Loading AI tools
นักร้องและนักแต่งเพลงชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทย นักร้องนำและหัวหน้าวงคาราบาว อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งกรรมการและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เขาได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2556
ยืนยง โอภากุล | |
---|---|
ยืนยงใน พ.ศ. 2557 | |
เกิด | ยืนยง โอภากุล 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | แอ๊ด คาราบาว |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2524–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | ลินจง โอภากุล (สมรส 2528) |
บุตร | 3 คน |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี |
|
ค่ายเพลง | วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ |
สมาชิกของ | คาราบาว |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
แอ๊ด คาราบาว เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรชายฝาแฝดคนสุดท้องของ นายมนัส โอภากุล (แซ่โอ๊ว) และ นางจงจินต์ แซ่อึ๊ง (ปัจจุบันบิดาและมารดาเสียชีวิตแล้ว) มีจิตใจรักเสียงเพลงและดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ จากการที่เป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด จึงได้ซึมซ่าบการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง เช่น ลำตัด, เพลงฉ่อย, เพลงอีแซว รวมถึงรำวง และเพลงลูกทุ่ง จากการที่พ่อ คือ นายมนัส เป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อวงดนตรี "ชสพ." เมื่อปี พ.ศ. 2480 ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวตะวันตกจึงหันมาเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกต่าง ๆ เช่น กีตาร์ ซึ่งเหล่านี้ได้เป็นอิทธิพลในการเป็นนักดนตรีในเวลาต่อมา[1]
แอ๊ดเริ่มเข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย และเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อเหมือนเด็กต่างจังหวัดทั่วไป โดยขอติดมากับรถขนส่งไปรษณีย์ เข้าเรียนต่อใน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย (โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย) และต่อในระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 1 ปี (ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดนตรีไทยสมัยนิยม จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ที่ประเทศฟิลิปปินส์ แอ๊ดได้พบกับเพื่อนคนไทยที่ไปเรียนหนังสือที่นั้น คือไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา และเขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ซึ่งยืนยงได้มีโอกาสฟังเพลงของ เลด เซพเพลิน, จอห์น เดนเวอร์, ดิ อีเกิ้ลส์ และปีเตอร์ แฟลมตัน จากแผ่นเสียงที่ไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา สะสมไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมา ทั้ง 3 จึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า คาราบาว เพื่อใช้ในการแสดงบนเวทีในงานของสถาบัน โดยเล่นดนตรีแนวโฟล์ค พายุภา อาหล่ามกุล
เมื่อแอ๊ด คาราบาว สำเร็จการศึกษาและกลับมาเมืองไทย ได้ทำงานประจำเป็นสถาปนิกในสำนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง และมีงานส่วนตัวคือรับออกแบบบ้านและโรงงาน ต่อมาเมื่อไข่และเขียวกลับมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ทั้ง 3 ได้เล่นดนตรีร่วมกันอีกครั้งโดยเล่นในห้องอาหารที่โรงแรมวินเซอร์ ซอยสุขุมวิท 20 และต่อมาย้ายไปเล่นที่โรงแรมแมนดาลิน สามย่าน โดยขึ้นเล่นในวันศุกร์และเสาร์ แต่ทางวงถูกไล่ออกเพราะขาดงานหลายวันโดยไม่บอกกล่าว
เมื่อวงถูกไล่ออก ไข่จึงได้ขอลาออกจากวงและแยกตัวออกไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ทางภาคใต้ แอ๊ดและเขียวยังคงเล่นดนตรีต่อไป โดยเล่นร่วมกับโฮป แฟมิลี่ ต่อมาปี พ.ศ. 2523 แอ๊ด คาราบาว ได้ทำงานเป็นสถาปนิก ประจำสำนักงานบริหารโครงการ ของการเคหะแห่งชาติ ส่วนเขียวทำงานเป็นวิศวกร ประเมินราคาเครื่องจักรโรงงานอยู่กับบริษัทของประเทศฟิลิปปินส์ที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย และทั้งคู่จะเล่นดนตรีในตอนกลางคืน โดยเล่นประจำที่ดิกเก็นผับ ในโรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท
จุดเปลี่ยนของชีวิต แอ๊ด คาราบาว อยู่ที่การรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มชุดแรกให้กับวงแฮมเมอร์ ในปี พ.ศ. 2522 ในชุด บินหลา โดยแอ๊ด คาราบาว ยังเป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้มด้วย โดยอัลบั้มชุดนี้ทำให้แฮมเมอร์เป็นที่รู้จักในวงการเพลง และปี พ.ศ. 2523 แอ๊ดยังได้แต่งเพลง ถึกควายทุย ให้แฮมเมอร์บันทึกเสียงในอัลบั้ม ปักษ์ใต้บ้านเรา ซึ่งอัลบั้มชุดดังกล่าวทำให้แฮมเมอร์โด่งดังอย่างมาก และได้ร่วมแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ของพนม นพพร ในเรื่องหมามุ่ย ในปี พ.ศ. 2524
หลังจากนั้นตัวของ แอ๊ด คาราบาว ก็มีความคิดที่ว่าหากจะออกอัลบั้มเป็นของตัวเอง คงจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จึงร่วมกับเขียว ออกอัลบั้มชุดแรกของวง คาราบาว ในชื่อชุด ขี้เมา ในปี พ.ศ. 2524 สังกัดพีค็อก สเตอริโอ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ปีถัดมา คาราบาว ได้สมาชิกใหม่เพิ่มอีก 1 คน คือเล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์จากวง เพรสซิเดนท์ (เล็กเป็นเพื่อนเก่าของแอ๊ดตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ช่างก่อสร้างอุเทนถวายด้วยกัน) มาร่วมงานในชุดที่ 2 คือชุด แป๊ะขายขวด ชุดที่ 3 ชุด "วณิพก" ในระหว่างนั้นวงคาราบาวในยุคแรกก็ได้ออกทัวร์เล่นคอนเสิร์ตตามโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าไร บางครั้งมีคนดูไม่ถึง 10 คนก็มี
คาราบาว มาประสบความสำเร็จถึงขีดสุดในอัลบั้มชุดที่ 5 ของวง คือชุด เมด อิน ไทยแลนด์ ที่วางจำหน่ายในปลายปี พ.ศ. 2527 ซึ่งมียอดจำหน่ายสูงถึง 1,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย และนับตั้งแต่นั้น ชื่อของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย และออกผลงานเพลงร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้แสดงคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย
โดย ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวงและเป็นผู้เขียนเนื้อร้องและทำนองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีออกมามากมายทั้งอัลบั้มในนามของวงคาราบาวและอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง จนถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 900 เพลง
แอ๊ด คาราบาว ไม่จำกัดตัวเองแต่ในบทบาทของศิลปินเพลงเท่านั้น แต่ยังเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์และมีผลงานเขียนหนังสือและแสดงละคร ภาพยนตร์ต่าง ๆ ด้วย อาทิ เช่น เรื่องพรางชมพู กะเทยประจัญบาน (พ.ศ. 2545) ละครเรื่อง เขี้ยวเสือไฟ ทางช่อง 9 (พ.ศ. 2544) ลูกผู้ชายหัวใจเพชร ทางช่อง 7 (พ.ศ. 2546) เป็นต้น รวมถึงการทำงานภาคสังคมและมูลนิธิต่าง ๆ และยังได้แต่งเพลงประกอบโฆษณาหรือโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในแต่ละโอกาสด้วย
อย่างไรก็ตาม แอ๊ด คาราบาว ถือได้ว่าเป็นนักร้อง นักแต่งเพลงที่มีความสามารถแต่งเพลงสอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมืองมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น มะโหนก (ถึกควายทุย ภาค ๖) จากกบฏทหารนอกราชการ ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528, ราชดำเนิน, ใครฆ่าประชาชน, ล้างบาง, กระบี่มื้อเดียว, ทะเลใจ จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535[2], ขวานไทยใจหนึ่งเดียว จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2547, ซับน้ำตาอันดามัน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิถล่มในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547, เว้นวรรค จากเหตุการณ์การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2549, ทหารพระราชา จากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[3], ทรงพระเจริญ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550, ลดธงครึ่งเสา จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551, ผู้ปิดทองหลังพระ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554[4], น้ำใจไทย จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในภาคกลางของไทย พ.ศ. 2554[5], นาวารัฐบุรุษ จากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[6], เทพเจ้าด่านขุนทด จากการมรณภาพของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2556 แอ๊ด คาราบาว ได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2556
