Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในอดีตเกาะฮ่องกง ช่วงภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ มีสถานีที่ให้ความบันเทิงหลายที่แต่ทางด้านสถานีโทรทัศน์หลัก ๆ ที่แข่งขันทางด้านเรตติ้งความนิยม มี สามแห่ง ที่สำคัญ
เอทีวี หรือเรียกอีกชื่อว่า สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย (จีน: 亞洲電視 ชื่อบริษัท 亞洲電視有限公司 ชื่อย่อ 亞視; อังกฤษ: Asia Television ชื่อบริษัท Asia Television Digital Media Limited ชื่อย่อ ATV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในฮ่องกงแบบเพย์ทีวี (Pay TV) และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาจีนแห่งแรกในเขตกวางตุ้งของโลกอีกด้วย ก่อตั้งและแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในฮ่องกงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ในนาม สถานีวิทยุกระจายเสียง "ลี่เต๋อ" (Li's Voice) ด้วยการก่อตั้งสถานีวิทยุจำกัดเชิงพาณิชย์ในฮ่องกง แห่งแรกขึ้นมา ต่อมาได้ทำการเปิดตัวบริการโทรทัศน์ เป็น สถานีวิทยุและโทรทัศน์ (Li's Voice TV) หรืออีกชื่อที่คุ้นเคยคือ อาร์ทีวี ในภายหลังได้เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์หลัก ใช้ชื่อเป็น เอทีวี (Asia Television) ตามลำดับ เปิดหน้าแรกประวัติศาสตร์ฮ่องกงทีวีอย่างเป็นทางการ
สถานีโทรทัศน์ทีวีบี เป็นสถานีฟรีทีวีแห่งแรกในฮ่องกง จึงเกืดค่านิยมดูช่องทีวีบีเป็นหลัก และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินแห่งที่สองในฮ่องกง เปิดสถานีครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยบริษัทได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 มีเซอร์ รัน รัน ชอว์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานจาก 2523 ถึง 2554 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ทีวีบีร่วมกับบริษัทอังกฤษและบริษัทจีนจำนวนหนึ่งในฮ่องกงได้จัดตั้งสมาคมเพื่อจัดตั้งภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ( TV Broadcasting Co., Ltd. ) นับตั้งแต่นั้น ในทุก ๆ ปี ทางทีวีบีจะนับวันนี้เป็นวันฉลองครบรอบประจำปีมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละปีนั้นก็จะมีงานกืจกรรมให้ดาราในค่ายมาร่วมโชว์การแสดงต่าง ๆ ให้ผู้ชมทางบ้านได้ดู
ละครเรื่อง "สวรรค์จำพราก" (Dream of Love 1967) 21 ตอนจบ เป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกที่ผลิตขึ้นโดยช่องทีวีบี ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ระยะเวลาออนแอร์ในปี พ.ศ. 2510-2511) โดยผู้อำนวยการสร้าง คือ "จงจิงฮุ่ย" ได้ออกอากาศโดยสร้างแบบอย่างให้กับละครโทรทัศน์กวางตุ้ง จนกลายมาเป็นความนิยมของกระแสหลักในรายการทีวีฮ่องกง ความสำเร็จของช่อง ทีวีบี ทำให้ทางด้าน เอทีวี ได้ทำการเปลี่ยนระบบการแพร่ภาพจาก เพล์ทีวี มาเป็น ฟรีทีวี เพื่อเข้าแข่งขันแย่งเรตติ้งยอดผู้ชม
หลังจากนั้นช่อง เจียซื่อ (Jiayi TV) เข้าร่วมเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2518 เปิดสถานการณ์ "สามคู่แข่ง" ในตลาดฟรีทีวี อย่างดุเดือด แต่อย่างไรก็ตาม เจียซื่อ ใช้เวลาไม่ถึง 3 ปีก่อนล้มละลายในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 และยุติการแพร่ภาพถาวรในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2521
หลังจาก เจียซื่อ ล้มละลาย ปรากฏการณ์สงครามจอแก้วสองช่องได้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 40 ปี ระหว่างช่อง ทีวีบี และ เอทีวี
สำหรับในฮ่องกง เอทีวี ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นรองช่อง ทีวีบี มาโดยตลอด ยิ่งในช่วงยุค 80 เรตติ้งยิ่งลดลงกว่าตอนชื่อเดิม "อาร์ทีวี" ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ค่านิยมดูเฉพาะช่องทีวีบี" (การดูเฉื่อย) ขึ้นมาและสถานการณ์ของช่องทีวีบี ที่สามารถครอบงำสื่อแทบทั้งสิ้น ทั้งเรื่องเรตติ้งและความดังของนักแสดงในสังกัดทีวีบี (แทบจะผูกขาดกันเลย) ที่เหนือกว่าช่อง เอทีวี
ต่อไปนี้คือการแข่งขันทางวงการจอแก้วในเกาะฮ่องกงทั้งต่างค่ายและในค่ายเดียวกัน โดยแยกตามในแต่ละยุคแต่ละทศวรรษ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับละครที่มีเรตติ้งสูงของแต่ละค่ายเท่านั้น รวมถึงละครที่สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ถึง 60 จุดเปิดขึ้นไป[1][2][3] [4][5][6][7][8][9][10] [11]
ก่อนที่ ทีวีบี จะกลายเป็นสถานีโทรทัศน์ยอดนิยมอันดับหนึ่งในฮ่องกง ก่อนหน้านั้นในประวัติศาสตร์เกาะฮ่องกง ถือว่าช่อง เอทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นมา
อาร์ทีวี หรือ ลี่เตอ เป็นชื่อเรียกในยุคแรก ๆ ของ สถานีโทรทัศน์เอทีวี
โดยก่อนจะก่อตั้งเป็นสถานีโทรทัศน์หลัก แรกเริ่มเป็นสถานีวิทยุเคเบิลมาก่อน ภายใต้ชื่อว่า "สถานีวิทยุกระจายเสียงลี่เต๋อ" (Lai's Voice) โดยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2500 (1967) รัฐบาลฮ่องกงภายใต้การปกครองของอังกฤษได้ออกใบอนุญาตให้สามารถจัดตั้งเป็นเคเบิลทีวีได้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน 4 ล้านเหรียญ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ของปีเดียวกัน โดยคิดค่าติดตั้ง 25 ดอลลาร์ฮ่องกง, ค่าบริการรายเดือน 9 ดอลลาร์ฮ่องกง และการออกอากาศครั้งแรกเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถือว่าเป็นสถานีวิทยุเคเบิลเชิงพาณิชย์แห่งแรกในฮ่องกง มีช่องออกอากาศ 2 ช่อง 2 ภาษา ได้แก่ "ช่องสีเงิน (Silver Channel)" ออกอากาศเป็นภาษากวางตุ้งเป็นหลัก และ "ช่องสีฟ้า (Blue Channel)" ออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ในยุครุ่งเรืองของบริการวิทยุของ สถานีวิทยุกระจายเสียง ลี่เต๋อ (Li's Voice) ส่วนใหญ่จะออกอากาศละครวิทยุเป็นหลักรวมถึงหยิบนิยายเรื่องต่าง ๆ มาบรรยายออกอากาศ เป็นการแสดงละครโดยใช้เสียงอย่างเดียว เมื่อไม่มีภาพ จึงต้องขึ้นอยู่กับบทสนทนาโต้ตอบ ดนตรีและเอฟเฟ็กซ์เสียงเพื่อช่วยให้ผู้ฟังจินตนาการถึงตัวละครและนิยายออก ละครวิทยุอาจเป็นละครที่เขียนขึ้นเพื่อออกอากาศทางวิทยุโดยเฉพาะ ละครสารคดี งานบันเทิงคดีที่สร้างเป็นละคร หรือละครที่เดิมเขียนขึ้นเป็นละครเวที[12][13]
นักพากย์ละครวิทยุที่มีชื่อเสียงของทางสถานี ในยุคนั้น ได้แก่
นอกจากนั้นยังมีนักพากย์ท่านอื่นที่โดดเด่น เช่น เหอเซี่ยหนิง, เกาเหลียง, จงเหว่ยหมิง, เซียวเซียง, หลี่ผิงฟู่ และ หลี่อี้ เป็นต้น
ละครวิทยุเหล่านี้ยังได้ออกอากาศเป็นภาษาท้องถิ่นทั้งในสิงคโปร์และกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากอีกด้วย[14]
จนต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2500 รัฐบาลฮ่องกงภายใต้การปกครองของอังกฤษได้ออกใบอนุญาตให้แก่ สถานีวิทยุลี่เต๋อ (Li's Voice) ให้มีการจัดตั้ง เคเบิลทีวี ได้ ต่อมาจึงก่อตั้งขึ้นเป็นสถานีกระจายเสียงเชิงพาณิชย์หลักในฮ่องกงภายใต้ชื่อว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ลี่เต๋อ แห่งฮ่องกง" (Li's Voice TV) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ด้วยทุนจดทะเบียน 4 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง โดยได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฮ่องกง ถือได้ว่า คือ สถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวี แห่งแรกในตะวันออกไกล เป็นการเปิดหน้าแรกของประวัติศาสตร์การแพร่ภาพโทรทัศน์ในฮ่องกง ออกอากาศทางเคเบิลโดยให้บริการแพร่ภาพโทรทัศน์ในรูปแบบเพย์ทีวี (Pay Tv) ในช่วงแรกของการก่อตั้งสถานีนั้น มีการให้บริการโดยคิดค่าธรรมเนียม ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่มีฐานะดีไปจนถึงคนรวยโดยแต่ละรายจะถูกเรียกเก็บค่าบริการรายเดือนรวม 70 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อเดือน โดยแยกออกเป็นค่าบริการรายเดือนสำหรับการดูคือ 25 ดอลลาร์ฮ่องกง บวกกับ ค่าเช่าทีวี รายเดือน 45 ดอลลาร์ฮ่องกง เป็นราคาที่สูงมาก สำหรับยุคนั้น เพราะ เงินเดือนของลูกจ้างทั่วไปในฮ่องกงโดยเฉลี่ยเพียง 100 ดอลลาร์ฮ่องกงเท่านั้น ดังนั้นค่าบริการรายเดือนจึงนับได้ว่าแพงมาก อาจเป็นเพราะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีในเวลานั้นค่อนข้างแพงและประชาชนทั่วไปไม่สามารถจ่ายได้ ดังนั้น "ทีวี" จึงกลายเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีไว้สำหรับชนชั้นกลางถึงชนชั้นสูงของฮ่องกงในช่วงเวลานั้นของยุคเคเบิลทีวี ค่าบริการรายเดือนจึงไม่ใช่สิ่งที่ชนชั้นแรงงานในฮ่องกงสามารถจ่ายได้ แรกเริ่มมีผู้เช่าเพียง 640 คน (ในยุครุ่งเรืองของทางสถานีมีผู้เช่าหลายแสนคน)
ตัวอย่างตารางรายการยุคแรก ๆ ในวันที่ออกอากาศ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500:
เวลา | ชื่อโปรแกรม(รายการ) |
---|---|
18:50~19:00 | ภาพทดสอบ |
19:00~19:30 | เปิดตัว, พิธีเปิด, รายงานรายการ (อย่างละ 10 นาที) |
19:30~19:40 | ประธานบริษัทกล่าวสุนทรพจน์ |
19:40~19:50 | ข่าวภาคค่ำและการพยากรณ์อากาศ |
19:50~20:00 | รายการเพื่อการศึกษา |
20:00~20:55 | ภาพยนตร์ฮ่องกง โดยฉายภาพยนตร์ฮ่องกงเก่า ๆ |
20:55~21:00 | ข่าวรอบดึกและการพยากรณ์อากาศ |
21:00~21:01 | พรีวิวรายการพรุ่งนี้ที่ออกอากาศ |
รายการทีวีในยุคแรกยังมีรายการไม่มากนัก
ในปีพ.ศ. 2502 ออฟฟิศถูกย้ายไปตั้งสำนักงานที่ "ตึกฟอร์ติส" (Fortis Tower) เขตหว่านไจ๋
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2505 ได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง เมื่อไต้ฝุ่นแวนด้าเคลื่อนผ่านฮ่องกง โดยเคลื่อนตัวจากทะเลจีนใต้ ด้วยความเร็วลมสูงสุดที่ 175 กม./ชม. (110 ไมล์ต่อชั่วโมง) และได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ฮ่องกง ทำให้เกิดลมกระโชกแรง 261 กม./ชม. (161 ไมล์ต่อชั่วโมง) ร่วมกับมีพายุรุนแรง คลื่นซัดถล่มบ้านพัง 3,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านจำนวน 72,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัยทันที และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 434 ราย เรือกว่า 2,000 ลำในเขตอาณานิคมต่างอับปางได้รับความเสียหาย ขณะที่ความเสียหายรุนแรงมากในเกาะฮ่องกง และคาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง นับได้ว่าเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดลูกหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์ในฮ่องกง ต่อมาทาง "สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง" (Radio Television Hong Kong--RTHK) ได้ออกอากาศรายการพิเศษ เป็นการระดมทุนครั้งแรกของทางช่องเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และกลายเป็นต้นแบบของงานการกุศลทางทีวี ที่มีการร้องเพลงและรับบริจาคจากผู้ชมทางบ้าน
ในเดือนธันวาคม ของปีพ.ศ. 2509 สถานีวิทยุโทรทัศน์ลี่เต๋อ ได้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าร่วมอบรมหลักสูตรหนึ่งปีการเป็นศิลปินทางโทรทัศน์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก (กลายเป็นชั้นเรียนฝึกอบรมศิลปินจอแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในฮ่องกง) โดยในตอนนั้นมีผู้สนใจเข้าสมัครนับพันคน แต่ทางช่องคัดเหลือเพียง 9 คนสุดท้าย และหนึ่งในนั้นเป็นผู้สมัครหมายเลข 001 คือ "วังหมิงฉวน"
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ทางช่อง "ลี่เต๋อ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อาร์ทีวี (Rediffusion Television) โดยแบ่งออกสองช่อง คือ RTV-1และ RTV-2 ตามลำดับ ช่วงแรกที่เปิดเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์ ทาง อาร์ทีวี ยังไม่มีละครที่สร้างขึ้นมาเอง และยังต้องนำภาพยนตร์ฝรั่ง, ละครจากต่างประเทศ เข้ามาออนแอร์
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2511 ได้มีรายการใหม่ต่าง ๆ นำมาออกอากาศทางช่อง อาร์ทีวี เช่น รายวาไรตี้, รายการกีฬา รายการภาพยนตร์ และความบันเทิงอื่นๆ ทำให้ทางช่องมีรายการที่น่าสนใจซึ่งดึงดูดผู้ชมมากขึ้น ยกตัวอย่างรายการที่โดดเด่นที่สุดในขณะนั้นคือ การ์ตูนเรื่อง "สามเกลอแซ่เพี้ยน" (Old Master Q) ในรูปแบบของการ์ตูนที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนจีนตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารในฮ่องกงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2505 โดยมีการสร้างเป็นภาพยนตร์กวางตุ้งขาวดำ ฉายวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2508 และยังมีภาคต่อตามมาอีก นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำเทรนด์ในการเข้าซื้อรายการอนิเมะของญี่ปุ่น รวมถึงการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่อง เจ้าหนูปรมาณู ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2495 วาดโดย โอซามุ เท็ตซึกะ และถูกสร้างเป็นอนิเมะฉายทางโทรทัศน์ญี่ปุ่น ระหว่าง พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2509 ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และปีนี้ทางช่อง อาร์ทีวี ได้สร้างละครโทรทัศน์ขึ้นมาเป็นของตัวเองเพื่อแข่งขันกับทางช่อง ทีวีบี (ช่องฟรีทีวีที่กำลังได้รับความนิยมกับละครในค่าย) คือเรื่อง "4ใบเถา (四千金 1968)" ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้ วังหมิงฉวน เริ่มเป็นที่รู้จักในฮ่องกง และกลายเป็นดาวรุ่งมาแรงของทางค่ายอาร์ทีวี
ในปีถัดมาพ.ศ. 2512 ทางค่ายอาร์ทีวีก็ให้เธอได้มีโอกาสเล่นภาพยนตร์ เรื่อง เพลงรัก...ดอกโบตั๋น (Singing Darlings 1969) ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ฮิตในฮ่องกง พอสิ้นปีเธอก็ได้รับรางวัล 10 นักแสดงยอดนิยมสูงสุดประจำปีมาครอง ด้วยความสำเร็จทางด้านภาพยนตร์ทำให้ต่อมาในปีพ.ศ. 2513 เธอได้มีผลงานภาพยนตร์ตามมาอีกเรื่อง คือ บ้านสาวโสด (小姐不在家 1970) หลังจากเรื่องนี้เธอก็หมดสัญญากับทางค่ายอาร์ทีวี และไปเรียนการแสดงที่ญี่ปุ่น หลังจากเรียนจบ เธอได้เดินทางกลับมายังเกาะฮ่องกง และไปเป็นนักแสดงในสังกัดของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี
และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 อาร์ทีวี เปลี่ยนระบบจากเพย์ทีวี เป็น ฟรีทีวี เพื่อการออกอากาศแข่งขันกับทางช่อง ทีวีบี ที่เป็นฟรีทีวี มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง[15][16][17][18][19][20]
ทีวีบี คือ สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินแห่งที่สองในฮ่องกง และเป็นฟรีทีวีแห่งแรกในฮ่องกง โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ทางบริษัทได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 มีเซอร์ รัน รัน ชอว์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานจากปีพ.ศ. 2523 ถึง 2554 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ทีวีบีร่วมกับบริษัทอังกฤษและบริษัทจีนจำนวนหนึ่งในฮ่องกงได้จัดตั้งสมาคมเพื่อจัดตั้งภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ( TV Broadcasting Co., Ltd. )
วันเกิดของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี คือวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ถือเป็นวันที่ทางทีวีบีให้ความสำคัญมากที่สุด ในทุก ๆ ปี ทางทีวีบีจะนับวันนี้เป็นวันฉลองครบรอบประจำปีมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละปีนั้นก็จะมีงานกืจกรรมให้ดาราในค่ายมาร่วมโชว์การแสดงต่าง ๆ ให้ผู้ชมทางบ้านได้ดู
หลังเปิดตัวการออกอากาศเพียงหนึ่งวัน ทีวีบีได้เปิดตัวรายการวาไรตี้โชว์ "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) ทันที โดยออกอากาศตอนแรกในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ทางช่องทีวีบี เวลาตั้งแต่ 21:00 น. ถึง 22:30 น. ทุกคืนวันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยมีทีมรุ่นบุกเบิกของราบการยุคแรก (พิธีกรและนักแสดงโชว์ในรายการ) ได้แก่
1.เฉินฉีซ่ง
2.เหลียงซิ่งโป
4. พานตีหัว
5. เจิ้งจวินเมียน
6. เซินเซิน
7. ตู้ผิง
8. ซีซิ่วลั้ง
ทั้ง 8 คนเป็นกลุ่มแถวหน้าของรายการรุ่นแรก[21].โดยยุคบุกเบิกในตอนนั้นยังไม่มีการจำกัดเวลาชัดเจน ด้วยเงื่อนไขการผลิตในขณะนั้น รายการจึงมีการถ่ายทอดสดทุกคืนวันธรรมดา และแม้แต่โฆษณาก็ยังออกอากาศในรูปแบบของการแสดงสดโดยศิลปิน ต่อมาหลังจากมีการปรับปรุงเงื่อนไขแล้วการถ่ายทอดสด (Live Show) ก็กลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีของรายการทีวี ซึ่งกลายเป็นจุดขายของวาไรตี้ "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) เพราะสามารถสะท้อนความชอบของผู้ชมได้แบบเรียลไทม์
ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ทีวีบี ยังไม่มีการสร้างละครเป็นของตัวเอง และมีการนำเข้าทั้งละครและหนังจากญี่ปุ่นและอเมริกา มาออนแอร์ออกอากาศ จนต่อมาถึงได้มีการประกาศสร้างละครขึ้นมา
ในปีแรก ๆ ของ ทีวีบี ช่วงที่ยังไม่มีการเปิดรับสมัครอบรมบุคคลากรให้เป็นศิลปินกับทางค่ายโดยตรง ดังนั้นทางช่องจึงมักหยิบยืมใช้นักแสดงภาษากวางตุ้งระดับตัวรอง ๆ ของ ชอว์บราเดอร์ส มาแสดงละครให้กับทางช่อง
ละครเรื่อง "สวรรค์จำพราก" (Dream of Love 1967) 21 ตอนจบ เป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกที่ผลิตขึ้นโดยช่องทีวีบี ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ระยะเวลาออนแอร์ในปี พ.ศ. 2510-2511) โดยผู้อำนวยการสร้าง คือ "จงจิงฮุ่ย" ได้ออกอากาศโดยสร้างแบบอย่างให้กับละครโทรทัศน์กวางตุ้ง จนกลายมาเป็นความนิยมของกระแสหลักในรายการทีวีฮ่องกง และเป็นต้นแบบของละครทีวีที่ผลิคในฮ่องกงเอง (เอทีวียังไม่มีละครที่ผลิตเอง)
ยุคทศวรรษที่ 70s (1970-1979) เป็นช่วงเวลาที่เติบโตของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในฮ่องกง ด้วยความนิยมของโทรทัศน์เสรี อิทธิพลของโทรทัศน์จึงเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ยอดจำนวนทีวีที่ครอบครองในครัวเรือนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนแบ่งรายได้จากการโฆษณาของโทรทัศน์ในทุกสื่อเพิ่มขึ้นจาก 34% ในปีพ.ศ. 2515 (1972) เป็น 58.5% ในปีพ.ศ. 2521 (1978) [22]
ในปี พ.ศ. 2513 (1970) หลังจากทีวีบี (TVB) เปิดตัวบริการฟรีทีวี มาได้สามปียอดการมีทีวีในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาฟรีทีวีก็มีประสิทธิภาพมาก ตาม "รายงานสถิติบันทึกในฮ่องกง" (Hong Kong Yearbook) ที่ตีพิมพ์ในต้นปีพ.ศ. 2516 (1973) โดยเป็นการรายงานข้อมูลสรุป ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 ว่า "ครัวเรือนในฮ่องกงมีโทรทัศน์ดูอยู่แล้วในขณะนั้น(ค.ศ. 1972)สูงถึง 79.6%" เกือบทุกครัวเรือนในฮ่องกงมีทีวีดูกัน"
ช่องอาร์ทีวี เห็นความเสียเปรียบที่เป็นเพย์ทีวี ผู้ชมจึงน้อยกว่าช่องทีวีบี ที่เป็นฟรีทีวี ดังนั้นเมื่อเห็นความเสียเปรียบของช่อง อาร์ทีวี ด้วยข้อจำกัดสัญญาณส่งที่ทางอาร์ทีวีไม่ได้เปิดเป็นฟรีทีวี เหมือนทางช่องทีวีบี ในท้ายที่สุดคุณ " หยิงเซิง" (Yingsheng) หนึ่งในบุคลากรสำคัญในค่ายอาร์ทีวี ขณะนั้นได้เริ่มเปิดให้บริการแพร่ภาพทางค่ายอาร์ทีวีเป็นฟรีโทรทัศน์ครั้งแรก เพื่อแข่งขันกับแย่งเรตติ้งทางช่องทีวีบี ได้อย่างเต็มรูปแบบ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และเรียกชื่อเดิมจาก ลี่เต๋อ (Lai's TV) เพิ่มชื่อภาษาอังกฤษให้เป็นชื่อเรียกที่มีความเป็นสากลหมากขึ้น คือ ช่อง "อาร์ทีวี" (Rediffusion Television) และมีเปลี่ยนโลโก้ประจำค่ายขึ้นมาใหม่
ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2513 (1970) จำนวนครัวเรือนที่มีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นมากในทุก ๆ ปี และปีนี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการจอแก้ว ที่ได้มีให้บริการเริ่มแพร่ภาพด้วยระบบด้วยระบบ 625 เส้น 25 อัตราภาพ ในระบบวีเอชเอฟ ซึ่งจะเป็นภาพสีในฮ่องกง
จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2515 ทุกครัวเรือนในฮ่องกงสามารถรับชมการแพร่ภาพสี ได้อย่างเต็มรูปแบบ
ในปีพ.ศ. 2516 อาร์ทีวี หยุดหนึ่งเดือน เพื่อเปลี่ยนไปใช้การออกอากาศแบบสี เช่นเดียวกับ ทีวีบี จึงทำให้ผู้ชมดั้งเดิมของช่อง อาร์ทีวี ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาดูช่อง ทีวีบี แทน มีผลให้ยอดคนดูทางช่อง อาร์ทีวี น้อยลงกว่าเดิม และในปีเดียวกัน ทาง ทีวีบี ได้ลิขสิทธิ์จัดงานการ"ประกวดมิสฮ่องกง" เป็นครั้งแรก โดยปีนั้นบนเวทีการประกวด ทีวีบีได้ดาวจรัสแสงดวงใหม่เป็นรองนางงามเข้าสู่สังกัด คือ เจ้าหย่าจือ
ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2517 รัฐบาลฮ่องกงได้ยกเลิก "ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวี" หรือ "ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์" อย่างเป็นทางการ เนื่องจากพลเมืองส่วนใหญ่ในเกาะฮ่องกงมีกำลังเพียงพอที่จะซื้อเครื่องรับโทรทัศน์มาดูและถือว่าทีวีไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยอีกต่อไป
ในปีพ.ศ. 2513 (1970) ทีวีบี ได้มีการออกอากาศรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก (1970 FIFA World Cup) เป็นครั้งแรก แต่ไม่ใช่การถ่ายทอดสดเป็นเพียงตลับวิดีโอเทปของไฮไลท์การแข่งขันนัดสำคัญของทีมเจ้าบ้าน แม็กซิโก และคลิปการแข่งขันซึ่งออกอากาศห่างกันสองวันแต่ยังไม่ใช่การถ่ายทอดสด
จากความนิยมของทางช่อง ทีวีบี ส่งผลกระทบต่อ สถานีวิทยุกระจายเสียงลี่เต๋อ" (Lai's Voice) มาก จนต้องคืนใบอนุญาตโดยสมัครใจและไม่ขอต่ออายุใบอนุญาต เป็นเหตุให้การออกอากาศทางวิทยุถูกระงับหลังเที่ยงคืนของวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2516[23][24]
จนมาถึงในปีพ.ศ. 2517 (1974) ทีวีบี ได้ถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก เป็นครั้งแรก และปีพ.ศ. 2521 (1978) จำนวนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกได้เพิ่มขึ้นเป็น 4 รายการ รวมทั้งรอบเปิดเกม, รอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศสองครั้ง และการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกนี้ได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2525 (1982) ทีวีบี ได้ทำการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกตลอดช่วงการแข่งขันทั้งหมดเป็นครั้งแรก ทำให้ผู้ชมทางบ้านสามารถรับชมการถ่ายทอดสดทุกรายการได้ฟรี[25]
ช่วงต้นปีพ.ศ. 2519 ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ได้ก่อตั้งกลุ่ม "สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี" (镇台三宝) ขึ้นมา ในกลุ่มมีสามนางเอกแถวหน้าประจำช่อง คือ หวงซู่อี้, วังหมิงฉวน และ หลี่ซือฉี[26]
จากความโด่งดังของ "สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี" จึงทำให้ทั้งสามนักแสดงหญิงแถวหน้าทีวีบีได้มีโอกาสร่วมงานต่าง ๆ กันอยู่หลายครั้ง เช่น ทั้งสามได้ถ่ายทำโฆษณาแชมพูยี่ห้อหนึ่งร่วมกัน ซึ่งในภาพนิ่งของโฆษณาชิ้นนี้ จะเห็น วังหมิงฉวนอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง ส่วนหลี่ซีอฉีอยู่ทางขวาและหวงซู่อวี้จะอยู่ทางซ้าย แต่ต่อมาก็มีประเด็นขึ้นมาว่า ทั้งสองดาราสาวคือหลี่ซีอฉีและหวงซู่อวี้ ต่างรู้สึกไม่เห็นด้วยที่ให้ วังหมิงฉวน อยู่ตรงกลาง เปรียบให้เห็นว่าทั้งสองได้รับความนิยมน้อยกว่า ต่อมาได้มีคำอธิบายเกี่ยวกับภาพของการโฆษณาชิ้นนี้ว่า วังหมิงฉวนเป็นตัวแทนของคนที่มีผมธรรมดาจึงอยู่ตรงกลาง ส่วนหวงซู่อี้เป็นตัวแทนคนที่มีผมแห้ง และหลี่ซือฉีเป็นตัวแทนของคนที่มีผมมัน เลยต้องให้ทั้งสองคนอยู่ทางด้านซ้ายและขวาในรูป หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีข่าวการไม่ลงรอยของทั้งสามคนเกิดขึ้นบ่อยครั้งตามมา รวมไปถึงการไม่ถูกกันของเหล่าบรรดาแฟนคลับของทั้งสามคน อีกด้วย[27]
ในปีพ.ศ. 2518 (1975) หลังจาก อาร์ทีวี ได้ปล่อยละคร "10 คดีแปลก" (十大奇案 1975) ก็ทำให้เรตติ้งพุ่งมาเป็นที่สองรองค่ายทีวีบี จนกระทั่งโดนค่ายน้องใหม่ คือ เจียซือ (Jiashi TV) ที่ได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2518 ทำให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดและกลายเป็นสถานีโทรทัศน์(ฟรีทีวี) แห่งที่สามในเกาะฮ่องกง ได้นำละครกำลังภายในจากนวนิยายของ กิมย้ง มาสร้างเป็นละครครั้งแรกเรื่อง " มังกรหยก ภาค 1" (The Legend of the Condor Heroes 1976) นำแสดงโดย ไป่เปียว รับบท ก๊วยเจ๋ง และ หมีเซียะ รับบท อึ้งย้ง ซึ่งเป็นละครเรื่องที่เก้าของทางเจียซือหลังจากที่ได้เปิดตัวสถานีอย่างเป็นทางการ และยังเป็นละครเรื่องแรกของทางช่องเจียซือ ที่มีเรตติ้งคนดูโดยเฉลี่ยต่อตอนทะลุ 1 ล้านคนครั้งแรก ส่งให้ หมีเซียะ ดาราสาวดาวรุ่งที่รับบท อึ้งย้ง มีชื่อเสียงขึ้นมาและกลายเป็นนักแสดงหญิงจอแก้วที่ร้อนแรงที่สุดในช่วงเวลานั้นทันที จนความนิยมของสถานีโทรทัศน์ เจียซือ ขึ้นมาเป็นอันดับสอง แทนช่อง อาร์ทีวี โดยยังมีช่องยอดนิยมอันดับหนึ่ง เป็นของ ทีวีบี เหมือนเดิม เนื่องจากอิทธิพลที่มีต่อสื่อและการตลาดของทีวีบีในวงการจอแก้ว นั้นเอง ซึ่งยากที่ช่องอื่นจะล้มแชมป์
