Loading AI tools
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรชัย จันทิมาธร หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ หงา คาราวาน เป็นนักร้องนำและหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงคาราวาน สุรชัยเป็นนักแต่งเพลงชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของวงการเพลงไทย ผู้คนในวงการเพลงเพื่อชีวิตมักเรียกเขาอย่างนับถือว่า น้าหงา หรือ พี่หงา และได้รับการยกย่องให้เป็น อาจารย์ใหญ่แห่งวงการเพลงเพื่อชีวิต และเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2553 สาขาวรรณศิลป์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สุรชัย จันทิมาธร | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | องอาจ จันทิมาธร |
รู้จักในชื่อ | หงา |
เกิด | 29 เมษายน พ.ศ. 2491 |
ที่เกิด | อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
แนวเพลง | เพื่อชีวิต |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง, นักเขียน |
เครื่องดนตรี | กีตาร์, เมาท์ออร์แกน |
ช่วงปี | พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2553 - สาขาวรรณศิลป์ (เรื่องสั้น สารคดี กวีนิพนธ์) |
สมาชิก | คาราวาน |
เว็บไซต์ | caravanonzon.com |
สุรชัยเกิดที่ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2491 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของนายยุทธและนางเล็ก จันทิมาธร มีชื่อเล่นว่า "หงา" ซึ่งเป็นภาษาเขมรมีความหมายถึง เด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ ที่น่ารัก (มีชื่อเดิมว่า องอาจ จันทิมมาธร แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สุรชัย ตามชื่อของสุรชัย ลูกสุรินทร์ นักมวยไทยที่มีชื่อเสียงที่สุรชัยชื่นชอบ) [1] อูซ้บ (น้าหงา บิดารับราชการเป็นครูใหญ่โรงเรียนรัตนบุรี ดังนั้นจึงเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสุรชัยมาตั้งแต่เด็ก ๆ ที่เมื่อโตขึ้นมาได้เข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อเรียนต่อในด้านศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ และได้รู้จักกับนักคิด นักเขียนคนอื่น ๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นนักเขียนชั้นแนวหน้าคนอื่น ๆ ของประเทศ เช่น สุวรรณี สุคนธา, สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นต้น ซึ่งการเป็นนักเขียนของสุรชัยเริ่มต้นขึ้นที่นี่
ในปี พ.ศ. 2516 สุรชัยได้ร่วมกับ วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) ก่อตั้งวงท.เสนและสัญจร ขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2517 ได้รวมกับวงบังคลาเทศ แบนด์ ของมงคล อุทก (หว่อง) และทองกราน ทานา เปลี่ยนเป็นวงคาราวาน สุรชัยได้แต่งเพลงเพื่ออุทิศให้กับบุคคลสำคัญของไทยหลายคน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์, ปรีดี พนมยงค์, สืบ นาคะเสถียร และ รงค์ วงษ์สวรรค์
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา สุรชัยและพรรคพวกบางส่วนได้หลบหนีเข้าป่าไปอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเฉกเช่นนักศึกษาและปัญญาชนคนอื่น ๆ โดยสุรชัยทำหน้าที่คอยให้ความบันเทิง ร้องเพลง โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายพันตา"
เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองสงบลง สุรชัยและพรรคพวกได้เดินทางออกจากป่า และได้แต่งเพลงซึ่งเป็นเพลงอมตะของคาราวานและสุรชัย บอกเล่าถึงสภาพจิตใจที่ออกจากป่ามาสู่เมือง คือเพลง คืนรัง ซึ่งเป็นเพลงที่แต่งก่อนขึ้นแสดงดนตรีเพื่อการกุศลของยูนิเซฟ โดยใช้เวลาแต่งเพียง 5 นาที แต่ได้ชื่อว่าเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเพลงหนึ่งเลยทีเดียว
ปี 2553 ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2553 สาขาวรรณศิลป์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สุรชัยมีภรรยาสองคน และบุตรชาย 2 คน ภรรยาคนแรกชื่อ จิราพร จันทิมาธร มีบุตรชายคือ คณิน จันทิมาธร ส่วนภรรยาคนที่สอง พิสดา จันทิมาธร มีบุตรชายคือ พิฆเณศร์ จันทิมาธร (กันตรึม) เกิดปี พ.ศ. 2538
ชุด ถนนมิตรภาพ (เมษายน พ.ศ. 2527)
ชุด ดวงดาว ดวงตา ดวงใจ (พฤษภาคม พ.ศ. 2530)
ชุด หมายเหตุจากเมืองจีน (กรกฏาคม พ.ศ. 2532)
ชุด ลุงไม้ไทย (กันยายน พ.ศ. 2533)
ชุด ขอหาดไม้ขาวให้เต่ามะเฟือง (ธันวาคม พ.ศ. 2535)
( อัลบั้มคู่ รักและหวัง ร่วมกับ สุนทรี เวชานนท์) (ธันวาคม พ.ศ. 2535)
ชุด คนไม่เต็ม (กรกฏาคม พ.ศ. 2538)
ชุด คาถา 2540 (ธันวาคม พ.ศ. 2539)
ชุด รักเมื่อเดือนเมษา (เมษายน พ.ศ. 2540)
ชุด พ่อเราอดทน (กรกฏาคม พ.ศ. 2545)
ชุด หนังสือในชื่อเธอ (กรกฏาคม พ.ศ. 2553)
"แผ่นที่ 1"
"แผ่นที่ 2"
ฯลฯ
ชุด แลนด์ ออฟ สไมล์ (กำลังใจ) (พ.ศ. 2527)
ชุด เย้ยฟ้าท้าดิน (พ.ศ. 2531)
ชุด เลี้ยวขวา (พฤษภาคม พ.ศ. 2534)
ชุด ศรีบูรพา (ตุลาคม พ.ศ. 2537)
ชุดรักและหวัง (ธันวาคม พ.ศ. 2535)
ชุด รัตติกาล (พฤศจิกายน พ.ศ. 2537)
ชุด สุรชัยกึ่งศตวรรษ (พฤษภาคม พ.ศ. 2541)
ชุด วันพัก...เพลงชีวิต 1-2 ร่วมกับ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (ตุลาคม พ.ศ. 2547)
ชุด พระเจ้าหัวฟู (พฤษภาคม พ.ศ. 2564)
ชุด 2 ขุนพลเพลงเพื่อชีวิต (พ.ศ. 2553)
ชุด 4 ล้อเลี้ยวซ้าย (พ.ศ. 2534)
ชุด คาวบอย 2 แผ่นดิน (พฤษภาคม พ.ศ. 2536)
ชุด ร้องเพลง วสุ ห้าวหาญ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2557)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.