ยืนยง โอภากุล ร่วมทุนกับ นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ และนางสาวณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ จัดตั้งบริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต ทำการตลาดและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลัง จากนั้นนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557[7] จากข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน 2560 ถือหุ้นในบริษัทมากเป็นลำดับที่ 3 ด้วยจำนวน 70,480,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 7.05[8] นิตยสาร ฟอบส์ ฉบับภาษาไทย ระบุว่า "เป็นนักดนตรีที่ร่ำรวยสุดในประเทศไทย" (The Richest Musician)[9]
ชีวิตส่วนตัว แอ๊ด คาราบาว มีชื่อเป็นภาษาจีนกลางว่า "หูฉุนฉาง" (胡存長) แปลว่า "คนแซ่หูผู้มีฐานะมั่นคงชีวิตยืนยง" ชอบเลี้ยงไก่ชนซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีฟาร์มไก่ชนเป็นของตัวเอง รวมถึงยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมส่งเสริมอาชีพไก่ชนไทย นอกจากคาราบาวแดงแล้ว ยังมีกิจการทางดนตรีอีก คือ มีห้องอัดเสียงที่บ้านของตัวเอง ชื่อ เซ็นเตอร์สเตจ สตูดิโอ (มองโกล สตูดิโอ) ซึ่งเป็นสตูดิโอระดับชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของเมืองไทย และมีบริษัทเพลงชื่อ มองโกล เรคคอร์ดส นอกจากนั้น แอ๊ด คาราบาว ยังชอบเล่นปืน เคยฝึกยิงปืน IPSC และสะสมปืนอยู่จำนวนหนึ่ง
อุปสมบทเมื่อปี 2528 ที่วัดสุวรรณภูมิวัดที่ โยมแม่ทำบุญประจำ เนื่องจาก ตอนที่บวช กุฏิไม่เพียงพอให้จำวัด พระแอ๊ด จึงต้องจำวัดในโบสถ์ ถือเป็นพระรูปเดียวของวัดสุววรภูมิ ที่ได้จำวัดในโบสถ์ เมื่อบวชได้ 10 วัน ก็ลาสิกขา จึงออกเทปชุด เมดอินไทยแลนด์ อันโด่งดัง
ในกลางปี พ.ศ. 2556 ในภาพยนตร์เรื่อง ยังบาว อันเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของวงคาราบาว ผู้ที่รับบทเป็นแอ๊ด คือ ธนา เอี่ยมนิยม จากเดิมที่วางตัวไว้ คือ อาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม ที่คิวคอนเสิร์ตไม่ตรงกับเวลาถ่ายทำ
สมรสกับ นางลินจง โอภากุล (นามสกุลเดิม ปลื้มตระกูลชัย)หญิงชาวบุรีรัมย์ มีบุตร-ธิดา ด้วยกัน 3 คน เป็นหญิง 2 คน คือ ณิชา โอภากุล และ นัชชา โอภากุล และชาย 1 คน คือ ร้อยตำรวจเอก (ร.ต.อ.) วรมัน โอภากุล ผู้กองโซโร รอง.สว.สโมสรตำรวจ วิภาวดี
มีพี่ชายฝาแฝดอีก 1 คน เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตเหมือนกัน คือ อี๊ด - ยิ่งยง โอภากุล และเคยออกอัลบั้มร่วมกัน 1 อัลบั้ม คือ อัลบั้ม พฤษภา ในปี พ.ศ. 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางจำหน่าย | ค่ายเพลง | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|
กัมพูชา | พฤษภาคม พ.ศ. 2527 | อามีโก้ |
|
ทำมือ | สิงหาคม พ.ศ. 2532 | อามีโก้ , แว่วหวาน |
|
ก้นบึ้ง | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 | แว่วหวาน | |
โนพลอมแพลม | ตุลาคม พ.ศ. 2533 | ดี - เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
|
World Folk Zen | มิถุนายน พ.ศ. 2534 |
| |
พฤษภา (ร่วมกับ ยิ่งยง โอภากุล) | กรกฏาคม พ.ศ. 2535 |
| |
รอยคำรณ | มีนาคม พ.ศ. 2537 | วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ |
|
ข้าวสีทอง | ตุลาคม พ.ศ. 2539 | กระบือ แอนด์ โค |
|
เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน | มกราคม พ.ศ. 2540 |
| |
สุรชัยกึ่งศตวรรษ | พฤษภาคม พ.ศ. 2541 |
| |
ใต้ดิน | พฤษภาคม พ.ศ. 2542 |
| |
เหลืองหางขาว | พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |
| |
คนไทยหรือเปล่า | มีนาคม พ.ศ. 2544 |
| |
ไม่ต้องร้องไห้ | มิถุนายน พ.ศ. 2545 | มองโกล เอ็มดีเทป |
|
โอท็อป | พฤษภาคม พ.ศ. 2547 | วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ |
|
ซึม เศร้า เหงา แฮงค์ | ตุลาคม พ.ศ. 2548 |
| |
แมงฟอร์ซวัน | มีนาคม พ.ศ. 2549 |
| |
