สนธิสัญญาโลซาน เป็นสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งลงนามในโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 อันยุติสถานะสงครามซึ่งมีอยู่ระหว่างประเทศตุรกีและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้แก่ จักรวรรดิอังกฤษ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรอิตาลี จักรวรรดิญี่ปุ่น ราชอาณาจักรกรีซ ราชอาณาจักรโรมาเนียและรัฐเซิร์บ-โครแอต-สโลวีนนับแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้น อย่างเป็นทางการ สนธิสัญญานี้เป็นผลแห่งความพยายามเจรจาสันติภาพครั้งที่สองหลังสนธิสัญญาเซเวร์ (Treaty of Sèvres) อันล้มเหลว ที่ภาคีทั้งหมดลงนามแต่ภายหลังถูกขบวนการแห่งชาติตุรกีซึ่งต่อสู้กับเงื่อนไขเดิมและสูญเสียดินแดนไปเป็นอันมาก สนธิสัญญาโลซานยุติความขัดแย้งและกำหนดเขตแดนของรัฐตุรกีสมัยใหม่ ยกเว้นเขตแดนกับประเทศอิรัก ในสนธิสัญญาดังกล่าว ตุรกีสละการอ้างสิทธิ์เหนือส่วนที่เหลือของจักรวรรดิออตโตมันและฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองอธิปไตยของตุรกีภายในเขตแดนใหม่เป็นการตอบแทน
สนธิสัญญาสันติภาพกับตุรกี ลงนามที่โลซาน Accord relatif à la restitution réciproque des internés civils et à l'échange des prisonniers de guerre, signé à Lausanne | |
---|---|
เขตแดนของตุรกีซึ่งตั้งโดยสนธิสัญญาโลซาน | |
วันลงนาม | 24 กรกฎาคม 1923 |
ที่ลงนาม | โลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ |
วันมีผล | 6 สิงหาคม 1924 |
เงื่อนไข | หลังตุรกีและจักรวรรดิบริติช ฝรั่งเศส อิตาลีและญี่ปุ่นสามประเทศใด ๆ ให้สัตยาบัน สนธิสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับแก่ "อัครภาคีผู้ทำสัญญา" และใช้แก่ผู้ลงนามเพิ่มเติมภายหลังเมื่อเก็บรักษาการให้สัตยาบัน |
ผู้ลงนาม |
|
ผู้เก็บรักษา | สาธารณรัฐฝรั่งเศส |
ภาษา | ฝรั่งเศส |
ตุรกีให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1923 กรีซเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1923 อิตาลีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1924 ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1924 บริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 สนธิสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1924 โดยตราสารให้สัตยาบันเก็บรักษาอย่างเป็นทางการในกรุงปารีส
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.