ต่อมาทางช่อง ทีวีบี ไม่รอช้ารีบหยิบละครกิมย้งขึ้นมาสร้างแย่งเรตติ้ง มังกรหยก ภาค 1 ของช่อง เจียซือ ได้ใน 5 ตอนสุดท้ายในเรื่อง ตำนานอักษรกระบี่ (The Legend of the Book and Sword 1976)ความยาว 60 ตอนจบ นำแสดงโดย เจิ้งเส้าชิว, วังหมิงฉวน, อู๋เว่ยกัว, หลี่ซือฉี ผลิตโดย หวังเทียนหลิน ละครเรื่องนี้กลายเป็นละครเรื่องแรกของทีวีบีที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายของ กิมย้ง โดยออกอากาศเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน - 17 กันยายน พ.ศ. 2519 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 18:50-19:30 น. และสามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่า มังกรหยก (1976) ของ เจียซือ
ต่อมาทาง เจียซือ จึงรีบสร้าง "'มังกรหยก ภาค 2" หรือ "ลูกมังกรหยก" (The Return of the Condor Heroes 1976) นำแสดงโดย หลอเล่อหลิน รับบท เอี้ยก้วย , หลี่ทงหมิง รับบท เซียวเหล่งนึ่ง เพื่อจะมาแย่งเรตติ้งกับช่อง ทีวีบี แต่เมื่อออกอากาศภาคนี้กลับไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าภาคแรก และโดนละครของช่อง ทีวีบี ที่ออกอากาศชนมีเรตติ้งแซงหน้าไป
โดยภาพรวมทางช่องน้องใหม่อย่าง เจียซือ ถือได้ว่าประสบความสำเร็จกับละครกำลังภายในชุด มังกรหยก ภาค 1 (1976) มากจนสามารถเบียดช่องเก่าแก่อย่าง อาร์ทีวี ขึ้นมาอยู่ในอันดับสอง ของ สถานีโทรทัศน์ยอดนิยมในฮ่องกงได้ แต่แชมป์เรตติ้งสูงสุดของปีนั้น ก็ยังคงเป็นละครของทางฝั่งทีวีบี ช่วงปลายปีละครสากลฟอร์มใหญ่ทุนสร้างมหาศาลของทีวีบี จำนวนกว่า 120 ตอน เรื่อง "มรสุมชีวิต" (Hotel 1976)ทำเรตติ้งสูงมาก และยังถูกบันทึกสถิติในตอนนั้นว่าเป็นละครเรื่องแรกที่มีจำนวนตอนมากกว่า 100 ตอน และเป็นละครที่ออกอากาศนานติดต่อกันยาวนานถึง 6 เดือน โดยใช้นักแสดง 100 คนเข้าฉาก และผู้กำกับถึง 3 คน นักแสดงนำหลัก ๆ ของเรื่องนี้คือ โจวเหวินฟะ , เหมียวเชี่ยนเหยิน, หลี่เซี่ยงฉิน และ ตีปอร่า เป็นต้น ละครเรื่องนี้ทำให้ โจวเหวินฟะ กับ ดาราสาวดาวรุ่งมาแรง "เหมียวเชี่ยนเหยิน" คบกันในระยะสั้น ๆ[28] [29]ละครเรื่องนี้เป็นละครสากลเรื่องแรกของทีวีบีที่มีบรรยากาศทันสมัยและหรูหรามาก หลังจากที่ละครได้ออกอากาศเรตติ้งก็สูงมาก โดยมีผู้ชมเฉลี่ยต่อตอนเกือบ สองล้านคน (ประชากรฮ่องกงในปีนั้นคือ 4.551 ล้านคน) กลายเป็นละครแจ้งเกิด โจวเหวินฟะ ในฐานะนักแสดงนำ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ละครยาว 100 ตอนก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม[30][31]
เดือนสุดท้ายของปีพ.ศ. 2519 (1976) เมื่อวันที่ 6-17 ธันวาคม ในปีเดียวกัน ช่อง ทีวีบี ได้ออกอากาศละครแนวกำลังภายในสืบสวนดัดแปลงจากนวนิยายอมตะสุดคลาสสิกของนักเขียนชื่อดัง โกวเล้ง คือ หงส์ผงาดฟ้า นำมาสร้างเป็น เรื่อง เล็กเซียวหงส์ ภาค 1 ตอนหงส์ผงาดฟ้า 10 ตอนจบ นำแสดงโดย ดาราชายที่เพิ่งย้ายช่องมาจาก อาร์ทีวี คือ หลิวสงเหยิน มารับบท เล็กเซียวหงส์ ส่วนดารานำท่านอื่น ได้แก่ หวงอวิ๋นไฉ, หวงเหยียนเซิน และ หันหม่าลี่ เป็นต้น ส่วนผลตอบรับของละครเรื่องนี้ก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดี ส่วนการแสดงของ หลิวสงเหยิน ในบท เล็กเซียวหงส์ ก็ได้รับคำชมเป็นอย่างมาก ทำให้ หลิวสงเหยิน กลายเป็นต้นแบบมาตรฐานที่สูงของบทนี้ไปเลย
อาจกล่าวได้ว่า หลิวสงเหยิน เป็นหนึ่งในนักแสดงไม่กี่คนในวงการจอแก้วที่สามารถกระโดดเล่นข้ามช่องไปมาระหว่างสองสถานีที่แข่งขันกันและยังคงได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ของทั้งสองช่อง ได้โดยที่ไม่มีปัญหา
โดยสี่อันดับแรกละครที่มีเรตติ้งสูงสุดแห่งปีพ.ศ. 2519 (1976) ได้แก่
1. "มรสุมชีวิต" (Hotel 1976)
2. เล็กเซียวหงส์ ภาค 1 ตอนหงส์ผงาดฟ้า (บทประพันธ์โกวเล้ง)
3. ตำนานอักษรกระบี่ (The Legend of the Book and Sword 1976) บทประพันธ์ของกิมย้ง
4. "มังกรหยก ภาค 1" (The Legend of the Condor Heroes 1976) บทประพันธ์ของกิมย้ง
ปลายปีพ.ศ. 2519 (1976) ก่อนจะขึ้นปีใหม่ทาง เจียซือ ได้ออนแอร์ละครที่สร้างจากการดัดแปลงจากนวนิยายกิมย้งเรื่อง เพ็กฮวยเกี่ยม (碧血劍) ขึ้นเป็นละครครั้งแรก ในชื่อเรื่องว่า ดาบมังกรคะนองเลือด 25 ตอนจบ โดยได้นักแสดงนำชายและหญิงในเรื่อง คือ เฉินเฉียง และ เหวินเซียะเอ๋อ และยังมี หลีทงหมิง ร่วมแสงนำด้วยอีกคนโดยรับบท "อาจิ่ว" (阿九) ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ถึง 28 มกราคม พ.ศ. 2520 ถือเป็นละครแจ้งเกิดในฐานะดารานำให้กับ เหวินเซียะเอ๋อ ให้กลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงของทางค่ายด้วยอีกคน หลังจากนั้น เจียซือ ได้ก่อตั้ง กลุ่ม "สามยอดมณีเอกแห่งเจียซือ" (佳視三寶) ขึ้นมา ซึ่งนำสามนักแสดงหญิงแนวหน้าของทางช่อง ประกอบด้วย หมีเซียะ, หลี่ทงหมิง และ เหวินเซี๊ยะเอ๋อร์ เพื่อแข่งขันกับกลุ่ม สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี" (镇台三宝) ที่ก่อตั้งโดยทีวีบีมาก่อนหน้านั้น
ปีต่อมาพ.ศ. 2520 (1977) ทาง อาร์ทีวี ได้ปล่อยละครหลายเรื่องออกมาเพื่อดึงคนดูจาก เจียซือ กลับมาจนได้ในเรื่อง "คนจริงทรนง" 《大丈夫 1977》、สิบนักฆ่าเพชรฆาต《十大刺客》、ยอดรักนักกลโกง《十大騙案》ละครทั้งหมดมีเรตติ้งเอาชนะละครของ เจียซื่อ ได้สำเร็จจนทำให้ช่อง เจียซือ ร่วงหล่นลงมาอยู่ในอันดับสามของช่องที่ได้รับความนิยมในฮ่องกง
ในช่วงเวลานั้นการดูทีวีได้กลายเป็นความบันเทิงหลักสำหรับชาวฮ่องกง และรายการต่าง ๆ ของทางช่องทีวีบีต่างได้รับเรตติ้งสูงสุดอยู่ระหว่าง 60-70 % เหนือคู่แข่งทั้งสองช่อง[32]
ยุคแรก ๆ ของทีวีบีที่ออกอากาศนั้น องค์ประกอบละครต่าง ๆ ส่วนใหญ่ดูเหมือน "ละครเวที" ต่อมาจึงเริ่มมีการพัฒนาขึ้นมา เมื่อหนึ่งในบุคลากรระดับสูง คุณ "เซลิน่า โจว" ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์การพัฒนาวงการจอแก้วของฮ่องกง (Hong Kong TV) เธอทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ฟรีหลักสามแห่งในฮ่องกง คือ ทีวีบี , อาร์ทีวี และ เจียซือ (ก่อนจะปิดตัวลง) โดยเธอเข้าร่วมกับ ทีวีบี ในปีพ.ศ. 2509 และเป็นหนึ่งในพนักงานกว่า 30 คนที่เริ่มก่อตั้งสร้างสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ขึ้นมาอีกด้วย
เธอมีพรสวรรค์มากมายทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ถือได้ว่าเป็นผู้อาวุโสรุ่นแรกในฮ่องกง เธอได้ร่วมผลิตละครโทรทัศน์ยอดนิยมออกมาหลายเรื่อง และเริ่มเป็นจุดเปลี่ยนของการเพิ่มจำนวนตอนที่มากกว่า 20 ตอนขึ้นไปจนถึง 100 ตอน เช่น "มรสุมชีวิต" (狂潮 1976), "ไฟรักไฟพยาบาท" หรือ "เพลิงรักเพลิงแค้น" (午夜情) จนประสบความสำเร็จ
จนต่อมาทาง ทีวีบี เริ่มนิยมสร้างละคร จำนวน 70-100 ตอนขึ้นมา เช่น "บ้านแตก" (家變 1977), ชะตาทรนง (大亨 1978) และ "ไอ้หนุ่มกวางตุ้ง" (強人 1978) โดยเรื่องหลังถือเป็นละครชุดเรื่องแรกของประวัติศาสตร์ของฮ่องกงทีวี ที่กองถ่ายเดินทางไปุถ่ายทำที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งะละครเหล่านี้ ทำให้ ทีวีบี เป็นแชมป์เรตติ้งชนะทุกสถานี ทั้ง อาร์ทีวี และ เจียซื่อ โดยเฉพาะเรื่อง บ้านแตก ที่ วังหมิงฉวน นำแสดง ในขณะนั้นสร้างสถิติเรตติ้งสูงสุดได้ถึง 95% ส่งให้เธอเป็นนักแสดงหญิงท็อปฟอร์มของทางช่องทีวีบี
ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2521 (1978) ทีวีบีได้ออกอากาศละครสากลฟอร์มใหญ่เกือบร้อยตอน เรื่อง "ชะตาทรนง" (Vanity Fair 1978) ละครเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่นำนักแสดงชายชื่อดังแถวหน้าของทีวีบีสามคน คือ เจิ้งเส้าชิว, หลิวสงเหยิน และ โจวเหวินฟะ มาแสดงบทนำร่วมกัน โดยประกบนักแสดงหญิงชื่อดัง เช่น หลีซือฉี และยังมี เจ้าหย่าจือ มารับบทนำอีกคน อีกทั้งยังมีดาราสาวดาวรุ่งน้องใหม่ ของวงการในขณะนั้นอย่าง เฉินอวี้เหลียน มาร่วมแสดงในบทเล็ก ๆ อีกด้วย และละครเรื่องนี้ก็เกิดเหตุรักในกองถ่ายขึ้นมาระหว่าง โจวเหวินฟะ และ เฉินอวี้เหลียน ซึ่งเป็นข่าวซุบซิบในคอลัมท์บันเทิงในช่วงเวลานั้น
ละครเรื่อง "ชะตาทรนง" ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี หลังละครอวสาน ดารานำชายชื่อดังทั้งสามคน คือ หลิวสงเหยิน, เจิ้งเส้าชิว และ โจวเหวินฟะ ได้ถูกขนานนามว่า "สามพี่ใหญ่แห่งทีวีบี" ซึ่งทั้งสามคนเปรียบเสมือนป็นนักแสดงชายแนวหน้าของทางช่อง เพราะละครของพวกเขาทั้งสามคนแสดงนำมักจะได้เรตติ้งที่สูงและเหนือคู่แข่งเสมอ แต่ในช่วงนั้นทั้ง เจิ้งเส้าชิว และ โจวเหวินฟะ ต่างอยู่ในสังกัดทีวีบีโดยที่ไม่มีการย้ายข้ามช่องไปมาเมื่อหมดสัญญาแบบ หลิวสงเหยิน
ในช่วงที่ทีวีบีได้รับความนิยมอย่างสูงจากละครตอนยาว ทางช่อง เจียซือ ได้เสนอเงินเดือนที่สูงกว่า ทีวีบี หลายเท่าให้กับคุณ "เซลิน่า โจว" เพื่อดึงตัวเธอให้ออกจากทีวีบี มาร่วมงาน และเธอได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของช่อง เจียซือ, เธอได้มีจัดระเบียบผังโปรแกรมใหม่ของทางช่อง อย่างมีนัยสำคัญ หรือแม้กระทั่งระดมทุนสร้างละครที่มีจำนวนตอนมากเพื่อถ่ายละครยาว 100 ตอนเหมือนละครดังเรตติ้งสูงของทางช่องทีวีบี เรื่อง "บ้านแตก" (家變 1977) ที่นำแสดงโดย วังหมิงฉวน
โดยเจียซื่อมีการตั้งชื่อเรื่องนี้ที่จะสร้างว่า "ชีวิตรักโลกมายา" (名流情史 1978) นำแสดงโดย ดาราชั้นนำของค่าย เจียซือ ได้แก่ หมีเซียะ เจิ้งอวี้หลิง ไป่เปียว เป็นต้น โดยมีการยกกองไปถ่ายทำที่เกาะฮาวายอีกด้วย ในขณะที่ละครกำลังถ่ายทำ ไม่จบ ทางช่อง เจียซือ ได้ปิดตัวลงจากผลดระทบขาดทุน และหลัง ๆ ละครมีเรตติ้งไม่ดี จึงทำให้ละครฟอร์มใหญ่เรื่องนี้ ออนแอร์ทางทีวีได้แค่ 36 ตอน เพราะ เจียซื่อ ได้ล้มละลายเนื่องจากปัญหาทางการเงิน และจำนวนตอนที่ยังไม่ได้ถ่ายทำก็ถูกระงับ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (1978) ประกาศการล่มละลาย และยุติการแพร่ภาพถาวร ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2521 (1978) ค่ายเจียซือ อยู่กับการแข่งขันในวงการจอแก้วไม่ถึง 3 ปี
นอกจาก เจียซือ จะประสบปัญหาหารขาดทุนแล้ว ยังโดนข้อจำกัดทางด้านสัญญาช่องในเรื่องเวลาของการฉายละครที่กำหนดโดยรัฐบาลฮ่องกง ที่ให้ทาง เจียซือ เปลี่ยนการออกอากาศช่วงไพรม์ไทม์ ไปออนแอร์รายการเพื่อการศึกษาแทน หรือแม้แต่การจำกัดโฆษณา จึงทำให้ทาง เจียซือ ไม่มีกำไรมาหมุนต่อ ทำให้ไม่สามารถสู้กับทางค่าย ทีวีบี หรือ เอทีวี ได้เลย สิ่งที่เกิดกับช่อง เจียซือ ในเวลานั้น ถูกสื่อต่าง ๆ ตีพิมพ์และที่เรียกว่า "การโจมตีเดือนกรกฎาคม" และคุณ "เซลิน่า โจว" ได้ลาออกจากตำแหน่งเพราะผลงานไม่ดีของเธอนั้นเอง ส่วนดาราในสังกัด เจียซือ แต่ละคนต้องแยกย้ายไปตามทาง เช่น เจิ้งอวี้หลิง ได้ย้ายไปเข้าสังกัดทีวีบี ส่วน หมีเซียะ นักแสดงหญิงเบอร์หนึ่งแห่งค่ายเจียซือ เธอถูกทั้งสองค่ายใหญ่อย่าง ทีวีบี และ เอทีวี ต่างเจรจาให้เธอมาเข้าสังกัด โดยยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ให้เธอ แต่ หมีเซียะ เธอตัดสินใจเน้นรับงานแสดงกับทางช่อง เอทีวี มากกว่า แต่เธอรับปากทาง ทีวีบี ว่าถ้าคิวงานไม่ชนกับละครทางค่ายเอทีวี เธอจะข้ามช่องไปเล่นให้บ้าง เธอกลายเป็นนักแสดงนำหญิงเพียงคนเดียว ที่เล่นข้ามช่องไปมาได้โดยไม่มีปัญหากับทางผู้ใหญ่ของทั้งสองช่อง
ส่วนนักแสดงแนวหน้าช่องเจียซือ อีกสองคน คือ หลี่ทงหมิง และ เหวินเซียะเอ๋อ ทางด้าน เหวินเซียเอ๋อ ย้ายสังกัดเข้าอาร์ทีวี เช่นเดียวกับ หมีเซียะ ส่วน หลี่ทงหมิง ในขณะนั้นเธอได้เข้าทดสอบทักษะการเล่นเปียโน ระดับ 8 และผ่านจึงทำให้เธอมุ่งมั่นที่จะเอาดีทางด้านนี้โดยเลือกที่จะไปศึกษาต่อทางด้านดนตรีที่สหราชอาณาจักร เพื่อเรียนเปียโน ในระดับที่สูงกว่า โดยก่อนไปเธอถูกเชิญให้เข้าร่วมเล่นละครโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและครอบครัว (經典教育電視 1979) 10 ตอน ของทางช่อง "สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) และร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง "12 กระบวนท่าฝ่ายุทธจักร" (My Kung Fu 12 Kicks 1979) โดยมี "เหลียงเสี่ยวหลง" แสดงนำ
ทางด้าน หมีเซียะ และ เหวินเซียะเอ๋อ เมื่อย้ายไปอยู่สังกัดอาร์ทีวี ต่างประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องได้ มีเพียง หลี่ทงหมิง ที่เลือกทางเดินใหม่โดยการไปศึกษาต่อทางด้านดนตรีที่ต่างประเทศ จึงทำให้ความนิยมในตัวเธอเริ่มลดลง อีกทั้งช่วงนั้นข่าวคราวเกี่ยวกับตัวเธอก็แทบจะไม่ค่อยปรากฏในสื่อมากนัก จนถึงช่วงปิดเทอม หลี่ทงหมิง ได้เดินทางกลับมายังฮ่องกง และถูกทางช่อง อาร์ทีวี เชิญเธอมาร่วมแสดงไม่กี่ตอนในละครเรื่อง "กระบี่ไร้เทียมทาน" มีข่าวว่าเธอได้รับค่าตัวต่อตอนที่สูงมากจากละครเรื่องนี้ เพียงพอกับค่าเรียนที่ต่างประเทศตลอดทั้งปี หลังจากนั้นเธอได้บินกลับสหราชอาณาจักร
หลังจาก หลี่ทงหมิง เรียนจบทางด้านดนตรีที่ต่างประเทศพร้อมประกาศนียบัตรขั้นสูง(ปวส) และกลับมายังฮ่องกง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2524 (1981) เธอได้ร่วมแสดงละครรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (經典教育電視 1981) ของทางช่อง "สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) อีกครั้ง ซึ่งเป็นผลงานสุดท้ายทางจอแก้วของเธอ หลังจากนั้นได้ถอนตัวออกจากวงการแสดงอย่างเต็มตัว และเปลี่ยนอาชีพมาเป็นเสมียน ในอาคารสำนักงานแห่งหนึ่ง พร้อมกับรับสอนเปียโนเพื่อหาเลี้ยงชีพอีกด้วย เป็นช่วงที่เธอได้คบหาดูใจกับเศรษฐีหนุ่ม "เลี่ยวต้าอี้'
จนกระทั่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2525 (1982) หลี่ทงหมิง ได้จดทะเบียนแต่งงานกับ "เลี่ยวต้าอี้" (廖大義) ที่ศาลาว่าการฮ่องกง หลังจากการแต่งงาน เธอได้ให้กำเนิดบุตรชายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2527 (1984) ต่อมา หลี่ทงหมิงและครอบครัว ได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานออกจากฮ่องกงไปอาศัยและทำมาหากินอยู่ในไมอามี่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวเกี่ยวกับตัวเธออีกเลย
หลังจากที่ช่อง เจียซือ ล้มละลาย เหลือ 2 ช่องใหญ่อย่าง ทีวีบี และ อาร์ทีวี ตั้งแต่นั้นมาการแข่งขันระหว่างสองสถานีโทรทัศน์ก็เข้มข้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปีพ.ศ. 2521 (1978) ช่อง อาร์ทีวี ได้ผลิตละครยาวเกือบ 100 ตอนเรื่อง "น้ำตาจระเข้" (鱷魚淚 ATV, 1978) เพื่อออนแอร์แย่งเรตติ้งรายการ "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) ซึ่งเป็นวาไรตี้ยอดนิยมของช่อง ทีวีบี และก็สามารถดึงผู้ชมบางส่วนจากช่องทีวีบี มาได้ระดับหนึ่ง เพราะในช่วงเวลานั้นมีจำนวนผู้คนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง ที่ไม่ค่อยชอบดูรายการวาไรตี้มากนัก บีบให้ทาง ทีวีบี หยิบละครแนวแฟนตาซีลึกลับเหนือธรรมชาติ มาชนเพื่อดึงยอดเรตติ้งคืนกับเรื่อง "ตำนานพิศวง" (Mystery Beyond 1978) เป็นตอน ๆ ตอนละ 10 นาที แต่ละตอนมีความน่าสนใจลุกลับโดยละครชุดนี้มีดาราแวะเวียนมาร่วมแสดงหลายคน เช่น หลิวสงเหยิน โจวเหวินฟะ ฯลฯ และยังเป็นต้นแบบของละครตอนสั้นในยุค 80 เรื่อง "อ้อมอกแม่" (The Seasons) ที่ออกอากาศ ตอนละ 15 นาที ในฮ่องกงและก็ได้รับความนิยมมากจากผู้ชมในช่วงปีพ.ศ. 2530-2531 (1987-1988)
ละครเแนวลึกลับระทึกขวัญเรื่อง "ตำนานพิศวง" (Mystery Beyond 1976-1983) ออกอากาศมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 (1976) ถึงปีพ.ศ. 2526 (1983) ได้รับความนิยมจากผู้ชมด้วยเนื้อเรื่องเกี่ยวกับแฟนตาซี, ลึกลับเหนือธรรมชาติ, ระทึกขวัญ และสยองขวัญ มีทั้งหมด 54 ตอน โดยแต่ละตอนจะเล่าเรื่องราวและใช้เวลาประมาณ 10 นาที
ในปีพ.ศ. 2521 (1978) ทางช่อง ทีวีบี ประสบความสำเร็จในแง่เรตติ้งเป็นอย่างมากกับละครแนวสากลเรื่อง "ชะตาทรนง" (Vanity Fair 1978) และ "เทพบุตรนักสู้" (Giant 1978) ทั้งสองเรื่องสามารถดึงดูดผู้ชมให้รับชมได้เกือบ 3 ล้านคนต่อตอนในทุก ๆ วัน ปัจจัยหลักคือ ผู้ชมฮ่องกงในช่วงเวลานั้นต่างประสบปัญหาความสัมพันธ์ที่ห่างเหินระหว่างบุคคลในครอบครัวแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ต้องทำงานหนักในสังคม ภายใต้การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งละครสากลแนวชีวิตตอบโจทย์ เพราะมีตัวละครหลักที่ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบจนต่อมาร่ำรวยได้นั้นต่างเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมละครในฮ่องกง ณ. ช่วงนั้นเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ในปีเดียวกัน ทีวีบี ได้สร้างละครแนวกำลังภายในของ กิมย้ง ขึ้นมาจำนวน 25 ตอนจบในเรื่อง "ดาบมังกรหยก" (The Heaven Sword and Dragon Sabr 1978) ซึ่งเป็นเวอร์ชันแรกของช่องทีวีบีและยังเป็นเวอร์ชันแรกที่ทำเป็นละครชุดขึ้นมา โดยมีการคัดเลือกนักแสดงนำ "เจิ้งเส้าชิว" ให้รับบทเป็น "เตียบ่อกี้" (พระเอก), "วังหมิงฉวน" เป็น "เตี๋ยเมี่ยง"(นางเอก) และ "เจ้าหย่าจือ" เป็น "จิวจี้เยียก"(นางร้าย) ซึ่งเป็นหนึ่งในละครที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนั้นและยังได้รับคำวิจารณ์ในแง่ที่ดีมากจากเจ้าของบทประพันธ์ คือ กิมย้ง
ละครชุดนี้มีการลงจอเมื่อวันที่ 13 พ.ค. - 16 มิ.ย. พ.ศ. 2521 (1978) ในช่วงระหว่างที่มีการออนแอร์ละคร ดาบมังกรหยก ฉบับนี้บนหน้าจอโทรทัศน์ ได้เกิดกระแสแฟนคลับสองกลุ่มขึ้นมา คือ กลุ่มแฟนคลับวังหมิงฉวน (เตี๋ยเมี่ยง) และ กลุ่มแฟนคลับเจ้าหย่าจือ (จิวจี้เยียก) ทั้งสองกลุ่มแฟนคลับต่างมีประเด็นถกเถียงกันขึ้นมาไม่เว้นแม้แต่สื่อ กลายเป็นหัวข้อที่มีกระแสร้อนแรงในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก และส่งผลให้เรตติ้งพุ่งสูงขึ้นตามลำดับชนิดที่ละครของทางฝั่ง อาร์ทีวี และ เจียซื่อ ที่นำมาออกอากาศชน เรตติ้งสู้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
เมื่อละครอวสาน ดาบมังกรหยก ฉบับนี้ได้กลายเป็นละครโทรทัศน์ฮ่องกงเรื่องแรก ที่สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ถึง 60 จุดเปิด อึกทั้งยังเป็นละครแนวกำลังภายในที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนมากที่สุดในยุค 70s
ดาบมังกรหยก เวอร์ชันนี้นอกจากจะเพิ่มความดังให้กับคู่พระ-นาง อย่าง เจิ้งเส้าชิว และ วังหมิงฉวน แล้ว ยังส่งเสริมชื่อเสียงให้กับ เจ้าหย่าจือ ผู้รับบท "จิวจี้เยียก (นางร้ายผู้น่าสงสาร)" ในเรื่องนี้เป็นอย่างมากอีกด้วย จนเธอได้ขึ้นมาเป็นนักแสดงหญิงเบอร์ต้น ๆ ของทางช่องทีวีบี ด้วยเช่นกัน ต่อมาทาง ทีวีบีได้เพิ่ม เจ้าหย่าจือ เข้าไปในกลุ่ม "สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี" เปลี่ยนชื่อมาเป็น "สี่ดรุณีหยก" (รุ่นแรก) แทน โดยกลุ่ม 4ดรุณีหยกรุ่นออริจินอลส์ดั้งเดิมแห่งยุค 70s ประกอบไปด้วย
2.หวงซู่อี้
3.หลี่ซือฉี
4.เจ้าหย่าจือ (ก่อนทีวีบี จะคัด หวงซู่อี้ และหลี่ซือฉี ออกจากกลุ่มแล้วเอานักแสดงหญิงคนอื่นมาแทนในเวลาต่อมา)[33] และช่วงปลายปีทางทีวีบี ยังได้ก่อตั้งกลุ่ม "7นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 70s" ขึ้นมาโดยในทีมมีนักแสดงหญิงเจ็ดคน ดังนี้
2.หวงซู่อวี้
3.หลี่ซือฉี
7.เจิ้งอวี้หลิง (น้องใหม่ในสังกัดทีวีบี เธอเพิ่งย้ายมาจากช่อง "เจียซือ" ที่ได้ล้มละลายในปีนั้น)
โดยในกลุ่ม "7นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 70s" หวงซิ่งซิ่ว ได้รับการขนานนามว่าเป็น "สาวงามในชุดโบราณอันดับหนึ่ง" เนื่องจากสื่อเห็นว่า เธอแต่งชุดโบราณขึ้นมากที่สุดและงดงามราวกับนางในวรรณกรรมจีน
ในช่วงปีพ.ศ. 2521-2522 (1978-1979) คู่ขวัญระหว่าง "หวงเหยียนเซิน" และ "หวงซิงซิ่ว" ก็เป็นที่นิยม กับการแสดงพระ-นางใน ละครเรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น (The Romantic Swordsman 1978) และ เดชเซียวฮื่อยี้ (The Twins 1979)
ในปีพ.ศ. 2522 (1979) ทีวีบีได้ออนแอร์ ละครที่สร้างจากนิยายของ โกวเล้ง เรื่อง ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์ (God Of Sabre 1979) ทำให้ทั้ง หลิวสงเหยิน และ เจ้าหย่าจือ กลายเป็นคู่ขวัญในจอ เพราะละครได้รับความนิยมเป็นอย่างดี
ส่วนปีนี้ อาร์ทีวี ได้เปิดตัวละครศิลปะการต่อสู้เรื่อง "กระบีไร้เทียมทาน" (Reincarnated 1979) นำแสดงโดย "ฉีเส้าเฉียน" รับบท ฮุ้นปวยเอี้ยง, เหมียวเข่อซิ่ว รับบท ต๊กโกวหงส์, หม่าเหมียนเอ๋อ รับบท ลุ้นอ้วงยี้ และหวีอันอัน รับบท โป่วเฮียงกุน ออกอากาศ 9 กรกฎาคม - 28 กันยายน พ.ศ. 2522 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 20:00-21:00 น. เป็นละครที่ถ่ายไปออกอากาศไป เมื่อลงสู่จอโทรทัศน์ได้สร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับทางช่องอาร์ทีวี คือ สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครจากทีวีบีที่ฉายชนในช่วงเวลาเดียวกันได้เป็นครั้งแรกโดยรอบปฐมทัศน์เปิดตัวละครสัปดาห์แรก(จันทร์ถึงศุกร์) มีผู้ชมโดยเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งล้านคนในฮ่องกง และยังคงทำเรตติ้งได้ดีอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะถ่ายทำแค่ 30 ตอน ด้วยความนิยมเป็นอย่างดี อาร์ทีวีเพิ่มเป็น 60 ตอนจบ
ต่อมา ฉีเส้าเฉียน เริ่มมีปัญหากับทางช่องและมีข่าวลือตามมาอีกมากมาย จึงทำให้มีการเปลี่ยนตัวพระเอกของเรื่องเป็น กู้กวนจง แทนในภายหลัง ถึงแม้ว่าในตอนนั้น ฉีเส้าเฉียน จะกลายเป็นฮุ้นปวยเอี้ยงที่ครองใจผู้ชมละครทางช่องอาร์ทีวี แต่ด้วยการแสดงที่กล้าหาญและไม่ธรรมดาของ กู้กวนจง ซึ่งไม่ได้ด้อยกว่า ฉีเส้าเฉียน ทำให้ละครเรื่องนี้ยังคงได้รับความนิยมในระดับที่ดี สามารถทำเรตติ้งผู้ชมได้เกือบ 40%[34](สำหรับช่องอาร์ทีวีถือว่าเรตติ้งดังกล่าวสูงมากแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีละครทางช่องอาร์ทีวีเรื่องไหนทำเรตติ้งได้ขนาดนี้มาก่อน)
เพื่อขัดขวางเรตติ้งไม่ให้สูงไปกว่านี้ทางทีวีบีได้แก้เกมโดยหยิบบางตอนในนวนิยายของโกวเล้งเรื่อง "ชอลิ่วเฮียง จอมโจรจอมใจ" มาสร้างและดึงนักแสดงชั้นแนวหน้าของทางช่อง อย่าง เจิ้งเส้าชิว มารับบท ชอลิ้วเฮียง,เจ้าหย่าจือ รับบท โซวย่งย้ง,วังหมิงฉวน รับบท ซิมฮุ่ยซัง,อู๋ม่งต๊ะ รับบท โอวทิฮวย เป็นต้น และเร่งการถ่ายทำ เพื่อจะชิงเรตติ้งกลับคืนมาจากละครของทางอาร์ทีวีเรื่องนี้ เมื่อได้ออกอากาศในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2522 ชนกับ กระบี่ไร้เทียมทาน ในที่สุดทาง ทีวีบี ก็สามารถขัดขวางเรตติ้งละคร "กระบี่ไร้เทียมทาน" ได้สำเร็จทำให้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนในช่วงท้าย ๆ ของ กระบี่ไร้เทียมทาน ทำได้ไม่สูงนัก
ถึงแม้ ชอลิ่วเฮียง เวอร์ชัน เจิ้งเส้าชิว จะสามารถเอาชนะเรตติ้งช่วงท้าย ๆ ของ กระบี่ไร้เทียมทาน ได้ และชอลิ่วเฮียง ยังทำเรตติ้งต่อตอนได้สูงกว่า และสามารถทำเรตติ้ง%ได้สูงถึง 77% ในฮ่องกง (70% ในไต้หวัน) แต่ทว่า แชมป์เรตติ้งละครในปีนั้น กลับไม่ใช่ละครทั้งสองเรื่องดังกล่าว แต่กลับเป็นละครสากลยอดนิยมความยาว 80 ตอนจบเรื่อง "เทพบุตรชาวดิน" (The Good, The Bad, and The Ugly หรือ Man in the Net 1979) นำแสดงโดย โจวเหวินฟะและ เจิ้งอวี้หลิง หลังจากออกอากาศเรื่องนี้ไปได้ไม่นาน ผลตอบรับของละครเรื่องนี้ในฮ่องกงดีมากเมื่อถึงตอนอวสาน ทีวีบีได้ประกาศความสำเร็จของละครเรื่องนี้ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงถึง 60 จุดเปิด ละครเรื่องนี้นอกจากจะเป็นแชมป์เรตติ้งละครแห่งปีแล้ว ยังกลายเป็นละครสากลที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงที่สุดของละครสากลทั้งหมดในยุคทศวรรษ 70s (อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเจ็ดละครทีวีบีที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน) ทำให้พระเอก-นางเอกคือ โจวเหวินฟะและเจิ้งอวี้หลิง โด่งดังเป็นพลุแตกทั่วทั้งเกาะฮ่องกงและเมื่อนำละครเรื่องนี้ออกฉายทั่วเอเชีย ก็โด่งดังมากเช่นกัน ทำให้ทั้งคู่พระ-นางกลายเป็นคู่ขวัญยอดนิยมแห่งช่วงปลายยุค 70s-ต้นยุค 80s ทันที เนื่องจาก เจิ้งอวี้หลิง ไม่ได้สวยตามพิมพ์นิยมในยุคสมัยนั้น อย่างเช่น หวีอันอัน หรือ เจ้าหย่าจือ ต่อมาสื่อในฮ่องกงได้ตั้งฉายาเรียกเธอว่า "ลูกเป็ดขี้เหร่" แห่งวงการจอแก้วฮ่องกง คล้ายกับ บาร์บรา สไตรแซนด์ นักแสดงหญิงชื่อดังแห่งยุคนั้นของฮอลลีวูดทางฝั่งอเมริกา ที่มีฉายาว่า ลูกเป็ดขี้เหร่ เช่นกัน
หลังจากความสำเร็จอย่างสูงของละครเรื่อง เทพบุตรชาวดิน ทำให้ทั้ง โจวเหวินฟะ และ เจิ้งอวี้หลิง มีโอกาสได้ร่วมเล่นละครตามมาอีกหลายเรื่อง แต่ก็มีบางเรื่องที่ได้เล่นคู่กับดาราคนอื่นบ้างสลับกันไป จากความโด่งดังในช่วงท้ายยุค 70s ส่งให้ เจิ้งอวี้หลิงและดาราสาวอีกคน คือ หวงซิ่งซิ่ว เข้ามาแทนสองนักแสดงรุ่นพี่ (หวงซู่อวี้และหลี่ซือฉี) ในกลุ่ม 4ดรุณีหยกเดิม ร่วมกับอีกสองนักแสดงสาวยอดนิยม คือ วังหมิงฉวน และ เจ้าหย่าจือ