ตะวันตกดิน | มีนาคม พ.ศ. 2549 |
| |
รัฐฉานตำนานที่โลกลืม | เมษายน พ.ศ. 2549 |
| |
ทุ่งฝันตะวันรอน | ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
| |
ยืนยงตั้งวงเล่า | ธันวาคม พ.ศ. 2549 | อาร์เอส |
|
คนกับเม้าท์ | ตุลาคม พ.ศ. 2551 | วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ |
|
เดินต่อไป | กันยายน พ.ศ. 2552 |
| |
กันชนหมา | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 |
| |
วันวานไม่มีเขา...วันนี้ไม่มีเรา | ตุลาคม พ.ศ. 2555 |
| |
เห็นมั้ยบัวลอย | สิงหาคม พ.ศ. 2557 |
| |
รักสายัณห์น้อยๆ แต่รักนานๆ | มีนาคม พ.ศ. 2561 |
| |
เทวดาเพลง | พฤษภาคม พ.ศ. 2561 |
| |
Taking Less and Giving More | พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 |
| |
UFO | มีนาคม พ.ศ. 2567 |
| |
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางจำหน่าย | ค่ายเพลง | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|
UFO กลับมารู้สึกตัว | เมษายน พ.ศ. 2566 | วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ |
|
ฅน | กันยายน พ.ศ. 2566 |
| |
ไอ้ตูดหมึก | ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
| |
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางจำหน่าย | ค่ายเพลง | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|
คนมันส์ | มิถุนายน พ.ศ. 2541 | กระบือ แอนด์ โค |
|
ผู้ชนะสิบทิศ บุเรงนองลั่นกลองรบ | กันยายน พ.ศ. 2549 | มองโกล เอ็มดีเทป |
|
แอ๊ด'บาว ซาวด์แทร็ค Vol.1 | มีนาคม พ.ศ. 2553 | วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ |
|
ระฆังชีวิต 60 ปี ยัง ยืนยง | ตุลาคม พ.ศ. 2557 |
| |
พ่อภูมิพล | สิงหาคม พ.ศ. 2560 |
| |
ชื่อคอนเสิร์ต | วันที่ | สถานที่ |
---|---|---|
ยืนยง โลกดนตรี | พ.ศ. 2532 | สนามป่า |
ยืนยง 7 สีคอนเสิร์ต | พ.ศ. 2532 - 2533 | สนามป่า |
ยืนยง โอภากุลและเพื่อน กระชับมิตร | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2548 | หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ต ทุ่งฝันตะวันรอน | 24 กันยายน พ.ศ. 2549 | หอประชุมปรีดีพนมยงค์ |
เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ต คนกับเม้าท์ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 | โรงละครอักษราคิงพาวเวอร์ |
เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ตวันวานไม่มีเขา วันนี้ไม่มีเรา | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 | บ้านสวนเชียงใหม่ (บ้านของ แอ๊ด คาราบาว) จ.เชียงใหม่ |
จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 51 ตอน "วันวานไม่มีเขา วันนี้ไม่มีเรา | 7 เมษายน พ.ศ. 2556 | หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
Martin Experience Add Carabao Limited Edition | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 | บางกอก ไทยแลนต์ |
ADD BAO Acoustic Concert | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี |
ชื่อคอนเสิร์ต | วันที่ | สถานที่ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
บ้าหอบฟาง | 20 เมษายน พ.ศ. 2529 | หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ | คอนเสิร์ตของอัสนี วสันต์ ร่วมร้องเพลง ไม่เป็นไร และ น้ำเอย น้ำใจ |
15 ปี คาราวาน | 28-29 ตุลาคม พ.ศ. 2532 | คอนเสิร์ตของวงคาราวาน ร่วมร้องเพลง เดือนเพ็ญ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ สานแสงทอง | |
จากภูเขาสู่ทะเลลึก | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | M.88 Hall | คอนเสิร์ตของวงซูซู ร่วมร้องเพลง สุรชัย 3 ช่า |
นูโว อินเลิฟ | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2544 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | คอนเสิร์ตของวงนูโว ร่วมร้องเพลง เป็นอย่างงี้ตั้งแต่เกิดเลย |
ให้พ่อและเพื่อน | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 | หอประชุมประชาสัมพันธ์ | คอนเสิร์ตของวงคาราวาน |
37 ปี รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส | พ.ศ. 2546 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | คอนเสิร์ตของรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ร่วมร้องเพลง ข้องจิต เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง คนไม่มีสิทธิ์ และ ทะเลใจ |
