สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ พระนามเดิม ทองอิน (28 มีนาคม พ.ศ. 2289 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระองค์สุดท้าย ดำรงพระยศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

ข้อมูลเบื้องต้น สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์, กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ...
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ
เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
เจ้าฟ้าชั้นตรี
Thumb
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
ดำรงพระยศประมาณ พ.ศ. 2329 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ก่อนหน้าเจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย (อาณาจักรอยุธยา)
ถัดไปสิ้นสุดตำแหน่ง
ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2323  2325
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ก่อนหน้าเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)
ถัดไปพระยานครราชสีมา (เที่ยง ณ ราชสีมา)
ประสูติ28 มีนาคม พ.ศ. 2289
อาณาจักรอยุธยา
ทองอิน
ทิวงคต20 ธันวาคม พ.ศ. 2349 (60 ปี)[1]
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
พระราชทานเพลิง18 พฤษภาคม พ.ศ. 2350
พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ
บรรจุพระอัฐิหอพระนาก
พระชายาพระชายาทองอยู่
หม่อมหม่อมบุนนาค
พระราชบุตร36 พระองค์
วัดประจำรัชกาล
วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระอินทรรักษา (เสม)
พระราชมารดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี
ศาสนาเถรวาท
ปิด

พระราชประวัติ

สรุป
มุมมอง

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มีพระนามเดิมว่าทองอิน เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี และพระอินทรรักษา (เสม) ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2289[2] มีพระอนุชาและพระขนิษฐา คือ

  1. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์
  2. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ
  3. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ

นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระอนุชาต่างมารดาชื่อ พระองค์เจ้าขุนเณร ผู้เป็นนักรบคู่พระทัยของพระองค์ในการทำศึกตลอดมา พระองค์ผนวช 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา และผนวชอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2335 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระองค์ทรงเริ่มรับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นที่หลวงฤทธิ์นายเวร จนกระทั่ง พ.ศ. 2323 ได้เลื่อนเป็นพระยาสุริยอภัย ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามจลาจลในช่วงปลายรัชกาล เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2325 โปรดให้สถาปนาพระองค์เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ พระราชทานเครื่องสูง 3 ชั้น คันประดับมุก และเรือดั้งแห่คู่ 1 เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศโดยความชอบยิ่งกว่าพระราชภาคิไนยพระองค์อื่น ตั้งวังอยู่ที่สวนลิ้นจี่ ในเมืองเดิมฟากตะวันตกริมคลองบางกอกน้อย[3]

หลังเสร็จสงครามเก้าทัพแล้ว ทรงได้รับเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ดำรงพระเกียรติยศในที่กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข รับพระบัญชาตามแบบกรมพระราชวังหลังแต่ก่อนมา[4]

ทิวงคต

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงพระประชวรมาตั้งแต่เดือน 10 และเสด็จทิวงคตเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนอ้าย เวลาบ่าย 4 โมง[5] ตรงกับวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349 สิริพระชนมายุ 61 พรรษา[2]

ถึงวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2350 จึงเชิญพระศพเข้าสู่พระเมรุท้องสนามหลวง มีการมหรสพสมโภช 3 วัน แล้วจึงพระราชทานเพลิงพระศพในวันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม ในการนี้จักรพรรดิซา ล็อง ได้จัดของเข้ามาสดับปกรณ์ด้วย[6] พระอัฐิของพระองค์ถูกนำไปประดิษฐานที่หอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนพระสรีรางคารถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์ฐานพระประธานภายในอุโบสถ วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร[7]

พระโอรสและพระธิดา

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเบื้องต้น ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์, การทูล ...
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
การทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
ปิด

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เษกสมรสกับพระชายาทองอยู่ (อาจเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[7]) มีพระโอรสและพระธิดารวม 6 พระองค์ ได้รับการยกฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า "พระสัมพันธวงศ์เธอ " คือ

นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระโอรสและพระธิดาที่ประสูติแต่หม่อมห้าม เป็นหม่อมเจ้าชาย 14 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 พระองค์ คือ

  • หม่อมเจ้าชายจัน (หม่อมเจ้าจันทร์นุเรศร์) (ประสูติ พ.ศ. 2332)
  • หม่อมเจ้าหญิงรัศมี (พ.ศ. 2334 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2417)
  • หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ (พ.ศ. 2341 - 21 สิงหาคม พ.ศ. 2420)
  • หม่อมเจ้าหญิงพิกุล (พ.ศ. 2342 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2417)
  • หม่อมเจ้าหญิงธิดา
  • หม่อมเจ้าหญิงเรไร
  • หม่อมเจ้าชายหมี
  • หม่อมเจ้าหญิงปิ่น
  • หม่อมเจ้าชายสุวรรณ
  • หม่อมเจ้าหญิงยี่สุ่น
  • หม่อมเจ้าหญิงอำพา
  • หม่อมเจ้าหญิงนุช (หม่อมเจ้าวรนุช)
  • หม่อมเจ้าชายกำพร้า
  • หม่อมเจ้าชายสุดชาติ (หม่อมเจ้าสุด)
  • หม่อมเจ้าชายกุหลาบ
  • หม่อมเจ้าชายใย
  • หม่อมเจ้าชายน้อย (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2434)
  • หม่อมเจ้าชายเณร
  • หม่อมเจ้าชายละมั่ง
  • หม่อมเจ้าหญิงอะงุ่น
  • หม่อมเจ้าชายสุทัศน์
  • หม่อมเจ้าชายนิล
  • หม่อมเจ้าหญิงพลับจีน
  • หม่อมเจ้าหญิงป้อม
  • หม่อมเจ้าหญิงเล็ก
  • หม่อมเจ้าหญิงกลาง
  • หม่อมเจ้าหญิงนกเขา
  • หม่อมเจ้าหญิงเรศร์
  • หม่อมเจ้าชายฟัก
  • หม่อมเจ้าชายทับทิม(ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสวรรคตพระองค์ก็ได้เลื่อนยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้า)

ในบรรดาหม่อมห้ามของพระองค์ ปรากฏนามอยู่ท่านหนึ่งคือ หม่อมบุนนาค[8]

ราชสกุลในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขมี 2 ราชสกุลคือ ปาลกะวงศ์ และ เสนีวงศ์ หม่อมเจ้าพระองค์อื่นที่มิใช่สายพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ จะใช้ราชสกุลปาลกะวงศ์[9]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ได้แก่

พงศาวลี

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ...
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.