"4 ดรุณีหยกยุค 70s รุ่นแรก" แต่เดิมคือ วังหมิงฉวน, หวงซู่อวี้, หลี่ซือฉี และ เจ้าหย่าจือ
ต่อมาเป็น 4 ดรุณีหยกยุค 70s รุ่นสอง ประกอบด้วย วังหมิงฉวน, เจ้าหย่าจือ, เจิ้งอวี้หลิง และ หวงซิ่งซิ่ว[35][36]
ส่วนสองสาวดรุณีหยกเดิม คือ หวงซู่อวี้ หลังจากแต่งงานครั้งที่สองในปีพ.ศ. 2524 (1981) กับคุณ "ฉีจิงชิง" (徐景清) ชื่อเสียงเธอเริ่มขาลงและตัวเธอเริ่มคิดจะออกจากวงการแสดงในอนาคตเนื่องจากเธอเริ่มอิ่มตัวและอยากใช้ชีวิตครอบครัวดูแลสามี ส่วน หลี่ซือฉี ยังคงได้รับความนิยมอยู่บ้าง
ในปีพ.ศ. 2525 (1982) หวงซู่อวี้ ได้รับบท "อึ้งย้ง" วัยผู้ใหญ่ในภาพยนตร์เรื่อง มังกรหยก ภาค4 (Brave Archer and His Mate 1982) ผลิตโดย ชอว์บราเดอร์สสตูดิโอ กำกับโดย จางเชอะ แสดงนำโดย ฟู่เซิง จากการรับบทนี้ ต่อมาทำให้เธอถูกทีวีบีวางตัวเป็น อึ้งย้ง ในวัยผู้ใหญ่ กับ ละครเรื่อง มังกรหยก ภาค2 เวอร์ชัน หลิวเต๋อหัว และ เฉินอวี้เหลียน ที่กำลังจะเปิดกล้องในปีหน้า แต่ต่อมาเธอได้ปฏิเสธบทนี้ไปเพราะเธอได้ตัดสินใจจะออกจากทีวีบี ทำให้บทนี้ตกเป็นของ โอวหยังเพ่ยซัน ในภายหลัง ส่วนผลงานละครเรื่องสุดท้ายที่เธอร่วมแสดงนำให้กับสังกัดทีวีบี คือ "นายพลจนแต้ม" (The Check Mate 1982) และในปีพ.ศ. 2526 (1983) หวงซู่อวี้ ได้ร่วมงานเป็นพิธีกรครั้งสุดท้ายในรายการ "วันชื่นคืนสุข" ก่อนที่เธอจะออกจากทีวีบี
ต่อมาเธอได้ย้ายสังกัดไปอยู่ในช่อง "สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง" (RTHK) และมีผลงานอยู่สองปีในช่วงพ.ศ. 2527-2528 (1984-1985) และภาพยนตร์รักโรแมนติกเรื่อง ดอกไม้กับนายกระจอก (An Autumn's Tale 1987) นำแสดงโดย โจวเหวินฟะ และ จงฉู่หง เป็นผลงานการแสดงชิ้นสุดท้ายในยุค 80s ก่อนเธอจะอำลาวงการย้ายไปอยู่ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดากับสามี
ช่วงปีพ.ศ. 2523-2525 (1980-1982) วังหมิงฉวน ยังคงรักษาความนิยมสูงสุดได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านพิธีกรหรืองานแสดงละคร ส่วนดรุณีหยกคนอื่นทั้ง "เจิ้งอวี้หลิง" และ "เจ้าหย่าจือ" ต่างมีผลงานละครที่พวกเธอรับบทนางเอกและได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 60 จุดเปิด คือ "เทพบุตรชาวดิน" และ "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" ตามลำดับ ส่วน "หวงซิ่งซิ่ว" ถือว่าเธอได้รับความนิยมน้อยกว่าสามดรุณีหยก
ก่อนเข้าสู่ยุค 80s มีละครสองสามเรื่องจากช่องทีวีบี ได้สร้างสถิติเรตติ้งขึ้นมาใหม่จากยุคก่อน คือ
1. ดาบมังกรหยก 1978
2. เทพบุตรชาวดิน 1979
3. บ้านแตก 1977
ภายหลังจากละครเรื่อง "ดาบมังกรหยก 1978" และ "เทพบุตรชาวดิน" ได้อวสานลงไปด้วยเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงถึง 60 จุดเปิด กลายเป็นมาตราฐานความสำเร็จของละครในยุคต่อมา ถ้าละครเรื่องไหนสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ 60 จุดเปิดขึ้นไป ทาง ทีวีบี จะมีการจัดงานฉลองความสำเร็จของละครเรื่องนั้น ๆ ขึ้นมา ส่วนละครเรื่อง "บ้านแตก" ก็ได้สร้างสถิติเรตติ้งสูงสุดช่วงสัปดาห์อวสานหรือตอนจบได้ 95%
เมื่อทั้ง เจิ้งอวี้หลิง และ โจวเหวินฟะ ต่างได้รับความนิยมอย่างสูงสุดกับละครเรื่อง เทพบุตรขาวดิน ส่งให้ทั้งสองคนกลายเป็นคู่ขวัญในจอที่แฟนละครช่วงนั้นชื่นชอบมาก ทั้งคู่ถูกทางทีวีบีป้อนงานละครให้ร่วมแสดงด้วยกันต่อเนื่อง 2 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการของแฟน ๆ ได้แก่ "เลือดต่างสี" (The Brothers 1980) ที่มีความยาวถึง 75 ตอน, "จอมทรนง" (The Fate 1981) และเรื่อง "เพชรตัดเพชร" (Good old Times 1981) ในขณะที่ทั้งสองคนต่างมีคนรักนอกจอ โจวเหวินฟะ ได้คบหากับ เฉินอวี้เหลียน มาได้หลายปีมีข่าวรัก ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ออกมาเป็นระยะ ๆ ส่วน เจิ้งอวี้หลิง ได้คบหาดูใจกับ กันกั๋วเหลียง (甘國亮) ซึ่งเขาคนนี้เป็นทั้งนักแสดง-ผู้กำกับและคนเขียนบทในวงการบันเทิงฮ่องกง ทั้งคู่ปิ้งกันในกองถ่ายละครเรื่อง เจ้าสาวข้ามแดน (A Girl With A Suitcase 1979)
ในปีพ.ศ. 2523 (1980) เมื่อละครเรื่อง "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" (The Bund 1980) ลงสู่จอโทรทัศน์ ส่งให้ทั้งสามดาราเอก คือ โจวเหวินฟะ, เจ้าหย่าจือ และ หลี่เหลี่ยงเหว่ย โด่งดังเป็นอย่างมาก ทั้งละครและเพลงเอกประกอบละครต่างได้รับความนิยมอย่างสูงสุด และทำให้ โจวเหวินฟะ ได้กลายเป็นนักแสดงระดับพระเอกคนแรกและคนเดียวที่มีละครสองเรื่อง คือ เทพบุตรชาวดิน และ เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนถึง 60 จุดเปิด ส่งให้เขาขึ้นมาเป็นนักแสดงชายยอดนิยมเบอร์หนึ่งของทีวีบี ต่อจาก เจิ้งเส้าชิว ทันที
ละครเรื่อง "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" ยังได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเมื่อนำไปออกอากาศทั่วเอเชีย โดยเฉพาะในจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อถูกนำไปออกอากาศที่นั้นในปีพ.ศ. 2528 (1985) ก็ทำเรตติ้งได้สูงถึง 87% กลายเป็นหนึ่งในสามละครของทางฝั่งฮ่องกงที่ติด 10 อันดับละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีนมาจนถึงทุกวันนี้ ร่วมกับละครเรื่อง "มังกรหยก ภาค 1" (The Legend of conder heroes 1983) เวอร์ชัน หวงเย่อหัว、องเหม่ยหลิง นำแสดง และ "นักชกผู้พิชิต" (大俠霍元甲 1981) ละครช่องอาร์ทีวี หรือ เอทีวี นำแสดงโดย หวงเหยียนเซิน、หมีเซียะ 、เหลียง เสี่ยวหลง[37]
เครื่องบันทึกวิดีโอ (VCR) ถูกนำมาใช้ในฮ่องกงตั้งแต่ในยุค 70s ตอนแรกยังไม่เป็นที่นิยมมากนักและมีราคาสูง และส่วนใหญ่จะเป็นคนมีฐานะที่ซื้อ ต่อมาได้กลายเป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับผู้ชายหลายคนที่จะ "ดูมวยปล้ำ" (รวมถึงวิดีโอหนังโป๊)
ในช่วงต้นทศวรรษ 80s เครื่องเล่นวิดีโอที่บ้านเริ่มค่อยๆ ได้รับความนิยม
แต่มากกว่า 80% ของวิดีโอเทปที่เช่าจากร้านเช่าวิดีโอในตลาดเอเชียยังคงเป็นลิขสิทธิ์ที่ไม่ชัดเจนนัก ในปีพ.ศ. 2526 (1983) เมื่อเห็นโอกาสสร้างกำไรทางธุรกิจมหาศาลของละครฮ่องกงควบคู่ไปกับการสั่งห้ามโดยสำนักสารสนเทศและองค์กรต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ วิดีโอเทปจึงมีลิขสิทธิ์ถูกกฎหมายที่ชัดเจน โดยสิทธิ์แบ่งเป็นของหน่วยงานที่ถิอครองลิขสิทธิ์ละครของ เอทีวี หรือ ทีวีบี
และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2526 (1983) ละครชุดวีดีโอได้มีลิขสิทธิ์ชัดเจนถูกต้องตามกฎหมาย
ในไต้หวัน ภายหลังจากออกอากาศละครเรื่อง มังกรหยก ภาค 1 (1983) "The Legend of the Condor Heroes" เวอร์ชัน หวงเย่อหัว และ องเหม่ยหลิง (翁美玲) ที่ไต้หวันทางช่องที่สี่ และได้รับความนิยมในหมู่ชาวไต้หวันเป็นอย่างมาก หลังจากละครอวสาน ได้มีการนำลงม้วนวีดีโอให้เช่า และกลายเป็นวิดีโอละครฮ่องกงชุดแรกที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย(มีลิขสิทธิ์ชัดเจน)
ในตลาดเอเชีย ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเทปวิดีโอ และความนิยมอย่างต่อเนื่องของละครฮ่องกงในร้านเช่าวีดีโอ ทั้งบริษัทภาพยนตร์และสถานีโทรทัศน์เริ่มแข่งขันกันเพื่อเป็นตัวแทน
ในฮ่องกงช่วงต้นยุค 80s ความนิยมในวีดีโอเทป ส่งผลกระทบต่อเรตติ้งละครอยู่เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าในช่วงยุคทองของละครทีวีบี แต่ในปีพ.ศ. 2524-2525 (1981-1982) ละครของช่องทีวีบี กลับไม่มีละครเรื่องไหนที่ทำเรตติ้งเฉลี่ยถึง 60 จุดเปิด จน ทีวีบีต้องสร้างละครจากนวนิยายของกิมย้ง เพื่อมาเรียกเรตติ้ง
ต่อมาในช่วงปลายยุค 80s การพัฒนาของตลาดวิดีโอเทปเติบโตขึ้นอย่างมาก จนเข้าสู่ในยุค 90s จากรายงานสถิติวิดีโอเทป ชี้ให้เห็นว่าสองในสามของครัวเรือนจะเป็นเจ้าของเครื่องเล่นวีดีโอ นั้นแสดงว่า ถ้าใน 1 ล้านครัวเรือน เกือบ 7 แสนครัวเรือนมีเครื่องเล่นวีดีโอดู
ในอดีตยุค 70s จากความสำเร็จสูงสุดของละครตอนยาวกว่า 120 ตอนจบของทีวีบีเรื่อง "มรสุมชีวิต" (Hotel 1976) ที่ออกอากาศเมื่อปีพ.ศ. 2519 และทำเรตติ้งสูงสุดของปีนั้น (เรตติ้งชนะ มังกรหยก ภาค 1 1976 เวอร์ชันไป่เปียวและหมีเซียะ ที่ออกอากาศในปีเดียวกัน) ได้ทำให้ทุกค่ายในขณะนั้นนิยมสร้างละครเกือบ 100 ตอนขึ้นมาแข่งขันกัน บางเรื่อง 100 ตอนจบ ซึ่งละครตอนยาวเรื่องอื่น ๆ ก็ประสบความสำเร็จแตกต่างกันออกไป รวมถึง ละคร 80 ตอนจบเรื่อง "เทพบุตรชาวดิน" และ "บ้านแตก" ต่างก็ประสบความสำเร็จมากในช่วงนั้น
จนในปีพ.ศ. 2523 (1980) เรื่อง "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" ละครที่มีเพียง 25 ตอน กลับประสบความสำเร็จอย่างสูงเกินความคาดหมาย ทำให้ ทีวีบี ตระหนักว่าไม่จำเป็นต้องสร้างละครตอนยาวมาก ๆ เสมอไป เมื่อละครในปีเดียวกันเรื่อง "วงเวียนชีวิต" (Five Easy Pieces 1980) ที่ตอนแรกทีวีบีตั้งใจจะสร้างถึง 80 ตอนแต่เมื่อถ่ายทำจริงไปได้เพียง 30 ตอนจบ(ก็ยุติการถ่ายทำ) นำแสดงโดย เจิ้งเส้าชิว, เจิ้งอวี้หลิง, หลี่ซือฉี และ สือซิว เมื่อนำออกอากาศเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ของปีเดียวกัน กลับได้เรตติ้งไม่ดีตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ออกอากาศ ต่อมาทางช่องอาร์ทีวี ได้นำละครฟอร์มใหญ่ที่มีการระดมนักแสดงชั้นนำทางค่ายมาแสดงในเรื่อง "แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" (大地恩情 1980) ออกอากาศในวันที่ 1 กันยายน ชนกับละครเรื่อง "วงเวียนชีวิต" ที่กำลังออนแอร์ไม่ถึงตอนอวสาน ทำให้เรตติ้งต่ำลงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทีวีบีจึงหั่นจำนวนตอนออกอากาศลงเหลือแค่ 22 ตอนและอวสานในวันที่ 5 กันยายน ทันทีเพื่อที่จะนำเรื่องอื่นมาออกอากาศแทน กลายเป็นละครโทรทัศน์ของทีวีบีที่มีเรตติ้งต่ำสุดและยังเป็นละครเรื่องแรกที่มีการหั่นจำนวนตอนลงขณะออกอากาศนับตั้งแต่ทีวีบีเปิดสถานีมา[38]เนื่องจากความล้มเหลวของละครเรื่อง "วงเวียนชีวิต" ทำให้ทีวีบีตระหนักว่า ไม่จำเป็นต้องสร้างละครที่มีความยาวเกือบ 100 ตอนเสมอไป และค่านิยมของผู้ชมได้เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม นับตั้งแต่นั้นละครทีวีบีส่วนใหญ่ จะสร้างเพียง 20-60 ตอนออกมา (แต่มีการผลิตละครครึ่งชั่วโมง และ ซิทคอม ออกมา ตอนละ 10-15 นาที ออกอากาศวันละครึ่งชั่วโมง เช่น เรื่อง "อ้อมอกแม่" ที่ยังคงสร้างถึง 300 กว่าตอน ตอนละไม่กี่นาทีออกมา)
ในช่วงเวลานั้นละครอาร์ทีวีเรื่อง "แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" (大地恩情 1980) ได้ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 เวลา 19.00-20.00 น. ในรอบปฐมทัศน์สัปดาห์แรก(จันทร์ถึงศุกร์) สามารถทำเรตติ้งได้สูงถึง 45.7% [39]ด้วยยอดเรตติ้งที่สูงกว่าละครทีวีบีที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกันได้ ปรากฏการณ์นี้คล้ายกับตอนที่ละครเรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน ของช่อง อาร์ทีวี ออกอากาศ และเนื่องจากละครเรื่องนี้เป็นละครตอนยาว ทาง ทีวีบี จึงนำละครสามเรื่องมาออกอากาศชนต่อเนื่องเพื่อชิงเรตติ้งคืน คือ "คมเฉือนคม" (The Shell Game 1980) นำแสดงโดย เซี้ยะเสียน, วังหมิงฉวน และ เยิ่นต๊ะหัว ออกอากาศ 15 กันยายน - 17 ตุลาคม ต่อด้วย "มังกรแค้นหงส์" (乱世儿女 1980) นำแสดงโดย หวงซิ่งซิ่ว หวงเหยียนเซิน และ ทังเจิ้นเยี่ย ออกอากาศในวันที่ 20 ตุลาคม ถึง 14 พฤศจิกายน และ "ห้วงรักห้วงกรรม" (勢不兩立 1980) นำแสดงโดย เจิ้งอวี้หลิง หวงจิ่นเซิน เหยาเหว่ย หลินเจียฮว๋า สือซิว กวนไห่ซัน ออกอากาศในวันที่ 17 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม
ทั้งสามละครทีวีบี คือ "คมเฉือนคม","มังกรแค้นหงส์" และ "ห้วงรักห้วงกรรม" ทำเรตติ้งดีมากเอาชนะเรตติ้งละครอาร์ทีวีในตอนที่เหลือของเรื่อง "แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" ได้สำเร็จ ทำให้อาร์ทีวีหั่นละครตอนยาวเรื่องนี้จากเดิมนับร้อยตอน เหลือเพียง 70 ตอน รีบอวสานลงในวันที่ 5 ธันวาคม[40]
"คมเฉือนคม ภาคแรก" นอกจากจะเป็นละครเรียกเรตติ้งคืนให้กับทางทีวีบีแล้ว ยังถือเป็นหนึ่งในละครที่เรตติ้งสูงอีกเรื่องหนึ่งของปีนั้น ทั้งละครและเพลงประกอบที่ขับร้องโดย วังหมิงฉวน นางเอกของเรื่องก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
สิ้นปีพ.ศ. 2523 ละครที่มีเรตติ้งสูงสุดแห่งปี คือ เรื่อง "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" ภาคแรก ด้วยเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 60 จุดเปิดทั่วเกาะ และเรตติ้งสูงสุด 80 จุด มีผู้ชมดูละครเรื่องนี้ต่อตอนโดยเฉลี่ยมากกว่า 3 ล้านคน (กลายเป็นหนึ่งในละครทีวีบีที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในเกาะฮ่องกงตลอดกาลมาจนถึงทุกวันนี้)
ซิทคอม (sitcom) หรือ "รายการโทรทัศน์ตลกตามสถานการณ์"[41][42]
ถึงแม้ ทีวีบีจะไม่นิยมผลิตละครโทรทัศน์ยาว 70-100 ตอน มาออกอากาศจำนวนมากเหมือนในยุค 70s แต่อย่างไรก็ตามทาง ทีวีบี ยังคงมีการผลิตละครมากกว่า 100 ตอนออกมาแต่นิยมออกอากาศวันละครึ่งชั่วโมงแทนหนึ่งชั่วโมง เช่น ละครดราม่าเรื่อง "อ้อมอกแม่" ที่ยังคงสร้างถึง 300 กว่าตอน ตอนละ10-15นาที(ไม่รวมโฆษณา) และทางทีวีบี ยังได้มีการผลิตซิทคอม (situation comedy) ตอนสั้น ๆ ไม่กี่นาที ออกมาเป็นจำนวน หลายร้อย-พันตอน นำมาออกอากาศเช่นกัน และก็ได้รับความนิยมในฮ่องกงเป็นที่ดี
นอกจากละครของทีวีบีจะประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้ว
ทีวีบียังได้รับความนิยมในฮ่องกงกับซิทคอม อีกด้วย ถึงแม้ ซิทคอมของฮ่องกงจะไม่ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ เหมือน ละคร ก็ตาม
ซิทคอม (sitcom) แตกต่างจาก ละคร (Series) คือ ซิทคอม จะเป็นรายการจำพวกหนึ่งที่แยกย่อยจากกลุ่มละครโทรทัศน์ โดยซิทคอมจะนำเสนอตัวละครชุดเดียวกลุ่มเดิมดำเนินเรื่องไปทุก ๆ ตอนในสถานการณ์ตลกขบขันที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่สร้างความตลกขบขันตามสถานการณ์นั้น ๆ
ลักษณะเนื้อหาของซิทคอมนั้น จะเป็นการจำลองเหตุการณ์ในสถานที่ทำงานหรือในบ้าน โดยใช้ฉากไม่กี่ฉากถ่ายทำซ้ำอยู่ในสถานที่เดียวกัน และไม่ได้เน้นความสำคัญของสถานที่เท่าใดนัก แต่ใช้ความสามารถของตัวละครในการเล่าเรื่อง ให้มีความสนุกสนานเป็นแก่นหลักของเรื่อง
ในยุค 80s ทีวีบีมีการผลิตซิทคอมออกมา เช่น
1.ซิทคอม เรื่อง ฮ่องกง81-86" ( Hong Kong 1st to Hong Kong 86) ออกอากาศวันละครึ่งชั่วโมง เป็นเวลายาวนานกว่า 5 ปี โดยเริ่มตอนแรกวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2524 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 20:00-20:30 น. ซิทคอมเรื่องนี้เป็นละครที่มีตอนมากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของวงการโทรทัศน์ฮ่องกง โดยมีทั้งหมด 1,331 ตอน[43]
2. ซิทคอม เรื่อง "'ชีวิตคนเมือง" (City Story) ในปีพ.ศ. 2529 (1986) มีทั้งหมด จำนวน 433 ตอน ออกอากาศเกือบ 2 ปี โดยเริ่มตอนแรกวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2531 ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 20.00 - 20.30 น. ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันจันทร์, พุธ, ศุกร์ และวันอาทิตย์ เวลา 20:15 - 20:45 น.
ช่วงปีพ.ศ. 2524-2525 ไม่มีละครเรื่องไหนทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ถึง 60 จุดเปิด
จากความสำเร็จสูงสุดเมื่อปีก่อนของละครยอดนิยมเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไห้ ภาค 1-3 (The Bund 1980 I-III) โดยเฉพาะภาคแรกที่ทำเรตติ้งได้สูงสุดแห่งปี ต่อมาทาง ทีวีบี จะสร้างละครแนวเดียวกัน(แนวสากลย้อนยุค)ในเรื่อง "เหยี่ยวถลาลม" (The Lonely Hunter 1981) ขึ้นมา โดยมีการจะวางตัว โจวเหวินฟะ แสดงคู่กับคู่ขวัญยอดนิยมในจอ คือ เจิ้งอวี้หลิง [44]
ในช่วงนั้น โจวเหวินฟะ มีปัญหาชีวิตเกี่ยวกับความรักระหว่างเขากับ เฉินอวี้เหลียน ในขณะที่ยังคงต้องทำงานหนักให้กับทางต้นสังกัดทีวีบี ด้วยเงินเดือนที่ไม่มากนัก และเรื่องความล้มเหลวทางด้านภาพยนตร์ ทำให้เขาเกิดมีปัญหากับทางช่อง เป็นผลให้ในช่วงแรกของการถ่ายทำ โจวเหวินฟะ ได้มีความขัดแย้งกับทางต้นสังกัด จึงปฏิเสธที่จะเล่นเรื่องนี้
ก่อนเริ่มถ่ายทำทาง ทีวีบี ได้เรียกนักเขียนบทสามคน ได้แก่ "เซียวเจียนเคิง"," อู๋อี้ฟาน"และ "หวีข่ายหรง" เข้ามาเขียนบทละครให้กับเรื่อง "เหยี่ยวถลาลม"
ก่อนเริ่มถ่ายทำทาง โจวเหวินฟะ ได้เกิดทะเลาะกับผู้บริหารระดับสูงของทางทีวีบี และ "หวงเย่อหัว" ได้บังเอิญไปเห็นจึงเข้าไปช่วยเกลี้ยกล่อม ในขณะที่ผู้บริหารของทีวีบีโกรธ โจวเหวินฟะ มากเพราะละครเรื่องนี้เขียนบทมาเพื่อเขาโดยเฉพาะ แต่ทาง โจวเหวินฟะ ก็ยังปฏิเสธและเสนอ หวงเย่อหัว ให้เล่นแทนเขา จึงทำให้ผู้บริหารตัดสินใจเลือกหวงเย่อหัว ในเวลานั้น
หวงเย่อหัว ได้รับโอกาสที่ดีจากการปฏิเสธของ โจวเหวินฟะ นี้เป็นครั้งแรกที่เขาจะได้รับบทนำเป็นพระเอกในละครฟอร์มใหญ่
เมื่อทีวีบีไม่สามารถเกลี่ยกล่อมให้ โจวเหวินฟะ มารับบท หลี่ถัง และจำเป็นต้องเลือก หวงเย่อหัว นักแสดงชายดาวรุ่งที่ยังขาดประสบการณ์ ทีวีบี จึงให้ผู้อาวุโสหลายคน เช่น กวนไห่ซัน, หยังฉวิน และ จางเทียนเหอ ทำการฝึกฝนเขา และ เจิ้งอวี้หลิง คอยช่วยเหลือแนะนำในฐานะนักแสดงรุ่นพี่
หลังจากการเปิดตัวละครเรื่อง "เหยี่ยวถลาลม" ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ออนแอร์เรตติ้งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะมีการวิจารณ์เล็กน้อยเกี่ยวกับเคมีของคู่พระนาง(เจิ้งอวี้หลิง-หวงเย่อหัว) ที่อายุห่างกันบ้างก็ตาม จากบทบาทนี้ส่งให้ หวงเย่อหัว กลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว และได้ฉายาจากสื่อว่า "เทพบุตรหลี่ถัง" ไม่เว้นแม้แต่ จางม่านอวี้ และ หลิวเจียหลิง ต่างก็กลายเป็นแฟนละครของเขาจากเรื่องนี้ก่อนที่ทั้งสองสาวจะเข้าสู่วงการบันเทิงและกลายมาเป็นดาราดังในภายหลัง
ละครเรื่องนี้ได้แจ้งเกิดสองดาวรุ่งพุ่งแรง คือ หวงเย่อหัว และ เหมียวเฉียวเหว่ย ที่รับบท "อากัง" ซึ่งเป็นตัวร้ายในเรื่องนี้ด้วยอีกคน
ในขณะที่ โจวเหวินฟะ กลับได้เล่นละครแนวมาเฟียเรื่อง "คมเฉือนคม ภาค2" (The Shell Game II) โดยออกอากาศวันที่ 13 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2524 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 20.30 - 21.30 น. ในภาคสองยังคงใช้ดาราจากภาคก่อนเกือบทั้งชุด คือ เซี่ยเสียน, วังหมิงเฉวียน, เยิ่นต๊ะหัว โดย โจวเหวินฟะ เข้ามาร่วมแสดงนำด้วยในบทอาหลง ภาคนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นกันแต่ไม่เท่าภาคแรก อาจด้วยเนื้อหาของบทละครที่เข้มข้นน้อยกว่าภาคก่อน
ด้าน อาร์ทีวี แก้กลยุทธโดยเอาละครวัยรุ่นต้นยุค 80 เรื่อง "วัยฝัน ยอดนักไอคิว" (IQ成熟時 1981) นำแสดงโดย ไช่ฟ่งหัว(蔡楓華), จงเป่าหลอ (鍾保羅) , จวงจิ้งเอ๋อ และดาราสมทบ โจวซิงฉือ ออกอากาศ ครั้งแรกเวลา 19:05 - 20.00 น. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2524 มีทั้งหมด 20 ตอนจบ ชนกับละครวัยรุ่นของทีวีบี เรื่อง "รักใส ๆ วัยอลวน" (Dream of Bean Sprouts 1981) นำแสดงโดย โจวซิ่วหลัน, องจิ้งจง, เฉินฟู่เซิง ออกอากาศวันที่ 8 มิถุนายน - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2524 มีจำนวน 10 ตอนจบ ช่วงเวลาเดียวกัน
ปรากฏว่าละครวัยรุ่นของช่อง อาร์ทีวี เรื่องนี้มีเรตติ้งสูงกว่าละครวัยรุ่นของช่องทีวีบี โดยรอบเปิดตัวละครมีผู้ชมมากกว่า 50% รับชมทันทีที่ออกอากาศ ซึ่งเป็นเรตติ้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของทางช่อง อาร์ทีวี ในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดตัว ต่อมาทีวีบีจึงนำละคร 15 ตอนจบเรื่อง "โจรเหนือโจร" (The Three Musketeers 1981)นำแสดงโดย เยิ่นต๊ะหัว, ตีปอร่า, เลี่ยวเหว่ยสง, หลิวเซียะหัว มาออกอากาศชนช่วงเวลาเดียวกันในวันที่ 22 มิถุนายน - 10 กรกฎาคม และชิงเรตติ้งคืนมาได้สำเร็จ
สำหรับละครวัยรุ่นเรื่อง"วัยฝัน ยอดนักไอคิว" (When IQ Matures 1981) ได้กลายเป็นละครเรื่องสุดท้ายของทางอาร์ทีวี ที่สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครทีวีบีที่ฉายในช่วงเวลาเดียวกันได้ และยังเป็นหนึ่งในละครคลาสสิกเพียงไม่กี่เรื่องของทางช่องอาร์ทีวี ที่สามารถทำเรตติ้งแซงหน้าละครทีวีบีที่ฉายชนในช่วงเวลาเดียวกันร่วมกับเรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน และ แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด แต่ผลสุดท้ายละครอาร์ทีวีทั้งสามเรื่อง ก็โดนทีวีบีเปลี่ยนละครออกอากาศชนใหม่และสามารถชิงเรตติ้งคืนได้สำเร็จในช่วงท้าย ๆ ได้ทุกครั้งเช่นกัน[45]
ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ละครวัยรุ่นของอาร์ทีวีเรื่องนี้ก็กลายเป็นที่จดจำ อีกทั้งด้านเพลงประกอบละครก็ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชมละครชาวฮ่องกง จากความสำเร็จในช่วงที่ออกอากาศ ส่งให้ดารานำทั้งสามคน คือ "ไช่ฟ่งหัว", "จงเป่าหลอ" , "จวงจิ้งเอ๋อ" ดังทันที นอกจากนี้ยังเป็นละครเรื่องที่สองในบทสมทบในชีวิตการแสดงของ โจวซิงฉือ ที่ได้ปรากฏตัวอีกด้วย หลังจากนี้อีกหนึ่งเรื่อง เขาได้ย้ายไปสังกัดทีวีบี และเริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นตัวประกอบที่นั้น[46][47]
ในปีพ.ศ. 2524 จวงจิ้งเอ๋อ อยู่ในสังกัดอาร์ทีวี เช่นเดียวกับ กวนจือหลิน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นลูกสาวของกวนซาน อดีตนักแสดงอาวุโสแห่งค่ายชอว์บราเดอร์ การเข้าสู่วงการละครของ จวงจิ้งเอ๋อ ด้วยหน้าตาละม้ายคล้ายกันโดยเฉพาะช่วงดวงตา ทำให้ จวงจิ้งเอ๋อ ถูกสื่อเรียกว่า "กวนจือหลินสอง"
หลังจากอวสานละครวัยรุ่นเรื่อง"วัยฝัน ยอดนักไอคิว" จวงจิ้งเอ๋อ ได้ย้ายไปเข้าสังกัด ทีวีบี และกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงของทางช่อง โดยมีผลงานละครทีวีบีเด่น ๆ เช่น "พยัคฆ์ร้ายแดนมังกร" (Seekers 1981) ประกบ หวงเย่อหัว, "จอมยุทธพเนจร" (The Mavericks 1982) ประกบ โจวเหวินฟะ, "สองพยัคฆ์แดนมังกร" (The Restless Trios 1982) ประกบ หลิวเต๋อหัว และ "เทพบุตรสลัม" (Soldier of Fortune 1982) ประกบ หวงเย่อหัว อีกครั้ง
ต่อมาในปีเดียวกัน(พ.ศ. 2524) ทางด้าน เอทีวี ได้นำผลงานละครแนวอิงประวัติศาสตร์ฟอร์มใหญ่ทุนสร้างมหาศาลแห่งปีเรื่อง "ศึกสองนางพญา" (Princess Cheung Ping 1981) ความยาว 50 ตอนจบ นำแสดงโดย หมีเซียะ, หวีอันอัน , เดวิดเจียง และ หลิวสงเหยิน ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน - 4 กันยายน พ.ศ. 2524 ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 20.00-21.00 น. ชนกับละครดังของทีวีบีเรื่อง "จอมทรนง" (The Fate 1981) ความยาว 20 ตอนจบ ออกอากาศวันที่ 29 มิถุนายน - 24 กรกฎาคม ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 20.30-21.30 น. นำแสดงโดยคู่ขวัญยอดนิยม โจวเหวินฟะ และ เจิ้งอวี้หลิง
ปรากฏว่าละครทีวีบี 20 ตอนจบเรื่อง "จอมทรนง" สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครฟอร์มใหญ่ของอาร์ทีวี 50 ตอนจบเรื่อง "ศึกสองนางพญา" แต่เนื่องด้วยละครทีวีบีเรื่องนี้มีจำนวนตอนสั้นกว่าและอวสานลงในวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม
สามวันถัดมาคือวันจันทร์ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ทางทีวีบีได้ออกอากาศละครเรื่องใหม่เป็น ละครศิลปะการต่อสู้อิงประวัติศาสตร์เรื่อง "14 นางสิงห์เจ้ายุทธจักร" (杨门女将 1981) จำนวน 30 ตอนจบ(แต่ออกอากาศจริง 25 ตอนจบ) นำแสดงโดย วังหมิงฉวน, ฝงเป่าเป่า และ สือซิ่ว ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 20.30-21.30 น. ละครทีวีบีเรื่องนี้ยังคงสามารถดึงยอดผู้ชมได้สูงกว่า ละครอาร์ทีวีเรื่อง "ศึกสองนางพญา" เช่นกัน แต่โดยรวมผลงานทั้งสองเรื่องก็ดังสูสีกันมาก
หลังอวสานละครทีวีบีเรื่อง "14 นางสิงค์เจ้ายุทธจักร" ในวันที่ 28 สิงหาคม สามวันต่อมาทางทีวีบีได้ส่งละครกำลังภายในเรื่อง "ประกาศิตเหยี่ยวพญายม" (The Hawk 1981) จำนวน 20 ตอนจบ ออกอากาศในวันที่ 31 สิงหาคม - 25 กันยายน พ.ศ. 2524 ทันที ละครเรื่องนี้นำแสดงโดย เจิ้งเส้าชิว รับบท "ติงหลาน" และ เจ้าหย่าจือ รับบท "หนี่เทียนเอ๋อ" และก็สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่า 5 ตอนสุดท้ายของละครค่ายเอทีวีเรื่อง "ศึกสองนางพญา" ได้เช่นกัน และยังสามารถทำเรตติ้ผู้ชมสูงสุดถึง 84% ในฮ่องกง[48]
การจับคู่กันระหว่าง เจิ้งเส้าชิว และ เจ้าหย่าจือ ในเรื่องนี้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมาก นอกจากละครเรื่อง "ชอลิ่วเฮียง" ที่ทั้งคู่แสดงด้วยกันแล้วได้เรตติ้ง 77% ก็มีเรื่อง "ประกาศิตเหยี่ยวพญายม" ที่สามารถทำเรตติ้งสูงถึง 84%
