วอชิงตัน ดี.ซี. (อังกฤษ: Washington, D.C.)[2] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตโคลัมเบีย (อังกฤษ: District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า วอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี. (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ[3] วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน[4] โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมาก อาทิ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น[5] กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน[6][7]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
วอชิงตัน ดี.ซี. Washington, D.C. | |
---|---|
เมืองหลวงสหพันธ์และเขตสหพันธ์ | |
เขตโคลัมเบีย District of Columbia | |
ตามเข็มนาฬิกาจากบนขวา: อาคารรัฐสภาสหรัฐ, อนุสาวรีย์วอชิงตัน, ทำเนียบขาว, สถาบันสมิธโซเนียน, อนุสรณ์สถานลินคอล์น และอาสนวิหารแห่งชาติวอชิงตัน | |
คำขวัญ: Justitia Omnibus ("ยุติธรรมแก่ทุกคน") | |
ที่ตั้งของวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนีย | |
พิกัด: 38°54′17″N 77°00′59″W | |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
สถาปนา | 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Muriel Bowser (D) |
• ประธานสภาเมือง | Phil Mendelson |
พื้นที่ | |
• เมืองหลวงสหพันธ์และเขตสหพันธ์ | 177.0 ตร.กม. (68.3 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 159.0 ตร.กม. (61.4 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 18.0 ตร.กม. (6.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2012)[1] | |
• เมืองหลวงสหพันธ์และเขตสหพันธ์ | 632,323 คน |
• ความหนาแน่น | 3,977 คน/ตร.กม. (10,298 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 5.3 ล้าน คน |
เขตเวลา | UTC−5 (EST) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC−4 (EDT) |
เว็บไซต์ | www.dc.gov |
การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 มีเนื้อหาสาระสำคัญในการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย กล่าวคือ อนุมัติการจัดตั้งเขตการปกครองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโปโตแมคบนชายฝั่งตะวันออกของประเทศ โดยรัฐธรรมนูญสหรัฐได้ให้ไว้สำหรับเขตปกครองของรัฐบาลกลาง ภายใต้เขตอำนาจศาลของรัฐสภา และเขตไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐใด สำหรับเขตที่ดินของรัฐบาลกลางในรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นรัฐข้างเคียงของเขตปกครองพิเศษโคลัมเบียนั้น เป็นที่ดินของประชาชนที่บริจาคเพื่อจัดตั้งเป็นเขตการปกครองของรัฐบาลกลาง ซึ่งรวมถึงการตั้งถิ่นฐานที่มีอยู่ก่อนหน้าของจอร์จทาวน์และอเล็กซานเดรีย เมืองวอชิงตันเริ่มทำการก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2334 เพื่อเป็นที่ตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ของสหรัฐ
วอชิงตัน ดี.ซี. มีประชากรประมาณ 693,972 คน (ข้อมูลเมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2560) โดยผู้เดินทางจากรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนียจะเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองมากขึ้นถึงหนึ่งล้านคนในระหว่างวันทำงาน พื้นที่มหานครวอชิงตันซึ่งเป็นเมืองสำคัญของเมืองมีประชากรมากกว่า 6 ล้านคนซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่หกในประเทศ
ทั้งสามอำนาจของรัฐบาลกลางสหรัฐมีศูนย์กลางอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทั้งรัฐสภาสหรัฐ (อำนาจนิติบัญญัติ) ประธานาธิบดี (อำนาจบริหาร) และศาลสูงสุดสหรัฐ (อำนาจตุลาการ) วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ชาติหลายแห่ง ที่ตั้งอยู่เป็นส่วนใหญ่โดยรอบเนชันแนลมอลล์ (National Mall) วอชิงตันมีสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศจำนวน 177 ประเทศ รวมทั้งที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศ สหภาพการค้า องค์กรไม่แสวงผลกำไร กลุ่มล็อบบียิสต์ และสมาคมวิชาชีพหลายแห่ง ทั้งนี้ กรุงวอชิงตันยังเป็นที่ตั้งขององค์การนานารัฐอเมริกัน, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก, ฮิวแมนไรตซ์แคมเปญ และสภากาชาดสหรัฐ
วอชิงตันเริ่มทำการจัดการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย และสภาสมาชิกเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย 13 คน ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตาม รัฐสภาสหรัฐยังคงรักษาอำนาจสูงสุดเหนือนายกเทศมนตรีเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย และสภาสมาชิกเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย 13 คน และมีสิทธิ์คว่ำกฎหมายท้องถิ่นของเขตปกครองพิเศษ และมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่ออกเสียงผู้แทนสภาในการเลือกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ เขตปกครองพิเศษไม่มีอำนาจในการเป็นตัวแทนสมาชิกวุฒิสภา และเขตปกครองพิเศษยังได้รับสิทธิพิเศษในการลงคะแนนการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ถึงสามรอบในหนึ่งครั้ง จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ ครั้งที่ 23 เมื่อ พ.ศ. 2504
ประวัติ
ดูเพิ่มได้ที่ ประวัติกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และ เหตุการณ์ต่าง ๆ ของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ภูมิประเทศ
ดูเพิ่มได้ที่ ภูมิประเทศของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ตั้งอยู่ในภูมิภาคกลางมหาสมุทรแอตแลนติกของชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ
ลักษณะของเมือง
ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อถนนและทางหลวงในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.; รายชื่อเขตในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.; รายชื่อตึกที่มีความสูงที่สุดในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองที่ได้วางแผนการก่อสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2334 โดยประธานาธิบดี จอร์จ วอชิงตัน ได้มอบหมายให้ปีแอร์ ชารล์ส ลา เอนแฟนท์ ซึ่งเป็นสถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวฝรั่งเศส ทำการออกแบบเมืองหลวงแห่งใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากอเล็กซานเดอร์ ราล์สตัน นักสำรวจรังวัดชาวสกอตแลนด์ในการจัดวางผังเมือง[8] โดยผังเมืองของเอนแฟนท์ที่ได้ออกแบบไว้ มีความโดดเด่น คือ ถนนที่แผ่กระจายออกมาจากแนวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้มีภูมิทัศน์ที่มีพื้นที่เปิดโล่ง[9] ซึ่งผังเมืองของเขากลายเป็นต้นแบบในการออกแบบผังเมืองอื่น ๆ ในภายหลัง เช่น กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์, คาร์ลสรูเออ ประเทศเยอรมนี, และมิลาน ประเทศอิตาลี เป็นต้น[10] การออกแบบของลา เอนแฟนท์ยังแสดงให้เห็นว่าถนนใหญ่ได้เรียงรายไปด้วยสวนยาวประมาณ 1 ไมล์ (1.6 กม.) และยาว 400 ฟุต (120 เมตร) ในพื้นที่ที่เป็นลานคนเมือง ซึ่งต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2335 ประธานาธิบดีวอชิงตันได้ให้ลา เอนแฟนท์พ้นจากการเป็นสถาปนิกออกแบบผังเมือง เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการสามคนที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อกำกับดูแลการก่อสร้างเมืองหลวง และได้มอบหมายให้นายแอนดรูว์ เอลลิคอร์ท ผู้ซึ่งเคยร่วมงานในการออกแบบและสำรวจผังเมืองกับลา เอนแฟนท์ ดำเนินการออกแบบผังเมืองต่อ แม้ว่า เอนแฟนทจะทำการปรับปรุงแก้ไขผังเมืองบางส่วน แต่ยังคงการวางแนวของถนน และภาพรวมของผังเมืองส่วนใหญ่ที่ลา เอนแฟนท์ได้ออกแบบไว้คงเดิม[2]
ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 การก่อสร้างอาคารในเมืองหลวงตามผังเมืองที่ลา เอนแฟนท์ ที่ได้วางไว้ ได้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องด้วยการสร้างอาคารแบบสุ่มรวม รวมไปถึงการสร้างสถานีรถไฟบนลานคนเมือง รัฐสภาจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อความสวยงามของวอชิงตันโดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อผังเมืองแมคมิแลน โดยมีการจัดสวนบริเวณอาคารรัฐสภาและลานคนเมือง และรื้อถอนชุมชนแออัดรวมถึงการจัดอุทยานเมืองใหม่ ซึ่งการปรับปรุงเมืองตามผังเมืองแมคมิแลน ได้สำเร็จใน พ.ศ. 2444 ซึ่งได้ออกแบบโดยลา เอนแฟนท์ และผังเมืองฉบับนี้ก็ได้ถูกเก็บรักษาอย่างดีจนถึงปัจจุบัน[11]
รัฐบัญญัติความสูงของอาคาร พ.ศ. 2453 กำหนดให้อาคารสามารถสูงกว่าความกว้างของถนนได้ไม่เกิน 20 ฟุต (6.1 เมตร)[12] แม้จะมีความเชื่อว่า สหรัฐไม่จำกัดความสูงของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น อนุสาวรีย์วอชิงตัน ที่มีความสูงถึง 559 ฟุต (6.1 เมตร)[13] ซึ่งยังคงเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดในวอชิงตันเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งมีนักวิชาการหลายแขนงที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อจำกัดด้านความสูงของอาคารเป็นเหตุผลว่าเหตุใดเขตปกครองจึงมีที่อยู่อาศัยที่มีความสูงเกินกำหนดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกิดปัญหาการจราจรเนื่องด้วยการสร้างอาคารที่พักอาศัยสูง จากการขยายเมือง[12]
วอชิงตัน มีอาณาเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 16 กิโลเมตร โดยใจกลางของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วอชิงตัน ที่อยู่ระหว่างทำเนียบขาวและอาคารรัฐสภาสหรัฐ และได้ทำการแบ่งส่วนของเมืองเป็นสี่ส่วน ซึ่งแต่ละเขตจะมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน ได้แก่ เขตนอร์ธเวสท์วอชิงตัน เขตนอร์ธอีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์อีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์เวสท์วอชิงตัน โดยมีแกนทั้งสี่ทิศอยู่ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐ[14] ถนนทั้งหมดของเมืองจะตั้งอยู่ในรูปแบบตารางที่มีถนนตะวันออก-ตะวันตกที่มีชื่อเป็นตัวอักษร (เช่น C Street SW) ถนนทางตอนเหนือ-ใต้ที่มีตัวเลข (เช่นถนน 4th Street NW) และถนนในแนวทแยงซึ่งหลายแห่งตั้งชื่อตามรัฐต่างๆ (ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อถนนที่เป็นชื่อรัฐต่างๆ ในวอชิงตัน ดี.ซี.) [14]
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมในกรุงวอชิงตัน ได้ติดอันดับถึง 6 ใน 10 ที่สถาบันสถาปนิกอเมริกันยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมยอดนิยมของสหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2550[15] อันประกอบไปด้วย ทำเนียบขาว มหาวิหารแห่งชาติวอชิงตัน อนุสรณ์สถานเจฟเฟอร์สัน อาคารรัฐสภาสหรัฐ อนุสรณ์สถานลินคอล์น และ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม ในรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก, จอร์เจีย, กอทิก และ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ซึ่งสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส เช่น อาคารที่ทำการฝ่ายบริหารเก่า[16]
ทั้งนี้ บริเวณชานเมืองของวอชิงตัน มีสถาปัตยกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบควีนแอนน์ แบบริชาร์ดโซเนียน แบบจอร์เจียน แบบวิจิตรศิลป์ แบบวิคตอเรีย เป็นต้น โดยเฉพาะรูปแบบวิคตอเรีย ที่พบเห็นมากในบริเวณที่พักอาศัย ภายหลังจากเหตุการณ์สงครามกลางเมือง[17] ซึ่งบริเวณจอร์จทาวน์ เป็นหนึ่งในบริเวณที่มีบ้านหินเก่าที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2308 ทำให้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าที่สุดในจอร์จทาวน์[18] อาคารมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2332 มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบโรมาเนสก์ผสมกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก[16] อาคารโรนัลด์เรแกน เป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวอชิงตัน ด้วยเนื้อที่ 3.1 ล้านตารางฟุต (288,000 ตารางเมตร)[19]
ประชากร
ดูเพิ่มได้ที่ ประชากรในวอชิงตัน ดี.ซี.
เศรษฐกิจ
ดูเพิ่มที่ หมวดหมู่:สินค้าที่ผลิตในวอชิงตัน ดี.ซี. และ
วอชิงตัน มีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่หลากหลาย และมีการจ้างงานในธุรกิจระดับผู้บริหารเพิ่มมากขึ้น[20] โดยการคำนวณยอดมวลรวมผลิตภัณฑ์ของรัฐที่มากที่สุด เมื่อ พ.ศ. 2553 วอชิงตัน มียอดมวลรวมเป็นจำนวน 103.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (330.2 พันล้านบาท) ซึ่งเป็นอันดับที่ 34 จาก 50 รัฐ[21] และยอดมวลรวมผลิตภัณฑ์ในมหานครวอชิงตัน เมื่อ พ.ศ. 2557 วอชิงตัน มียอดมวลรวม 435 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (13.9 หมื่นล้านบาท) ทำให้วอชิงตัน กลายเป็นมหานครที่มีความหนาแน่นทางเศรษฐกิจ เป็นอันดับที่ 6 ในสหรัฐ[22] ระหว่าง พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2559 ค่าจีดีพีต่อหัวประชากรในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับต้นของสหรัฐ[23] ใน พ.ศ. 2559 ค่าจีดีพีของประชากรต่อหัวในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เฉลี่ยอยู่ที่ 160,472 ดอลลาร์สหรัฐ (5.1 ล้านบาท) ซึ่งมีค่าจีดีพีต่อหัวมากกว่ารัฐแมสซาซูเซตส์ซึ่งมีค่าหัวจีดีพีต่อประชากร เป็นอันดับที่ 2 ของสหรัฐ ถึงสามเท่าตัว[23] และเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 มหานครวอชิงตัน มีอัตราการว่างงานคิดเป็นร้อยละ 6.2 ของทั้งมหานคร ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดเป็นอันดับที่สองในบรรดามลรัฐทั้ง 50 แห่งในประเทศ[24] และในขณะเดียวกัน เขตปกครองพิเศษโคลอมเบียมีอัตราการว่างงานร้อยละ 9.8 เช่นกัน[25]
ใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลกลางสหรัฐ คิดอัตรางานในวอชิงตันเป็นร้อยละ 25 ของงานทั้งหมดในสหรัฐ[26][27] ซึ่งเป็นความคิดที่จะทำให้วอชิงตัน รอดจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของประเทศ[28] มีหลายองค์กร เช่น บริษัทกฎหมาย ผู้รับเหมาอิสระ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร บริษัทล็อบบี้ยิสต์ สหภาพการค้า กลุ่มการค้าอุตสาหกรรม และสมคมวิชาชีพ มีสำนักงานใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ทำการของรัฐบาล[29]
สำหรับด้านการท่องเที่ยว วอชิงตันเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐ ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในวอชิงตันประมาณ 18.9 ล้านคน คิดเป็นเงิน 1.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.54 แสนล้านบาท) โดยประมาณ (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2555)[30] วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งสถานทูตประมาณ 200 ประเทศ และยังเป็นที่ตั้งองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างทวีปอเมริกา องค์การสุขภาพแห่งภาคพื้นอเมริกา วอชิงตันมีจำนวนคณะทูตานุทูตมากกว่า 10,000 คน โดยสร้างรายได้ให้วอชิงตันปีละประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12,000 ล้านบาท) (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2551)[31]
วอชิงตันยังมีองค์กรที่ไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาล โดยเฉพาะองค์กรทางการศึกษา เศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ และสำรวจวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน โรงพยาบาลศูนย์วอชิงตัน ศูนย์การแพทย์เด็กแห่งสหรัฐ และมหาวิทยาลัยฮอร์วาร์ด เป็นมีองค์กรที่ไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่เป็น 5 อันดับแรกในวอชิงตัน (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2552)[32] ตามสถิติเมื่อ พ.ศ. 2554 มีบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐจำนวน 4 แห่ง จาก 500 แห่ง ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวอชิงตัน[33] ดัชนีศูนย์กลางทางการเงินโลกประจำปี 2560 วอชิงตันได้รับการจัดอันดับให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในโลก เป็นอันดับที่ 12 และเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในสหรัฐ อันดับที่ 5 รองจาก นครนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก ชิคาโก และบอสตัน[34]
วัฒนธรรม
หัวข้อหลัก: วัฒนธรรมในวอชิงตัน ดี.ซี.
สถานที่สำคัญ
ดูเพิ่มได้ที่: รายชื่อสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์แห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี., รายชื่ออนุสรณ์สถานแห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี และ รายชื่อพิพิธภัณฑ์ในวอชิงตัน ดี.ซี.
วอชิงตันมีพื้นที่ขนาดใหญ่และเป็นสวนแบบเปิดกลางเมืองวอชิงตัน คือ เนชันแนลมอลล์ (National Mall) ซึ่งอยู่ระหว่างอนุสรณ์สถานลินคอล์น และ อาคารรัฐสภาสหรัฐ โดยเป็นสถานที่สำหรับจัดการประท้วงทางการเมือง คอนเสิร์ต เทศกาลทางการเมือง และพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี สำหรับอนุสาวรีย์วอชิงตัน และหลักศิลาเจฟเฟอร์สัน ตั้งอยู่ใกล้เนชันแนลมอลล์และทางทิศใต้ของทำเนียบขาว นอกจากนี้บริเวณเนชันแนลมอลล์ ยังเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณทิศตะวันออกของสระน้ำอนุสรณ์สถานลินคอล์น เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานสงครามเกาหลี และอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม[35]
วอชิงตันยังมีสวนญี่ปุ่นบริเวณทางทิศใต้ของเนชันแนลมอลล์ ชื่อว่า ไทดัลเบซิน (Tidal Basin) โดยสวนดังกล่าว มีลักษณะเป็นต้นเชอร์รี่ญี่ปุ่นเรียงแถว ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้มอบเป็นของขวัญให้สหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2455[36] โดยมีสถานที่สำคัญตั้งอยู่รอบๆ ไทดัลเบซินหลายแห่ง เช่น อนุสรณ์สถานแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ อนุสรณ์สถานจอร์จ เมสัน อนุสรณ์สถานเจฟเฟอร์สัน อนุสรณ์สถานมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ และอนุสรณ์สถานสงครมกลางเมือง เป็นต้น[35]
วอชิงตันยังมีสถานที่เก็บเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สหรัฐถึงสามแห่ง คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งเก็บรักษา[[คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ] รัฐธรรมนูญสหรัฐ และบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง[37] และหอสมุดรัฐสภา ซึ่งเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนหนังสือในห้องสมุดที่มากถึง 147 ล้านเล่ม รวมถึงเอกสารทางประวัติศาสตร์ต้นฉบับ และโสตถวัสดุอื่นๆ[38] และหอสมุดศาลสูงสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารศาลสูงสหรัฐ โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ซึ่งรวบรวมหนังสือด้านกฎหมายและประวัติศาสตร์ของสหรัฐ และงานวิจัยด้านกฎหมายในรูปแบบหนังสือมากกว่า 600,000 เล่ม และโสตวัสดุมากกว่า 200,000 ม้วน[39]
พิพิธภัณฑ์
วอชิงตันมีสถาบันวิจัยด้านพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และสวนสัตว์ในวอชิงตันโดยเฉพาะ คือ สถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งก่อตั้งโดยสภาคองเกรส เมื่อ พ.ศ. 2389 โดยทางรัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนสถาบันเป็นบางส่วน โดยมีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และสวนสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของสถาบันถึง 19 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณเนชันแนลมอลล์ และพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย[41] โดยพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบัน มีนักท่องเที่ยวเข้าชมรวมทุกแห่งแล้วทั้งสิ้นประมาณ 30 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2560) โดยพิพิธภัณฑ์ที่มีนักท่องเที่ยวเข้าชมมากที่สุดคือพิพิธภัณฑ์ยานบินและยานอวกาศแห่งสหรัฐ ซึ่งมีผู้เข้าชมทั้งปีรวมประมาณ 7 ล้านคน[42] ทั้งนี ยังมีพิพิธภัณฑ์และสถานที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอีกหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งสหรัฐ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแอฟริกันแห่งสหรัฐ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อเมริกันแห่งสหรัฐ พิพิธภัณฑ์ชาวอินเดียนแห่งสหรัฐ หอศิลป์อาร์เธอร์ เอ็ม.แซคเกอร์ หอศิลป์เฟียร์ พิพิธภัณฑ์เฮอร์ชอร์นและสวนประติมากรรม อาคารศิลปะและอุตสาหกรรม ศูนย์เอส ดิลลัน ริพลีย์ และปราสาทสมิธโซเนียน ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของสถาบัน[43] และยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในอาคารสำนักงานจดสิทธิบัตร(เดิม) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณไชน่าทาวน์ คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันสมิธโซเนียน และ หอศิลป์ภาพเหมือนแห่งสหรัฐ[44] หอภาพเรนวิค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันสมิธโซเนียน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้กับทำเนียบขาว พิพิธภัณฑ์แอนาคอสเตีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวอชิงตัน พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์แห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟวอชิงตัน และสวนสัตว์แห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้สวนวูดเล่ย์[43]
วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งของหอศิลป์แห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่บนเนชั่นแนลมอลล์ซึ่งใกล้กับรัฐสภาสหรัฐ โดยจัดแสดผลงานทางศิลปะแนวอเมริกันและยุโรป ซึ่งงานศิลปะที่จัดแสดงทั้งหมด เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลสหรัฐและหอศิลป์แห่งนี้ ไม่ได้ขึ้นตรงต่อสถาบันสมิธโซเนียน[45]รวมไปถึงเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจัตุรัสตุลาการ ก่อตั้งโดยสภาคองเกรส จัดแสดงผลงานด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ[46]
วอชิงตันยังมีหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ที่เอกชนเป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งจัดแสดงสิ่งสะสมหรือนิทรรศการต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปินสตรี และพิพิธภัณฑ์ฟิลลิป ซึ่งตั้งอยู่บนวงเวียนดูปองต์ โดยเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งแรกในสหรัฐ[47]รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ข่าว พิพิธภัณฑ์มูลนิธิโอสตรีท พิพิธภัณฑ์สายลับระหว่างประเทศ พิพิธภัณฑ์สมาคมเนชั่นแนลจีโอกราฟิก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มาเรียนกอชแลนด์ และพิพิธภัณฑ์คัมภีร์ไบเบิล รวมทั้งพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานแห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเนชั่นแนลมมอลล์ โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการ เอกสาร และสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[48]
ศิลปะ
ดูเพิ่มได้ที่: รายชื่อโรงละครในวอชิงตัน ดี.ซี. และ ดนตรีในวอชิงตัน ดี.ซี.
วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นที่ตั้งของศูนย์ศิลปะด้านต่างๆ อาทิ สถาบันจอห์น เอฟ. เคนเนดีเพื่อศิลปะการแสดง ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งสหรัฐ วงอุปรากรวอชิงตันแห่งสหรัฐ และเดอะวอชิงตันบัลเล่ต์ และวอชิงตัน ดี.ซี. ยังเป็นสถานที่มอบรางวัลเดอะเคเนดีเซ็นเตอร์ฮอร์นอร์ (Kennedy Center Honors) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับศิลปินหรือนักแสดงที่สร้างอิทธิพลต่อสังคมหรือวัฒนธรรมชาวอเมริกัน[49][50]วอชิงตันยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงละครฟอร์ดซึ่งเป็นสถานที่ลอบสังหารอับราฮัม ลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยังคงเปิดใช้งานอยู่[51]
วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งของหน่วยทหารทางทะเล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับแคปิตอลฮิลล์ โดยเป็นที่ตั้งของวงนาวิกโยธินสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2341 โดยเป็นสถาบันทางดนตรีที่มีประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของสหรัฐ[52]โดยดนตรีในวอชิงตันเริ่มเข้าเผยแพร่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2423 ถึง พ.ศ. 2435 นำโดย จอห์น ฟิลลิป โซซา และนักดนตรีชาวอเมริกันอีกหลายคน[53]สำหรับวงราชนาวีสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 ตั้งอยู่บริเวณอู่ต่อเรือวอชิงตัน โดยจัดแสดงตามคอนเสิร์ตสาธารณะทั่วไป[54]วอชิงตันเป็นเมืองที่มีความแข็งแกร่งทางด้านธุกิจโรงละคร นับตั้งแต่โรงละครอารีน่าสเตจก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 ซึ่งประสบความสำเร็จ และก่อให้เกิดธุรกิจโรงละครอิสระต่างๆ เช่น บริษัทโรงละครเชคสเปียร์ บริษัทโรงละครวูลี่แมมมอธ รวมไปถึงโรงละครสตูดิโอทั่วไปด้วย[55]นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงโรงละครอารีน่าสเตจครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2553[56]รวมทั้งศูนย์ศิลปะการแสดงลาตินแห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในโรงละครกาล่า ในเมืองโคลอมเบียไฮเจสท์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519[57]
วอชิงตันได้รับการขนานนามว่าเป็นวอชิงตันแบล็คบอร์ดเวย์ เนื่องด้วยวอชิงตันเป็นที่ตั้งของโรงละครบรอดเวย์หลายแห่ง โดยเฉพาะย่านถนนโอสตรีท อาทิ โรงละครโฮวาร์ด เดอะโบฮีเมียนคาเวิร์นส์ โรงละครลินคอล์น เป็นต้น วอชิงตันยังเป็นที่แจ้งเกิดของนักร้องชาวอเมริกันหลายคนด้วย อาทิ ดุค เอลลิงตัน จอห์น โคลเทรน ไมล์ส เดวิส เป็นต้น[58]ประกอบกับวอชิงตันมีแนวพื้นเมืองเป็นของตนเอง เช่น สไตล์โก-โก สไตล์อะโพสต์-ฟังค์ โดยเฉพาะจังหวะบลูที่ได้รับความนิยมในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970[59]
วอชิงตันยังเป็นแหล่งรวมของวัฒนธรรมอินดี้ในสหรัฐ โดยเฉพาะผลงานเพลงอินดี้ของค่ายดิสชอร์ดเรคคอร์ดส นำโดยเอียน แมคเคย์ โดยเป็นที่นิยมในวงการเพลงพังค์ในยุคคริสต์ทสวรรษ 1980[60]โดยมีสถานที่จัดแสดงเพลงอินดี้ที่สำคัญบริเวณถนนยูสตรีท[61]
กีฬา
ดูเพิ่มได้ที่: กีฬาในวอชิงตัน ดี.ซี.
วอชิงตันเป็นหนึ่งในสิบสามเมืองของสหรัฐที่มีทีมกีฬาที่สำคัญถึงสี่ทีม (เบสบอล, ฮ็อกกี้, ฟุตบอล และบาสเกตบอล) รวมถึงเป็นเมืองที่ตั้งของทีมกีฬาเพศหญิงที่สำคัญอีกเมืองหนึ่ง เช่น เดอะวอชิงตันวิซาร์ดส์ (สมาคมบาสเกตบอลแห่งสหรัฐ), เดอะวอชิงตันแคปปิทอล (สมาคมฮ็อกกี้แห่งสหรัฐ), และเดอะวอชิงตันมิสทิคส์ (สมาคมบาสเกตบอลหญิงแห่งสหรัฐ) โดยทั้งสามทีมนี้จะแข่งขันกันที่แคปปิตอลวันอารีน่า ย่านไชน่าทาวน์ ส่วนสนามเนชั่นแนลพาร์คเป็นที่ตั้งของทีมเบสบอลวอชิงตันเนชั่นแนล ทีม ดี.ซี.ยูไนเต็ด ใช้สนามออดี้ฟิลด์ และทีมวอชิงตันเรดสกินส์ ใช้สนามเฟดเอ็กซ์ฟิลด์
สื่อ
หัวข้อหลัก: สื่อในวอชิงตัน ดี.ซี.
ดูเพิ่มได้ที่: รายชื่อหนังสือพิมพ์ในวอชิงตัน ดี.ซี. และ รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในวอชิงตัน ดี.ซี.
วอชิงตัน ดี.ซี เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2420 โดยเป็นหนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่และมียอดผู้อ่านมากที่สุดใน วอชิงตัน ดี.ซี. หรือเรียกกันทั่วไปว่า "เดอะโพสต์" โดยมีชื่อเสียงจากการเปิดเผยคดีวอเตอร์เกต[62]และยังเป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐ จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2561[63]และยังได้มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันแจกฟรี ซึ่งมีเนื้อหาด้านกีฬาและบันเทิงอีกด้วย
อีกหนึ่งหนังสือพิมพ์ที่นิยมในวอชิงตัน คือ "เดอะวอชิงตันไทมส์" โดยเป็นหนังสือพิมพ์ยอดนิยมอันดับ 2 ในวอชิงตัน โดยมีบทความส่วนใหญ่ไปทางการเมืองด้านอนุรักษ์นิยม และยังมีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่นิยมในวอชิงตัน คือ "วอชิงตันซิตี้เปเปอร์"[64][65]
อย่างไรก็ตาม วอชิงตันก็ยังมีการผลิตนิตยสาร ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลัก เช่น วอชิงตันเบลด หรือ เมโทรวีคลี่ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มแอลจีบีที ส่วนวอชิงตันอินฟอร์เมอร์ และ เดอะวอชิงตันแอฟโรแอฟริกัน มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือประชากรผิวสี และยังมีสื่อสิ่งพิมพ์อีกหลายฉบับที่วิเคราะห์การดำเนินงานของรัฐสภาและรัฐบาลกลาง รวมไปถึงนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก[66]
ในมหานครวอชิงตัน เป็นตลาดสื่อโทรทัศน์ที่ใหญ่เป็นอันดับเก้าของสหรัฐ
การเดินทาง
ระบบขนส่งมวลชนในเมืองจะมีระบบรถไฟใต้ดินเรียกว่า รถไฟใต้ดินวอชิงตัน (หรือรู้จักในชื่อ เมโทร) ซึ่งมีทั้งหมด 5 สาย และ 86 สถานี สำหรับระบบรถเมล์ในตัววอชิงตันเองจะมีสองระบบได้แก่ เมโทรบัส และ เซอร์คิวเรเตอร์ โดยนอกจากนี้ระบบรถเมล์เหล่านี้ยังเชื่อมต่อกับเมืองและรัฐข้างเคียง
วอชิงตัน ดี.ซี. มี 2 สนามบินคือ ท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส และ ท่าอากาศยานแห่งชาติวอชิงตัน โรนัลด์ เรแกน ซึ่งทั้งสองสนามบินตั้งอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย
สำหรับรถไฟจะมีรถไฟแอมแทรก MARC และ Virginia Railway Express เข้าสู่สถานีที่ยูเนียนสเตชันเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟใต้ดิน
ภูมิอากาศ
ข้อมูลภูมิอากาศของวอชิงตัน ดี.ซี. | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °F (°C) | 79 (26.1) |
84 (28.9) |
93 (33.9) |
95 (35) |
99 (37.2) |
104 (40) |
106 (41.1) |
106 (41.1) |
104 (40) |
96 (35.6) |
86 (30) |
79 (26.1) |
106 (41.1) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °F (°C) | 43.6 (6.44) |
47.2 (8.44) |
56.0 (13.33) |
66.7 (19.28) |
75.5 (24.17) |
84.3 (29.06) |
88.5 (31.39) |
86.7 (30.39) |
79.6 (26.44) |
68.5 (20.28) |
58.0 (14.44) |
47.0 (8.33) |
66.8 (19.33) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °F (°C) | 36.1 (2.28) |
39.1 (3.94) |
46.9 (8.28) |
56.9 (13.83) |
66.1 (18.94) |
75.3 (24.06) |
79.8 (26.56) |
78.2 (25.67) |
71.1 (21.72) |
59.6 (15.33) |
49.6 (9.78) |
39.8 (4.33) |
58.2 (14.56) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °F (°C) | 28.7 (-1.83) |
30.9 (-0.61) |
37.7 (3.17) |
47.1 (8.39) |
56.6 (13.67) |
66.3 (19.06) |
71.2 (21.78) |
69.8 (21) |
62.6 (17) |
50.7 (10.39) |
41.2 (5.11) |
32.5 (0.28) |
49.6 (9.78) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °F (°C) | -14 (-25.6) |
-15 (-26.1) |
4 (-15.6) |
15 (-9.4) |
33 (0.6) |
43 (6.1) |
52 (11.1) |
49 (9.4) |
36 (2.2) |
26 (-3.3) |
11 (-11.7) |
-13 (-25) |
−15 (−26.1) |
หยาดน้ำฟ้า นิ้ว (มม) | 2.80 (71.1) |
2.58 (65.5) |
3.48 (88.4) |
3.06 (77.7) |
3.99 (101.3) |
3.77 (95.8) |
3.72 (94.5) |
2.92 (74.2) |
3.72 (94.5) |
3.40 (86.4) |
3.17 (80.5) |
3.05 (77.5) |
39.67 (1,007.6) |
ปริมาณหิมะ นิ้ว (ซม) | 5.7 (14.5) |
5.7 (14.5) |
1.3 (3.3) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
.5 (1.3) |
2.3 (5.8) |
15.6 (39.6) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.01 in) | 9.6 | 9.0 | 10.5 | 10.4 | 11.1 | 10.7 | 10.3 | 8.2 | 8.3 | 7.7 | 8.6 | 9.7 | 114.1 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 in) | 3.1 | 2.5 | .9 | .1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | .2 | 1.5 | 8.3 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 145.7 | 152.6 | 204.6 | 228.0 | 260.4 | 282.0 | 279.0 | 263.5 | 225.0 | 204.6 | 150.0 | 133.3 | 2,528.7 |
แหล่งที่มา: NOAA (1981−2010 normals at Reagan National, extremes 1872−present),[67]Hong Kong Observatory (ค.ศ. 1961−1990)[68] |
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.