Loading AI tools
อดีตนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเหรียญทองโอลิมปิกทีมชาติไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาวาตรี สมรักษ์ คำสิงห์ ร.น. เป็นอดีตนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นและนักการเมืองชาวไทย ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต 11 พรรคพลังประชารัฐ ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2539
สมรักษ์ คำสิงห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมรักษ์ในปี 2543 | ||||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | 16 มกราคม พ.ศ. 2516 อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | |||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น | บาส | |||||||||||||||||||||||||||||
การศึกษา | โรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา | |||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพ | ||||||||||||||||||||||||||||||
มีชื่อเสียงจาก | เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกฤดูร้อนคนแรกของไทย | |||||||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (2554) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) | |||||||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | เสาวนีย์ คำสิงห์ (หย่า) | |||||||||||||||||||||||||||||
บุตร |
| |||||||||||||||||||||||||||||
ญาติ | สมรถ คำสิงห์ (พี่ชาย) | |||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพนักมวย | ||||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | |||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| ||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพแสดง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน | |||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานเด่น | นายขนมต้ม – นายขนมต้ม (2539) | |||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพทางดนตรี | ||||||||||||||||||||||||||||||
แนวเพลง | ลูกทุ่ง | |||||||||||||||||||||||||||||
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง | |||||||||||||||||||||||||||||
ช่วงปี | พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน | |||||||||||||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | ||||||||||||||||||||||||||||||
รับใช้ | ไทย | |||||||||||||||||||||||||||||
แผนก/ | กองทัพเรือไทย | |||||||||||||||||||||||||||||
ประจำการ | จนถึง พ.ศ. 2561 | |||||||||||||||||||||||||||||
ชั้นยศ | นาวาตรี | |||||||||||||||||||||||||||||
สมรักษ์ เป็นชาวหมู่บ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านแฮด) เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2516 ในครอบครัวยากจน เป็นบุตรคนกลาง ในจำนวนลูกทั้ง 3 คน ของ นายแดงและนางประยูร คำสิงห์ เหตุที่มีชื่อเล่นว่า "บาส" ก็เพราะต้องการให้คล้องกับชื่อเล่นของพี่ชายซึ่งเป็นนักมวยด้วยเหมือนกัน คือ สมรถ คำสิงห์ ที่มีชื่อว่า "รถ" เนื่องจากคลอดบนรถโดยสาร ระหว่างเดินทางไปสถานีอนามัยอำเภอ
สมรักษ์เข้าเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาโนนสมบูรณ์ ด้วยเหตุที่สมรักษ์มีพ่อเป็นนักมวยเก่า จึงได้รับการฝึกการชกมวยไทยมาตั้งแต่เด็ก ขึ้นชกมวยครั้งแรกขณะอายุได้ 7 ปี และได้ตระเวนชกตามเวทีงานวัดต่าง ๆ จนทั่ว และได้รับการทาบทามจาก ณรงค์ กองณรงค์ หัวหน้าคณะณรงค์ยิมให้มาร่วมค่าย สมรักษ์จึงขอขึ้นชกมวยไทยในชื่อ สมรักษ์ ณรงค์ยิม และกลายเป็นนักมวยมีชื่อในแถบจังหวัดขอนแก่น
