แรก) | เซลิมที่ 1[11][note 2] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 1922–1924 (องค์สุดท้าย) | อับดุลเมจิดที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มหาเสนาบดี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 1320–1331 (คนแรก) | อาลาเอดดีน พาชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 1920–1922 (คนสุดท้าย) | อาห์เม็ด เทวฟิก พาชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สมัชชาใหญ่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• สภาบนที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง | สภาสำคัญ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• สภาล่างที่ได้รับการเลือกตั้ง | สภาต่ำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 1299 1299 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1402–1413 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1453 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• รัฐธรรมนูญฉบับแรก | 1876–1878 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 | 1908–1920 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• การรุกรานที่ประตูประเสริฐ (Sublime Porte) | 23 มกราคม ค.ศ. 1913 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 ตุลาคม 1923 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• การยุบรัฐเคาะลีฟะฮ์ | 3 มีนาคม ค.ศ. 1924 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• รวม | [convert: %s]%s (N/A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1451[12] | 690,000 ตารางกิโลเมตร (270,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1521[12] | 3,400,000 ตารางกิโลเมตร (1,300,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1683[12][13] | 5,200,000 ตารางกิโลเมตร (2,000,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1844[14] | 2,938,365 ตารางกิโลเมตร (1,134,509 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 1912[15] | 24,000,000 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | N/A (ประมาณ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
• รวม | N/A | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | อักเช, พารา, ซุลตานี, กูรุช, ลีรา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | N/A |
ภายในรัชสมัยสุลัยมานผู้เกรียงไกร จักรวรรดิออตโตมันอยู่ในช่วงสูงสุดในด้านอำนาจและความเจริญ เช่นเดียวกันกับระบบรัฐบาล สังคม และเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาสูงสุด[21] ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 17 ตัวจักรวรรดิมี 32 จังหวัดและรัฐบริวารจำนวนมาก โดยบางส่วนในเวลาต่อมาถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน ในขณะอีกบางส่วนได้รับสถานะปกครองตนเองเป็นเวลาหลายศตวรรษ[note 5]
หลังตั้งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) เป็นเมืองหลวงและควบคุมดินแดนรอบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน จักรวรรดิออตโตมันกลายเป็นศูนย์กลางด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตกของโลกเป็นเวลา 6 ศตวรรษ เมื่อถึงช่วงระยะเวลาการล่มสลายหลังสุลัยมานผู้เกรียงไกรสวรรคต นักประวัติศาสตร์ด้านวิชาการส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนมุมมองนี้แล้ว[22] ตัวจักรวรรดิยังคงมีเศรษฐกิจ สังคม และการทหารที่ยืดหยุ่นและแข็งแกร่งตลอดศตวรรษที่ 17 และส่วนมากของศตวรรษที่ 18[23] อย่างไรก็ตาม ในช่วงสันติสุขตั้งแต่ ค.ศ. 1740 ถึง 1768 ระบบทหารออตโตมันตกเป็นรองของฝ่ายยุโรป ได้แก่ ฮาพส์บวร์คและรัสเซีย[24] พวกออตโตมันประสบความพ่ายแพ่ทางทหารอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งทำให้เกิดการปฏิรูปและการทำให้ทันสมัยที่มีชื่อว่าตันซีมัต ดังนั้น ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐออตโตมันกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจและจัดระเบียบมาก แม้ว่าจะยังคงประสบกับการสูญเสียดินแดนมากกว่าเดิม โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้น[25]
คณะกรรมการสหภาพและความก้าวหน้า (Committee of Union and Progress; CUP) อาจก่อตั้งสมัยรัฐธรรมนูญที่ 2 ผ่านการปฏิรูปยังเติร์กใน ค.ศ. 1908 ทำให้จักรวรรดิเปลี่ยนเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่ดำเนินการผ่านการแข่งขันเลือกตั้งหลายพรรค ไม่กี่ปีต่อมา พรรค CUP ได้โค่นรัฐบาลในรัฐประหาร ค.ศ. 1913 ทำให้เกิดการปกครองรัฐเดียว ฝ่าย CUP สร้างพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมันเพื่อหลุดพ้นจากความโดดเดี่ยวทางการทูต (diplomatic isolation) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียดินแดน และเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในฝ่ายมหาอำนาจกลาง[26] ขณะที่จักรวรรดิสามารถควบคุมขัดแย้งส่วนใหญ่ได้ แต่ยังคงมีปัญหาภายใน โดยเฉพาะกบฏอาหรับในดินแดนของตนที่คาบสมุทรอาหรับ ในช่วงนั้น รัฐบาลออตโตมันได้ดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวอาร์มีเนีย ชาวอัสซีเรีย และชาวกรีก[27] ความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิและการยึดครองดินแดนบางส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรจากผลตามหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้การแบ่งดินแดนและสูญเสียดินแดนในตะวันออกกลางที่แบ่งกันระหว่างสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส ความสำเร็จในสงครามประกาศอิสรภาพตุรกีที่นำโดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์คต่อฝ่ายพันธมิตรที่ครอบครองดินแดนทำให้เกิดสาธารณรัฐตุรกีที่ใจกลางอานาโตเลียกับการเลิกล้มพระมหากษัตริย์ออตโตมัน[28]
ในช่วงที่เซลจุกเติร์กกำลังเสื่อมอำนาจ ชาวเติร์กเผ่าอื่น ๆ ซึ่งได้อพยพตามเซลจุกเติร์กเข้ามายังอนาโตเลียจึงได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราช ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของออสมาน เบย์ (Osman Bey) (“เบย์” ในภาษาตุรกีมีความหมายว่า ผู้นำ หรือ เจ้าเมือง) ผู้นำชาวเติร์กเผ่าคายี (Kayi) ซึ่งเป็นสายย่อยของเติร์กเผ่าโอกูซ (Oghuz) บิดาของออสมัน ชื่อ Ertugrul เป็นผู้นำเผ่าคายี ซึ่งเป็นเติร์กกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้าไปอยู่ในเปอร์เซีย ในกลางศตวรรษที่ 13 Ertugrul ได้พาเผ่าของตนอพยพเข้ามายังอนาโตเลีย เพื่อหลบหนีการโจมตีจากพวกมองโกล เมื่ออพยพเข้ามายังอนาโตเลียแล้ว Ertugrul เสียชีวิต ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง ขึ้นในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ออตโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออ-สมานลึ (Osmanli) ตามพระนามของสุลต่านออสมาน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์
จักรวรรดิออตโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูร์ซา เดิมชื่อเมืองโพรอุสซา (Proussa) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ออสมานได้ยกกำลังมาปิดล้อมเมืองนี้แต่ไม่สามารถยึดเมืองได้ หลังจากที่พยายามปิดล้อมเมืองอยู่นานเกือบ 10 ปี อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1869 (ค.ศ. 1326) ชาวเมืองโพรอุสซา ได้ยอมแพ้ต่อ ออร์ฮัน (Orhan) โอรสของออสมาน ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นผู้นำแทนบิดา การเข้ายึดครองเมืองดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อออตโตมัน ออตโตมันเติร์กซึ่งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้ลงหลักปักฐานที่เมืองนี้ พรัอมกับยุติการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน เมืองบูร์ซ่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก จนถึงปี พ.ศ. 1905 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน เมืองหลวงของออตโตมันก็ถูกย้ายไปเมืองเอดิร์เน (Edirne) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครคอนสแตนติโนเปิล
อาณาจักรออตโตมันตั้งประชิดติดกับอาณาจักรไบแซนไทน์ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ โดยมีดินแดนเหลืออยู่เพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและอาณาบริเวณโดยรอบเท่านั้น ซึ่งมีสภาพไม่ต่างอะไรไปจากนครเล็ก ๆ ที่ถูกล้อมรอบโดยอาณาจักรออตโตมัน ที่กำลังเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดีนครรัฐไบแซนไทน์ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ โดยอาศัยกำแพงเมืองสูงใหญ่เป็นปราการป้องกันตนเอง กำแพงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิธีโอดอซิอุสที่ 2 (Theodosius II) กำแพงแห่งนี้ได้ปกป้องคุ้มครองนครคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมและโจมตีของออตโตมันเติร์ก ซากของกำแพงในปัจจุบันจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นจนกระทั่งทุกวันนี้และได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก
ในปี พ.ศ. 1933 (ค.ศ. 1390) และ พ.ศ. 1934 สุลต่านไบยัดซึที่ 1 ทรงพยายามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตีเมืองได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422) สุลต่านมูราตที่ 2 ได้ทำการปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองเหลืออยู่เพียงประมาณ 50,000 คน จากเดิมที่เคยมีมากกว่า 500,000 คน
การปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในต้นฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) ภายหลังที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ประมาณ 50 วัน กองทหารออตโตมันก็สามารถทะลวงกำแพงเมืองอันสูงใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) และเข้ายึดกรุงได้ในที่สุด เป็นการปิดฉากอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งสามารถยืนหยัดอยู่รอดมาได้ยาวนานถึง 1,123 ปี มีจักรพรรดิปกครองรวมทั้งสิ้น 82 พระองค์จากหลายราชวงศ์ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของไบแซนไทน์ทรงสิ้นพระชนม์อย่างมีปริศนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในวันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
ความสำเร็จในการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายเติร์ก ซึ่งได้อพยพเข้าสู่อนาโตเลีย ภายหลังที่สุลต่าน Alparslan ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรพรรดิโรมานุสที่ 6 (Romanus IV) แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ในสมรภูมิ ณ เมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt)
ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1701) ชัยชนะของสุลต่าน Alparslan ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อาณาจักรอนาโตเลีย ในขณะที่ชัยชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ในปี พ.ศ. 1996 ได้เปิดทางให้จักรวรรดิออตโตมันได้ก้าวไปสู่การเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
ภายหลังที่สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 พระองค์ก็ทรงได้รับการขานพระนามว่า ฟาติ เมห์เมต (Fatih Mehmet) “ฟาติ” (Fatih) มีความหมายว่า “ผู้พิชิต” (the conqueror) สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิจากเมืองเอดิร์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่เป็น อิสลามบูล (Islambul) ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2466 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อิสตันบูล” (Istanbul) ในปัจจุบันในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี นับตั้งแต่ที่สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงสามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ อาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมในเวลาต่อมา จักรวรรดิออตโตมันได้ขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนถึง 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง (เอเชีย) แอฟริกาเหนือ และยุโรปบอลข่าน
จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) – พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย
ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอาเรเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” สำหรับชาวตุรกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า “สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎหมาย” เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างทำสงครามที่ฮังการีในปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) สิริรวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตโตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน
สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) – พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1932 – 1946) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 (ค.ศ. 1605) โปรดให้เปลี่ยนการสำเร็จโทษมาเป็นการกักบริเวณแทน การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลตานได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน
อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลายไป โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จเยือนจักรวรรดิออตโตมันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทรงวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้น โดยทรงวิเคราะห์ไว้ว่า แม้ว่าจักรวรรดิออตโตมันจะเสื่อมอำนาจ แต่ชาติตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของเติร์กทั้งหมด เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว ออตโตมันจึงยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ว่าจะอ่อนแอลงกว่าในอดีตมาก
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.