สินเจริญ เชิญแหลก | 31 มีนาคม พ.ศ. 2550 | หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) | คอนเสิร์ตของวง สินเจริญ บราเธอร์ส ร่วมร้องเพลง ปาฎิหาริย์ |
ร่ำไร คอนเสิร์ต | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | ราชมังคลากีฬาสถาน | คอนเสิร์ตของ อัสนี-วสันต์ ร่วมร้องเพลง วณิพก ชีวิตสัมพันธ์ และ ทรงพระเจริญ |
Bodyslam Save My Life Concert | 20 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | อินดอร์สเตเดี้ยมหัวหมาก | คอนเสิร์ตของวงบอดี้สแลม ร่วมร้องเพลง ความเชื่อ และ รักต้องสู้ |
PARN Live in Concert | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | รอยัลพารากอนฮอลล์ | คอนเสิร์ตของปาน ธนพร ร่วมร้องเพลง รักต้องสู้ ดอกไผ่บาน และ หนุ่มบาว สาวปาน |
ฮักเสี่ยว | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) | คอนเสิร์ตของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ร่วมร้องเพลง สุรชัยสามช่า และ ตลอดเวลา |
พันธุ์เล-๑๐๐๐โล...พรรลำ | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552 | หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) | คอนเสิร์ตของวง มาลีฮวนน่า ร่วมร้องเพลง แสงจันทร์ |
หม่ำ On Stage ตอน หม่ำมองเครื่องบิน | 15 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี | คอนเสิร์ตของ หม่ำ จ๊กมก ร่วมร้องเพลง ทะเลใจ |
แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 3 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | ไร่หุบกะพง ชะอำ เพชรบุรี | คอนเสิร์ตของ มาลีฮวนน่า |
อัสนี - วสันต์ SCB ให้เธอ | 30 มกราคม พ.ศ. 2556 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | คอนเสิร์ตของ อัสนี วสันต์ ร่วมร้องเพลง ทะเลใจ' และ คนจนผู้ยิ่งใหญ่ |
เพลินจิต ย้อนวัน ย้อนวัย กับเพลงรักในใจของเรา | 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | คอนเสิร์ตของ เจนนิเฟอร์ คิ้ม, ก้อง สหรัถ, เบน ชลาทิศ, ณัฐ ศักดาทร, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ ร่วมร้องเพลง วณิพก คนล่าฝัน และ ทะเลใจ |
40 ปี เสก โลโซ 40 แต่รู้สึกเหมือน 14 | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 | ราชมังคลากีฬาสถาน | คอนเสิร์ตของ เสก โลโซ ร่วมร้องเพลง อะไรก็ยอม และ เพื่อชีวิตติดล้อ |
GIVE ME 5 CONCERT RATE A | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | ศิลปินรับเชิญของ เวียร์ ศุกลวัฒน์ ร่วมร้องเพลง คนจนผู้ยิ่งใหญ่ และ บัวลอย |
30 ปี 3 ช่า รุ่นใหญ่ มีแต่โจ๊ะ | 19 กันยายน พ.ศ. 2558 | Voice Space (Voice TV) | คอนเสิร์ตของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ร่วมร้องเพลง วณิพก ราชาเงินผ่อน คนจนผู้ยิ่งใหญ่ และ คนล่าฝัน |
Magic moment เพลงรักของดี้ ดนตรีของแต๋ง | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | คอนเสิร์ตของวง เฉลียง ร่วมร้องเพลง แพ้ใจ และ ผู้ปิดทองหลังพระ |
Sing For Child โครงการพี่ร้องน้องยิ้ม ปี 3 | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | ศูนย์การค้าสเปลล์ แอท ฟิวเจอร์พาร์ค | คอนเสิร์ตของ หนุ่ม กะลา |
UNBREAKABLE | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | ไบเทค บางนา ฮอลล์ 105 | คอนเสิร์ตของวง ไทยเทเนี่ยม ร่วมร้องเพลง สุดขอบฟ้า |
My Name is Num Kala Concert First Impact Concert | 17 - 18 กันยายน พ.ศ. 2565 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | คอนเสิร์ตของ หนุ่ม กะลา ร่วมร้องเพลง วณิพก ราชาเงินผ่อน คนล่าฝัน บัวลอย ตามตะวัน |
35 ปี คำภีร์ ถึงเพื่อน | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | คอนเสิร์ตของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ร่วมร้องเพลง วณิพก ยอดชาย |
75 บริบูรณ์ สุรชัย จันทิมาธร | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หอประชุมใหญ่ | คอนเสิร์ตของ หงา คาราวาน ร่วมร้องเพลง อานนท์ หลวงพ่อคูณ สุรชัย 3 ช่า |
ชื่อคอนเสิร์ต | วันที่ | สถานที่ |
---|---|---|