ทำให้ละครเอทีวีฟอร์มใหญ่เรื่อง "ศึกสองนางพญา" ไม่สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครของทีวีบีทั้งสามเรื่อง ที่มีการออกอากาศในช่วงเวลาใกล้เคียงกันได้เลย
ต้นปีพ.ศ. 2525 (1982) ในส่วนของรายการสำหรับเด็ก ทางช่อง ทีวีบี ได้เป็นผู้บุกเบิกนำการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โดเรมอน (การ์ตูนทีวีแอนิเมชัน) ฉายรอบปฐมทัศน์เป็นภาษากวางตุ้ง ออกอากาศครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ในช่วงเวลาของรายการ "430กระสวยอวกาศ" ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ทางช่องทีวีบีเจด (TVB Jade) และยังเป็นการออกอากาศในต่างประเทศแห่งแรกของ "โดเรมอน" ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการในญี่ปุ่น วันที่ออกอากาศครั้งแรกในต่างประเทศคือเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2524[49][50]
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 (1982) ถึง ปีพ.ศ. 2542 (1999) ทางทีวีบี ได้พากษ์ชื่อตัว โดเรมอนว่า "ติง-ตง (Ding-Dong)" จนเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (1999) ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "โดเรมอน" ครั้งแรก จนมาถึงปัจจุบัน
ก่อนหน้า โดเรมอน จะโด่งดังบนหน้าจอโทรทัศน์ในฮ่องกง ทาง ทีวีบี เคยประสบความสำเร็จมาก่อนกับการ์ตูนเรื่อง "ริน สาวน้อยจอมแก่น" โดยทีวีบีได้ซื้อลิขสิทธิ์นำมาออกอากาศครั้งแรกทางช่อง "ทีวีบีเจด" (TVB Jade) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 (1978) ถึง 21 ตุลาคม พ.ศ. 2522 (1979)
ช่วงปีพ.ศ. 2525 (1982) ขณะที่ ทีวีบี ประสบความสำเร็จกับการออกอากาศ โดเรมอน ทางด้าน เอทีวี ก็ได้รับความนิยมเช่นกันในการออกอากาศการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง อิคคิวซัง เวอร์ชันภาษากวางตุ้ง[51]
ปีถัดมาพ.ศ. 2526 (1983) นอกจาก "โดเรมอน" แล้ว ทาง ทีวีบี ยังได้มีการเปิดตัวการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง นินจาฮาโตริ (Ninja Hattori) และเปลี่ยนเพลงธีมเป็นคำร้องเวอร์ชันภาษากวางตุ้งอีกด้วย โดยมีการออกอากาศในช่วงเวลาของรายการเด็ก "430 กระสวยอวกาศ" (430 Shuttle Space)[52]และได้รับความนิยมเป็นอย่างดี การ์ตูนเหล่านี้นอกจากจะได้รับความนิยมในฮ่องกงแล้วยังมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
ในปีเดียวกันทางช่อง ทีวีบี ได้นำการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ เข้ามาออกอากาศในปีพ.ศ. 2526 (1983) ด้วยเช่นกัน และได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชมเป็นอย่างมาก และด้วยความนิยมในฮ่องกงของ "อาราเล่" มีการนำมาล้อเลียนในภาพยนตร์ฮ่องกงเรื่อง 7 เพชฌฆาตสัญชาติฮ้อ (My Lucky Stars 1985) ตัวละครของ เฉินหลง ได้ปรากฏตัวในชุดอาราเล่ขณะทำงานสายลับในสวนสนุก
ในปีพ.ศ. 2527 (1984) เอทีวี ได้ซื้อลิขสิทธิการ์ตูนเรื่อง ปาร์แมน (Perman) นำมาออกอากาศบนสถานีท้องถิ่นของเอทีวี โดยใช้ชื่อเรื่องว่า "วันเดอร์บอย" ซึ่งค่อนข้างได้รับความนิยม
ช่วงกลาง-ปลายยุค 80s ทางด้านช่อง ทีวีบี ได้นำการ์ตูนเรื่อง ผีน้อยคิวทาโร่ มาออกอากาศในปีพ.ศ. 2529 (1986) และได้รับความนิยมมากในหมู่เด็กชั้นประถมศึกษา ส่วนทางช่อง เอทีวี ได้นำการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ทัช ยอดรักนักกีฬา เข้ามาออกอากาศ โดยอนิเมะทางทีวีชื่อเดียวกันมีถึง 101 ตอน และได้รับความนิยมในหมู่หนุ่มสาวในยุคนั้น[53][54]ในปีเดียวกันทางด้าน เอทีวี นำการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง "ริน สาวน้อยจอมแก่น" ที่เคยออกอากาศทางช่องทีวีบีมาก่อนเมื่อแปดปีที่แล้ว และเอทีวีนำกลับมาออกอากาศใหม่ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ถึง 29 เมษายน พ.ศ. 2529 (1986)
ในช่วงท้ายของปีพ.ศ. 2523 (1980) บริษัทแม่ของอาร์ทีวีสัญชาติอังกฤษ ล้มเหลวในการลงทุนกับโรงงานซักรีดในแคนาดา และตัดสินใจลดขนาดธุรกิจในเอเชียตะวันออกลง
ต่อมาจึงประกาศเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 (1981) ได้ขายหุ้นของสถานีโทรทัศน์อาร์ทีวี 60%ให้กับสมาคมสามแห่งซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทในออสเตรเลีย การกระทำนี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลฮ่องกงเมื่อวันที่ 7 เมษายน ในปีเดียวกัน และสมาคมออสเตรเลียได้ส่งผู้แทนสี่คนไปเป็นคณะกรรมการบริหารโดยทันที นี้เป็นการโอนส่วนสถานีโทรทัศน์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทีวีของฮ่องกง[55]
อย่างไรก็ตามไม่ถึงสองปี การถือหุ้นก็ได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งในปีพ.ศ. 2525 (1982) นักธุรกิจ "ชิวเต๋อเกิน" (邱德根) เข้าซื้อหุ้น "อาร์ทีวี" ผ่านทาง "กลุ่มสมาคมตะวันออกไกลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด" (Far East Consortium International Limited) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนและเสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียนขอชื่อใหม่กับรัฐบาลฮ่องกงในวันที่ 24 กันยายน
สามวันถัดมาคือ 27 กันยายน เวลา 18.30 น. ได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อของทางสถานีโทรทัศน์ จาก อาร์ทีวี (Rediffusion Television Limited) เป็น เอทีวี (Asia Television Limited) อย่างเป็นทางการ ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนโลโก้และใช้ชื่อนี้มานับตั้งแต่นั้น
ช่วงเวลาที่ ชิวเต๋อเกิน เป็นเจ้าของช่องเอทีวีเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีละครเรื่องไหนของเอทีวีสามารถเอาชนะเรตติ้งละครของทีวีบี ที่ออกอากาศชนในช่วงเวลาเดียวกันได้อีกเลย ถึงแม้ทางช่องจะสร้างละครอิงประวัติศาสตร์ฟอร์มใหญ่ออกมาหลายเรื่อง เช่น ซูสีไทเฮา (少女慈禧 1983), บูเช็คเทียน (武則天 1984), หวังเจาจวิน (王昭君1984), ไซซี (The Legend of Xishi 1986) และ จิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇1986) แต่ก็ไม่สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครของทีวีบี ที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกัน
เมื่อเรตติ้งของละครไม่เข้าเป้า ทางด้านช่อง เอทีวี ช่วงที่มี ชิวเต๋อเกิน ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการ เขามีนโยบายเปลี่ยนผลขาดทุนให้เป็นกำไร และได้ทำการเปลี่ยนกลยุทธการแข่งขันใหม่มีการผลิตรายการในรูปแบบใหม่สำหรับเอทีวีตามนโยบายของเขา โดยได้จัดรายการประกวดต่าง ๆ ขึ้นมาแข่งกับช่องทีวีบี เช่น การประกวดนางงาม, ประกวดร้องเพลงและประกวดการเต้น เป็นต้น ซึ่งการประกวดเหล่านี้ต่างได้เรตติ้งที่ดี และเข้าสู่ยุครุ่งเรืองประเภทรายการประกวดของ ช่องเอทีวี [56][57]
ในช่วงปีพ.ศ. 2516-2527 (1973-1984) สิบสองปีที่ช่องทีวีบี ได้สิทธิ์จัดการประกวดมีสฮ่องกงและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก บนเวทีการประกวดได้สร้างดาวประดับวงการทั้งในจอแก้วและจอเงินได้หลายต่อหลายคน เช่น เจ้าหย่าจือ, จงฉู่หง, เหมียวเชี่ยนเหยิน, เฉินซิวจู, เดโบราห์ มัวร์, องเหม่ยหลิง และ จางม่านอวี้ เป็นต้น
ในปีพ.ศ. 2528 (1985) ทาง เอทีวี ได้ซื้อสิทธิ์ในการจัดการประกวดมิสเอเชีย (Miss Asia) ขึ้นมาเป็นครั้งแรกและได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างมาก ช่วงเวลานั้นทางช่องทีวีบี ได้เริ่มจัดการประกวด "มีสแอโรบิกบิวตี้" (Miss Aerobic Beauty Pagean) ขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยออกอากาศชนกับการประกวด "มีสเอเชีย" ของทางช่องเอทีวี
โดยการประกวดมีสแอโรบิกบิวตี้ของทีวีบี ได้รับความสนใจจากผู้ชมมากกว่า นอกจากจะใช้พิธีกรบนเวทีเป็นดาราดัง อย่าง โจวเหวินฟะ,เจิ้งอวี้หลิง แล้ว เพื่อดึงดูดผู้ชมยังได้ใช้ชุดว่ายน้ำบิกินี่ที่เซ็กซี่กว่า "การประกวดมีสเอเชีย" ของเอทีวี และยังมีการเปิดให้ผู้ชมทางบ้านร่วมโหวตให้คะแนนผู้เข้าร่วมประกวดผ่านทางโทรศัพท์เป็นครั้งแรกอีกด้วย[58]
ในผลการประกวดมีสเอเชียคนแรกของฮ่องกง ผู้ชนะ คือ "หลี่เยี่ยนซัน" (อดีตดาราตัวประกอบในหนังของ ชอว์บราเดอร์ และ เคยเป็นตัวเก็งในบท อึ้งย้ง เวอร์ชัน มังกรหยก 1983) ส่วนบนเวทีการประกวดมีสแอโรบิกบิวตี้ได้ดาวประดับวงการจอแก้วคนใหม่เข้าสู่สังกัดทีวีบี คือ หลิวเหม่ยเจียน ซึ่งเธอได้ตำแหน่งรองอันดับสองมีสแอโรบิกบิวตี้ และ "เหอเหม่ยถิง" ได้อันดับสี่[59][60][61]
สำหรับ หลี่เยี่ยนซัน อดีตเธอเคยเป็นนักแสดงในสังกัดทีวีบี 3 ปี(1982-1985) แต่กลับไม่มีใครรู้จักเธอมาก่อนหน้าที่เธอจะมาดังกับการประกวดมีสเอเชีย ย้อนไปในช่วงปีพ.ศ. 2525 เธอเคยผ่านเข้ารอบ 4 คนสุดท้ายเป็นตัวเก็งในบท อึ้งย้ง เวอร์ชัน มังกรหยก 1983 แต่กิมย้ง เลือก องเหม่ยหลิง เพราะเห็นว่าบุคลิกเหมาะสมมากกว่าทำให้เธอพลาดบทนี้
หลังจากนั้น ทีวีบี ไม่ได้ป้อนงานละครให้กับเธอเลยสักเรื่อง แต่ให้เธอไปรับเป็นตัวประกอบต่างๆ ในภาพยนตร์ของค่ายชอว์บราเดอร์สิบกว่าเรื่อง เช่น "มังกรหยก ภาค 5 ตอน เอี้ยก้วยกับเซียวเล่งนึ่ง" (The Brave Archer 5), กระบี่ไร้เทียมทาน ภาค 2 (Return of Bastard Swordsman 1984), "รักในฝัน" (Love in a Fallen City 1984) เป็นต้น แต่ไม่มีใครจำเธอได้มากนัก
จนกระทั่งเมื่อหมดสัญญากับทีวีบีลง เธอได้ลองเข้าประกวดมีสเอเชียที่ทางช่องเอทีวี กำลังเปิดรับสมัครอยู่ในขณะนั้น และโชคดีที่เธอได้แชมป์ชนะเลิศบนเวทีการประกวดพร้อมพ่วงรางวัลนางงามยอดเสน่ห์ (Miss most attractive) ทำให้หลายคนเพิ่งจะมารู้จักเธอในงานประกวดครั้งนี้
ต่อมา หลี่เยี่ยนซัน ก็ได้เป็นตัวแทน "มิสเอเชีย" เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในการประกวด "มิสเอเชียแปซิฟิก" (Miss Asia Pacific 1985) โดยสถานที่จัดการประกวดในฮ่องกงผ่านทางช่องเอทีวี ซึ่งถือได้ว่าเป็นเวทีการประกวดนางงามที่ใหญ่รองลงมาจากงานประกวด มิสยูนิเวิร์สและมิสเวิลด์ ตามลำดับ
ทำให้ทีวึบี ต้องระดมนักแสดงเกือบทั้งหมดของทางช่องเพื่อเริ่มต้นถ่ายทำละครเรื่อง "ขุนศึกตระกูลหยาง" (The Yang's Saga 1985) และเร่งรีบถ่ายทำให้เสร็จสิ้นภายในสองสัปดาห์ เพื่อนำมาออกอากาศชนการประกวดมิสเอเชียแปซิฟิก ของทางช่องเอทีวี โดยออกอากาศครึ่งชั่วโมงทุกวันและรอบสุดท้ายของการประกวดมิสเอเชียแปซิฟิก ละครทีวีบีเรื่องนี้ได้ออกอากาศเป็นชั่วโมง
ทำให้การประกวดมีสเอเชียแปซิฟิก มียอดผู้ชมไม่ได้สูงมากนักเพราะออกอากาศชนกับละครทีวีบีเรื่อง ขุนศึกตระกูลหยาง แต่อย่างไรก็ตาม เอทีวีภายใต้การนำของ ชิวเต๋อเกิน ก็สามารถทำผลกำไรจากการประกวดในครั้งนี้ได้
ส่วนผลการประกวดมิสเอเชียแปซิฟิก หลี่เยี่ยนซัน คว้ารองชนะเลิศอันดับที่4 โดยมีนางงามจากอิสราเอลได้ที่หนึ่ง ภายหลังการประกวด หลี่เยี่ยนซัน ได้เข้าสังกัดเป็นนักแสดงในช่องเอทีวีเป็นเวลาสามปี ต่อมาจึงสามารถแจ้งเกิดในวงการละครได้เป็นครั้งแรก เมื่อช่องเอทีวี เลือกเธอรับบท ไซซี ในละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง "ไซซี" (The Legend of Xishi 1986) กลายเป็นอีกหนึ่งดารายอดนิยมของทางช่อง "เอทีวี" ในช่วงปลายยุค 80s
ในแง่ของการประกวดนางงาม หลี่เยี่ยนซัน ถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อช่องเอทีวีเป็นอย่างมากในยุคแรกที่มีการจัดการประกวดมีสเอเชียในฮ่องกง แต่สำหรับการเป็นนักแสดงแล้ว โดยรวมเธอมีชื่อเสียงในฮ่องกงและจีนมากเช่นกัน แต่อาจจะไม่ได้โด่งดังทั่วเอเชียแบบนักแสดงหญิงแถวหน้าในสังกัดเอทีวี เช่น หวีอันอัน, หม่าเมี่ยนเอ๋อร์, หมีเซียะ, หลีไช่ฟ่ง หรือ ไม่ชุ่ยเสียน เป็นต้น
นอกจาก เอทีวี จะเป็นผู้ริเริ่มจัดการประกวดมิสเอเชียในฮ่องกงเป็นครั้งแรกแล้ว ยังเป็นผู้นำครั้งแรกให้มีการจัดการประกวดชายหนุ่มขึ้นมา หลังจากความสำเร็จของเอทีวี ในการจัดงาน"ประกวดมิสเอเชีย" เอทีวีได้เริ่มดำเนินการผลิตในโครงการใหม่ ๆ หนึ่งในนั้นคือ การประกวดค้นหาชายหนุ่มรูปหล่อ "มีสเตอร์ทีวี" (Mr. TV Quest)
ในปีพ.ศ. 2529 (1986) เอทีวี ร่วมกับ "'บริษัท ฟอร์จูนโปรดักชั่นส์ จำกัด" ได้จัดการประกวดค้นหาหนุ่มหล่อในเวที "มิสเตอร์ทีวี" (Mr.TV Quest 1986) ขึ้นมา ถือเป็นการประกวดความงามที่มุ่งเป้าไปที่เพศชายเป็นครั้งแรกในวงการบันเทิงของฮ่องกง และเป็นการชนกับการประกวดสาวงาม "มิสเทเลวิชั่น 1986" ของทางช่องทีวีบี เพื่อแข่งขันสำหรับเรตติ้ง
ในคืนแรกของการแข่งขันประกวด "มิสเตอร์ทีวี" ของทางเอทีวี ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นเวทีการประกวดเพศชายครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และในคืนสุดท้ายรอบชิงชนะเลิศของการประกวดได้ออกอากาศชนกับ "งานเฉลิมฉลองครบรอบ 19 ปีของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี" (TVB Anniversary Gala Show) ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 (1986) โดยผู้ชนะบนเวทีการประกวด "มีสเตอร์ทีวี" คือ "ซุนซิง" (孫興) หลังความสำเร็จจึงมีการจัดประกวดในครั้งที่สองของปีถัดมา และผู้ชนะคือ "โอวหยางเหยาหลิน" (歐陽耀麟) แต่การประกวด มีสเตอร์ทีวี ในปีที่สองกลับไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าปีแรก ทำให้ทางประธานของ "บริษัท ฟอร์จูนโปรดักชั่นส์ จำกัด" ขอถอนตัวจึงไม่มีการจัดการประกวดประเภทนี้อีก นานถึง 11 ปี
โดยผู้ชนะเลิศในการประกวด มีสเตอร์ทีวี ทั้งสองคนต่างถูกปลุกปั้นเป็นนักแสดงในช่องเอทีวี แต่กลับไม่ดังเหมือนการประกวด
นอกเหนือจากรายการประกวดนางงามแล้ว เอทีวียังจัดการประกวดร้องเพลงขึ้นมาแข่งขันกับรายการประกวดร้องเพลงยอดนิยมของทางด้านทีวีบี เช่นกัน
ต้นปีพ.ศ. 2529 (1986) เอทีวี ได้มีการจัดการประกวดร้องเพลงรายการ "ค้นฟ้าคว้าดาว" ครั้งแรก (Future Idol Contest 1986) ขึ้นมาชนกับรายการ "ค้นคว้าหาดาว" ครั้งที่5 (the New Talent Singing Awards 1986) ซึ่งทั้งสองรายการต่างค่ายเป็นรายการประกวดร้องเพลงที่คัดเลือกนักร้องหน้าใหม่เข้าสู่วงการบันเทิง
รายการประกวดของทีวีบี "ค้นคว้าหาดาว" เป็นรายการประกวดร้องเพลงที่มีมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 (1982) และได้รับความนิยมมาโดยตลอดทั้งสี่ปี โดยมีผู้ชนะเลิศที่ในแต่ละปี ได้แก่
ส่วนในครั้งที่ 5 ผู้ชนะเลิศ คือ "เหวินเผ่ยหลิง" (文佩玲) และดาวเด่นบนเวทีของปีนั้นคือ "หลี่หมิง" ที่สามารถคว้ารางวัลรองอันดับสองมาครองได้สำเร็จ ซึ่งบนเวทีการประกวด หลี่หมิง มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นอย่างมากอีกทั้งยังมีใบหน้าที่หล่อเหลาสะดุดตาผู้ชมทำให้ต่อมาหลังจบการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ยื่นข้อเสนอให้เขาเข้ามาเป็นนักแสดงในสังกัดทันที
ส่วนผู้ชนะเลิศบนเวทีการประกวดร้องเพลงของค่ายเอทีวี ในรายการ "ค้นฟ้าคว้าดาว" ครั้งแรก คือ "จางลี่จี้"
ในช่วงครึ่งหลังของปีพ.ศ. 2530 (1987) เอทีวีได้เริ่มถ่ายทำละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง"13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง" ภาคหนึ่ง นำแสดงโดย ดาราชั้นนำมากมายของเอทีวี ออกอากาศในวันที่ 7 กันยายน ของปีเดียวกัน
"ไฟไหม้สำนักงานใหญ่เอทีวี"
ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ได้เกิดเพลิงไหม้ระดับสี่ ที่สำนักงานใหญ่ของช่อง เอทีวี (Asia Television Broadcasting Corporation) เนื่องจากมีเศษขยะจำนวนมากถูกเก็บไว้ที่ไซต์งานเป็นเหตุให้เพลิงลุกลามอย่างรวดเร็วและควันหนาทึบกระจายไปยังชั้นบนตามแนวเครื่องปรับอากาศ ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าความรุนแรงอยู่ในระดับ 4 ซึ่งทำความเสียหายไปยังห้องถ่ายทำ, ห้องพร็อพ, ฝ่ายข่าว, ฝ่ายวิศวกรรม, ฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อ และแผนกอื่นๆ ต่างได้รับผลกระทบเกือบทั้งหมด รวมถึงตึกแผนกสตูดิโอบันทึกเสียงทั้ง 8 แห่งก็ได้รับความเสียหายตามระดับต่างๆ โดยในช่วงที่เพลิงกำลังไหม้อยู่นั้น ทางช่อง โกลเด้นท์ ชาเนล (Golden Channel) ของเอทีวี กำลังรีรันออกอากาศละครเก่าเรื่อง "2สิงห์ตลุยโลกันต์ (Tiger Hill Trail 1983)" ทำให้หน้าจอดำค้างติงอยู่นาน สาเหตุเพราะเพลิงไหม้ไปขัดจังหวะการออกอากาศ จึงต้องรอจนกว่าเพลิงจะดับลง ถึงจะทำการแพร่ภาพได้อีกครั้ง
เหตุการณ์นี้ทำให้รู้ว่า "ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร" เมื่อ "รัน รัน ชอว์" (邵逸夫) ประธานบริหารทีวีบี (TVB) ได้แสดงน้ำใจเข้ามาช่วยเหลือ โดยให้ยืม "สำนักงานศูนย์ฝึกอบรมศิลปินของทีวีบี" (Broadcast Channel TVB Headquarters) ไปเป็นศูนย์สำรองการแพร่ภาพของช่องเอทีวี ชั่วคราว และยังให้ยืมทีมซับไตเติ้ล, กล้องวิดีโอและอุปกรณ์ตัดต่อของทีวีบี และให้สำเนาคลิปข่าวต่างประเทศแก่เอทีวี ฉบับดั้งเดิมที่ออกอากาศทางช่อง ทีวีบีนิวส์ (TVB News) จนกว่าสำนักงานใหญ่ของเอทีวี จะซ่อมแซมเสร็จและย้ายกลับไปยังที่เดิมได้ตามปกติ
หลังเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ต่อมาในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (1988) "หลินไป่ซิน" (林百欣) ผู้ก่อตั้ง "ลี่ซินกรุ๊ป" (麗新集團) และ "เจิ้งอวี่ถง (鄭裕彤)" หนึ่งในผู้ก่อตั้ง "นิวเวิลด์กรุ๊ป" (New World Group)
ทั้งสองได้ร่วมกันซื้อหุ้น 2 ใน 3 ของ "เอทีวี" (Asia Television) ในราคา 417 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยเข้ามามีอำนาจควบคุมและดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการและประธานกิตติมศักดิ์ถาวร ตามลำดับ
ทั้ง หลินไป่ซิน และ เจิ้งอวี่ถง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่พวกเขาได้เข้ามาดำเนินการปฏิรูปช่องเอทีวี โดยฝ่ายวิศวกรรมได้ทำการปฏิรูประบบส่งสัญญาณในเดือนพฤษภาคมและแชร์เสาอากาศส่งสัญญาณ กับ สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ทำให้มีความก้าวหน้าในการผลิตรายการต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2532 (1989) ทั้ง "ลี่ซินกรุ๊ป" (麗新集團) และ "นิวเวิลด์กรุ๊ป" ได้ทำการซื้อหุ้นที่เหลือของ "ชิวเต๋อเกิน" เป็นเงิน 237.5 ล้านเหรียญฮ่องกง ณ จุดนี้ ทำให้ ชิวเต๋อเกิน สิ้นสุดการดำเนินงานหกปีครึ่งกับช่องเอทีวี
ปีต่อมาพ.ศ. 2533 (1990) ทาง "เจิ้งอวี่ถง" ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ให้กับ "หลินไป่ซิน" เนื่องจาก "เจิ้งเจียจุน" ลูกชายคนโตของเขาได้สร้างหนี้สินมากมาย จากการไปซื้อกิจการอื่น ๆ หลายที่ ซึ่งทำให้ทาง "นิวเวิลด์กรุ๊ป" เกิดหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงทำให้ เจิ้งอวี่ถง ขายหุ้นเอทีวีทิ้งทั้งหมด
ช่วงที่ หลินไป่ซิน เข้ามามีอำนาจสูงสุดในช่องเอทีวี แทนหุ้นส่วนเก่า ชิวเต๋อเกิน เขามีนโยบายที่แตกต่าง คือ มุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนและการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับศิลปินในองค์กร รวมถึงส่งเสริมให้มีพื้นที่สร้างสรรค์มากขึ้น ถึงแม้ว่าทางช่องจะไม่มีความก้าวหน้าในด้านรายได้ แต่ก็จะรักษาสมดุลของการชำระเงิน
ในช่วงเวลาของ หลินไป่ซิน มีอำนาจ ทางช่อง เอทีวี ได้ร่วมมือกับทางสถานีโทรทัศน์จีนแผ่นดินใหญ่มากกว่าเดิม ถึงแม้ช่วงที่ ชิวเต๋อเกิน มีอำนาจจะมีการบุกเบิกนำละครทางช่องเอทีวีไปสู่ตลาดจีนมาแล้วก็ตาม
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2526 (1983) ก่อนที่ช่องอาร์ทีวี (RTV) จะเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น เอทีวี (ATV) ในอีกไม่กี่เดือน
ละครเรื่อง "นักชกผู้พิชิต (The Legendary Fok 1981)" นำแสดงโดย หวงเหยียนเซิน, เหลียงเสี่ยวหลง(บรู๊ซ เหลียง) และหมีเซียะ ได้รับการอนุมัติให้ออกอากาศทาง "สถานีโทรทัศน์กวางตุ้ง" (Guangdong TV) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ในกว่างโจว , มณฑลกวางตุ้ง ในประเทศจีน และยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัด ซึ่งครอบคลุมมณฑลกวางตุ้งและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงได้ออกอากาศทางโทรทัศน์แห่งชาติด้วย ทำให้กลายเป็นละครโทรทัศน์ของเอทีวี เรื่องแรกจากฮ่องกงที่เข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่ และได้เรตติ้งในจีนสูงถึง 86.5% กลายเป็นหนึ่งในสิบละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีนของศตวรรษ 20 (สถิติสิบอันดับแรกยังคงไม่ถูกทำลายมาจนถึงปัจจุบัน)[62] [63]
จากนั้นเอทีวียังมีละครที่จะนำไปฉายในจีนตามมาอีก เช่น "สองสิงห์ตะลุยโลกันต์ (Tiger Hill Trail 1983)" และ "นักชกผู้พิชิต ภาค 2 ( The Fist 1982 )" ทั้งสองเรื่องต่างได้รับความนิยมในจีนค่อนข้างดี สร้างความสั่นคลอนให้กับทางช่อง ทีวีบี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ยอดนิยมอันดับหนึ่งในฮ่องกง ต่อมาทาง ทีวีบี ได้เริ่มติดต่อกับทางจีน เพื่อเสนอละครดังของทางช่องตั้งแต่ยุค 70-80 ไปออกอากาศในจีน แข่งขันกับ เอทีวี
จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2528 (1985) ทางช่อง ทีวีบี ได้สร้างปรากฏการณ์ความสำเร็จในจีน เมื่อละครสองเรื่อง คือ "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" (the Bund 1980) นำแสดงโดย โจวเหวินฟะ, เจ้าหย่าจือ และ หลี่เหลี่ยงเหว่ย กับ มังกรหยก ภาค 1" (The Legend of conder heroes 1983) นำแสดงโดย หวงเย่อหัว และ องเหม่ยหลิง ได้มีการออกอากาศที่จีน ต่างได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งสองเรื่องทำเรตติ้งได้สูงมาก คือ เจ้าพ่อเซี่ยงไห้ ได้เรตติ้ง 87% ส่วน มังกรหยก ภาค 1 ได้เรตติ้งสูงถึง 90%
ทั้งสองเรื่องกลายเป็นหนึ่งในละครของทางฝั่งฮ่องกงที่ติด 10 อันดับละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีนของศตวรรษ 20 และยังคงเป็นเรตติ้งที่สูงมาจนถึงทุกวันนี้ เช่นกัน
และทีวีบี ยังมีละครเด่น ๆ ในจีน เช่น "ฟ้ามิอาจกั้น (Love and Passion 1982)" นำแสดงโดย เซียะเสียน, วังหมิงฉวน และ หลี่เหลี่ยงเหว่ย โดยละครเรื่องนี้จำลองเหตุการณ์ในช่วงยุคทศวรรษ 30 ของจีนในการกอบกู้และการอยู่รอดของชาติ โดยเนื้อหาที่เข้มข้นจึงทำให้ประสบความสำเร็จในจีนเช่นกัน และเป็นหนึ่งในละครช่วงแรก ๆ ที่ทีวีบี ส่งไปออกอากาศทางทีวีในจีน
ทั้งช่องเอทีวีกับทีวีบี ต่างนำละครดังในฮ่องกงไปออกอากาศในจีนแผ่นดินใหญ่ จำนวนมากมายเป็นร้อยเรื่อง มีทั้งได้รับความนิยมและไม่ค่อยได้รับความนิยมแตกต่างกันไป ต่อไปนี้คือจำนวน(เพียงบางส่วน)ของละครทั้งสองค่ายที่นำไปออกอากาศในจีน
เอทีวี(Atv) | ทีวีบี(Tvb) |
---|---|
"น้ำตาจระเข้":《鳄鱼泪 1978》 | มังกรหยก ภาค 1 (1983)" (The Legend of conder heroes 1983) ได้เรตติ้งสูงถึง 90% ของละครทางช่องทีวีบี ที่ออกอากาศในจีน |
"กระบี่ไร้เทียมทาน" 《天蚕变 1979》 | เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (The bund 1980) ได้เรตติ้งในจีนสูงถึง 87% |
"นักชกผู้พิชิต" (大侠霍元甲 1981)
"(เรตติ้งสูงสุดของละครช่องเอทีวี ที่นำไปออกอากาศในจีน คือ 86.5%)" |
มังกรหยก ภาค 2 (1983) |
"นักชกผู้พิชิต ภาค 2" (陈真 1982) | ดาบมังกรหยก (1986) |
"นักชกผู้พิชิต ภาค 3" (霍东阁 1984) | "ลูกผู้ชายต้องสู้" (奋斗1978) |
"2สิงห์ตลุยโลกันต์" (再向虎山行 1983) | "เทพบุตรชาวดิน" (网中人 1979) |
"'ต่งเสี่ยวหว่าน จอมใจจอมราชันย์"
《武侠董小宛 1974》 |
ชอลิ่วเฮียง (楚留香传奇 1979) |
"ศึกสายเลือด" (大内群英 1980) | "จอมทรนง" (火凤凰 1981) |
"ศึกชิงเจ้ายุทธจักร" (湖海争霸录 1980) | สมิงสาวใจเพชร (十三妹 1982) |
"ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม" (太极张三丰 1980) | "13 องค์รักษ์ล่าพระกาฬ" (十三太保 1982) |
"แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" (大地恩情 1980) | 8 เทพอสูรมังกรฟ้า (天龙八部 1982) |
"'ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม ภาค2" (游侠张三丰 1981) | "ฟ้ามิอาจกั้น" ( 万水千山总是情 1982) |
"ไอ้มังกรหมัดสิงโต" ( 少年黃飛鴻 1981) | "มือปราบจ้าวอินทรีย์" (猎鹰 1982) |
"ผู้ยิ่งใหญ่แห่งชานตุง" (马永贞 1981) | "ฝันสลาย" (京華春夢 1980) |
"ฤทธิ์ดาบพยัคฆ์คำรน" (伏虎金刀 1981) | "ศึกล้างเมืองมาร" (魔域桃源 1984) |
"ฤทธิ์กระบี่มรกต หรือ ประกาศิตมังกรหยก" (琥珀青龍 1982) | จอมยุทธอุ้ยเสี่ยวป้อ (鹿鼎记 1984) |
ซูสีไทเฮา ( 少女慈禧 1983) | กระบี่เย้ยยุทธจักร (笑傲江湖 1984) |
"'มือปราบพญายม" (四大名捕 1984) | นักสู้ผู้พิทักษ์(ขวัญใจโปลิศ) ภาค 1 |
บูเช็กเทียน (武則天 1984) | ยุทธจักรชิงจ้าวบัลลังค์ (决战玄武门 1984) |
"จอมยุทธเฮ้งบ่อกี้" (醉拳王无忌 1984) | "ฮ่องเต้เจ้าสำราญ" (皇上保重 1985) |
อภินิหารโป๊ยเซียน 《八仙過海 1985》 | จิ้งจอกภูเขาหิมะ" (雪山飞狐 1985) |
"จอบดาบหิมะแดง" (天涯明月刀 1985) | ขุนศึกตระกูลหยาง (杨家将 1985) |
สุดสายรุ้ง หรือ บันทึกรัก หร่วนหลิงอวี้ (阮玲玉 1985) | คู่ทรนง (流氓大亨 1986) |
"กระบี่กู้บัลลังก์" (萍踪侠影录 1985) | "คนเหนือคน" (赤脚绅士 1986) |
"เหยี่ยวเดือนเก้า" (九月鹰飞 1986) | "S.I.B หน่วยล้มอิทธิพล" (大班密令 1987) |
จิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇1986) | "เลือดอำมหิต" (饮马江湖 1987) |
"อ้อมกอดแม่" (母亲 1987) | เดชเซียวฮื้อยี้ (絕代雙驕 1988) |
