ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[1] หรือชื่อเดิม มานิตย์ สังข์พุ่ม (เกิด 26 เมษายน พ.ศ. 2504) เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่งใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย (วิปฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐมนตรีเศรษฐา) สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม[2]ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุรินทร์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (13 ปี 232 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 138 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 เมษายน พ.ศ. 2504 จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2538-2539) ไทยรักไทย (2544-2550) มัชฌิมาธิปไตย (2550-2551) เพื่อไทย (2551-ปัจจุบัน) |
ประวัติ
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[3] เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2504 เป็นชาวจังหวัดพัทลุงโดยกำเนิด[4] ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2529 เพื่อเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
ครูมานิตย์ จบการศึกษาจากวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชุมพร และระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา จากวิทยาลัยครูสุรินทร์
การทำงาน
ครูมานิตย์[5] เคยรับข้าราชการครูตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนบ้านกะลัน หมู่ที่ 15 ถนนกะลัน - ตรึม บ้านกะลัน ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อมาทำงานการเมือง
งานการเมือง
ครูมานิตย์เข้าสู่วงการการเมืองด้วยตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2542 และที่ปรึกษาประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2543
ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทย ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2556 เป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทยปี พ.ศ. 2566 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐมนตรีเศรษฐา) สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม[6] ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[7] ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย[8]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.