7 สีคอนเสิร์ต ปีใหม่ 2534 | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | สนามป่า |
ลำตะคอง มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิต ครั้งประวัติศาสตร์ | 16 มีนาคม พ.ศ. 2537 | หลังศูนย์วัฒนธรรม อำเภอสูงเนิน นครราชสีมา |
รวมนํ้าใจศิลปินเพื่อชีวิต แต่มิตร ประเสริฐ จันดำ | 22 กันยายน พ.ศ. 2538 | ศูนย์วัฒนธรรมรามกำแหง |
ดิน น้ำ ลม ไฟ | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | เขาใหญ่ |
เชิดชู... ครูเพลง ป.ชื่นประโยชน์ | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 | หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย |
สืบภู สืบไพร สืบใจ | 3 กันยายน พ.ศ. 2539 | โรงละครอักษราคิงพาวเวอร์ |
3 ตำนานเพื่อชีวิต | 26 กันยายน พ.ศ. 2541 | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิดิ์ |
ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน | 10 - 16 มกราคม พ.ศ. 2542 | FESPIC Games Bangkok 99 |
10 ฅนดนตรี 10 ปี สืบ นาคะเสถียร | 3 กันยายน พ.ศ. 2543 | หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) |
The Duet เพื่อชีวิต of Love | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) |
หุบเขาฝนโปรยไพร 1 | 24-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | นครศรีธรรมราช |
เพื่อนพ้องน้องพี่เพื่อชีวิต | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 | โรงเบียร์เยอรมัน 2 กรุงเทพมหานคร |
มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 12 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | บริเวณ กม.22 ทางขี้นเขาใหญ่ด้านปานช่อง ตรงข้ามเขาใหญ่ คาวบอยซิตี้ |
หลอมรวมใจรักสามัคคี | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ |
20 ปี สืบ นาคะเสถียร | 19 กันยายน พ.ศ. 2553 | หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ |
First Live Concert | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 | ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี |
รำลึก แดง อินโดจีน | 24 มกราคม พ.ศ. 2556 | วัดคู้บอน |
มหกรรมดนตรี ทุ่งกรุงเฟส ครั้งที่ 2 | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลาเฉลิมกรุง |
รวมน้ำใจด้านภัยหนาว | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 | สถานีวิทยุกระจายเสียงประเทศไทย ถนนวิภาวดีรังสิต |
งานวันไม้เท้าขาวสากล | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 | สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เตรียมจัดขึ้นบริเวณด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร |
Love & Hurt : Super Rock Ballads | 30 เมษายน พ.ศ. 2559 | หอประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ |
12 สิงหา มหาราชินี เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา | 5 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559 | เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 |
The Duet เพื่อชีวิต Concert | 23 มกราคม พ.ศ. 2560 | ไบเทค บางนา |
รำลึก มงคล อุทก | 22 กันยายน พ.ศ. 2561 | วัดปากน้ำ ถ.พิบูลย์สงคราม อ.เมือง จ.นนทบุรี |
วิสุทธ Cowboy Night Party | 5 เมษายน พ.ศ. 2562 | บริเวณสนามหน้าโรงเรียนวิสุทธรังษี |
รักเพลง รักแผ่นดิน 12 | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
คิดถึงหว่อง | 14 กันยายน พ.ศ. 2562 | บ้านทุ่งนํ้ารีสอร์ท จ.สมุทรสาคร |
คิดถึงพ่อ สานต่องานสังคมสงเคราะห์ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | บ้านทุ่งนํ้ารีสอร์ท จ.สมุทรสาคร |
รำลึก แดง คาราวาน | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | วัดคู้บอน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร |
หนึ่งใจ…ช่วยเหลือผู้ประสบภัย | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง |
หนึ่งใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 | โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง |
รับลมหนาว ฮักน่าน | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | ยอดเขวลานแดนพนาปัว อ.ปัว จ.น่าน |
ออนไลน์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.