"กระบี่นางพญา" (越女剑 1987) | "เทวราชเลือดเหล็ก" ( 铁血大旗门 1989) |
"จอมยุทธสะท้านภพ" (狂侠·天骄·魔女 1988) | "มาเฟียเซี่ยงไฮ้" (上海大风暴 1989) |
"พยัคฆ์สาวจอมทรนง" (法網柔情 1988) | "'มังกรทลายฟ้า" (侠客行 1989) |
"กระบี่พิฆาตดาวเหนือ" (中华英雄系列 1990) | คู่แค้นสายโลหิต (義不容情 1989) |
"เลือดรักเลือดแค้น" (还看今朝 1990) | "'ฤทธิ์จิ้งจอกบินหน้าหยก" (玉面飛狐 1989) |
" คนเหนือเซียน ภาค1" (胜者为王 1991) | "มังกรสะท้านบู้ลิ้ม หรือ กระบี่ใจพิสุทธิ์" (连城诀 1989) |
"เดชคัมภีร์กระบี่เลือด" (仙鹤神针 1992) | "ดาบจอมภพ" (边城浪子 1989) |
"กระบี่ไร้เทียมทาน ภาค2" (天蚕变之再与天比高 1993) | "นรกแตก" (他來自江湖 1989) |
"หน่วยล่าเหนือพยัคฆ์" (槍神 1993) | "ศึกเทพยุทธเขาซูซัน ตอน กระบี่มังกรหงส์" (蜀山奇俠 1990) |
"เฉือนคมจิ้งจอกเงิน" (银狐 1993) | " มรสุมสายเลือด" (人在边缘 1990) |
"หงซีกวน วีรบุรุษกู้ชาติ" (洪熙官 1994) | "เลือดเจ้าพ่อ" (我本善良 1990) |
"เฉินเจินมังกรผงาดฟ้า" (精武门 1995) | เพื่อนรักเพื่อนแค้น (人在边缘 1990) |
"4 ดรุณีรักนี้ไม่แปรเปลี่ยน" (我和春天有個約會 1996) | "กระบี่มารต๊กโกว" (剑魔独孤求败 1990) |
"นางพญากระบี่มาร" (雪花神剑 1997) | "แค้นดาบสุริยันจันทรา" (日月神劍 1991) |
"ตุ๊ต๊ะอลวน" (肥貓正傳 1997) | "ฤทธิ์กระบี่ฟ้าคำรณ" (怒剑啸狂沙 1991) |
ภูติพิทักษ์ดูดวิญญาณ ภาค 1" (我和僵尸有个约会 1998) | "เทพบุตรแดนเถื่อน" (灰網 1991) |
"ไฟล์ลับอาชญากรรม" (干探群英 1991) | |
เจ้าพ่อตลาดหุ้น (大時代 1992) | |
"ศึกสองตระกูลใหญ่" (巨人 1992) | |
"อาญาทมิฬ พลิกแฟ้มคำพิพากษา ภาค1" (一號皇庭1992) | |
"เหยี่ยวนรกทะเลทราย" (大地飞鹰 1992) | |
"กุหลาบไฟ" (火玫瑰 1992) | |
"ตี๋ใหญ่เลือดมังกร" (追日者 1993) | |
มังกรหยก ตอน คัมภีร์มารนพเก้า (九阴真经 1993) | |
มังกรหยก ศึกสองจ้าวยุทธจักร (南帝北丐 1994) | |
"วีรบุรุษสิงโตทอง" (金毛狮王 1994) | |
มังกรหยก ภาค 1 (1994) (射鵰英雄傳 1994) | |
"จอมบงการ" (笑看風雲1994) | |
" มังกรหยก ภาค 2 1995 (神雕侠侣 1995) | |
"คดีดังกองปราบ ภาค1" (刑事侦缉档案 1995) | |
"สงครามรักเวทีชีวิต"(刀馬旦 1995) | |
ไซอิ๋ว ท่องพิภพสยบมาร (西游记 1996) | |
เดชคัมภีร์เทวดา (笑傲江湖 1996) | |
ลูกผู้ชายต้องสู้ (天地男儿 1996) | |
"ปมแค้นคดีเดือด" (鉴证实录 1997) | |
"กังฟูสาว เผ็ด สวย ดุ" (苗翠花 1997) | |
"โค่นอิทธิพลมืด" (廉政追緝令 1997) | |
8 เทพอสูรมังกรฟ้า 1997 (天龙八部 1997) | |
"ราชบุตรเขยจอมยุ่ง" (醉打金枝 1997) | |
ยอดดาบวงพระจันทร์ (圆月弯刀 1997) | |
"วีรบุรุษพิทักษ์ธรรม ภาค1" (状王宋世杰 1997) | |
"หลุมรักพลางใจ / พยัคฆ์ร้ายหลีฉี (难兄难弟 1997) | |
"อุ้ยเสี่ยวป้อ อะเมซซิ่ง" (鹿鼎記 1998) | |
"ปฏิบัติการล่าทรชน ภาค1" (陀枪师姐 1998) | |
"นาทีชีวิต นาทีวิกฤต ภาค1" (妙手仁心 1998) | |
"'เพลิงนรกไฟชีวิต" (烈火雄心 1998) | |
เลือดรัก เลือดทรนง (天地豪情 1998) | |
"จอมจักรพรรดิเฉียนหลง" (乾隆大帝 1998) | |
มู่กุ้ยอิง ขุนศึกตระกูลหยาง (穆桂英大破天门阵 1998) | |
"ศึกเทพยุทธมังกรฟ้า" (镜花缘传奇 1999) | |
"สื่อรักแสนรู้" (宠物情缘 1999) | |
"ตำนานรักมังกรฟ้า" (人龙传说 1999) | |
"ปึงซีเง็ก หักด่านมนุษย์ทองคำ (少年英雄方世玉 1999) | |
"ปมปริศนาพยานมรณะ ภาค1" (洗冤录 1999) | |
เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด (创世纪 1999) | |
"ศึกรักจอมราชันย์" 《金枝欲孽 2003》 | |
ในตารางเป็นละครเพียงบางส่วนที่ได้มีโอกาสออกอากาศในจีน แต่ไม่ได้เรียงตามปีที่ออกอากาศที่นั้น
มีบางเรื่องที่ออกอากาศในจีนช้ามาก ห่างจากปีที่สร้างและออกอากาศในฮ่องกงหลายปี เช่น เรื่อง มังกรหยก ภาค 1 (1994) (射鵰英雄傳 1994) เวอร์ชัน จางจื้อหลิน(ก๊วยเจ๋ง) และ จูอิน(อึ้งย้ง) นำแสดง มีการรายงานว่าเคยถูกนำไปออกอากาศในจีน และเรตติ้งไม่ค่อยดี
จากจำนวนกว่าร้อยเรื่องที่นำไปออกอากาศในจีน มีเพียงสามเรื่องที่สามารถทำเรตติ้งสูงสุดใน 10 อันดับแรกในจีนได้ คือ
1.มังกรหยก ภาค 1/1983 (The Legend of conder heroes) ละครทางค่ายทีวีบี ได้เรตติ้ง90%
2.เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (上海灘 1980) ละครทางค่ายทีวีบี ได้เรตติ้ง 87%
3.นักชกผู้พิชิต (大俠霍元甲 1981) ละครทางค่ายเอทีวี หรือ อาร์ทีวี ได้เรตติ้ง 86.5%
ในช่วงต้นทศวรรษ 80s ดาราชายยอดนิยมแถวหน้าในค่ายจากยุค 70s บางคนได้ทยอยออกจากทีวีบีย้ายไปอยู่ช่องอาร์ทีวี(เอทีวี) เช่น หวงเหยียนเซิน และ จูเจียง
ส่วน หลิวสงเหยิน เขาแสดงละครข้ามช่องระหว่างช่องอาร์ทีวี(เอทีวี)และทีวีบี สลับกันไปมาตามการทำสัญญาระยะสั้น(1-3ปี)ของแต่ละช่องอยู่ก่อนแล้ว
มีเพียง โจวเหวินฟะ และ เจิ้งเส้าชิว สองดาราชายยอดนิยมที่ตั้งแต่เข้ามาอยู่กับทีวีบี ก็ยังไม่เคยย้ายช่องเล่นละครสลับค่ายไปมาระหว่างช่องอาร์ทีวี(เอทีวี) กับ ทีวีบี เลยสักครั้ง (มีแต่รับงานแสดงภาพยนตร์บ้าง ในขณะที่อยู่สังกัดทีวีบี)
แต่ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักแสดงทาง ทีวีบี เริ่มตระหนักว่า สักวันทั้งสองคนคือ "โจวเหวินฟะ" และ "เจิ้งเส้าชิว" อาจไม่ต่อสัญญาและออกจากช่องไปเช่นกัน ทีวีบีจึงกลัวว่าทางช่องจะขาดแคลนดาราชายยอดนิยม จึงเริ่มมองหาและปลุกปั้นดาวดวงใหม่ที่พอจะเห็นแวว โดยมองหานักแสดงชายดาวรุ่งที่จบจากชั้นเรียนฝึกอบรมการแสดงของทีวีบีโดยตรง
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2526 (1983) ทาง ทีวีบี ได้มีการสร้างและเปิดตัว กลุ่ม "5 พยัคฆ์ทีวีบี" (Five Tiger Generals 80s) ขึ้นมาโดยมีสมาชิกชายในกลุ่มเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ประกอบไปด้วย เหมียวเฉียวเหว่ย, ทังเจิ้นเยี่ย, หวงเย่อหัว, หลิวเต๋อหัว และ เหลียงเฉาเหว่ย (เรียงตามลำดับอายุ) โดยท่าน รัน รัน รัน ชอว์ เป็นคนเลือกทั้ง 5 คนนี้มาแสดงร่วมกันในรายการโชว์รายการหนึ่งของทีวีบี หลังจากนั้น กลุ่ม 5 พยัคฆ์ทีวีบี ก็ได้กำเนิดขึ้นมาหลังการแสดงโชว์ในครั้งนั้น
หลังจากที่ "5 พยัคฆ์ทีวีบี" ถูกส่งเสริมผลักดันอย่างมาก จนพวกเขาทั้งห้าคนต่างโด่งดังเข้ามาแทนที่นักแสดงชายชื่อดังรุ่นก่อน อย่าง เจิ้งเส้าชิวและโจวเหวินฟะ ทันที
นอกจากนี้ ทีวีบียังมีการผลักดันส่งเสริมนักแสดงสาวดาวรุ่งในชั้นเรียนการแสดง เช่น ชิเหม่ยเจิน , หลิวเจียหลิง, หลันเจี๋ยอิง, ซังเทียนเอ๋อ และ เจิงหัวเชี่ยน เป็นต้น และ ยังมีดาวรุ่งมาแรงจากเวทีประกวดมิสฮ่องกงปีพ.ศ. 2525-2526 (1982-1983) คือ องเหม่ยหลิง และ จางม่านอวี้ ตามลำดับ พวกเธอทั้งสองคนทางโปรดิวเซอร์ทางกองประกวดได้เห็นแววตั้งแต่อยู่บนเวทีการประกวดก่อนแล้วจึงเรียกมาเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงกับทางทีวีบี ในภายหลัง
ในช่วงต้น-กลางทศวรรษ 80s ช่อง ทีวีบี อยู่จุดสูงสุดในแง่ของเรตติ้งและความนิยม ในขณะนั้น ละครแนวกำลังภายในได้รับความนิยมมากขึ้นกว่ายุคก่อน หลังจากที่ ทีวีบี ได้รับลิขสิทธิ์ผลงานชิ้นเอกของ กิมย้ง หลายเรื่องแล้ว ในปีพ.ศ. 2525 (1982) เป็นต้นมาก็เริ่มสร้างเป็นละครขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมาก (บางเรื่องเพิ่งสร้างครั้งแรก ส่วนบางเรื่องเป็นการสร้างครั้งที่สอง) เช่น 8 เทพอสูรมังกรฟ้า (1982), จอมยุทธ์อุ้ยเสี่ยวป้อ (1984), กระบี่เย้ยยุทธจักร (1984), จิ้งจอกภูเขาหิมะ (1985), เพ็กฮ่วยเกียม ดาบเลือดสะท้านแผ่นดิน (1985), ดาบมังกรหยก (1986) และ ตำนานอักษรกระบี่ (書劍恩仇錄 1987) เป็นต้น
ทุกเรื่องกลายเป็นละครคลาสสิก แต่มีละครจากบทประพันธ์ของกิมย้งเพียงเรื่องเดียวในยุคนั้นที่ทำเรตติ้งได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งในฮ่องกง และต่างประเทศ คือ มังกรหยก ภาค 1 (The Legend of the Condor Heroes 1983) นำแสดงโดย "หวงเย่อหัว รับบท ก๊วยเจ๋ง" และดาราสาวดาวรุ่ง "องเหม่ยหลิง รับบท อึ้งย้ง" เมื่อละครได้ออกอากาศประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงทันทีในฮ่องกง และเมื่อทยอยนำออกอากาศในต่างประเทศ ก็ได้สร้างปรากฏเรตติ้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนดังนี้:-
นอกจากจะเป็นละครยอดนิยมสูงสุดแห่งปีแล้ว ยัง เป็นละครที่มีคนดูมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการจอแก้วฮ่องกง มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีคนดูมากกว่า 3.5 ล้านคนต่อตอน
-เรตติ้งที่ได้ถึง 99% ทำลายสถิติเรตติ้ง 95% ที่ได้รับจากละครเรื่อง "บ้านแตก" (Family Change 1977)
-เรตติ้งต่อตอนสูงถึง 65 จุดเปิด ทำลายเรตติ้งละครเรื่อง "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้"
-ทำลายเรตติ้ง มังกรหยก ภาค 1 (1976) เวอร์ชัน ไป่เปียว และ หมีเซียะ ของทางช่อง เจียซือ
เมื่อปีพ.ศ. 2528 (1985) ละคร มังกรหยก ภาค 1 (1983) เรื่องนี้ได้ออกอากาศในจีน ทางสถานีโทรทัศน์กวางตุ้ง โดยทำเรตติ้งสูงถึง 90% กลายเป็นหนึ่งในสิบละครคลาสสิกที่มีเรตติ้งสูงสุดในยุคศตวรรษ 20 ของจีนแผ่นดินใหญ่ และสถิตินี้ยังคงสูงมาจนถึงปัจจุบัน[64]
ในปีพ.ศ. 2538 (1995) ทีวีบีได้มอบรางวัล "สิบละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงสุดทั่วโลก" โดย มังกรหยก ภาค 1 (1983) อยู่ในอันดับสาม โดยมียอดผู้ชมดูครั้งแรกทั่วโลก คือ 356,163,000 คน[65]
ส่วนเรื่อง มังกรหยก ภาค 2 The Return of the Condor Heroes (1983) นำแสดงโดย "'หลิวเต๋อหัว รับบท เอี้ยก๊วย" และ "เฉินอวี้เหลียน รับบท เซี่ยวเล่งนึ้ง" ได้สร้างสถิติเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 62 คะแนน โดยมีผู้ชมมากกว่า 3.2 ล้านคนดูพร้อมกันต่อหนึ่งตอน และยังคงเป็นสถิติหนึ่งในสิบละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงสุดในฮ่องกง มาจนถึงทุกวันนี้เช่นกัน
ในแง่ความสำเร็จในฮ่องกง มังกรหยก (1983) ทั้งสองภาค มีความสำเร็จใกล้เคียงกัน แต่ถ้าหากนับรวมเรตติ้งจากทั่วโลกแล้ว มังกรหยก ภาค 1 (1983) ได้รับความนิยมมากกว่า มังกรหยก ภาค 2 (1983) เนื่องจาก มังกรหยก ภาค เอี๊ยก๊วย ไม่ติด "สิบละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงสุดทั่วโลก" และเมื่อมีการออกอากาศในจีน กลับไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่า มังกรหยก ภาค ก๊วยเจ๋ง
นอกจากนี้ ทีวีบียังประสบความสำเร็จกับละครที่ไม่ได้สร้างจากนวนิยายใดๆ เช่น ขวัญใจโปลิส ภาค1 (Police Cadet 84), คู่ทรนง (The Feud of Two Brothers 1986) เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (The Fearless Duo 1984) นำแสดงโดย เหมียวเฉียวเหว่ย กับ องเหม่ยหลิง สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงถึง 61 จุดเปิด โดยมียอดผู้ชมมากกว่า 3.15 ล้านคนต่อตอนในฮ่องกง ส่งให้ "องเหม่ยหลิง" กลายเป็นนักแสดงจอแก้วคนที่สองต่อจาก โจวเหวินฟะ และยังเป็นนักแสดงหญิงเพียงคนเดียวในหน้าประวัติศาสตร์ที่รับบทนางเอกในละคร 2 เรื่องที่ทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ถึง 60 จุดเปิด โดยทั้งสองเรื่องเป็นหนึ่งในอันดับแรก ๆ ของละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกง
ส่วนละครทีวีบี ที่มียอดผู้ชมสูงสุดในโลก คือ คู่แค้นสายโลหิต (Looking Back in Anger 1989) นำแสดงโดย หวงเย่อหัว, เวินเจ้าหลุน, หลิวเจียหลิง, โจวไห่เม่ย และ เส้าเหม่ยฉี เป็นละครสากลแนวชีวิตยอดนิยม ที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วเอเชียและทั่วทุกมุมโลกที่ละครเรื่องนี้ได้นำไปออกอากาศโดยมียอดคนดูทางหน้าจอทีวีครั้งแรกรวมในแต่ละพื้นที่ ได้มากถึง 431,355,000 คน ทำให้กลายเป็นละครทีวีบีอันดับหนึ่งที่มีเรตติ้งสูงสุดทั่วโลก
ละครชุด มังกรหยก ภาค ก๊วยเจ๋ง และ เอี้ยก๊วย ยุค 80 ไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในฮ่องกง แต่เมื่อนำไปออกอากาศทั่วเอเชีย ต่างก็ได้รับความสำเร็จอย่างสูงเช่นกัน ส่งให้ทั้ง หวงเย่อหัว, องเหม่ยหลิง, หลิวเต๋อหัว และ เฉินอวี้เหลียน โด่งดังเป็นพลุแตกทั่วเอเชียทันที โดยเฉพาะ องเหม่ยหลิง ดาราดาวรุ่งที่เพิ่งเข้าวงการมาได้ไม่นานกลายเป็นนักแสดงหญิงเบอร์หนึ่งของทางช่องทีวีบีต่อจาก วังหมิงฉวน
จากนั้นทางทีวีบี ได้เปลี่ยนกลุ่ม 4 ดรุณีหยกยุค 70s รุ่นสองจากเดิม คือ วังหมิงฉวน, เจ้าหย่าจือ, เจิ้งอวี้หลิง และ หวงซิ่งซิ่ว มาเป็น "4 ดรุณีหยก ยุค 80s" ประกอบด้วย
4 เจิงหัวเชี่ยน[66] ซึ่งสามในสี่คน คือ องเหม่ยหลิง, เจิงหัวเชี่ยน และ หลิวเจียหลิง ต่างเป็นนักแสดงหน้าใหม่เพิ่งเข้าวงการของยุคทศวรรษ 80s มีเพียง เฉินอวี้เหลียน เพียงคนเดียวในกลุ่มที่เข้าวงการจอแก้วมาตั้งแต่ปลายยุค 70s
แต่แล้วในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 (1985) ทางช่อง ทีวีบี ได้สูญเสียนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้น คือ องเหม่ยหลิง จากการที่เธอฆ่าตัวตาย ด้วยการรมแก๊สในห้องพัก หลังจากมีปากเสียงกับนักแสดงชาย ทังเจิ้นเยี่ย ซึ่งเป็นแฟนหนุ่มของเธอ กลายเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมของวงการบันเทิงเอเชีย
ในขณะที่ องเหม่ยหลิง เพิ่งจะเสียชีวิต ละครเรื่อง ซิยิ่นกุ้ย พิชิตตะวันออก (Legend Of The General Who Never Was 1985) นำแสดงโดย ว่านจือเหลียง (เขาเพิ่งย้ายสังกัดจากเอทีวีมาอยู่ทีวีบี ได้สักพัก) ประกบกับดาราสาวดาวรุ่ง เติ้งชุ่ยเหวิน โดยในเรื่องนี้เธอได้แสดงเป็นนางเอกครั้งแรก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน ถึง 24 พฤษภาคม ปรากฏว่า ละครชุดนี้โด่งดังและได้เรตติ้งเฉลี่ย 60 จุดเปิดทำให้ เติ้งชุ่ยเหวิน ถูกทางทีวีบี คาดหวังจะให้เธอเป็นตัวแทนของ องเหม่ยหลิง และมีการตั้งฉายาเธอว่า "องเหม่ยหลิงน้อย" ขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลักดันส่งเสริมเธอ[67]
แต่น่าเสียดายหลังจากละครเรื่อง ซิยิ่นกุ้ย พิชิตตะวันออก (Legend Of The General Who Never Was 1985) เติ้งชุ่ยเหวิน ก็ไม่มีละครเรื่องไหนได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนถึง 60 จุดเปิด อีกเลย
นอกจาก เติ้งชุ่ยเหวิน ที่โด่งดังขึ้นมาเป็นตัวแทน องเหม่ยหลิง แล้ว ในช่วงปลายยุค 80s ยังมีนักแสดงหญิงคนอื่นที่มีชื่อเสียงโด่งดังตามมาอีกหลายคน เช่น หลีเหม่ยเสียน และ เจิงหัวเชี่ยน ส่วนนักแสดงหญิงที่โดดเด่นในยุคเดียวกัน ได้แก่ หลันเจี๋ยอิง, เซียะหนิง, เส้าเหม่ยฉี, โจวไห่เม่ย,หลิวเหม่ยเจียน, หลิวเจียหลิง, ซังเทียนเอ๋อ และ ชิเหม่ยเจิน เป็นต้น
นอกจากทีวีบี จะประสบความสำเร็จอย่างสูงกับละครสากลแนวดราม่า เรื่อง คู่ทรนง (Rogue Tycoon 1986) และ คู่แค้นสายโลหิต (Looking Back in Anger 1989) แล้ว ในช่วงปลายทศวรรษ 80s ละครสากลเรื่องอื่น ๆ ที่กำกับโดย "เหว่ยเจียฮุย" (韋家輝) ก็ได้รับการต้อนรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี เช่น "ดับเครื่องชน" (The Final Verdict1988), และ "มังกรเลือดเดือด" (War of the Dragon1989) เป็นต้น
ก่อนจะเข้าสู่ยุคทศวรรษ 90s ไม่กี่เดือน โจวซิงฉือ ได้พลิกโฉมภาพลักษณ์ของละครแนวกำลังภายในเข้มข้น กลายเป็นละครกำลังภายในแนวคอมเมดี้ เบาสมอง ตลกขบขัน กับละครเรื่อง จอมยุทธสะท้านโลกันตร์ (The Final Combat 1989) โดยแสดงนำคู่กับ อู๋ม่งต๊ะ ถึงแม้จะเป็นการฉีกแนวแต่กลับได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เปรียบได้กับว่าเป็นการวางรากฐานคู่หูคู่ฮาระหว่าง โจวซิงฉือ และ อู๋ม่งต๊ะ เพื่อถ่ายทำ ภาพยนตร์แนวตลกเบาสมองร่วมกันในอนาคต
ในช่วงยุค 80s นอกจาก ทีวีบี จะประสบความสำเร็จอย่างสูงกับการผลิต ละคร และ ซิทคอม อย่างต่อเนื่องแล้ว
รายการต่าง ๆ ของทีวีบี ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นจากยุคก่อนเป็นอย่างมาก โดยทำสถิติสูงสุดใหม่ในแง่ของเรตติ้งขึ้นมา ตัวอย่างเช่น รอบชิงชนะเลิศของ "การประกวดมิสฮ่องกง" ประจำปีพ.ศ. 2527 (Miss Hong Kong Campaign 1984) สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ย 60 จุดเปิด เปอร์เซ็นต์คนดู 70% อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นการประกวดมิสฮ่องกง ที่ได้เรตติ้งมากที่สุดตั้งแต่มีการแข่งขันมาในรอบหลายปี
ส่วนรายการโชว์ก็ได้รับความนิยม เช่น ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 17 ปีของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี เมื่อปีพ.ศ. 2527 (1984) มีการแสดงโชว์กายกรรมผาดโผน โดยนักแสดงชาย-หญิงยอดนิยมหลายคน เช่น จางม่านอวี้ ได้แสดงกายกรรมห้อยโหน และ การแสดงกายกรรมต่อตัวไต่กำแพงร่วมกันของ หยางพ่านพ่าน, หลิวเต๋อหัว และ หวงเย่อหัว ต่างได้สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก
รายการวาไรตี้ "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) เป็นรายการที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งออกอากาศเป็นประจำ และได้สร้างตัวละครตลกคลาสสิกยอดนิยมมากมาย
และรายการเพลงยอดนิยม เช่น "เพลงทองคำ" (Jade Solid Gold) เดิมเคยเป็นช่วงพิเศษช่วงหนึ่งของรายการ "วันชื่นคืนสุข" เมื่อปีพ.ศ. 2523 (1980) ต่อมากลับเป็นที่พูดถึงและได้รับความนิยมจากผู้ชม จึงได้ออกอากาศแยกอิสระออกมาเป็นรายการเพลงเต็มตัว และออกอากาศครั้งแรกในปีพ.ศ. 2524 (1981) อีกทั้งยังมีการจัดพิธีมอบรางวัล เพลงทองคำอันดับท็อปเท็นประจำปี ขึ้นมาอีกด้วยเพื่อเป็นการยกย่องผลงานเพลงป๊อปกวางตุ้งที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมตลอดในปีที่ผ่านมาที่ได้ออกอากาศในรายการ "เพลงทองคำ" โดยพิธีมอบรางวัลครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2527 (1984) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในรายการเพลงทรงอิทธิพลต่อวงการเพลงฮ่องกงเป็นอย่างมากในยุค 80s
ปัจจุบันละครฮ่องกง อาจจะไม่มีอิทธิพลต่อผู้ชมในไต้หวัน เท่าในอดีตตอนช่วงยุคทองละครฮ่องกง
ย้อนกลับไปในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ทางข่องทีวีบี (Hong Kong Television International Enterprises (TVBI) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ Hong Kong TVB ได้ย้ายไปไต้หวัน โดยร่วมมือกับ "ชิวฟู่เซิง" (邱復生) ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชาวไต้หวันเพื่อให้บริการออกอากาศละครฮ่องกงของทีวีบี (TVB) ส่งผลให้ละครฮ่องกงเริ่มครองตลาดไต้หวัน ในยุคแรก ๆ ละครทีวีฮ่องกงหลายเรื่องรวมถึงละครที่ดัดแปลงจากนิยายของ กิมย้งและโกวเล้ง เช่น ชอลิ้วเฮียง 1979, มังกรหยก 1983 (射鵰英雄傳 (1983年電視劇), 8 เทพอสูรมังกรฟ้า 1982 (天龍八部 1982年電視劇) และ เล็กเซียวหงส์ 1976-1979 (陆小凤) เป็นต้น ละครเหล่านี้ต่างได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ชาวไต้หวัน [68]
เจิ้งเส้าชิว (郑少秋) หนึ่งในตัวละครเอกของละคร ชอลิ้วเฮียง ได้กลายเป็นไอดอลในดวงใจของแฟน ๆ ชาวไต้หวันหลายล้านคน และ หลิวสงเหยิน (劉松仁) ก็เป็นอีกหนึ่งพระเอกในดวงใจของชาวไต้หวัน นอกจากนั้ยังมี หวงเย่อหัว (黄日华) และ องเหม่ยหลิง (翁美玲) ก็ได้รับความนิยมในไต้หวันจากละครเรื่อง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง (1983) ที่ออกอากาศทางช่องสี่ ในไต้หวันด้วยเช่นกัน
จากความสำเร็จอย่างมากของละครฮ่องกงในไต้หวัน สร้างความสั่นสะเทือนวงการจอแก้วไต้หวัน เพื่อรักษาตลาดทีวีท้องถิ่น ไต้หวันเริ่มจำกัดการนำเสนอละครศิลปะการต่อสู้เวอร์ชั่นฮ่องกง และในขณะเดียวกันก็เริ่มผลิตละครศิลปะการต่อสู้ในท้องถิ่นของตนเอง
แต่ไม่นานละครฮ่องกง ก็กลับมาออกอากาศหน้าจอทีวีไต้หวันได้อีกครั้ง หลังจากนั้นละครเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (上海灘), กระบี่ไร้เทียมทาน (天蠶變) และต่อมา ขวัญใจโปลิส ภาค1 (新紮師兄) และเรื่องอื่น ๆ ก็หลั่งไหลเข้ามาในไต้หวัน ทำให้ผู้ชมชาวไต้หวันสดชื่น ประทับใจ และหลงใหลในละครฮ่องกง
ในทางกลับกัน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านทีวีที่กลับมาจากสิงคโปร์ก็เดินทางไปไต้หวันเพื่อพัฒนาและถ่ายทำละครความยาวระดับไพร์มไทม์และละครตอนยาวของสถานีโทรทัศน์ไต้หวันหลาย ๆ เรื่อง มาตรฐานการผลิตและเรทติ้งอยู่ในระดับสูง พวกเขากลายเป็นเสาหลักสำคัญของละครทีวีไต้หวัน ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1980 ถึงกลางทศวรรษที่ 1990 ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรทัศน์ของฮ่องกงจำนวนมากรวมถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังมักจะไปถ่ายทำละครที่ไต้หวันเป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะสนับสนุนและสื่อสารกัน
ทีวีฮ่องกงได้รับความนิยมมากกว่าในพื้นที่ชายฝั่งกวางตุ้งของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การปฏิรูปและการเปิดประเทศ การรับชมทีวีฮ่องกงได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของชาวกวางตุ้ง และกลายเป็นแหล่งความบันเทิงและข้อมูล ยกตัวอย่าง พื้นที่ชนบทของตงกว่าน เกือบทุกครัวเรือนเปิดทีวีดูละครทีวีฮ่องกง มันคือทีวีฮ่องกงซึ่งสามารถรับชมได้ ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดภาพยนตร์ฮ่องกงตกต่ำ ผู้สร้างภาพยนตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านโทรทัศน์จำนวนมากได้เดินทางกลับไปยังประเทศจีนเพื่อสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศ การผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศมีความเข้มแข็งและมั่งคั่งมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โมเมนตัมค่อนข้างคล้ายกับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของฮ่องกงในทศวรรษที่ 1970 แนวโน้มดูน่าสนับสนุน
ในช่วงยุค 80s เป็นช่วงที่ทาง ทีวีบี ก่อตั้งกลุ่มขึ้นมามากมายหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มในนักแสดงชายและกลุ่มนักแสดงหญิง ที่โดดเด่น ได้แก่
ในปีพ.ศ. 2526 (1983) ทีวีบีก่อตั้งกลุ่มนักแสดงชาย คือ "5 พยัคฆ์ทีวีบี" ขึ้นมาโดยสมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย
ต่อมาทาง ทีวีบี ได้ก่อตั้งกลุ่ม "4 ดรุณีหยกแห่งยุค 80s" ขึ้นมาแทน "สี่ดรุณีหยกยุคเก่า" โดยสมาชิกในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย
แรกเริ่มก่อตั้งกลุ่มในยุค 80s ทีวีบี จะใช้การโปรโมทร่วมกัน คือ 5 พยัคฆ์ทีวีบี กับ 4 ดรุณีหยก แต่ฝ่ายหญิงมีไม่ครบห้าคน(ขาดอีกหนึ่งคน) จึงมีการก่อตั้งอีกกลุ่มขึ้นมาคือ "5 สาวฟินิกซ์ทีวีบี ประกอบด้วย
1. องเหม่ยหลิง
2. จางม่านอวี้
3. หลันเจี๋ยอิง
4. ซังเทียนเอ๋อ
5. หลิวเจียหลิง
ทั้งกลุ่มฝ่ายชายและหญิง ต่างมีกันครบห้าคน คือ 5 พยัคฆ์ทีวีบี(ฝ่ายชาย) และ 5 ฟินิกซ์ทีวีบี(ฝ่ายหญิง)
นอกจากนี้ ทีวีบี ยังก่อตั้งกลุ่ม "'7 นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s" ขี้นมาแทนยุคเก่า ร่วมกับก่อตั้งกลุ่มฝ่ายชายขึ้นมาใหม่ คือ "7 ภราดร" ซึ่งจะใช้โปรโมทร่วมกัน
ในราวช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2528 (1985) ทีวีบีก่อตั้งทีม "7 นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s" ขึ้นมา และวันที่ 6 เมษายน ของปีเดียวกัน ได้รวมตัวโปรโมทในงานพิธีเฉลิมฉลองครบ 100,000 ชั่วโมง ของทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบี โดยมีรายชื่อนักแสดงหญิงดั้งเดิม(ก่อนมีการเปลี่ยนตัว)ในกลุ่มดังนี้
2.กงฉือเอิน (ต่อมาโดนแช่แข็ง)
3.จิงไต้อิง (ต่อมาออกจากทีวีบีปี 1986)
4.เจิงหัวเชี่ยน (ต่อมาออกจากทีวีบีปี 1988)
5.ซังเทียนเอ๋อ (ต่อมาโดนแช่แข็ง)
6.หวงเจ้าสือ (ต่อมาออกจากทีวีบีกลางปี 1985)
กลุ่มนี้สื่อแต่ละสื่อ มักจะตีบทความลงรายชื่อสมาชิกในกลุ่มไม่เคยตรงกันเลยสักครั้ง เนื่องจากมีการเปลี่ยนตัวเกิดขึ้นในภายหลัง และมีรายชื่อนักแสดงคนใหม่ เช่น ชิเหม่ยเจิน, หลีเหม่ยเสียน, หลันเจี๋ยอิง และ เฉินอวี้เหลียน เข้ามาแทน(บางคน)ในกลุ่มดั้งเดิมแต่แรกที่ทยอยหมดสัญญากับทางช่องทีวีบี และย้ายออกไปอยู่ช่องอื่น
กลุ่ม "7นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s" เริ่มก่อตั้งต้นปีพ.ศ. 2528 (1985) จนมาถึงในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ของปีเดียวกัน ทั้งเจ็ดนักแสดงสาวยุคใหม่ได้มีการโปรโมทร่วมกัน แต่น่าเสียดายที่ไม่นานนัก ดาราสาวชื่อดัง องเหม่ยหลิง ต้องมาเสียชีวิตอย่างกะทันหันในเดือนพฤษภาคม ของปีเดียวกัน ทำให้ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบีต้องรีบหานักแสดงหญิงคนอื่นมาแทนที่เธอ และในที่สุดก็คัดเอาดาราสาว เติ้งชุ่ยเหวิน มาเข้ากลุ่มและยังมีการตั้งฉายาเรียก เติ้งชุ่ยเหวิน ว่า "องเหม่ยหลิงน้อย" ขึ้นมาเพื่อใช้ในโปรโมทผลักดันเธอในอนาคต
กลุ่ม "เจ็ดนางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s" ตลอดช่วงทศวรรษ 80 มีการเปลี่ยนตัวนักแสดงหญิงเข้า ๆ ออก ๆ คนแล้วคนเล่าอยู่หลายต่อหลายครั้ง สาเหตุเนื่องมาจากมีดาราสาวในกลุ่มนี้ไม่ยอมต่อสัญญากับทีวีบีและบางคนถูกแช่แข็ง โดยมีการเปลี่ยนตัว ดังนี้:-
1.ซังเทียนเอ๋อ ถูกแช่แข็ง ภายหลังจากที่เธอไปให้สัมภาษณ์กับสื่อและต่อว่า ชิเหม่ยเจิน ที่มีส่วนไม่มากก็น้อยที่ทำให้ องเหม่ยหลิง ต้องเสียใจและจบชีวิตลง
