นักการเมืองชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุนทร วิลาวัลย์ หรือ โกทร เป็นนักการเมืองชาวไทย (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2482) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี 8 สมัย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 หรือที่สื่อมวลชนกล่าวถึงว่าเป็น "บ้านใหญ่ปราจีนบุรี" ผู้มีอิทธิพลในจังหวัดปราจีนบุรี
สุนทร วิลาวัลย์ | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (3 ปี 358 วัน) | |
ก่อนหน้า | บังอร วิลาวัลย์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2482 จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2526-2529,2531-2539) ราษฎร (2529-2531) ความหวังใหม่ (2539-2543) ไทยรักไทย (2543-2550) มัชฌิมาธิปไตย (2550-2551) ภูมิใจไทย (2556–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สุภาภร วิลาวัลย์ |
สุนทร วิลาวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายเงิน กับนางคำ วิลาวัลย์ สำเร็จการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ จากสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เมื่อปี พ.ศ. 2543[1]
สุนทร วิลาวัลย์ เป็นนักการเมืองชาวจังหวัดปราจีนบุรี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 จากนั้นจึงย้ายกลับมาสังกัดพรรคชาติไทยตามเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[2] จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และสนับสนุนให้นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม (บุตรสาว) ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548[3]
ในปี พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย และได้รับเลือกตั้ง แต่ต่อมาถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง (ใบแดง) เนื่องจากกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 และเป็นเหตุให้ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย[3][4]
ในปี 2563 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี[5] แทนบังอร วิลาวัลย์ ผู้เป็นน้องสาว ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งในคดีทุจริตฮั้วประมูลโครงการของ อบจ.ปราจีนบุรี
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 สุนทรถูกออกหมายเรียกในคดีรุกพื้นที่ป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี[3] ภายหลังได้เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานสอบสวน และแจ้งว่าที่ตนเองไม่ได้มาตามหมายเรียกนั้น เนื่องจากต้องพักรักษาตัวจากอาการป่วยของโรคประจำตัว โดยได้มี ส.ส.คนสนิท เป็นผู้ยืนยันว่านายสุนทรไม่ได้มีเจตนาหลบหนีแต่อย่างใด
ต่อมาในช่วงดึกวันที่ 11 ต่อเช้ามืดวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สุนทรถูกตำรวจคุมตัวหลังเกิดเหตุลูกน้องของเขายิงนายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ (ชื่อเดิม: เต็มพงษ์ ฤทธิ์เดช) เสียชีวิตในบ้านพักของสุนทรที่จังหวัดปราจีนบุรี[6] ส่วนคนใกล้ชิดของสุนทรอ้างว่าเหตุดังกล่าวเป็นความขัดแย้งส่วนตัวระหว่างชัยเมศร์กับลูกน้องของสุนทร[7] อย่างไรก็ตามพลตำรวจตรี ภูมินทร์ สิงหสุต ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่าในการขอเข้าพบสุนทรของชัยเมศร์ก่อนเหตุดังกล่าวนั้นมีประเด็นการพูดคุยเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ซึ่งจะต้องมีการสอบสวนต่อไป[8] วันถัดจากนั้นสุนทรพร้อมด้วยลูกน้องอีก 6 คน ถูกนำตัวไปฝากขังที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรี โดยศาลคัดค้านคำร้องปล่อยตัวชั่วคราวในคดีดังกล่าว[9]โดยหลังจากตำรวจได้พิสูจน์หลักฐานแล้วได้แจ้งข้อหาเขาว่า "ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน" [10]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.