ต่อมา ณรงค์กับนายแดงพ่อของสมรักษ์เกิดแตกคอกัน สมรักษ์จึงย้ายไปอยู่ค่ายศิษย์อรัญ เข้ามาชกมวยในกรุงเทพฯ ได้ไปเรียนที่ โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา โดยชกทั้งมวยไทย และมวยสากลสมัครเล่น สมรักษ์ขึ้นชกมวยไทยในชื่อ "พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ" แต่พอสมรักษ์ขึ้น ม.2 พ่อก็ถึงแก่กรรม
ในเส้นทางมวยไทย สมรักษ์ตระเวนชกตามเวทีต่างทั้ง ชลบุรี สำโรง อ้อมน้อยจนกระดูกแข็ง เจนสังเวียนมากขึ้นจึงขึ้นชกมวยที่เวทีมาตรฐานทั้งเวทีราชดำเนินและเวทีลุมพินี มีโอกาสขึ้นชกกับนักมวยชื่อดังยุคนั้นหลายคน เช่น ชาติชายน้อย ชาวไร่อ้อย, ช้างน้อย ศรีมงคล, บัวขาว ป.พิสิษฐ์เชษฐ์, ฉมวกเพชร ช่อชะมวง แต่ไม่เคยได้แชมป์มวยไทยของเวทีใด จน พ.ศ. 2538 จึงขึ้นชกมวยไทยครั้งสุดท้าย ชนะน็อค สุวิทย์เล็ก ส.สกาวรัตน์ ยก 4 แล้วจึงหันมาเอาดีด้านมวยสากลสมัครเล่นอย่างเดียว ค่าตัวสูงสุดที่ได้รับจากการชกมวยไทยอยู่ที่ราว 180,000 บาท จัดเป็นนักมวยเงินแสนคนหนึ่ง
สมรักษ์เริ่มเข้าแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในนามของโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. 2528 เมื่ออายุ 12 ปี โดยมีพิกัดน้ำหนัก 52 กิโลกรัมเมื่อสมรักษ์จบ ม.6 จากโรงเรียนผดุงศิษย์ฯ ได้รับการทาบทามจากสโมสรราชนาวีให้ชกมวยสากลสมัครเล่นในนามของสโมสรและจะบรรจุให้เข้ารับราชการในกองทัพเรือด้วย สมรักษ์จึงตอบตกลง สมรักษ์ประสบความสำเร็จได้ทั้งแชมป์ประเทศไทยและเหรียญทองกีฬาแห่งชาติ
สมรักษ์ เข้าสู่ทีมชาติครั้งแรก ในการแข่งขันโอลิมปิก ที่บาร์เซโลนา ใน พ.ศ. 2535 ในรุ่นเฟเธอร์เวท รอบแรก ชนะ ไมค์ สแตรงก์ จากแคนาดา เมื่อ 29 กรกฎาคม รอบสอง แพ้ ฟาอุสติโน เรเยส จากสเปน เมื่อ 2 สิงหาคม ตกรอบ พ.ศ. 2536 ได้เหรียญทองมวยทหารโลกที่ประเทศอิตาลี แต่ไม่ได้ติดทีมชาติไปแข่งกีฬาซีเกมส์ในปีนั้นเพราะไม่พร้อม สมรักษ์เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาเป็นครั้งแรก จากการเป็นนักกีฬาไทย ที่ได้เหรียญทองเพียงคนเดียว ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2537 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นเกือบจะถูกตัดสิทธิ์เพราะตรวจสมรรถภาพร่างกายไม่ผ่านในครั้งแรก (ภายหลังสภาโอลิมปิคเอเชีย ได้กลับคำตัดสิน โดยให้ รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ นักว่ายน้ำ ได้ 2 เหรียญทอง)
พ.ศ. 2538 สมรักษ์ได้เหรียญทองจากกีฬาซีเกมส์ที่เชียงใหม่ และผ่านการคัดเลือกไปแข่งกีฬาโอลิมปิกรอบสุดท้ายได้สมรักษ์โด่งดังถึงที่สุดใน พ.ศ. 2539 เมื่อสมรักษ์สามารถคว้าเหรียญทองจากโอลิมปิกมาได้ โดยชนะ เซราฟิม โทโดรอฟ จากบัลแกเรีย ด้วยคะแนน 8-5 เส้นทางสู่ทองประวัติศาสตร์เริ่มจากรอบแรกเอาชนะแดเนี่ยล เซต้า นักชกเปอร์โตริโก 13-2, รอบสอง ชนะฟิลิป เอ็นดู จากแอฟริกาใต้ 12-7, รอบสามหรือรอบก่อนรองชนะ รามาส พาเลียนี่ จากรัสเซีย 13-4 นั่นหมายถึงว่าได้เหรียญทองแดงคล้องคอไว้แล้ว และสมรักษ์ชนะ พาโบล ชาคอน จากอาร์เจนตินาไปได้ 20-8 และท้ายที่สุดเอาชนะ เซราฟิม โทโดรอฟ จากบัลแกเรียไปได้ ซึ่งก่อนการชกในรอบชิงชนะเลิศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้พระราชทานกระเช้าผลไม้มายังสมรักษ์และทีมงานพร้อมทั้งทรงอวยพรให้สมรักษ์ได้รับชัยชนะด้วย โดยการแข่งขันโอลิมปิคในครั้งนี้ สมรักษ์ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Kamsing Somluck" โดยเจตนาให้มีนัยทางโชคด้วย (แต่ผู้บรรยายภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงว่า คำซิง สมลุก)
ซึ่งการคว้าเหรียญทองโอลิมปิกในครั้งนี้ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ได้ออกแสตมป์ที่มีรูปการชกรอบชิงชนะเลิศของสมรักษ์ ราคาดวงละ 6 บาท มาด้วย เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์นี้ และทางกองทัพเรือ (ทร.) ต้นสังกัดก็ได้เลื่อนยศให้สมรักษ์เป็นเรือตรี (ร.ต.) ซึ่งเดิมสมรักษ์มียศเป็นจ่าเอก (จ.อ.)
ภายหลังจากได้เหรียญทองแล้ว สมรักษ์กลายเป็นบุคคลชื่อดังไปในทันที กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ในเวลาไม่นาน ด้วยความเป็นคนมีบุคคลิกเฮฮา มีสีสัน น่าสนใจ ภายหลังจากกลับมาจากโอลิมปิคที่แอตแลนต้าแล้ว สมรักษ์ก็มีงานในวงการบันเทิงเข้ามา เริ่มจาก ละครเรื่อง "นายขนมต้ม" ทางช่อง 7 ที่รับบทเป็นนายขนมต้มพระเอกเอง โดยประกบคู่กับ กุลณัฐ ปรียะวัฒน์ นางเอก และเพื่อน ๆ นักมวยรุ่นพี่อีกหลายคน
และนับแต่นั้นมา สมรักษ์ก็มีสถานะเหมือนเป็นดาราคนหนึ่ง มีงานต่าง ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ ทำให้สมรักษ์เอาใจใส่ในการชกมวยน้อยลง จนมีข่าวว่าซ้อมน้อยลงบ้าง หนีซ้อมบ้าง แต่กระนั้นเจ้าตัวก็ยังยืนยันว่าฝีมือของตัวเองยังคงเหมือนเดิม ถึงขนาดกล้าทำนายผลการชกล่วงหน้า ซึ่งก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง จนได้ฉายาว่า "โม้อมตะ" แต่หลังจากได้รับเหรียญทองกีฬาเอเชียนเกมส์ใน พ.ศ. 2541 แล้ว การชกครั้งหลังจากนี้ สมรักษ์ไม่ประสบความสำเร็จเลย ในการแข่งขันโอลิมปิกที่ซิดนีย์ ปี พ.ศ. 2543 สมรักษ์เข้าแข่งขันในรุ่นเฟเธอร์เวท รอบแรก ชนะอาร์เอสซี อันเดรส โลเดสมา จากโคลัมเบีย ยก 4 เมื่อ 18 กันยายน รอบสอง ชนะ ตุลกุนบาย ตูร์กูนอฟ จากอุซเบกิสถาน เมื่อ 23 กันยายน รอบ 8 คนสุดท้าย แพ้ ร็อกกี้ ฮัวเรซ จากสหรัฐเมื่อ 27 กันยายน และในโอลิมปิก ที่กรุงเอเธนส์ พ.ศ. 2547 สมรักษ์เข้าแข่งขันรุ่นเฟเธอร์เวท รอบแรก แพ้คะแนน เบโนต กูเดต จากแคนาดา ตกรอบเมื่อ 16 สิงหาคม[1] ทำให้เลิกชกมวยสากลสมัครเล่นอย่างเด็ดขาด
ในปี พ.ศ. 2552 มีข่าวว่า ฌอง-โกล็ด วอง ดัม นักแสดงชื่อดังระดับโลกอยากจะชกมวยนัดพิเศษกับสมรักษ์ดูสักครั้ง แต่แล้วการชกในครั้งนี้ก็ได้มีการเลื่อนไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด รวมถึงมีแผนการว่าจะย้ายสถานที่ชกจากสหรัฐอเมริกาจากกำหนดเดิมเนื่องจากมีกฎเกณฑ์ที่ไม่เอื้ออำนวย โดยจะย้ายสถานที่แข่งมายังประเทศไทยแทน ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 [2] แต่แล้วก็เลื่อนไปแข่งขันในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 แทน[3]
ปี พ.ศ. 2555 ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ณ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร สมรักษ์ได้รับหน้าที่เป็นผู้บรรยายการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นของสถานีโทรทัศน์ NBT ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดีอีกทั้งเป็นที่กล่าวถึงในเรื่องความตลกของการบรรยายมวยของสมรักษ์ และในปีเดียวกันนี้ ในวันที่ 4 ตุลาคม สมรักษ์ได้สร้างความฮือฮาอีกครั้ง เมื่อกลับขึ้นมาชกมวยไทยอีกครั้ง โดยพบกับ ยอดวันเผด็จ สุวรรณวิจิตร (ใช้ชื่อท้ายในครั้งนั้นว่า "ไก่ย่างห้าดาว") อดีตยอดนักมวยไทยอีกคน ในการชกนัดพิเศษที่เวทีราชดำเนิน ที่มีเงินเดิมพันถึง 5,770,000 บาท ผลการชกปรากฏว่าสมรักษ์เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในยกที่ 3 ด้วยการฟันศอกใส่ จนกรรมการต้องยุติการชก ซึ่งการชกนัดนี้ยังสามารถเก็บเงินค่าผ่านประตูได้สูงถึง 2,950,000 บาท ยอดผู้ชมกว่า 20,000 คน ปลุกกระแสมวยไทยที่ซบเซาให้กลับมาคึกคักได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ สมรักษ์ยังเปิดเผยอีกว่าต้องการที่จะชกกับ บัวขาว ป.ประมุข อีกด้วย
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สมรักษ์ขึ้นชกในรายการศึกลุมพินีแชมเปี้ยนเกริกไกร ที่เวทีมวยลุมพินี โดยใช้ชื่อว่า "สมรักษ์ ส.เทพสุทิน" ในสังกัดของสมศักดิ์ เทพสุทิน[4] โดยมีฌอง-โกล็ด วอง ดัม รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และสมรักษ์เป็นฝ่ายแพ้คะแนน จอมโหด หมอเบสกมลา หรือ จอมโหด เกียรติอดิศักดิ์ ไปด้วยคะแนน 47-49, 47-49 และ 47-49 และต่อมาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ทั้งคู่ได้กลับมาชกล้างตากันอีกครั้ง ผลปรากฏว่าสมรักษ์เป็นฝ่ายชนะคะแนนไป 49-47 ไปทั้ง 3 เสียง ที่เวทีราชดำเนิน และเป็นฝ่ายคว้าเงินรางวัลเดินพันจำนวน 6,000,000 บาทไป[5] และทางสมรักษ์ยังคงยืนยันที่จะสู้กับบัวขาว ป.ประมุข โดยให้จัดนอกเวทีมวยราชดำเนิน หรือนอกเวทีมวยลุมพินีแทน ส่วนทางจอมโหดได้เปิดเผยว่ามีความต้องการที่จะสู้กับสมรักษ์อีกเป็นครั้งที่ 3 [6] และสมรักษ์ยังได้ขึ้นชกอีกหลายต่อหลายครั้ง
ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สมรักษ์มีกำหนดขึ้นชกกับ ฟิลิปเป บัวส์ นักมวยไทยชาวฝรั่งเศส ในรุ่นมิดเดิลเวท ที่เวทีมวยชั่วคราว โกดัง 4 ภายในศูนย์การค้าเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ มีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 แต่เมื่อถึงเวลาชกแล้ว ตัวของสมรักษ์กลับไม่ได้อยู่เวทีหรือห้องพักแต่อย่างใด ทำให้ บริษัท เพชรยินดี บ็อกซิ่ง โปรโมชั่น ไม่พอใจเป็นอย่างมากในฐานะผู้จัดการแข่งขัน ซึ่งได้จ่ายเงินมัดจำเป็นค่าตัวให้สมรักษ์ไปหนึ่งแสนบาทแล้ว และเมื่อติดต่อไปทางไลน์ ก็ไม่ได้รับการตอบกลับ วันต่อมาสมรักษ์ได้ออกมาเปิดเผยเป็นเพราะตนติดถ่ายละครโทรทัศน์มาก ไม่มีเวลาซ้อม เกรงว่าจะชกสู้ไม่ได้ ยินดีจะคืนเงินมัดจำทั้งหมด และเปรยว่าจะแขวนนวมแล้ว เนื่องจากอายุมากถึง 41 ปีแล้ว หากจะชกจะเป็นการชกโชว์เท่านั้น
ปัจจุบัน สมรักษ์ยังคงมีผลงานในวงการบันเทิง มีผลงานออกมาเป็นระยะ ๆ ล่าสุด ได้แสดงภาพยนตร์ระดับโลกเรื่อง จอมคนผงาดโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยบทบาทในเรื่องต้องปะทะกับ หลี่เหลียนเจี๋ย ด้วย มีกิจการของตัวเอง เช่น ร้านหมูกระทะ ชื่อ "สมรักษ์ย่างเกาหลี" ย่านเกษตร-นวมินทร์ และมีค่ายมวยของตนเอง ชื่อค่าย "ส.คำสิงห์"
สมรักษ์สมรสกับนางเสาวนีย์ คำสิงห์ ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ทั้งคู่ยังเรียนหนังสืออยู่ที่ขอนแก่น มีบุตรด้วยกัน 2 คน
ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2566 สมรักษ์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเขาได้จดทะเบียนหย่าร้างกับอดีตภรรยามาได้ 2 เดือนกว่าแล้ว
ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 สมรักษ์ได้เปิดตัวเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมกับเพื่อนนักมวยอีก 3 คน ได้แก่ เขาทราย แกแล็คซี่, มนัส บุญจำนงค์ และเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง โดยที่สมรักษ์ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขต 10 อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[7]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สมรักษ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 11 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศเรื่อง ให้พิทักษ์ทรัพย์ของ นางเสาวนีย์ คำสิงห์ และนายสมรักษ์ คำสิงห์ เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ มหานคร จำกัด ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลาง ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลย[8] เนื่องจากมีหนี้สินจากการเปิดปั๊มน้ำมันกว่า 4 ล้านบาท[9]
สมรักษ์ชี้แจงว่า กรณีนี้เป็นคดีเก่าที่ค้างคามาหลายทศวรรษปีแล้ว ตั้งแต่สมัยยังคงชกมวยสมัครเล่น มีสาเหตุอันเนื่องมาจากความไม่รู้ไม่เชี่ยวชาญในเรื่องเอกสารต่างๆ ประกอบกับธุรกิจขาดทุน จนสุดท้ายก็เลยกลายเป็นคดียืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ ธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชี้ว่า หากศาลสั่งให้ล้มละลาย สามารถเป็นเหตุให้สมรักษ์ต้องออกจากราชการด้วย[10]
ปี พ.ศ. | เรื่อง | บทบาท | ออกอากาศ |
---|---|---|---|
2539 | นายขนมต้ม | นายขนมต้ม | ช่อง 7 |
2544 | เพชรตัดเพชร | ไตร | ช่อง 7 |
2548 | ทางหลวงทางรัก | ช่อง 3 | |
2550 | ผู้กองเจ้าเสน่ห์ | ช่อง 3 | |
2553 | ศิราพัชร ดวงใจนักรบ | จ่าแสง | ช่อง 3 |
นักสู้พันธุ์ข้าวเหนียว | ลิงลม ลูกพญาไฟ | ช่อง 7 | |
2554 | เสือสั่งฟ้า | กระทิง | ช่อง 7 |
2557 | หมัดเด็ดเสียงทอง | โมเดิร์นไนน์ทีวี | |
2558 | สิงห์สี่แคว | คม | ช่อง 3 |
ลิเกหมัดสั่ง | เมฆดำ | ช่อง 8 | |
มือปราบกุ๊กกุ๊กกู๋ | ผีแชมป์นักมวย | ช่องวัน 31 | |
2560 | แหวนปราบมาร | ภูติวายุ | ช่อง 7 |
นายฮ้อยทมิฬ | สุบิน | ช่อง 7 | |
2561 | แม่สื่อจอมป่วน | โจ๊ก | ช่อง 7 |
นักสู้สะท้านฟ้า | ครูแดง | ช่อง 7 | |
รักสุดปลายนวม | สมศักดิ์ | ช่อง 7 | |
2562 | มธุรสโลกันตร์ | รุ่ง | ช่อง 7 |
สู้ตายนายกระจับ | เฮียซ้ง | ไลน์ทีวี | |
2564 | กู้ภัยอาสารัก | เฮียตุ๊ | ช่อง 7 |
แด่คุณพ่อด้วยแข้งขวา | น้าหมาน | ไทยรัฐทีวี | |
เวราอาฆาต | ถึก (รับเชิญ) | ช่อง 8 | |
เสี่ยวซำน้อย | พ่อยิ่งยวด (รับเชิญ) | Ais Play | |
2566 | ข้าวเหนียวทองคำ | อาจารย์เข้ม | ช่องวัน 31 |
มวยสะดิ้ง หมัดซิ่งสายฟ้า | สมรักษ์ คำสิงห์ (บาส) (รับเชิญตอนจบ) | ช่อง 8 | |
2567 | นางฟ้ากรรมกร | ครูมวย (รับเชิญ) | ช่องวัน 31 |
ปี | โฆษณา | ร่วมกับ |
---|---|---|
2563 | นมตราหมี UHT | เสาวนีย์ คำสิงห์, รักษ์วนีย์ คำสิงห์, ภูวรักษ์ คำสิงห์ |
2564 | น้ำปลาร้าตำนัว | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.