ซังเทียนเอ๋อ เธอกล่าวอย่างตรงไปตรงมาและต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับ องเหม่ยหลิง ต่อมา เหมียวเฉียวเหว่ย (แฟนของชิเหม่ยเจิน) ไม่พอใจกับคำพูดของ ซังเทียนเอ๋อ มากและได้มีการพูดคุยกับทางทีวีบี จนมีข่าวว่า ซังเทียนเอ๋อ ถูกทีวีบีแช่แข็งเป็นปี ต่อมา ก็มีรายชื่อนักแสดงหญิงคนอื่นเข้ามาแทน[69]
2. หวงเจ้าสือ ออกจากกลุ่มเพราะเธอได้หมดสัญญาลงกับทีวึบีและย้ายช่องไปอยู่กับเอทีวี (ATV) กลางปีพ.ศ. 2528 (1985) เช่นเดียวกับ จิ่งไต้อิง ที่หมดสัญญากับทีวีบี ในปีถัดมา ทั้งสองถูกแทนที่โดยนักแสดงคนอื่นในเวลาต่อมา
3. ช่วงโปรโมทกลุ่ม "7 นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80" แรกเริ่ม มีดาราสาว "กงฉือเอืน" รวมอยู่ด้วย และมีการไปร่วมโปรโมทด้วยกัน แต่หลังจากนั่น ก็มีคนอื่นมาแทนเธอ เนื่องจากกระแสข่าวรักสามเส้าระหว่าง กงฉือเอืน กับ หวงเย่อหัว และ "เหลียงเจียหัว" (แฟนของเขา) มีส่วนทำให้ กงฉือเอืน โดนแอนตี้และโดนทีวีบี(แช่แข็ง)หยุดการผลักดันส่งเสริมในช่วงระยะหนึ่ง
กลุ่มนี้ยังมึการเปลี่ยนตัวนักแสดงหญิงไปเรื่อย ๆ จนหมดยุค 80s
ในราวกลางยุค 80s เมื่อ "4 พยัคฆ์ทีวีบี" คือ เมียวเฉียวเหว่ย, ทังเจิ้นเยี่ย, หวงเย่อหัว และ หลิวเต๋อหัว (ยกเว้น เหลียงเฉาเหว่ย) ได้มีปัญหากับทางทีวีบีในเรื่องการต่อสัญญาระยะยาว (5ปี) ต่อมาจึงมีการก่อตั้งกลุ่มใหม่ของนักแสดงฝ่ายชายขึ้นมาอีกกลุ่ม คือ "7ภราดร" ประกอบด้วยนักแสดงชายรุ่นใหม่ไฟแรงเจ็ดคน ได้แก่
1.อู๋ฉีหัว
3.พานหงปิง
4.เฉินถิงเว่ย
5.กวนหลี่เจี๋ย
6.หลี่ฟาง
7.เถาต้าหวี่
โดยตอนแรกทางทีวีบีต้องการปั้นกลุ่ม "7 ภราดร" ขึ้นมาคู่กับ "7นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s" แต่กลุ่มนี้กลับไม่ได้รับความสนใจเท่ากลุ่ม "5 พยัคฆ์ทีวีบี" เลยแม้แต่น้อย
ภายหลัง องเหม่ยหลิง เสียชีวิตกระทันหัน และ จางม่านอวี้ เริ่มมีปัญหากับทางช่องทีวีบี เพราะเธอคิดจะออกจากค่ายไปเอาดีทางด้านภาพยนตร์แทน ทำให้สมาชิกในกลุ่ม "4ดรุณีหยกแห่งยุค80s" และ "5 ฟินิกซ์แห่งทีวีบี" ขาดคน ต่อมาทีวีบีจึงได้ตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมา คือ "5 ธิดามังกรแห่งทีวีบี" (TVB's 5 Dragon Girls) โดยเป็นการรวมห้านักแสดงหญิงสาวสวยมาแรงของทางช่องขึ้นมา ประกอบด้วย
5.หลีเหม่ยเสียน และเธอได้รับการขนานนามว่า "สาวงามในชุดโบราณอันดับหนึ่ง" คนที่สองต่อจาก หวงซิ่งซิ่ว เนื่องจากสื่อเห็นว่า หลีเหม่ยเสียน แต่งชุดโบราณได้งดงามมากที่สุด
โดยทีวีบีก่อตั้งกลุ่ม "5 ธิดามังกร" เพื่อจะใช้โปรโมทร่วมกับ "5 พยัคฆ์ทีวีบี" แทนกลุ่ม "5ฟินิกซ์ทีวีบี" แต่โชคไม่ดีที่กลุ่ม 5 พยัคฆ์ทีวีบี ตั้งแต่กลางยุค 80s มีปัญหาอย่างหนักกับทางต้นสังกัดและค่อยๆ เสื่อมความนิยมจนหมดยุคไปในที่สุด
ในปีพ.ศ. 2529 (1986) ด้วยการแยกตัวของ "5 พยัคฆ์ทีวีบี" (เหมียวเฉียวเหว่ย, ทังเจิ้นเยี่ย, หลิวเต๋อหัว, หวงเย่อหัว, เหลียงเฉาเหว่ย) ทาง ทีวีบี พยายามก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทนที่จนครั้งสุดท้ายของยุค เป็นการรวบรวมเหล่าบรรดาทั้งนักแสดงชายและนักแสดงหญิงที่เป็นดาวรุ่งมาแรง และรวมเข้าเป็นกลุ่ม "7ดาวรุ่งจรัสแสงแห่งทีวีบี" (TVB Galaxy Seven Stars) โดยทั้งเจ็ดคน ได้แก่[70]
1.โอวยุ่ยเหว่ย
2.ฉู่เหว่ยหลิน
3.อู๋เชี่ยนเว่ย
4.หลิวปี้อี๋
5.ไช่เจียลี่
6.หวังหมิ่นหมิง
7.จางเหม่ยจื้อ
เป็นการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาพร้อมกับผลักดันโปรโมทให้เล่นละครกำลังภายในฟอร์มใหญ่เรื่องเดียวกัน คือ "ดาบฟ้า กระบี่มาร" (Blood Stained Intrigue 1986) จำนวน 40 ตอนจบ จะเห็นได้ว่า ทาง ทีวีบี ให้ความสำคัญอย่างมากกับละครเรื่องนี้และมีความคาดหวังสูงกับกลุ่ม "7 ดาวรุ่งจรัสแสง" กลุ่มนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อละครออกอากาศ มีเพียงนักแสดงชาย "โอวยุ่ยเหว่ย" คนเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากละครเรื่องนี้และเป็นที่พูดถึงจากผู้ชมละครมากกว่า 6 คนที่เหลือในกลุ่ม "7 ดาวรุ่งจรัสแสง" และทำให้เขากลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงในช่วงเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ของปลายยุค 80s พอถึงต้นยุค 90s ชื่อเสียงของ โอวยุ่ยเหว่ย เริ่มไม่ได้รับความนิยม
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2527 (1984) "เฉินชิ่งเสียง" (陳慶祥) ผู้จัดการทั่วไปของทีวีบี และ "ชิวเต๋อเกิน" ประธานคณะกรรมการบริษัทเอทีวี (Asia Television) ได้บรรลุข้อตกลงโดยวาจาว่าสถานีโทรทัศน์ทั้งสองจะร่วมกันเจรจา เรื่องสิทธิ์ในการออกอากาศการ แข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซลในปี 1988 (Olympiad 1988) ที่ฮ่องกง [71]
อย่างไรก็ตาม "สำนักข่าวกีฬา" (Sports News) ชนะสิทธิ์ในการออกอากาศ แต่เนื่องจาก สำนักข่าวกีฬา ไม่ใช่สื่อโดยตรงและไม่สามารถออกอากาศได้ด้วยตัวเองจึงร่วมมือกับทางช่อง เอทีวี ในการออกอากาศ
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 (1986) ทาง เอทีวี ได้ประกาศว่าทางช่องได้รับสิทธิ์พิเศษในการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซล 1988 ในฮ่องกงแต่เพียงช่องเดียว ทำให้ทางช่อง ทีวีบี เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ในวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ. 2530 (1987) ทาง ทีวีบี ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอังกฤษ (ในยุคนั้น ฮ่องกง ยังอยู่ภายใต้การปกครองของ อังกฤษ) โดยกล่าวหาว่า เอทีวี ละเมิดข้อตกลงปากเปล่าที่เคยทำไว้กับ ทีวีบี และต่อว่า เอทีวี เกี่ยวกับการผูกขาดเพียงช่องเดียวในเรื่องสิทธิ์ของการแพร่ภาพ กีฬาโอลิมปิก 1988 โดยอ้างว่าเป็นสาธารณประโยชน์
แม้ว่า ศาลชั้นต้น ของ ศาลสูงฮ่องกง จะตัดสินว่า ทีวีบี แพ้คดีในขณะนั้น แต่ต่อมาผู้พิพากษาทั้งสามของ ศาลอุทธรณ์ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ให้ ทีวีบี ชนะ เพราะข้อตกลงด้วยวาจาระหว่างสองสถานีโทรทัศน์นั้น ไม่ได้เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่เป็นทางการ แต่ยังรวมถึง ข้อตกลงทางการค้า อีกด้วย ดังนั้นจึงได้ตัดสินว่าข้อตกลงปากเปล่าดังกล่าวมีผลผูกพันทางกฎหมาย
ต่อมาทาง เอทีวี ได้อุทธรณ์คำตัดสินของคณะองคมนตรี ว่า เป็นเพียงเพื่อประโยชน์แก่ทางช่อง ทีวีบี แต่คำอุทธรณ์ของทาง เอทีวี นั้นล้มเหลวไม่สำเร็จ จึงทำให้มีการออกอากาศ กีฬาโอลิมปิก 1988 ร่วมกันทั้งสองช่อง โดนทางทีวีบี มอบหน้าที่ให้ เฉินหมิ่นเอ๋อ กับ หลิวเหม่ยเจียนทำหน้าที่เป็นพิธีกรภาคสนามของทางเกาะฮ่องกงร่วมกันในงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปีพ.ศ. 2531 (1988) ซึ่งในตอนนั้นทั้งสองนักแสดงสาวต่างได้รับคำชื่นชมจากสื่อฮ่องกงเป็นอย่างมาก
เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทอื่น ๆ เพิ่มเติม มีรายงานว่าทั้งสองสถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ ทีวีบี และ เอทีวี ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน โดยสัญญาว่าจะออกอากาศรายการสำคัญ ๆ ระหว่างประเทศร่วมกันในอนาคต
เนื่องจากทั้ง ทีวีบี และ เอทีวี ต่างก็เป็นสมาชิกของสหพันธ์วิทยุกระจายเสียงแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union) ตั้งแต่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซล1988 สถานีโทรทัศน์ทั้งสองจึงมักแข่งขันเสนอราคาที่สูงกว่าเพื่อสิทธิ์ในการออกอากาศในฮ่องกง กับรายการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ทั้ง โอลิมปิก, เอเชียนเกมส์ (Asian Games) และ ฟุตบอลโลก (FIFA World Cup)ผ่านทาง สหพันธ์วิทยุกระจายเสียงเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นสหพันธ์องค์กรที่ทำการประมูลการจำหน่ายสิทธิในการแพร่ภาพกระจายเสียง [72]
อย่างไรก็ตามทาง"บริษัท ฮ่องกงเคเบิลเทเลวิชั่น จำกัด" (HKCTV) มักจะเสนอราคาที่สูงกว่าเพื่อให้ได้สิทธิ์การแพร่ภาพในช่วงเวลาการออกอากาศที่มากกว่า เป็นการขัดขวางการจัดรายการของทั้งสองสถานีโทรทัศน์ ทำให้ทาง ทีวีบี และ เอทีวี ไม่สามารถแพร่ภาพการแข่งขันกีฬาได้อย่างเต็มที่
เครื่องเล่นเทปมีการแนะนำในฮ่องกงมาตั้งแต่ยุค 70s ตอนนั้นถือเป็นสิ่งใหม่,ราคาสูง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
กระทั่งในฮ่องกงธุรกิจวีดีโอและร้านเช่าม้วนวีดีโอ เข้าสู่ตลาดการแข่งขันอย่างจริงจังในปีพ.ศ. 2523 (1980) และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ในช่วงแรกของต้นยุค 80s การได้รับความนิยมของเครื่องเล่นวีดีโอได้ส่งผลกระทบต่อเรตติ้งละครโทรทัศน์อยู่เหมือนกัน แต่ทีวีบียังคงมีละคร(บางเรื่อง)ที่สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนแตะระดับ 60 จุดเปิดขึ้นไปได้ เช่น เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้, มังกรหยก ภาค 1 (1983), มังกรหยก ภาค 2 (1983) และ เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ ซึ่งในความเป็นจริงคือมีละครน้อยเรื่องที่สามารถทำเรตติ้งได้สูงขนาดนั้นและละครส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดในยุค70s-80s ทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ไม่ถึง 60 จุดเปิด โดยมีละครไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่สามารถทำได้
ต่อมาเมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคทองของตลาดวีดีโอเทปในปีพ.ศ. 2530 (1987) เนื่องจากตลาดเทปวิดีโอทั้งในและต่างประเทศเข้าสู่ช่วงเฟื่องฟูมาตั้งแต่ปลายยุค 80s ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ในปีพ.ศ. 2530 (1987) คือ ปีสุดท้ายของช่องทีวีบีที่มีจำนวนผู้ชมช่วงเวลาไพรม์ไทม์ที่สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยตลอดทั้งปีได้ระดับ 45 จุดเปิด หลังจากนั้นเป็นต้นมา เรตติ้งก็ได้รับผลกระทบจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในหลายประการ จนจำนวนการรับชมในช่วงเวลาไพรม์ไทม์โดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีก็ค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ที่ 24 จุดเปิดในปีพ.ศ. 2538 (1995) แม้ว่าเรตติ้งจะสามารถดีดตัวสูงขึ้นได้ในปีต่อ ๆ มา แต่เรตติ้งก็ไม่ได้สูงในแบบช่วงปลายยุค 70s - กลางยุค 80s อีกเลย
ละครในยุค 90s ที่ได้รับความนิยมในแง่ของอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและผู้ชม คือ เจ้าพ่อตลาดหุ้น (The Greed of Man 1992) ถึงแม้ละครจะโด่งดังและสร้างปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมในตลาดหุ้นฮ่องกงที่เรียกว่า "ผลกระทบติงไห่" และมักจะได้รับการโหวตให้เป็นหนึ่งในละครยอดนิยมที่ทรงอิทธิพลต่อจิตใจผู้ชม อยู่หลายครั้ง
แต่สำหรับเรตติ้งแล้วได้เฉลี่ยต่อตอน 33 จุดเปิด ไม่สามารถเทียบความสำเร็จของละครทีวีบียอดนิยมในยุค 80s เช่น เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ หรือ คู่แค้นสายโลหิต
ต้นยุค 90s (1990-1993) นักแสดงยอดนิยมหลายคนได้ทยอยออกจากทีวีบีไปเป็นจำนวนมาก เช่น หวงเย่อหัว,เหลียงเฉาเหว่ย,เติ้งชุ่ยเหวิน, หลิวเจียหลิง, เฉินหมิ่นเอ๋อ, เซียะหนิง และ โจวซิงฉือ (เลิกแสดงละครแต่ยังคงทำหน้าที่อื่นในทีวีบี)
ทีวีบีได้สร้างละคร มังกรหยก ภาคพิเศษ ขึ้นมาสี่เรื่องโดยเขียนบทขึ้นมาเองและไม่ใช่บทประพันธ์ของกิมย้งโดยตรง เพื่อที่จะผลักดันนักแสดงยุคใหม่ขึ้นมา เช่น
ละครชุดมังกรหยกภาคพิเศษเหล่านี้ ถึงแม้จะถูกวิจารณ์อยู่บ้างว่าเป็นการสร้างขึ้นมาเองของทีวีบีและไม่ใช่ละครที่สร้างจากบทประพันธ์ของกิมย้ง แต่อย่างไรก็ตามละครทั้งสี่ชุดนี้ทำให้นักแสดงหลายคนมีชื่อเสียงเพิ่มยิ่งขึ้น เช่น เจิ้งอวี้เจี้ยน, จางจื้อหลิน, เว่ยจุ้นเจี๋ย, โจวฮุ่ยหมิ่น, เหลียงเพ่ยหลิง และ หลี่หวั่นหัว (มีบางคนมีชื่อเสียงในระดับหนึ่งมาบ้างแล้วจากปลายยุค 80s)
ภายหลังจากทีวีบี ได้สร้างละคร มังกรหยก ภาคพิเศษ ขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่บทประพันธ์ของกิมย้งโดยตรงเพียงแต่นำชื่อตัวละครมาเขียนขยายบทเองในการดำเนินเรื่องราว
ต่อมาทางทีวีบีได้ลิขสิทธิ์จากนวนิยายกิมย้ง นำมารีเมคเป็นละครอีกครั้งในช่วงปีพ.ศ. 2537-2544 (1994-2001) ได้แก่
ละครรีเมคยุค 90s จากบทประพันธ์ของกิมย้ง ได้เรตติ้งระดับกลาง ๆ และไม่สามารถทำลายเรตติ้งละครเรื่องเดียวกันในยุค 80s
มีเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือ "8 เทพอสูรมังกรฟ้า 1997" ฉบับ หวงเย่อหัว ที่ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปกลับได้รับการยอมรับจากผู้คนส่วนใหญ่ในฮ่องกงอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นละครรีเมคจากบทประพันธ์กิมย้งยุค 90s เพียงเรื่องเดียวที่ดีกว่างานเก่าในยุค 80s คือ 8 เทพอสูรมังกรฟ้า 1982 และอีกเรื่องคือ เดชคัมภีร์เทวดา 1996 ฉบับ "หลี่ซ่งเสียน" ที่ได้รับคำชมทั้งแง่บวกและแง่ลบก้ำกึ่งสูสีกับ เดชคัมภีร์เทวดา 1984 หรืออีกชื่อ กระบี่เย้ยยุทธ 1984 ฉบับ โจวเหวินฟะ โดยเรื่องหลังไม่เป็นเอกฉันท์นัก แต่ทว่า บท "เหล้งฮู้ชง" ที่แสดงโดย "หลี่ซ่งเสียน" ก็ได้รับการยอมรับจากผู้ชมเช่นกัน
ส่วนละครรีเมคเรื่องอื่น ๆ ในยุค 90s จากบทประพันธ์กิมย้ง เช่น มังกรหยก ภาค 1 (1994) และ มังกรหยก ภาค 2 (1995) เป็นต้น นอกจากเรตติ้งจะแพ้ มังกรหยก ภาค 1 และ 2 ในยุค 80s แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ในฮ่องกง เห็นว่านักแสดงโดยรวมสู้งานเก่าในยุคก่อนไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเรตติ้งในจีน ละครรีเมคยุค 90s จากบทประพันธ์ของกิมย้ง เช่น เรื่อง มังกรหยก ภาค 2 (1995) ฉบับ กู่เทียนเล่อ และ หลี่ยั่วถง, เดชคัมภีร์เทวดา (1996) ฉบับ หลี่ซ่งเสียน , 8 เทพอสูรมังกรฟ้า (1997) ฉบับ หวงเย่อหัว และ ดาบมังกรหยก (2001) ฉบับ อู๋ฉีหัว เมื่อนำไปออกอากาศที่จีน ต่างได้รับความนิยมในจีนมากกว่าละครเรื่องเดียวกันในยุค 80s
เนื่องจากละครรีเมคยุค 80s จากบทประพันธ์ของกิมย้ง เช่น มังกรหยก ภาค 2 (1983) ฉบับ หลิวเต๋อหัว และ เฉินอวี้เหลี่ยน, เดชคัมภีร์เทวดา หรือ กระบี่เย้ยยุทธจักร (1984) ฉบับ โจวเหวินฟะ, 8 เทพอสูรมังกรฟ้า (1982) ฉบับ เหลียงเจียเหยิน และ ดาบมังกรหยก (1986) ฉบับ เหลียงเฉาเหว่ย ได้ออกอากาศในจีน แต่กลับไม่ค่อยได้รับความนิยมทำให้มีเรตติ้งไม่ค่อยสูง จึงง่ายต่อการถูกทำลายเรตติ้งของละครเรื่องเดียวกันในยุคต่อมา
มีเพียง มังกรหยก ภาค1 (1983) ฉบับ หวงเย่อหัว และ องเหม่ยหลิง งานรีเมคจากบทประพันธ์กิมย้ง ในยุค 80s เพียงเรื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถทำสถิติเรตติ้งในจีนสูงถึง 90% จนกลายเป็นหนึ่งในสิบละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีน และทรงอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการรีรันฉายซ้ำในจีนนับครั้งไม่ถ้วน ทำให้ทั้ง "หวงเย่อหัว" ผู้รับบท "ก๊วยเจ๋ง" และ "องเหม่ยหลิง" ผู้รับบท "อึ้งย้ง" รุ่นคลาสสิก หยั่งรากลึกอยู่ในใจผู้ชมชาวจีนส่วนใหญ่ จนยากที่จะลืมเลือน ทำให้มังกรหยก ภาค1 (1994) ฉบับ จางจื้อหลิน และ จูอิน นำแสดง นอกจากจะไม่สามารถทุบเรตติ้งที่สูงของ "มังกรหยก ภาค 1 (1983)" ในจีน และยังยากที่จะแทนที่ได้ เพราะเวอร์ชัน จูอิน ไม่ดังในจีน
ละครแนวสากลเริ่มบูมมาตั้งแต่ปลายยุค 80s แทนที่ละครแนวกำลังภายใน
จนเมื่อเข้าสู่ช่วงต้นยุค 90s ละครสากลต่างได้รับความนิยมมากกว่าละครแนวกำลังภายใน อย่างเห็นได้ชัด และทีวีบีมีละครสากลยอดนิยมออกมามากมาย เช่น เพื่อนรักเพื่อนแค้น (The Breaking Point 1991), เลือดเจ้าพ่อ (Blood of Good and Evil 1990), มรสุมสายเลือด (The Challenge of Life 1990), เทพบุตรผู้พิชิต (Legenadary Ranger 1993), เลือดล้างตระกูล (Big Family 1991), ศึกสองตระกูลใหญ่ (The Key Man 1992) และเจ้าพ่อตลาดหุ้น (The Greed of Man 1992) โดยละครเรื่อง "มรสุมสายเลือด" (The Challenge of Life 1990) ทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 42 จุดเปิด กลายเป็นละครยุค 90s ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงที่สุดในฮ่องกง (สูงกว่าละครทั้งหมดในยุค 90s แต่ไม่สูงเท่าละครยอดนิยมในยุค 70s-80s)
ทุกเรื่องคลาสสิก ทำให้ดารานำของในแต่ละเรื่องได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ เจิ้งเส้าชิว, หลิวสงเหยิน, หลันเจี๋ยอิง, โจวฮุ่ยหมิ่น, หลิวชิงหวิน, ว่านจือเหลียง, เถียนหนิว, หลีเหม่ยฟง, หงซิน, หลี่เจียซิน, หลีเหม่ยเสียน, เฉินฝ่าหยง, หลอฮุ่ยเจียน และ หลิวเหวินหลง อีกทั้งยังเป็นการกลับมาดังอีกครั้งในรอบหลายปีที่ห่างหายไปจากทีวีบี ของ เฉินอวี้เหลียน กับการแสดงของเธอในเรื่อง "ศึกสองตระกูลใหญ่" (The Key Man 1992)
นอกจากนี้ยังมี คู่ขวัญยอดนิยมต้นยุค 90s เช่น หลีหมิงกับโจวไห่เม่ย และ เวินเจ้าหลุนกับเส้าเหม่ยฉี ต่างเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมในฮ่องกง อย่างมากเช่นกัน
ถึงแม้ละครสากลในช่วงนั้นจะได้รับความนิยมในฮ่องกงหลายเรื่อง แต่มีละครสากลในยุค 90s เพียงสามเรื่องที่ได้รับรางวัลหนึ่งในสิบ "ละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงสุดทั่วโลก" คือ
ละคร | นำแสดงโดย | เรตติ้งทั่วโลก(ครั้งแรก) |
---|---|---|
1.เลือดเจ้าพ่อ (Blood of Good and Evil 1990) | เวินเจ้าหลุน และ เส้าเหม่ยฉี | 283,266,000 คน |
2.เพื่อนรักเพื่อนแค้น (The Breaking Point 1991) | หลีหมิง, โจวไห่เม่ย, เวินเจ้าหลุน และ เส้าเหม่ยฉี | 117,925,000 คน |
3.เลือดล้างตระกูล (Big Family 1991) | ว่านจือเหลียง, เถียนหนิว, หลีเหม่ยฟง | 97,916,000 คน |
ส่วนละครสากลแนวธุรกิจ คือ "เจ้าพ่อตลาดหุ้น" (大時代 1992) ถึงแม้ยอดผู้ชมทั่วโลกจะไม่ได้สูงมากเท่าสามเรื่องในตาราง แต่มักจะได้รับการจัดอันดับสูงในแง่เป็นหนึ่งในละครทรงอิทธิพลที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม,ผู้ชมและสังคมมากที่สุดอยู่หลายครั้ง
ในอดีตละครชุดทางไต้หวัน พยายามเข้ามาตีตลาดจอแก้วในฮ่องกง มาตั้งแต่ยุค 70s ภาพโดยรวมไม่ค่อยได้รับความนิยมจากผู้ชมในฮ่องกงเท่าที่ควร รวมถึงในตลาดเอเชียด้วย
แต่มีเพียงเรื่องเดียวในกลางยุค 70s ที่สร้างปรากฏการณ์ฮิตถล่มทลายทั่วเอเชียได้คือ เปาบุ้นจิ้น 1974 ละครไต้หวัน ที่นำมาออกอากาศทางช่องทีวีบี ในปีพ.ศ. 2518(1975) สามารถทำเรตติ้งได้ถึง 87% กลายเป็นอันดับสองของละครยอดนิยมในฮ่องกงประจำปีนั้นทันที หลังจากนั้นละครเรื่องอื่น ๆ ของทางฝั่งไต้หวันก็ไม่ได้รับความนิยมสูงแบบนั้นอึกเลย
จนกระทั่งเกือบ 20 ปีต่อมาละครชุดเรื่อง เปาปุ้นจิ้น 1993 (Justice Pao 1993) นำแสดงโดย จินเชาฉวิน รับบท เปาบุ้นจิ้น, เหอเจียจิ้ง รับบท จั่นเจา และ ฟ่านหงซวน รับบท กงซุนเช่อ ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วเอเชียสำเร็จ ซึ่งในยุคนั้นโดยปกติละครไต้หวันจะไม่ได้รับความนิยมเท่าละครฮ่องกงในตลาดทั่วเอเชีย นับเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่น้อยครั้งจะทำได้กับละครชุดของทางฝั่งไต้หวัน
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 (1993) ทีวีบี โดย เซอร์ รัน รัน ชอว์ ซึ่งตอนนั้นดำรงตำแหน่งประธาน เขาได้เข้าซื้อลิขสิทธิ์เปาปุ้นจิ้นชุดนี้ เพื่อนำมาออกอากาศในฮ่องกง และเมื่อออกอากาศก็ได้รับเรตติ้งผู้ชมที่สูง ปีนั้นได้เกิดกระแส "เปาปุ้นจิ้นฟีเวอร์" ในฮ่องกงขึ้นมา พอสิ้นปีละครชุด เปาปุ้นจิ้น 1993 ที่ออกอากาศโดยช่องทีวีบี ได้เรตติ้งเฉลี่ย 36 จุดเปิดถือว่าสูงมากแล้วสำหรับละครต่างประเทศที่ออกอากาศในฮ่องกง และกลายเป็นหนึ่งในสิบละครต่างประเทศที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกงมาจนถึงปัจจุบัน (อันดับเรตติ้งละครต่างประเทศจะจัดอันดับแยกไม่รวมกับการจัดอันดับเรตติ้งละครที่ผลิตในประเทศ) ส่งให้ดารานำทั้งสามคนมีชื่อเสียงไปทั่วเอเชีย
ต่อมาทาง เอทีวี ได้เข้าซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมดของ เปาปุ้นจิ้น หลังจากรู้ว่าทีวีบี ไม่ได้ซื้อการออกอากาศพิเศษ และเริ่มออกอากาศชนกับช่องทีวีบีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 (1994) ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "เปาปุ้นจิ้นแพ็คคู่" (Double Bao) คือ เหตุการณ์สองสถานีโทรทัศน์ออกอากาศละครเรื่องเดียวพร้อม ๆ กัน[73]
นอกจากนี้ทั้ง ทีวีบี และ เอทีวี ต่างผลิตละครชุดเปาปุ้นจิ้น ที่เป็นของตนเองออกมาแข่งขันกันอีกด้วย
เปาปุ้นจิ้น 1993 กลายเป็นเปาปุ้นจิ้นเวอร์ชันที่มีเรตติ้งสูงกว่า เปาปุ้นจิ้นในเวอร์ชันหลัง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสร้างในฮ่องกงหรืองานสร้างใหม่ในยุคหลัง ๆ ของไต้หวันเองก็ตาม
นอกจากละครไต้หวันชุด "เปาปุ้นจิ้น 1993 จะได้รับความนิยมมากในฮ่องกงแล้ว ยังมีอีกเรื่องคือ องค์หญิงกำมะลอ (My Fair Princess 1998-1999) นำแสดงโดย เจ้าเวย, หลินซินหยู, ซูโหย่วเผิง และ โจวเจี๋ย ที่ทาง เอทีวี ซื้อลิขสิทธิ์นำมาออกอากาศชนละครของทีวีบีในช่วงเวลาเดียวกัน คือ "บอดี้การ์ดเลือดเดือด" (Ultra Protection 1999) นำแสดงโดย หลินเป่าอี้, จางเส้าฮุย, อู๋ฉีลี่, เฉินเมี่ยวอิง, หม่าจุ้นเหว่ย, เจินเจียง, จางฮุ้ยอี้ และ ฝงจื่อฉิง
และ องค์หญิงกำมะลอ สร้างความปั่นป่วนให้กับช่อง ทีวีบี เป็นอย่างมาก โดยสามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครของทางช่องทีวีบี ที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกันได้ในช่วงระยะหนึ่ง(หลายเดือน) ทำให้ดารานำของละครไต้หวันเรื่องนี้มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที ก่อนที่ ทีวีบี จะเอารายการเกมส์โชว์ยอดนิยม มาแก้เกมส์ออกอากาศชน องค์หญิงกำมะลอ และทำเรตติ้งสูงกว่าได้สำเร็จในภายหลัง
ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของ "องค์หญิงกำมะลอ" ไม่ได้สูงเท่าเปาปุ้นจิ้น โดยได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนประมาณ 25 จุดเปิด แต่ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ความสำเร็จในยุค 90s ของละครชุดไต้หวันในฮ่องกง เช่นกัน
ละครชุดของญี่ปุ่นในอดีตเคยได้รับความนิยมในฮ่องกงในระดับที่ดีเพียงช่วงระยะสั้น ๆ ทั้งในยุค 70s และ 80s ละครชุดญี่ปุ่นที่ได้ความรับนิยมอย่างมากในฮ่องกงคือ เรื่อง สงครามชีวิตโอชิน (Oshin 1983) มีการออกอากาศในฮ่องกงถึง 3 ครั้ง ทางช่องทีวีบี โดยครั้งแรกในปีพ.ศ. 2527 (1984) ทางเซอร์ รัน รัน ชอว์ ประธานของทีวีบีในขณะนั้น ได้รู้สึกประทับใจอย่างมากหลังจากชมละครญี่ปุ่นชุดนี้ ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจที่จะนำมาออกอากาศในฮ่องกง และยังมีการรีรันซ้ำครั้งที่สองในช่วงเวลาอื่นของปีเดียวกันอีกด้วย
โดย สงครามชีวิตโอชิน (Oshin 1983) ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง ทีวีบี ในปีพ.ศ. 2527 (1984) ทำเรตติ้งเฉลี่ยได้ 42 จุดเปิดต่อตอน กลายเป็นละครของต่างประเทศที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนมากที่สุดในฮ่องกง (ส่วน แดจังกึม เป็นละครของต่างประเทศที่มีเรตติ้งสูงสุดในเกาะฮ่องกง)
ต่อมาในดือนเมษายน พ.ศ. 2529 (1986) ได้มีการรีรันครั้งที่สามแทรกในช่วงเวลาการออกอากาศรายการ "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) เพื่อออกอากาศชนกับละครอิงประวัติศาสตร์ฟอร์มใหญ่ของช่องเอทีวี เรื่อง จิ๋นซีฮ่องเต้ 1986 (Rise of the Great Wall) มี 63 ตอนจบ ที่เริ่มออกอากาศวันที่ 3 มีนาคม ถึง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เวลา 21:30-22:30 น. และเมื่อละครญี่ปุ่นเรื่อง "สงครามชีวิตโอชิน" ออกอากาศชนในเดือน เมษายน ก็สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่า "จิ๋นซีฮ่องเต้"
ต่อมาในปีพ.ศ. 2530 (1987) ทีวีบีได้นำละครญี่ปุ่นเรื่อง "คลื่นรักคลื่นชีวิต" (Mio Tsukushi 1985) มาออกอากาศในฮ่องกง และกลายเป็นที่นิยมเช่นกัน โดยทีมพากย์ของทีวีบีของละครญี่ปุ่นเรื่องนี้ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก
หลังจากหมดยุคทองของละครญี่ปุ่นในฮ่องกงราวปลายยุค 80s ก็ไม่มีละครญี่ปุ่นเรื่องไหนได้รับความนิยมในระดับที่ดี ทางสถานีโทรทัศน์จึงค่อย ๆ ลดจำนวนการนำเข้ามาจนสุดท้ายละครญี่ปุ่นเริ่มห่างหายไปจากหน้าจอ
จนกระทั่งในยุค 90s หลังจากความสำเร็จของละครชุดทางไต้หวัน ต่อมาทาง เอทีวี ได้นำละครชุดทางญี่ปุ่นเข้ามาออกอากาศในฮ่องกง และทำให้ละครชุดญี่ปุ่นกลับมาได้รับความนิยมเป็นอย่างดีได้อีกครั้ง
ช่วงกลางยุค 90s เอทีวี ได้นำละครชุดญี่ปุ่นสองเรื่อง คือ สวรรค์ลำเอียง (白色之戀 1995) นำแสดงโดย โนริโกะ ซาไก, ทาคาโอะ โอซาวะ และ ยูทากะ ทาเคโนะอุจิ และเรื่อง "ความหวังไม่สูญสิ้น" (家なき子 1994) นำแสดงโดย ยูมิ อะดะชิ เข้ามาออกอากาศในฮ่องกง และได้รับความนิยมในระดับที่ดี และทำให้ทาง เอทีวี ทยอยนำละครญี่ปุ่นอีกหลายเรื่องมาออกอากาศ
ในปีพ.ศ. 2538 (1995) เอทีวี ได้ซื้อลิขสิทธิ์การออกอากาศของ "สงครามชีวิตโอชิน" มาออกอากาศใหม่อีกครั้งในฮ่องกง ดังนั้นละครชุดญี่ปุ่นเรื่องนี้ จึงถูกออกอากาศซ้ำครั้งที่สี่ในฮ่องกง โดยออกอากาศในเวลา 18:30-19:30 น.
