Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (อังกฤษ: Surindra Rajabhat University) เป็นสถาบันอุดมศึกษา ตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบัน เปิดสอนระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก โดยเป็นสถานที่จัดการศึกษา และบริการวิชาการแก่ชุมชน ในกลุ่มเขตจังหวัดอีสานตอนใต้ อันได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา และอุบลราชธานี รวมถึง ประเทศกัมพูชา และประเทศใกล้เคียง และในปี พ.ศ. 2564 เว็บไซต์จัดอันดับมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก ได้มีการอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ให้อยู่ในอันดับที่ 105 ของประเทศไทย จากจำนวนมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ถูกจัดอันดับจากเว็บไซต์ดังกล่าวทั้งสิ้น 194 แห่ง และนอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ยังถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 10,918 ของโลกอีกด้วย
Surindra Rajabhat University | |
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏสุรินทร์ |
---|---|
ชื่อย่อ | ม.รภ.สร. / SRRU |
คติพจน์ | เป็นสถาบันอุมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชา 10 |
งบประมาณ | 515,875,000 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ถนอม อินทรกำเนิด (ปฏิบัติหน้าที่แทน) |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ฉลอง สุขทอง |
อาจารย์ | 366 คน (พ.ศ. 2564) |
บุคลากรทั้งหมด | 839 คน (พ.ศ. 2564) |
ผู้ศึกษา | 5,724 คน (พ.ศ. 2567) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 186 หมู่ที่ 1 ถนนสุรินทร์-ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000 |
เพลง | ราชภัฏสดุดี |
ต้นไม้ | อินทนิล |
สี | ████ สีเขียว สีม่วง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้รับการสถาปนาในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 ในชื่อ วิทยาลัยครูสุรินทร์ ในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ จำนวน 36 แห่ง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และได้จัดตั้ง สถาบันราชภัฏสุรินทร์ แทนวิทยาลัยครูสุรินทร์ ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ต่อมาได้ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 จึงโอนมาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาจนถึงปัจจุบัน
พระพุทธสุรินทรานาคะเสน เป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีมาแต่ครั้งการก่อตั้งสถาบันราชภัฏ มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกทำด้วยศิลาประเภทหินทราย สำหรับชื่อ สุรินทรานาคะเสน เป็นนามที่ท่าน รองศาสตราจารย์ อัจฉรา ภาณุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยในขณะนั้น เป็นผู้แต่งขึ้นถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในวาระมงคลสมโภชมหาวิทยาลัยครบรอบ 42 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย ซึ่งจัดโดยสภานักศึกษา ปีการศึกษา 2558 ร่วมกับกองพัฒนานักศึกษา ในวันที่ 9 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีของการครบรอบ 42 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
ทั้งนี้สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้อนุมัติงบประมาณรายการพัฒนาโครงการศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาทุ่งกุลาร้องไห้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อดำเนินการใน 3 กิจกรรมหลัก คือ งานปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน งานวิชาการ และงานบริการและสร้างคุณค่า
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต(ค.ด.)
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต(ค.ม.)
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(รป.ม.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บธ.ม.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(วท.ม.)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.