นายสัตวแพทย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)[1] และเป็นอดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ยุคล ลิ้มแหลมทอง | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 เมษายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร วราเทพ รัตนากร |
ก่อนหน้า | ธีระ วงศ์สมุทร |
ถัดไป | ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 เมษายน พ.ศ. 2493 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (2551-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | น.อ.หญิง สุวัฒนา ลิ้มแหลมทอง |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
ยุคล ลิ้มแหลมทอง เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2493[2] เป็นบุตรของนายคงเอี่ยม แซ่ลิ้ม กับนางยุพดี นโรดม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผ่านการอบรมหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 43
ยุคล ลิ้มแหลมทอง สมรสกับนาวาอากาศเอกหญิง สุวัฒนา ลิ้มแหลมทอง (สกุลเดิม สิทธิสุข) มีบุตร 1 คน คือ นายธรรมสิริ ลิ้มแหลมทอง[3]
การทำงาน
ยุคล ลิ้มแหลมทอง เข้ารับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2517 ในตำแหน่งนายสัตวแพทย์โท ประจำกองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกอง และเป็นรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในปี พ.ศ. 2539 กระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552[4]
ยุคล ลิ้มแหลมทอง ได้รับการคัดเลือกจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ให้ได้รับรางวัล OIE Meritorrious Award เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลระดับโลกในครั้งนี้[5] จากผลงานโดดเด่นในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้หวัดนกในช่วงที่มีการระบาดในประเทศไทยและระบาดทั่วโลก
งานการเมือง
ยุคล ลิ้มแหลมทอง ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[6] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 (แทนตำแหน่งที่ว่างลงของนายชุมพล ศิลปอาชา)[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.