หลังจากการกลับมาได้รับความนิยมของละครญี่ปุ่นในฮ่องกงอีกครั้งกลางยุค 90s ทาง ทีวีบี ก็ได้เข้าซื้อลิขสิทธิ์ละครญี่ปุ่นมาออกอากาศ เช่น "1+5 มารักกันนะ" (ひとつ屋根の下 1993) นำแสดงโดย ยูกิ อุชิดะ, ริคาโกะ โยชิคาวะ, ทากูโร ทัตซึมิ และ ยาสุฟูมิ เทราวากิ ก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดี และทาง ทีวีบี ยังได้นำการ์ตูนญี่ปุ่นแนวสืบสวนสอบสวนเรื่อง คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา (金田一少年の事件簿 1997) (รุ่นแรก) ที่ทำเป็นซีรีส์นำมาออกอากาศซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการจัดอันดับเช่นกัน ถึงแม้ว่าในช่วงออกอากาศซีซันแรกของเรื่องนี้จะถูกทาง แอปเปิลเดลี่ (Apple Daily) โจมตีเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่มีความรุนแรงของคดีฆาตกรรม และยังถูกทางช่อง เอทีวี ออกความคิดเห็นเชิงลบต่อสาธารณชนกรณีการฆ่าตัวตายของเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ถูกโยงกับซีรีส์การ์ตูนชุดนี้ ทำให้ทางทีวีบี ถูกบังคับให้ตัดจำนวนตอนบางส่วนที่มีเนื้อหาความรุนแรงออกไป แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเรตติ้งใดๆ
ต่อมาทางเคเบิลทีวีได้เปิดช่องรายการ "ชาแนล เอนเตอร์เทนเมนท์" (Entertainment Channel) ขึ้นมาเป็นของตัวเองและได้ออกอากาศละครญี่ปุ่นจำนวนมากแข่งกับทางสองสถานีโทรทัศน์ ซึ่งก็มีบางเรื่องที่เคยออกอากาศทางช่อง เอทีวี มาก่อนแล้ว
แต่ทว่าความนิยมของละครญี่ปุ่นในฮ่องกง ก็เหมือนในอดีต คือ ได้รับความนิยมเพียงช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น ก่อนที่ ละครเกาหลี จะเข้ามาตีตลาดจอแก้วของฮ่องกงได้สำเร็จในยุค 2000s
นอกจากละครชุดญี่ปุ่นจะกลับมามีกระแสอีกครั้งในฮ่องกง ยังมีการ์ตูน(อนิเมะ)ของญี่ปุ่นที่ถูกนำเข้ามาออกอากาศจำนวนหลายชุดเช่นเดียวกับช่วงยุค 80s
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534 (1990) ทาง ทีวีบีได้ทำการติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ เรื่อง เซนต์เซย์ย่า กับ บริษัท โตเอแอนิเมชัน ของทางญี่ปุ่น และได้นำมาออกอากาศทางช่อง ทีวีบีเจด ในรอบดึกทุกวันอาทิตย์ เวลา 00:00 น. ถึง 01:00 น. ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2533 ถึง 28 เมษายน พ.ศ. 2534 (เนื่องจากเซนต์เซย์ย่ามีฉากการต่อสู้ที่ค่อนข้างรุนแรงและเห็นเลือดจึงทำให้ต้องออกอากาศตอนดึกเพื่อเลี่ยงการถูกโจมตีว่าไม่เหมาะให้เด็กดู) กลายเป็นอนิเมะเรื่องแรกของญี่ปุ่นที่ออกอากาศในช่วงดึกของวงการโทรทัศน์ในฮ่องกง จนถึงช่วงที่มีการออกอากาศ ฟุตบอลโลก 1990 จึงจำเป็นต้องหยุดการออกอากาศ เซนต์เซย่า เป็นเวลาหนึ่งเดือน
ต่อมา ทีวีบีได้นำ ดราก้อนบอล Z มาออกอากาศในฮ่องกงเป็นเวลายาวนานหลายปี และยังซื้อลิขสิทธิ์ของอนิเมะยอดนิยมอย่าง เซเลอร์มูน มาออกอากาศและได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่คนหนุ่มสาวในยุคสมัยนั้นมาก
ในปีพ.ศ. 2538 (1995) ทีวีบี ได้ออกอากาศเรื่อง "บูริน หมูอวกาศ" (Super Pig) ทางช่อง "ทีวีบีเจด" และทางเคเบิลทีวีฮ่องกง ได้นำเรื่อง "มารุโกะ หนูน้อยจอมซ่า" มาออกอากาศทางช่องเคเบิลสำหรับเด็ก (i-CABLE Children Channel) ส่วนทางด้าน เอทีวี ได้มีการซื้ออนิเมะบางเรื่องมาออกอากาศด้วย เช่น "ชินจัง จอมแก่น" โดยออกอากาศชนรายการเพลงยอดนิยมของทีวีบีในช่วงเวลาไพร์มไทม์การออกอากาศของรายการ "เพลงทองคำ" ในปีพ.ศ. 2538 (1995) และสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ดีในตอนแรก คือ 21 ถึง 22 จุดเปิด และเรตติ้งยังคงทำได้ดีอย่างต่อเนื่อง จากความนิยมเพิ่มขึ้นของอนิเมะทำให้ทั้งสองสถานีโทรทัศน์ได้เพิ่มรอบการออกอากาศทั้งในตอนเช้าและตอนดึก
ต่อมาก็ได้มีผู้ชมบางคนต่อว่าเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมของตัวการ์ตูน ชินจัง โดยในขณะนั้นทาง เฉินจื้อหวิน (陳志雲) ผู้ดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้อำนวยการแผนกรายการของทีวีบี" ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของอนิเมะเรื่องนี้ โดยเฉพาะตัวการ์ตูน ชินจัง ที่มีความทะลึ่งหยาบคาบซึ่งอาจเป็นตัวอย่างไม่ดีต่อเยาวชน
ช่วงนั้นทาง "หน่วยงานแพร่ภาพกระจายเสียงแห่งฮ่องกง" (Hong Kong Broadcasting Authority) ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ในฮ่องกง กำลังจะจัดตั้ง "ระบบการจัดประเภทรายการทีวี" หรือ "การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ในฮ่องกง" ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ว่ารายการใดที่มีความเหมาะสมต่อตัวเองและคนรอบข้าง อาทิเช่น รายการใดที่เด็กควรดู, รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ หรือรายการใดที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน เป็นต้น และดูเหมือนว่าอนิเมะเรื่อง "ชินจัง จอมแก่น" อาจจะติดเรทเป็นรายการที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน หรืออาจจะเสี่ยงต่อการถูกถอนออกจากรายการออกอากาศ
ต่อมาทาง ตู้จือเค่อ (杜之克) ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้จัดการรายการ" ของช่อง เอทีวี ในขณะนั้นได้เข้าอธิบายถึงภาพวาดและเนื้อหาของการ์ตูน ชินจัง จนในที่สุดก็ได้รับการอนุญาตให้ออกอากาศได้ต่อเนื่องเป็นระยะๆ ทางสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของเอทีวีจนถึงปีพ.ศ. 2541 (1998)
อนิเมะในยุค 90s ได้เพิ่มองค์ประกอบและรูปแบบใหม่มากมายให้ดูสดใสและดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นกว่าในยุคก่อน รวมถึงการเกิดภาษาหยาบคาย, คำอินเทรนด์และคำสแลงใหม่ ๆ ในหมู่ผู้ชมวัยรุ่น และยังเป็นการวางรากฐานสำหรับบทสนทนาของอนิเมะในรูปแบบใหม่ของทศวรรษต่อ ๆ มา
นอกจากนี้ ทางสถานีโทรทัศน์ในฮ่องกงยังได้นำ "โอวีเอ" (OVA) มาพากย์เป็นภาษากวางตุ้งและนำมาออกอากาศทางทีวีอีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไป โอวีเอ ที่ออกอากาศในญี่ปุ่นและทั่วโลกจะออกอากาศเป็นเสียงต้นฉบับของญี่ปุ่นและไม่ค่อยได้ออกอากาศทางทีวี มาก่อน แต่จะถูกเผยแพร่ในรูปแบบวีดีโอเทป เป็นหลัก
รายการวาไรตี้วันชื่นคืนสุข มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Enjoy Yourself Tonight ชื่อย่อ EYT มักนิยมใช้คำว่า Happy Tonight
"วันชื่นคืนสุข" เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 (1967) และสิ้นสุดชั่วคราวในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (1994) ตอนนั้นได้กลายเป็นรายการวาไรตี้ ที่ออกอากาศมายาวนานที่สุดในโลกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510 จนถึงปลายปีพ.ศ. 2537 โดยมีการออกอากาศมากถึง 6,613 ครั้ง สร้างสถิติโลกสำหรับรายการวาไรตี้ในช่วงเวลานั้น[74]。
ต่อมา ทีวีบี เริ่มการผลิตรายการวาไรตี้ "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) อีกครั้งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 (1997) ถึงปีพ.ศ. 2544 (2001) เป็นครั้งคราว เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 40 ปีและ 50 ปีของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ตอนพิเศษของรายการนี้ออกอากาศเป็นที่ระลึก ได้แก่ "ลาก่อนวันชื่นคืนสุข" (Goodbye Happy Tonight) และ "ฉันรักรายการวันชื่นคืนสุข" (I Love EYT) ถูกผลิตขึ้นออกอากาศในปีพ.ศ. 2550 (2007) และพ.ศ. 2560 (2017) ตามลำดับ
ในอดีตผู้คนในเกาะฮ่องกง ส่วนใหญ่กลัวการคืนอธิปไตยสู่จีน เป็นอย่างมาก เนื่องจากเกาะฮ่องกงภายใต้การปกครองของ อังกฤษ ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองสุดขีด จนกลายเป็น สี่เสือแห่งเอเชีย (Four Asian Tigers) ประกอบด้วย ฮ่องกง, สิงคโปร์, เกาหลีใต้และไต้หวัน ประเทศหรือบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง (มากกว่า 7% ต่อปี) และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วระหว่าง พ.ศ. 2503 – 2533 ในศตวรรษที่ 20 ทั้งหมดได้พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและมีรายได้สูง โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น
1. ฮ่องกงและสิงคโปร์ เป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการเงินระดับนานาชาติ
2. เกาหลีใต้และไต้หวัน เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เป็นแบบจำลองสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา
ก่อนปีพ.ศ. 2540 (1997) ผู้คนจำนวนมากในฮ่องกงทำงานหนักเพื่อเก็บเงินให้มากพอโดยหวังว่าเมื่อคืนอธิปไตยสู่จีนเมื่อไหร่ พวกเขามึแผนจะย้ายออกไปอยู่ประเทศอื่น ๆ กันรวมถึงเหล่านักแสดงบางคนที่มีชื่อเสียงด้วย
จนเมื่อเกาะฮ่องกงภายใต้การปกครองของอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2384 (1841) - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 (1997) ได้สิ้นสุดลงและถูกส่งมอบอธิปไตยคืนให้จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (1997) ภายใต้ข้อตกลงพิเศษที่ว่า รัฐบาลจีนจะปกครองฮ่องกงแบบ "หนึ่งประเทศสองระบบ" โดยชาวฮ่องกงจะมีเสรีภาพบางประการไปอย่างน้อย 50 ปี โดยข้อตกลงกันระหว่างอังกฤษกับจีน คือ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจะไม่ใช่ระบบสังคมนิยมของจีน รวมถึงระบบทุนนิยมแต่เดิม วิถีชีวิตของผู้คนในฮ่องกงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลา 50 ปี จนกว่าจะถึงปีพ.ศ. 2590
ทั้งก่อนหน้าและหลังปีพ.ศ. 2540 (1997) ประชากรในฮ่องกงจำนวนหนึ่งได้ย้ายออกไปอยู่ต่างประเทศกันและที่นิยมมาก ๆ เช่น อังกฤษ, แคนาดา, อเมริกา เป็นต้น
ส่วนทางด้านเศรษฐกิจของจีน ในยุค 90s มีการพ๊ฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมาถึงช่วงยุค 2000s เศรษฐกิจในจีนเจริญแบบก้าวกระโดด และยิ่งมากขึ้นไปอีกภายหลังที่จีนได้เข้าร่วมองค์การการค้าโลกในปีพ.ศ. 2544 (2001) ทำให้ข้อจำกัดและภาษีต่าง ๆ ในประเทศอื่น ๆ ลดลง และไม่นานสินค้าจากจีนก็ออกไปสู่ทุกที่ทั่วโลก รวมถึงการพัฒนาของวงการบันเทิงในจีน ได้ส่งผลกระทบต่อวงการบันเทิงฮ่องกง เช่นกัน เหล่านักแสดงฮ่องกงบางคนเริ่มหาลู่ทางไปแสดงที่จีนกัน รวมไปถึงผู้กำกับและทีมงานต่างๆ ด้วย
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งระหว่างฮ่องกงกับจีนนั้น มีให้เห็นกันมาโดยตลอดหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง, ด้านการปกครอง หรือ อื่น ๆ
ในอดีตช่วงปลายยุค 70s-ต้นยุค 80s ทาง "เอทีวี" เคยมีละครที่ผลิตเองเพียงสามเรื่อง คือ "กระบี่ไร้เทียมทาน" (Reincarnated 1979), "แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" (大地恩情 1980) และ "วัยฝัน ยอดนักไอคิว" (When IQ Matures 1981) ที่สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครของทีวีบี ที่ออกอากาศชนในเวลาเดียวกันได้ในชั่วขณะหนึ่ง (แต่สุดท้ายละครทั้งสามเรื่องก็โดนทาง ทีวีบี นำละครใหม่มาออกอากาศชนและขัดขวางเรตติ้งไม่ให้สูงกว่าได้สำเร็จทุกครั้ง) ภาพโดยรวมทั้งในยุค 70s-80s ทาง "ทีวีบี" เป็นสถานีโทรทัศน์ยอดนิยมอันดับหนึ่ง
ส่วนในช่วงยุค 90s โดยภาพรวมของ เอทีวี นั้นเรตติ้งไม่สามารถเอาชนะสถานีโทรทัศน์ยอดนิยมอันดับหนึ่งในฮ่องกงอย่าง ทีวีบี ได้เลย เพราะ เอทีวี ไม่มีละครที่ผลิตเองเรื่องไหนในยุค 90s ที่จะสามารถทำเรตติ้งสูงกว่าละครของทีวีบี ที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นยุคที่ เอทีวี ต้องใช้ตัวช่วยอื่น ๆ มาเรียกเรตติ้งผู้ชม อย่าง การนำละครดังของต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับทางช่อง ทีวีบี ในการจัดอันดับ เช่น ละครชุดยอดนิยมของไต้หวัน เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ภาค 1-2 ที่สร้างความปั่นป่วนให้กับทางช่อง ทีวีบี และสามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครของทีวีบีที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกันได้หลายเดือน รวมถึงการนำการ์ตูน(อนิเมะ)และละครยอดนิยมของญี่ปุ่นมาออกอากาศ เพื่อดึงเรตติ้งให้กับทางช่อง เอทีวี
แต่อย่างไรก็ตาม ในยุค 90s เอทีวียังคงมีละครที่เรตติ้งดี(สำหรับช่องเอทีวี) เช่น "แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด" (The Good Old Days 1996), "4ดรุณีรักนี้ไม่มีแปรเปลี่ยน" (I Have A Date With Spring 1996) และ "ภูตพิทักษ์ดูดวิญญาณ" (My Date With a Vampire 1998) ทั้งสามเรื่องมีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 20 คะแนนขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากแล้วสำหรับช่องนี้
ส่วนละครเรื่องอื่น ๆ เช่น "เลือดรักเลือดแค้น" (Heaven's Retribution 1990) แสดงนำโดย หวงเย่อหัว, อู๋ฉี่หัว และ ชิเหม่ยเจิน เป็นผลงานที่โด่งดังมากของทางค่ายเอทีวี เมื่อออกอากาศครั้งแรกสามารถทำเรตติ้งถึง 25 คะแนน (สำหรับช่องเอทีวี ถือว่าสูงมากแล้ว) [75]
นอกจากนี้ยังมีละครที่โดดเด่น เช่น "เฉือนคมจิ้งจอกเงิน" (The Silver Tycoon) และ "คนเหนือเซียน ภาค 1 - 2'" (WHO'S THE WINNER I-II) ก็มีเรตติ้งที่ดี
ในปีพ.ศ. 2540 (1997) ทางช่อง เอทีวี ได้สูญเสียสิทธิ์ในการออกอากาศรายการแข่งม้าของฮ่องกง ให้กับทางช่อง ทีวีบี มีข่าวลือว่าคำพูดที่ฉุนเฉียวของ ตงเปียว (ขณะนั้นเขาเป็นพิธีกรชั้นนำของช่อง เอทีวี) ทำให้ "หวงจื้อกัง" ผู้บริหารของ "องค์กรการแข่งม้าในฮ่องกง" (HongKong Jockey Club) ไม่พอใจ
ในปีพ.ศ. 2544 (2000) ช่อง เอทีวี กลับมาได้รับสิทธิ์ในการออกอากาศรายการแข่งม้าของฮ่องกงอีกครั้ง แต่ "ตงเปียว" ไม่ได้เป็นพิธีกรจัดรายการแข่งม้าทางช่องเอทีวีอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากในช่วงสามปีที่ผ่านมา การผลิตรายการแข่งขันม้าของ "องค์กรการแข่งม้าในฮ่องกง" (HongKong Jockey Club) ได้ออกอากาศโดยทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบีเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม "หลินไป่ซิน" (ประธานคณะกรรมการช่องเอทีวี และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) ได้ตัดสินใจขายหุ้นเอทีวีในเวลาต่อมา ให้กับ "เฟิงเสี่ยวผิง" ซึ่งเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เข้ามารับช่วงต่อและเข้ามาจัดระเบียบผังรายการและโปรแกรมของเอทีวีใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่นั้นมาละครของช่องเอทีวีค่อยๆ เลิกผลิตในฮ่องกง รวมถึงมีการยกเลิกการจ้างภายนอกทั้งหมด ต่อมารายการวาไรตี้ก็เริ่มล้มเหลวเรตติ้งตกลงมากและละครเอทีวีเรตติ้งไม่ดีพอในช่วงเวลาไพร์มไทม์ แสดงให้เห็นว่าละครเอทีวีบางเรื่องดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ไม่นาน ภายใต้เรตติ้งตกต่ำของละครที่ผลิตเองและรายการวาไรตี้โชว์
เรตติ้งที่ค่อย ๆ แย่ลงไปเรื่อย ๆ ของช่องเอทีวี ในที่สุดช่อง ทีวีบี ก็ยังคงรักษาตำแหน่งสถานีโทรทัศน์ยอดนิยมอันดับหนึ่งไว้ได้อีกหนึ่งทศวรรษ
ตั้งแต่ช่วงปลายยุค 80s จนถึง ต้นยุค 90s เข้าสู่ช่วงยุคทองภาพยนตร์(จอเงิน)ฮ่องกง ภายใต้อิทธิพลของวงการภาพยนตร์ที่เฟื่องฟูและค่าตอบแทนที่มีรายได้สูงของช่อง เอทีวี ทำให้นักแสดงชั้นนำทั้งชายและหญิงของทางช่อง ทีวีบี หลายคนตัดสินใจเลือกที่จะออกจากทีวีบี เพื่อออกไปแสวงหาความมั่งคั่ง แต่ก็มีบางคนเมื่อออกไปแล้วสุดท้ายก็กลับมาอยู่กับทีวีบี เช่น หวงเย่อหัว และ อู๋ฉีหัว เป็นต้น หลังจากทั้งคู่ออกจากทีวีบีในช่วงต้นยุค 90s แต่สุดท้ายเขาทั้งสองก็หวนกลับมาเล่นละครให้กับทีวีบี และโด่งดังได้อีกครั้งในช่วงกลาง-ปลายยุค 90s เช่นเดียวกับ โจวไห่เม่ย
แต่ก็มีนักแสดงหลายคนที่เมื่อออกไปแล้วก็ไม่กลับมาแสดงละครให้กับช่องทีวีบี อีกเลย เช่น เหลียงเฉาเหว่ย และ หลิวเต๋อหัว ที่ต่างได้ดีกับงานแสดงภาพยนตร์ จนไม่คิดจะกลับมาเล่นละครอีก
ตั้งแต่ต้นยุค 90s-กลางยุค 90s (1990-1996) เป็นช่วงที่ช่อง ทีวีบี มีนักแสดงชาย-หญิง ที่มีใบหน้าหล่อและสวยรวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น จางจื้อหลิน, กู่เทียนเล่อ, เจิ้งอี้เจี้ยน, กัวฟู่เฉิง, หลีหมิง และ หลิวเหวินหลง เป็นต้น พวกเขามักโดนโหวตให้เป็นหนุ่มในฝันขวัญใจสาว ๆ ในยุคนั้น
ส่วนทางด้านฝ่ายหญิง ได้แก่ หลี่เจียซิน, หลีจือ, โจวฮุ่ยหมิ่น, หงซิน, เฉินฝ่าหยง, ไช่เส้าเฟิน, หลี่ยั่วถง และ จูอิน เป็นต้น พวกเธอมักโดนโหวตให้เป็นสาวในฝันขวัญใจหนุ่ม ๆ ในยุคนั้น
นอกจากนี้ยังมีนักแสดงสาวสวยจากยุค 80s ที่เพิ่งจะมาโด่งดังเป็นอย่างมากในช่วงต้นยุค 90s เช่น เส้าเหม่ยฉี, โจวไห่เม่ย, หลันเจี๋ยอิง และ เวินปี้เสีย
ความสำเร็จในฮ่องกงของทีวีบีในช่วงยุค 90s ส่วนใหญ่จะเป็นละครแนวสากลยุคใหม่มากกว่าละครแนวกำลังภายในโบราณ แต่อย่างไรก็ตามตลาดในต่างประเทศมักนิยมละครแนวกำลังภายในมากกว่า จึงทำให้ทาง ทีวีบียังคงมีการผลิตละครประเภทนี้ส่งออกทั่วเอเชียหลายต่อหลายเรื่อง
ส่วนละครสากลที่ได้รับความนิยมในฮ่องกงช่วงยุค 90s มีมากมายนับไม่ถ้วนเช่น เช่น เพื่อนรักเพื่อนแค้น (The Breaking Point 1991), เลือดเจ้าพ่อ (Blood of Good and Evil 1990), มรสุมสายเลือด (The Challenge of Life 1990), เทพบุตรผู้พิชิต (Legenadary Ranger 1993), เลือดล้างตระกูล (Big Family 1991), ศึกสองตระกูลใหญ่ (The Key Man 1992), เจ้าพ่อตลาดหุ้น (The Greed of Man 1992) ,รอยรักลางสังหรณ์ (FATE OF THE CLAIRVOYANT 1994), จอมบงการ (Instinct 1994), ลูกผู้ชายต้องสู้ (Cold Blood Warm Heart 1996), พยัคฆ์ร้ายหลี่ฉี/หลุมรักพลางใจ (Old Time Buddy 1997) และ เลือดรัก เลือดทรนง (Secret Of at The Heart 1998) เป็นต้น
และละครแนวสืบสวนอาชญากรรม ก็ได้รับความนิยมมากมาย เช่น คดีดังกองปราบ ภาค1-4 (Detective Investigation Files I-IV) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นละครสากลแนวสืบสวนอาชญากรรม(ตำรวจ) ที่ดีที่สุดของยุค 90s จนมีการสร้างละครแนวเดียวกันตามออกมาอีกหลายเรื่อง เช่น แผนล้างมาเฟีย ภาค 1-2 (The Criminal Investigator 1995-1996), โค่นอิทธิพลมืด (I Can't Accept Corruption 1997), ปมแค้นคดีเดือด (Untraceable Evidence 1999) และ ดับอิทธิพลเถื่อน (Anti-Crime Squad 1999) เป็นต้น
ท่ามกลางความสำเร็จของละครสากล ละครแนวอภินิหารที่สร้างจากการดัดแปลงมาจากวรรณกรรมชื่อเรื่องเดียวกันในเรื่อง ไซอิ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า (Journey To the West 1996) สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดในฮ่องกงของปีพ.ศ. 2539 (1996) โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 36 จุดเปิด นำแสดงโดย เจียงหัว , จางเหว่ยเจี้ยน , หลีเหย้าเสียง และ ไม่ฉางชิง ก่อนที่จะมีภาค 2 ตามมาอีกครั้งในปีพ.ศ. 2541 (1998) โดยเปลี่ยนคนแสดงในบท ซุนหงอคง จากเดิมในภาคแรกคือ จางเหว่ยเจี้ยน เปลี่ยนเป็น เฉินฮ่าวหมิน แทน ซึ่ง เฉินฮ่าวหมิ่น ก็ทำหน้าที่สานต่อในบทนี้ได้ดีเช่นกัน
เมื่อมีการนำละครชุดเรื่อง ไซอิ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า (Journey To the West 1996) ภาคแรก ทยอยออกอากาศทั่วเอเชีย ก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ส่งให้ จางเหว่ยเจี้ยน ผู้รับบท ซุนหงอคง ในภาคแรก ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและเขาได้กลายเป็น ซุนหงอคง เวอร์ชันละครที่ผู้คนทั่วเอเชียชื่นชอบมากที่สุด และยากที่คนอื่นจะมาแทนที่เขาในบทเดียวกัน
แต่น่าเสียดาย ที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ไซอิ๋วเวอร์ชันยอดนิยมที่สุดกลับเป็นฉบับของทางสถานีโทรทัศน์วิทยุกลางแห่งประเทศจีน (CCTV) คือ "ไซอิ๋ว 1986" (Journey to the West 1986) นอกจากจะประสบความสำเร็จในจีนด้วยเรตติ้งสูงถึง 96% แล้วยังมีการรีรันฉายซ้ำ "ไซอิ๋ว 1986" ในจีนเกินกว่า 3,000 ครั้ง ทำให้ ซุนหงอคง ที่แสดงโดย จางจินไหล (章金莱) ของเวอร์ชันนี้ หยั่งรากลึกลงไปในใจผู้ชมชาวจีนส่วนใหญ่ จนยากที่เวอร์ชันอื่นจะมาแทนที่
ความมีอิทธิพลในจีนแผ่นดินใหญ่ของ "ไซอิ๋ว 1986" ที่ "จางจินไหล" แสดงเป็นหงอคง นั้นเมื่อถึงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ในจีน เช่น ตรุษจีน จะมีการนำละครเรื่องไซอิ๋วเวอร์ชันที่จางจิงไหลแสดงมาออกอากาศรีรันซ้ำเป็นประจำในทุกเทศกาลของทุกปี ทำให้ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ส่วนใหญ่ชื่นชอบเขาในบทนี้มาก เมื่อเวลาที่เขาได้ไปปรากฏตัวตามรายการโชว์ต่าง ๆ จางจินไหลก็มักจะถูกขอให้โชว์การแสดงเป็นหงอคงในรายการนั้น ๆ อยู่เสมอ
ในแง่ของรายการวาไรตี้ ในช่วงต้นยุค 90s รายการวาไรตี้ยอดนิยม "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) ที่อยู่คู่กับช่องทีวีบีมาอย่างยาวนาน ได้ผ่านการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรายการมาหลายต่อหลายครั้งเพื่อพยายามดึงยอดผู้ชมในปัจจุบันให้ได้ เนื่องจากตั้งแต่ช่วงปลายยุค 80s ได้ถูกทางช่อง เอทีวี แย่งตัวนักแสดงดั้งเดิม(ส่วนใหญ่)ที่ร่วมโชว์อยู่ในรายการนี้เป็นประจำ ไปอยู่กับช่องเอทีวี จนต้องเปลี่ยนผังรายการเพราะทีมเก่าไม่อยู่แล้ว เรตติ้งก็ยังไม่ดีขึ้น ในที่สุดก็ต้องหยุดผลิตรายการไปอย่างไม่มีกำหนดในปีพ.ศ. 2537 (1994)
