หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล

พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล (9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2509) มีพระนามลำลองว่า ท่านชายแอ๊ว ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 ณ วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ตำบลสามยอด จังหวัดพระนคร เป็นพระโอรสลำดับที่ 20 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ประสูติในหม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: วสันตสิงห์)

ข้อมูลเบื้องต้น หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล, ผู้บัญชาการทหารไทย ทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี ...
หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
Thumb
ผู้บัญชาการทหารไทย ทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี
ดำรงตำแหน่ง14 ตุลาคม พ.ศ. 2493[1] - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2494[2]
ประสูติ9 สิงหาคม พ.ศ. 2448
ชีพิตักษัย31 มีนาคม พ.ศ. 2509 (60 ปี)
หม่อมหม่อมสวาสดิ์ ดิศกุล ณ อยุธยา
บุตร6 คน
ราชสกุลดิศกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระมารดาหม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา
ปิด

หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล มีพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาคือ หม่อมเจ้าพัฒนายุคุณวรรณ หม่อมเจ้าสิวลีวิลาศ, หม่อมเจ้าทักษิณาธร และพระขนิษฐาร่วมพระมารดาหม่อมเจ้าสุมณีนงเยาว์

หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล เสกสมรสกับ หม่อมสวาสดิ์ ดิศกุล ณ อยุธยา (เกตุทัต) (22 กันยายน พ.ศ. 2447 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2538) ธิดา พระยาเวียงไนยนฤบาล และคุณหญิงเลื่อน เวียงไนยนฤบาล (จามรมาน) มีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน คือ

  1. พลโท หม่อมราชวงศ์พงษ์ดิศ ดิศกุล (18 มกราคม พ.ศ. 2469 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2537) สมรสกับ นางอุษณีย์ ดิศกุล ณ อยุธยา (ทองเนื้อดี)
  2. พันตำรวจเอก หม่อมราชวงศ์พิสิฐพงศ์ ดิศกุล
  3. พันเอก หม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล สมรสกับ หม่อมเจ้าเฟื่องฉัตร ฉัตรชัย
  4. หม่อมราชวงศ์พัฒนาดิศ คชาชีวะ
  5. หม่อมราชวงศ์พิศวาท นาควานิช
  6. หม่อมราชวงศ์ประสาสน์ศรี ดิศกุล (กุญชร)

การศึกษา

เบื้องต้นได้ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ชั้นมัธยม 2 เมื่อ พ.ศ. 2467

การทำงาน

พล.ท. ม.จ.พิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล เคยดำรงตำแหน่งในคณะทูตทหารบก ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารไทย ทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี เมื่อปี พ.ศ. 2493[1] และเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น

  • พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2490 : เจ้ากรมข่าวทหารบก
  • พ.ศ. 2495 : ผู้บัญชาการเสนาธิการทหารบก
  • ราชองครักษ์พิเศษ
Thumb

ในปี พ.ศ. 2485 เมื่อครั้งมียศนายพ.ท. ม.จ.พิสิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการควบคุมและจัดการกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวในภาวะคับขัน

ข้อมูลเบื้องต้น พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล, ชั้นยศ ...
พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
ชั้นยศ พลโท
ปิด

ชีพิตักษัย

พล.ท. ม.จ.พิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2509[3] พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ใน พ.ศ. 2509

พระเกียรติยศ

ข้อมูลเบื้องต้น ธรรมเนียมพระยศของ พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล, การทูล ...
ธรรมเนียมพระยศของ
พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ
ปิด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ไทย

เหรียญสหประชาชาติ

ต่างประเทศ

  •  พม่า :
    • พ.ศ. 2499 - Thumb เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นสโดมหาสเรสิธุ (ฝ่ายทหาร)[14]

พระยศ

พระยศทางทหาร

  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467: นายร้อยตรี[15]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480: นายพันตรี[16]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484: นายพันโท[17]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486: พันเอก[18]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491: พลตรี[19]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2504: พลโท[20]

อ้างอิง

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.