คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สุธา ชันแสง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สุธา ชันแสง (เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2503) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
Remove ads
ประวัติ
สุธา ชันแสง เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ที่เขตหนองแขม โดยเป็นบุตรชายของกำนันในท้องที่ จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม มัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ระดับอุดมศึกษา ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านลอจิสส์ติก และการขนส่ง สหราชอาณาจักร (สาขาในประเทศไทย) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และวิทยาลัยรีพับลิกัน ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2527
งานการเมือง
สรุป
มุมมอง
เริ่มต้นเส้นทางทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) บางแค 2 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม ในสังกัดพรรคพลังธรรม 3 สมัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2539 จากนั้นได้ย้ายไปเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย และได้เป็น ส.ส. สังกัดพรรคไทยรักไทย 2 สมัย ในเขตหนองแขม 2 สมัย และพรรคพลังประชาชน เขตบางแค ภาษีเจริญ และหนองแขม 1 สมัย
หลังการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นายสุธาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต่อมาไม่นาน นายสุธาได้ถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องวุฒิการศึกษาว่าอาจจะไม่จบปริญญาตรีจริงตามประวัติที่ให้ไว้ เนื่องจากตรวจพบว่า นายสุธาทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งขัดกับประวัติที่ว่าจบการศึกษาจากรีพับลิกัน คอลเลจ ประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 อีกทั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ก็ถูกเปิดเผยด้วยว่า เป็นสถาบันที่ไม่ได้มาตรฐาน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ไม่ได้ให้การรับรอง อีกทั้งการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ยังมีข้อต้องสงสัยอยู่อีกด้วย[1]
ในต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 นายสุธายังถูกตรวจพบอีกว่า มีการซุกบัญชีทรัพย์สินให้กับบุตรนอกสมรสโดยไม่ได้แจ้งแก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) วันที่ 8 พฤษภาคม นายสุธาได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งโดยอ้างเหตุผลเรื่องสุขภาพ และต่อมาในเดือนกันยายน นายสุธา ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส.[2] เขากล่าวว่าตนไม่ได้แจ้งการลาออกครั้งนี้ให้ผู้ใหญ่ในพรรครับทราบ เพราะเกรงว่าจะถูกทักท้วง โดยก่อนหน้านี้ตั้งใจไว้ว่า ภายใน 3-4 เดือน หากยังไม่หายอาการป่วยจะลาออกจาก ส.ส.และไม่กลับมาเล่นการเมืองอีก[3]
ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[4]
Remove ads
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads