ปวีณา ทองสุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปวีณา ทองสุก

ร้อยเอกหญิง ปวีณา ทองสุก ชื่อเล่น ไก่ (เกิดวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2522) เป็นอดีตนักกีฬายกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 28 ณ กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก และการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง นักพัฒนาการกีฬาชำนาญการพิเศษ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ข้อมูลเบื้องต้น ร้อยเอกหญิงปวีณา ทองสุก ต.ภ., เกิด ...

ปวีณา ทองสุก

เกิด18 เมษายน พ.ศ. 2522 (45 ปี)
อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นไก่
การศึกษาโรงเรียนบ้านสว่าง
โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย
โรงเรียนเทพลีลา
ศิษย์เก่าสถาบันการพลศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาชีพ
คู่สมรสสาเรศ ลิ่มกังวาฬมงคล (สมรส 2553)
กีฬาอาชีพ
ประเทศไทย
กีฬายกน้ำหนัก
ระดับน้ำหนัก75 กิโลกรัม
69 กิโลกรัม
63 กิโลกรัม
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัด กองทัพบกไทย
ชั้นยศ ร้อยเอก
ปิด

ประวัติ

ร้อยเอกหญิง ปวีณา ทองสุก เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2522 ที่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นลูกคนที่ 2 ของนายนิรันดร์-นางสุกรี ทองสุก จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านสว่าง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเทพลีลา กรุงเทพฯ และปริญญาตรี วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ปริญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการชักชวนให้มาเล่นกีฬายกน้ำหนัก ขณะยังเรียนอยู่ชั้น ม.2 โดยมี อาจารย์วินัย คำจีนศรี เป็นผู้ฝึกสอน เข้าแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรก ในเอเชียนเกมส์ 1998 ที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับเหรียญรางวัล

Thumb
หุ่นขี้ผึ้งปวีณา จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ

โอลิมปิก 2004

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 28 ที่ กรุงเอเธนส์ กรีซ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ร้อยโทหญิงปวีณา ลงแข่งขันในรุ่นน้ำหนัก 75 กิโลกรัม ท่าแรก คือท่าสแนทช์ ยกได้ 122.5 ก.ก. เป็นอันดับสองรองจากวาเลติน่า เลโปว่า จากประเทศรัสเซีย ซึ่งยกได้ 125 ก.ก. ท่าที่สอง คือคลีนแอนด์เจิร์ก ปวีณายกได้ 150 ก.ก. ซึ่งเป็นสถิติโอลิมปิก ในขณะที่วาเลติน่ายกได้เพียง 147.5 ก.ก. จึงมีน้ำหนักรวมเท่ากัน แต่นางสาวปวีณา มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า จึงได้เหรียญทองไปครอง ถือเป็นนักกีฬาหญิงคนที่สองของไทย ถัดจาก อุดมพร พลศักดิ์ ซึ่งได้เหรียญจากรุ่น 53 ก.ก. ไปก่อนแล้ว

ร.อ.หญิง ปวีณา ได้รับเลือกจากสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติให้เป็นนักกีฬายกน้ำหนักหญิงยอดเยี่ยม ของการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งดังกล่าว นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้มอบปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาให้ ในพิธีมอบปริญญา ประจำปี พ.ศ. 2547

เอเชียนเกมส์ 2006

การแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นางสาวปวีณา ลงแข่งขันในรุ่นน้ำหนัก 63 ก.ก. ในท่าสแนทช์ ยกได้ 110 ก.ก. โดยตามหลัง โอ หยาง เสี่ยว ฟาง จากประเทศจีน ที่ยกได้ถึง 115 ก.ก. ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ร้อยเอกหญิงปวีณา และเสี่ยวฟาง ยกครั้งแรก 132 ก.ก. ผ่านทั้งคู่ ก่อนที่ เสี่ยวฟาง จะยกครั้งที่สอง ที่ 137 ก.ก. ไม่ผ่าน และบาดเจ็บ จนต้องถอนตัว นางสาวปวีณา ที่ยกน้ำหนัก 137 ก.ก. ผ่าน จึงได้เหรียญทอง ก่อนจะยกครั้งที่สาม ที่ 142 ก.ก. ทำลายสถิติโลกขอ

ประวัติการแข่งขัน

ชีวิตส่วนตัว

ร.อ.หญิง ปวีณาได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับ สาเรศ ลิ่มกังวาฬมงคล อดีตนักกีฬาฟันดาบทีมชาติไทย และผู้สื่อข่าวกีฬาโมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 ณ สโมสรทหารบก กรุงเทพฯ[ต้องการอ้างอิง]

เกียรติคุณ

  • รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2565 จาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ยศทหาร

faviconfavicon
2 sources

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

favicon
1 sources

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.