ละครเรื่อง "สายเลือดสายสัมพันธ์ ภาค1-5" (A Kindred Spirit 1995-1999) เป็นละครสถานการณ์สมัยใหม่ออกอากาศวันละครึ่งชั่วโมง(รวมโฆษณา)ในช่วงไพร์มไทม์ ตอนกลางคืนของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 (1995) ถึง 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (1999) เป็นเวลายาวนานถึง 4ปีครึ่ง ในช่วงที่มีการออกอากาศละครเรื่องนี้มีการเปลี่ยนแปลงเวลาการออกอากาศบ่อยมากเนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายการยอดนิยมทางช่อง เอทีวี ที่นำมาออกอากาศชนและยังได้รับผลกระทบจากการที่ช่อง เอทีวี นำละครยอดนิยมของไต้หวันเรื่อง "องค์หญิงกำมะลอ ภาค 1-2" มาออกอากาศ แต่อย่างไรก็ตามละครเรื่อง "สายเลือดสายสัมพันธ์ ภาค1-5" โดยเฉพาะภาค 3 และ 5 ต่างได้รับความนิยมในระดับที่ดีและทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 30 จุดเปิด ซึ่งเป็นเรตติ้งที่สูงกว่าภาค 1,2 และ 4
ละครเรื่อง "สายเลือดสายสัมพันธ์ ภาค1-5" เมื่อรวมจำนวนตอนทั้งหมดในช่วงออกอากาศเป็นเวลาสี่ปีครึ่ง มีจำนวนมากถึง 1,128 ตอน ทำให้กลายเป็นละครโทรทัศน์ฮ่องกงที่มีจำนวนตอนออกอากาศมากที่สุดเป็นอันดับสองในขณะนั้น จนปัจจุบันได้หล่นมาอยู่ในอันดับสามของละครที่มีจำนวนตอนออกอากาศมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ของฮ่องกง
เมื่อสิ้นศตวรรษที่ 20 สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ยังคงเป็นสถานีโทรทัศน์ยอดนิยมอันดับหนึ่งในฮ่องกง(รวมถึงตลาดในต่างประเทศทั่วเอเชีย) ส่วนในฮ่องกง มีความนิยมสูงติดต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุค 70s, 80s และ 90s ถึงแม้จะมีบ้างในบางช่วงที่ถูกสถานีโทรทัศน์คู่แข่งอย่างช่อง เอทีวี ทำเรตติ้งรายการได้สูงกว่ารายการที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกันได้เป็นครั้งคราว แต่สุดท้าย ทีวีบี ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ ภาพโดยรวม ทีวีบี ยังคงครองความนิยมอันดับหนึ่งนานถึง 3 ทศวรรษ ตั้งแต่ค.ศ. 1970-1999 (30ปี)
ช่วงต้นยุค 2000s ละครทางไต้หวันและละครที่ผลิตร่วมกันของทางทีวีบีกับไต้หวัน ได้สร้างปรากฏการณ์ความนิยมในฺฮ่องกง ติด ๆ กันได้หลายเรื่อง เช่น
1. อุ้ยเสี่ยวป้อ เทพบุตรไร้เทียมทาน (The Duke of the Mount Deer 2000) เป็นงานสร้างร่วมกันของทางไต้หวันและฮ่องกง ออกอากาศในฮ่องกงทางช่องของ ทีวีบี ได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 36 จุดเปิด ทุบเรตติ้งความนิยมของละครไต้หวันในฮ่องกงเรื่อง เปาปุ้นจิ้น (1993) ที่ได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 36 จุดเปิดเช่นกัน ลงได้สำเร็จ เนื่องจากเปาปุ้นจิ้น แพ้ตรงเรตติ้งสูงสุด
2. เห้งเจียจอมอิทธิฤทธิ์ (The Monkey King: Quest for the Sutra 2002) เป็นงานที่ร่วมกันสร้างของทางไต้หวันและฮ่องกง ได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 34 จุดเปิด ออกอากาศในฮ่องกงทางทีวีบี
3. มนต์รักในสายฝน (Romance in the Rain 2001) เป็นละครชุดเรื่องแรกร่วมกันสร้างโดยจีนกับไต้หวัน ได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 30 จุดเปิด ออกอากาศในฮ่องกงโดยทีวีบี
ละครไต้หวันร่วมผลิตทั้งสามเรื่องนี้ที่ออกอากาศทางช่องของทีวีบี สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าเรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ภาค 1-2 ละครไต้หวันที่เคยออกอากาศในฮ่องกงผ่านทางช่องของ เอทีวี
ทั้งสามเรื่องติด 10 อันดับละคร(ต่างประเทศ)ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกง (外购剧集总排名) มาจนถึงปัจจุบัน ส่วน องค์หญิงกำมะลอ ภาค 1-2 ไม่ติดใน 10 อันดับแรก เนื่องจากเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนไม่สูงมากนัก(25 จุดเปิด)
ต่อมาทาง เคเบิลทีวีฮ่องกงได้นำละครไต้หวันเรื่อง รักใสใส หัวใจสี่ดวง ภาค 1 (Meteor Garden I ) นำแสดงโดย" เอฟโฟร์" (F4) วงบอยแบนด์ไต้หวันที่โด่งดังที่สุดในเอเชียในช่วงเวลานั้น เข้ามาออกอากาศเมื่อต้นปีพ.ศ. 2545 (2002) ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ทางช่องเอทีวี ได้เข้าซื้อลิขสิทธิ์ละครชุดนี้มาออกอากาศอีกครั้งเพื่อหวังประโยชน์จากความนิยมใน "เอฟโฟร์" (F4) และออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 20:30 น.โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคมและจากนั้นมีการรีรันซ้ำเป็นครั้งคราว แต่ทว่าเรตติ้งเฉลี่ยในฮ่องกงกลับไม่ค่อยสูงนัก
ในขณะที่ทางทีวีบี เล็งเห็นความนิยมของบอยแบนด์ไต้หวัน "เอฟโฟร์" เช่นกันจึงได้ซื้อลิขสิทธิ์ภาคต่อของเรื่อง รักใสใส หัวใจสี่ดวง มาออกอากาศทางช่องทีวีบีเจด ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 (2003) ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 22:00-23:00 น. ในภาคสองนี้คือ รักใสใส หัวใจสี่ดวง ภาค2 (Meteor Garden II) ทำเรตติ้งในฮ่องกงได้ดีกว่าภาคแรกที่ออกอากาศทางช่องเอทีวี โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 22 จุดเปิด
ในอดีตซีรีส์เกาหลี พยายามเจาะตลาดจอแก้วเอเชียแต่ไม่เคยสำเร็จ
ต้นยุค 2000s ทางสถานีโทรทัศน์ฮ่องกง มีการนำ ซีรีส์เกาหลี เข้ามาออกอากาศในฮ่องกงก่อนบ้างแล้ว แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในช่วงแรก เพราะช่วงนั้นละครต่างประเทศที่ได้รับความนิยมในฮ่องกง คือ ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และจีน
จนกระทั่งปีพ.ศ. 2547 (2004) ได้เกิดกระแสความนิยมทั่วเอเชียกับ ซีรีส์เกาหลีเรื่อง สะดุดรักที่พักใจ (Full House 2004) และในฮ่องกง ทางทีวีบี ได้นำซีรีส์เกาหลีเรื่องนี้มาออกอากาศผ่านทางช่อง "ทีวีบีเจด" (Jade Channel) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2548 (2005) ได้รับความนิยมค่อนข้างดี โดยเฉพาะดารา-นักร้องนำชายในเรื่องนี้ คือ เรน ได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก และนับได้ว่าเป็นละครเกาหลีเรื่องแรก ๆ ที่เปิดกระแสเกาหลีเข้าสู่ตลาดความนิยมทั้งในฮ่องกงและทั่วเอเชีย [76]ตามต่อด้วยซีรีส์เกาหลีเรื่อง ฝากรักไว้ที่ปลายฟ้า (Stairway to Heaven) และ เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม (Empress Myeongseong; The last Korean Empress) เป็นต้น โดยออกอากาศในฮ่องกงทางช่องของ ทีวีบี ทั้งหมด
ถัดมาอีกปี วัฒนธรรมธรรมเกาหลีบูมสุดขีดทั่วเอเชียและทั่วโลกเมื่อละคร แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง (Dae Jang-geum 2003) เริ่มได้รับความนิยมไปยังในประเทศต่าง ๆ ที่นำซีรีส์เรื่องนี้ไปออกอากาศ
โดยทางช่อง ทีวีบี ได้นำซีรีส์เกาหลีเรื่องนี้มาออกอากาศทางช่อง "ทีวีบีเจด" ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2548 (2005) ในช่วงไพร์มไทม์ในตอนเย็น โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 36 จุดเปิด, เรตติ้งเฉลี่ยสำหรับตอนอวสาน 47 จุดเปิด และเรตติ้งสูงสุด 50 จุดเปิด ซึ่งมีผู้ชมโดยเฉลี่ยต่อตอน 2.35 ล้านคนในฮ่องกง กลายเป็นละคร(ต่างประเทศ)ที่มีเรตติ้งสูงสุดสำหรับละครต่างประเทศทั้งหมดที่เคยนำมาออกอากาศในฮ่องกง(แต่แพ้เรตติ้งเฉลี่ยของ "สงครามชีวิตโอชิน")
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากซีรีส์ แดจังกึม แล้ว ซีรีส์เกาหลีเรื่องอื่น ๆ ที่ออกอากาศในฮ่องกง กลับไม่ค่อยได้รับความนิยมแบบนั้นอีกเลย ตรงข้ามกับหลายประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย ที่หันไปสนใจซีรีส์เกาหลีมากกว่าละครชุดฮ่องกง และความนิยมในละครทางฝั่งฮ่องกงได้ลดลงเป็นอย่างมาก จนในที่สุดซีรีส์เกาหลีเข้ามาครองตลาดความนิยมในเมืองไทยแทนที่ละครชุดฮ่องกงมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเข้าสู่ยุค 2000s เรตติ้งของช่อง เอทีวี ล้มเหลวอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสาเหตุหลายประการ
ดังนั้นความสนใจของผู้ชมส่วนใหญ่ในฮ่องกงและจุดเน้นของสื่อจึงหันไปที่ละครโทรทัศน์ของทางช่อง ทีวีบี เป็นหลัก
ในช่วงต้นยุค 2000s ทีวีบีประสบความสำเร็จจากการนำละครชุดต่างประเทศมาออกอากาศ และยังมีการจับมือกับทางไต้หวันในการผลิตละครชุดร่วมกัน เมื่อออกอากาศก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี จนช่องคู่แข่งอย่างเอทีวี ไม่สามารถสู้ได้เลย และการนำซีรีส์ยอดนิยมเกาหลีมาออกอากาศทางช่องทีวีบี ก็ได้สร้างกระแสเกาหลีฟีเวอร์ ได้ช่วงระยะหนึ่งในฮ่องกง
ส่วนละครชุดของช่อง ทีวีบี เองได้รับความสนใจจากแนวซิทคอม(ไลท์คอมเมดี้) ตัวละครบางตัวในละครของทีวีบี ประสบความสำเร็จในการดึงดูดปฏิกิริยาทางบวกจากผู้ชมและความนิยมก็เพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ละครเกี่ยวกับความรักระหว่างชายและหญิงเรื่อง "วุ่นรัก ซือเจ๊อลวน" (War of the Genders 2000) ที่นำแสดงโดย หวงจื่อหัว และ เจิ้งอวี้หลิง เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ประมาณวันละครึ่งชั่วโมง(รวมโฆษณา) ในทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22:35-23:00 น. เป็นละครที่ได้รับความนิยมในยุคนั้นและได้หยั่งรากลึกเข้าในหัวใจของผู้ชมละครในฮ่องกง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในละครคลาสสิกในฮ่องกงแห่งยุค 2000s
ช่วงปลายยุค 90s ถึง ต้นยุค 2000s คู่ขวัญที่ได้รับความนิยมมาก คือ กู่เทียนเล่อ กับ ซุนซวน และผลงานละครเรื่อง เจาะเวลาหาจิ๋นซี (A Step Into the Past 2001) ก็เป็นละครที่นำพาความสำเร็จทั่วเอเชียได้ในช่วงต้นยุค 2000s อีกทั้งยังเป็นผลงานละครเรื่องสุดท้ายของ กู่เทียนเล่อ ก่อนที่เขาจะหันไปเอาดีทางด้านภาพยนตร์
ต่อมาละครเรื่อง อาว่างสุดเอ๋อกับขนมปังเมียจ๋า (Square Pegs 2003) แสดงนำโดย ซุนซวน และ กัวจิ้นอัน ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2545 - 24 มกราคม พ.ศ. 2546 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 21.00-22.00 น. (รวมโฆษณา) เมื่อออกอากาศก็ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างอบอุ่น ทั้งสองคนได้กลายเป็น "คู่ขวัญในจอแห่งปี" (Most Favorite Partner 2003) โดยความเห็นของสื่อ
จากกระแสคู่ขวัญมาแรงทำให้ต่อมาทั้งคู่(กัวจิ้นอันกับซุนซวน) ได้ถ่ายทำละครร่วมกันอีกครั้งในภาคต่อมาของเรื่องนี้ในเวอร์ชันสากล คือ อาว่าง ภาค 2 หรือ อ่าว่าง ยอดอัจฉริยะปัญญานิ่ม (Life Made Simple 2005) นำแสดงโดย คู่ขวัญยอดนิยมแห่งยุค อย่าง กัวจิ้งอัน กับ ซุนซวน ละครเรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างอบอุ่นเช่นเคย โดยออกอากาศครั้งแรกวันที่ 24 ตุลาคม - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 21:00-22:00 น.(รวมโฆษณา) อีกทั้งยังเป็นละครที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 38 ปีของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี อีกด้วย
นอกจากกระแสคู่ขวัญแห่งยุค 2000s คือ กัวจินอั้น และ ซุนซวน จะเป็นที่นิยมมากแล้ว การกลับมาโด่งดังได้อีกครั้งของ เติ้งชุ่ยเหวิน (ในรอบหลายปีที่ชื่อเสียงของเธอไม่เป็นที่นิยม) ถือเป็นอีกหนึ่งตำนานในยุคนั้น จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอกลับมารุ่งโรจน์ในวงการบันเทิงได้อีกครั้ง คือ การแสดงในบท "หยูเฟย" ในละครพีเรียดเรื่อง ศึกรักจอมราชันย์ (War and Beauty 2004) เมื่อออกอากาศบทบาทที่เธอแสดงในเรื่องนี้ เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางและเรตติ้งก็สูง ความสำเร็จของละครชุดนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในละครที่ประสบความสำเร็จอย่างมากแห่งยุค 2000s ส่งให้ เติ้งชุ่ยเหวิน กลับมาได้รับความนิยมอย่างสูงได้อึกครั้ง นอกจากจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในฮ่องกงแล้ว ละครเรื่องนี้ยังได้มีการออกอากาศในต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน, จีนแผ่นดินใหญ่ และประเทศไทย ต่างก็ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีเช่นกัน (ละครเรื่อง "ศึกรักจอมราชันย์" เป็นละครฮ่องกงเรื่องท้าย ๆ ที่ได้รับความนิยมและมีกระแสในเมืองไทย ก่อนซีรีส์เกาหลีจะยึดพื้นที่ความนิยมในไทยแทนที่ละครชุดฮ่องกงมาจนถึงปัจจุบัน)
ต่อมาทั้ง หลีเหย้าเสียน และ เติ้งชุ่ยเหวิน จับมือกันสร้างปรากฏการณ์ "คู่ขวัญ(รุ่นใหญ่)" ขึ้นมา จากการร่วมแสดงนำด้วยกันในละครเรื่อง "ยอดหญิงจอมทรนง" (Rosy Business 2009) กลายเป็นหนึ่งในละครที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากแห่งปีพ.ศ. 2552 (2009) ทั้งคู่ได้พากันคว้ารางวัล "ราชาจอแก้ว" (TV King) และ "ราชินีจอแก้ว" (TV Queen) ไปครอบครองได้สำเร็จ จากความนิยมของคู่ขวัญรุ่นใหญ่นี้ ทำให้มีการสร้างภาคต่อที่ประสบความสำเร็จกว่าเดิมในยุคต่อมาอย่างเรื่อง "ยอดหญิงจอมทรนง ภาค 2" (No Regrets 2010)
นอกจากนี้ในช่วงยุค 2000s ยังมีละครที่ทำเรตติ้งสูงสุดได้ 50 จุดเปิด (ไม่ใช่เรตติ้งเฉลี่ย) คือ "มรสุมชีวิตลิขิตพระจันทร์" (Moonlight Resonance 2008) และ "ศึกบุปผาวังมังกร" (Beyond the Realm of Conscience 2009) โดยทั้งสองเรื่องทำเรตติ้งสูงสุดได้เท่าซีรีส์ยอดนิยมเกาหลี เรื่อง แดจังกึม
ช่วงยุคนี้ นักแสดงชายรุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมมากและกลายเป็นไอดอลแห่งยุคนั้น คือ หลินฟง ตลอดช่วงยุค 2000s เขาประสบความสำเร็จในฮ่องกงอย่างต่อเนื่องทั้งในงานแสดงและการเป็นนักร้องโดยมีรางวัลการันตรีตัวเขามากมาย
"หลินฟง" ตั้งแต่เริ่มเข้าวงการมาในช่วงปลายยุค 90s และตลอดช่วงยุค 2000s เขาได้รับการยกย่องอย่างต่อเนื่องในฐานะนักแสดงนำโดยผู้บริหารของทีวีบี และถึงจุดสูงสุดในชีวิตของการเป็นศิลปินตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 (2009) เป็นต้นมา
ช่วงยุค 2000s เรตติ้งโดยรวมละครของทางช่องเอทีวี ไม่ได้รับความนิยมเลยเมื่อเทียบกับเรตติ้งละครของทางช่อง ทีวีบี
เอทีวี จึงใช้กลยุทธเอารายการเกมส์โชว์ลิขสิทธิ์ต่างประเทศออกอากาศแข่งขันกับช่องทีวีบี เช่นรายการ เกมเศรษฐี (Who Wants to Be a Millionaire?) เป็นรายการประเภทควิซโชว์ทางโทรทัศน์ โดยรายการมีคอนเซปต์ดึงดูดผู้ชมทางบ้าน ด้วยเงินรางวัลมหาศาลเป็นรางวัลในการตอบคำถามให้ถูกหมดทุกข้อ ในจำนวนคำถาม 12 หรือ 15 ข้อ โดยมีตัวเลือกให้เลือก และความยากของคำถามค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามข้อหลัง ๆ ผู้ชนะจะได้รับจำนวนเงินรางวัลสูงสุดถึง 1 ล้านเหรียญฮ่องกงกลับบ้าน
ในช่วงต้นฤดูร้อนของปีพ.ศ. 2544 (2001) เอทีวีได้ทำการเปิดตัวรายการวาไรตี้รายการใหม่คือ "เกมเศรษฐี" ซึ่งจะออกอากาศในทุกวันจันทร์, พุธ และศุกร์ เวลา 20:30 น. ถึง 21:30 น. และเอทีวียังออกอากาศรายการ "ผู้หญิงท้าชีวิต" (女優選拔賽) ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 20.30-21.30 น. ซึ่งเป็นรายการเกมแนวการเอาตัวรอด (Survivor) คล้ายกับ "เกมท้าชีวิต" (Fear Factor) แม้ว่ารอบ ทัวร์นาเมนต์ ของรายการหลัง (Women's Choice Tournament) จะมีเนื้อหาที่ดิบดุดันและเฉียบคมกว่า เช่น อวดภาพอนาจารและการให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันกินแมลง แต่รายการนี้กลับไม่ค่อยมีคนดู และทำเรตติ้งเฉลี่ยได้เพียง 2 จุดเปิด และไม่มีทีท่าว่าเรตติ้งจะดีขึ้น ตรงกันข้ามกับรายการ "เกมเศรษฐี" ที่ถึงแม้ในสัปดาห์แรกของการออกอากาศจะทำเรตติ้งเฉลี่ยได้เพียง 8 จุดเปิด แต่หลังจากนั้นเรตติ้งก็ค่อย ๆ พุ่งขึ้นอย่างมั่นคง จึงทำให้ทาง เอทีวี ตัดรายการ "ผู้หญิงท้าชีวิต" ออกจากผังรายการและเอารายการ "เกมเศรษฐี" มาออกอากาศแทนในวันอังคารและพฤหัส ทำให้รายการ เกมเศรษฐี ได้ออกอากาศครบห้าวัน คือ วันจันทร์-ศุกร์
ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (2001) รายการ "เกมเศรษฐี" ได้ออกอากาศตอนพิเศษ คือ "ดาราการกุศลล้านโชว์" (Celebrity Charity Million Show) ซึ่งทางรายการได้เชิญ เหล่าบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ผงเป่าเป่า และ หวงจัน เข้าร่วมเล่นเกมในรายการและผู้ชนะจะบริจาคเงินรางวัลทั้งหมดเพื่อการกุศล ทำให้รายการมีเรตติ้งที่พุ่งขึ้นสูง ส่งผลกระทบต่อเรตติ้งของรายการทีวีบี ที่ออกอากาศชนในช่วงเวลาเดียวกัน อย่าง การประกวดรอบชิงชนะเลิศของ "มิสฮ่องกง 2001" (2001 Miss Hong Kong Finals) ทำให้เรตติ้งสูงสุดรายการ "เกมเศรษฐี" ทำได้ถึง 39 จุดเปิด โดยมีเรตติ้งเฉลี่ย 30 จุดเปิด กลายเป็นเรตติ้งทั้งเฉลี่ยต่อตอนและสูงสุดของทางช่องเอทีวีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมา[77]
ตั้งแต่อดีตเรตติ้งรอบชิงชนะเลิศของการประกวด "มิสฮ่องกง" ในทุกปีจะทำเรตติ้งเฉลี่ยได้มากกว่า 30 คะแนน แต่ "เกมเศรษฐี" ตอนพิเศษนี้ได้ทำให้เรตติ้งของการประกวดรอบสุดท้ายของ "มิสฮ่องกง 2001" (Miss Hong Kong Finals) ร่วงลงต่ำสุดในรอบ 29 ปีของการประกวดรอบสุดท้ายมิสฮ่องกง กลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ยังคงความคลาสสิกในประวัติศาสตร์ทีวีในฮ่องกง
จากผลกระทบดังกล่าว ทาง ทีวีบี ได้เปลี่ยนแปลงผังรายการ ต่อมาก็เอาละครไต้หวันเรื่อง เณรน้อยยอดอัจฉริยะ (Smart Kid 2001) นำแสดงโดย จางเหว่ยเจี้ยน โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 20:30 น. ถึง 21:30 น. เพื่อมาขัดขวางเรตติ้งรายการ "เกมเศรษฐี" ของช่องเอทีวี โดยสัปดาห์แรกของละคร "เณรน้อยยอดอัจฉริยะ" ทำเรตติ้งเฉลี่ยได้ 22 จุดเปิด แซงหน้าเรตติ้งเฉลี่ย 20 จุดเปิดของรายการ "เกมเศรษฐี" ได้สำเร็จอย่างหวุดหวิด
อย่างไรก็ตามการออกอากาศละครเรื่อง "เณรน้อยยอดอัจฉริยะ" ในสัปดาห์ที่ 2 เรตติ้งเฉลี่ยได้ร่วงลงมา 3 จุดอยู่ที่ 19 จุดเปิด และถูกรายการ "เกมเศรษฐี" แซงหน้าสำเร็จด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 22 จุดเปิด กลายเป็นละครที่ล้มเหลวของ "จางเหว่ยเจี้ยน" เมื่อเทียบกับความสำเร็จในละครเรื่องอื่น ๆ ของเขา[78]
ภายหลังอวสานละครเรื่อง "เณรน้อยยอดอัจฉริยะ" ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (2001) ทาง ทีวีบี ได้เปลี่ยนกลยุทธ์อีกครั้งและเปิดตัวรายการเกมโชว์แบบเรียลลิตี้ คือ เกมกำจัดจุดอ่อน (Weakest Link) (เวอร์ชันฮ่องกง) อย่างเร่งด่วน โดยได้ เจิ้งอวี้หลิง มารับหน้าที่เป็นพิธีกร ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 20:30 น. ถึง 21:30 น. เป็นการออกอากาศชนกับรายการ "เกมเศรษฐี" ของทางเอทีวี โดยสองตอนแรกของรายการ "กำจัดจุดอ่อน" ได้เชิญเหล่านักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง "นักเตะเสี้ยวลิ้มยี่" (Shaolin Soccer 2001) ของโจวซิงฉือ ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้นเข้าร่วมเล่นเกม และผู้ชนะจะบริจาคเงินรางวัลทั้งหมดให้กับการกุศลทั้งหมด เป็นผลให้รายการ "เกมกำจัดจุดอ่อน" ของทีวีบี เอาชนะเรตติ้งของรายการ "เกมเศรษฐี" ของเอทีวี ได้สำเร็จ
เมื่อเทียบกับความสดใหม่ของทั้งสองรายการ ดูเหมือนว่ารายการ "เกมกำจัดจุดอ่อน" ของทีวีบี จะได้เปรียบรายการ "เกมเศรษฐี" ของเอทีวี อยู่มาก จนต่อมาคนดูก็ค่อยๆ เบื่อรายการ "เกมเศรษฐี" ของเอทีวี และในที่สุดคนดูก็ค่อยๆ หายไป จนในตอนท้ายของปีพ.ศ. 2544 (2001) รายการ "เกมเศรษฐี" เรตติ้งเริ่มค่อย ๆ ลดลง จนวันออกอากาศครั้งสุดท้าย คือ 20 มีนาคม พ.ศ. 2548 (2005)
ความสำเร็จของรายการ "เกมกำจัดจุดอ่อน" ของทีวีบี เป็นที่พูดถึงมากโดยเฉพาะ เจิ้งอวี้หลิง ผู้รับหน้าที่เป็นพิธีกร ต้องทำสีหน้าเย็นชาและดูใจร้าย ตามคอนเซปต์ที่ทางโปรดิวเซอร์ชาวอังกฤษขอให้รักษารูปแบบรายการเดิมไว้ ซึ่งบุคลิกของ เจิ้งอวีเหลิง ที่ดูดุเป็นสไตล์ที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมชาวฮ่องกงมากนัก แต่อย่างไรก็ตามเรตติ้งก็สูงและสามารถทำให้รายการของเอทีวี ถึงจุดอวสาน
ถึงแม้รายการ เกมเศรษฐี ของทางช่องเอทีวี จะปิดตัวลงไปในต้นปีพ.ศ. 2548 (2005) และภาพโดยรวมก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าละคร องค์หญิงกำมะลอ ที่ทาง เอทีวี เคยนำมาออกอากาศสร้างความปั่นป่วนให้กับทางช่อง ทีวีบี อยู่หลายเดือน แต่ก็นับได้ว่า "เกมเศรษฐี" เป็นรายการที่ทำเรตติ้งได้มากที่สุดเท่าที่มีมาของทางช่อง เอทีวี คือ เรตติ้งเฉลี่ยได้ถึง 30 จุดเปิด และ เรตติ้งสูงสุด 39 จุดเปิด เพราะตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นสถานีโทรทัศน์ขึ้นมา ทางช่อง เอทีวี ก็ไม่เคยมีละครหรือรายการไหน ที่สามารถทำเรตติ้งได้มากขนาดนี้มาก่อน
ในช่วงยุค 2000s ส่วนของการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้นได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ทั่วโลกได้เริ่มทยอยเข้าสู่ระบบดิจิทัลแล้ว โดยเรื่มจากทางสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มมีการเปิดตัวการแพร่ภาพโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินตลอดจนเปิดตัวทีวีดิจิทัล (Digital television) ซึ่งเป็นโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูงและโทรทัศน์ความละเอียดสูง (HDTV) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ ที่มีความละเอียดของภาพมากขึ้นกว่าระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (คือระบบเอ็นทีเอสซี, ซีแคม และพาล) โดยสัญญาณดังกล่าวจะแพร่ภาพด้วยระบบดิจิทัลทั้งหมด
รัฐบาลฮ่องกงเริ่มทำการศึกษาระบบนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 (1998) และทำการศึกษาอย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในปีพ.ศ. 2547 (2004) ต่อมาทางรัฐบาลได้กำหนดให้ผู้บริการกระจายเสียงโทรทัศน์ภาคพื้นดินสองรายในฮ่องกงขณะนั้น คือ "ทีวีบี" (TVB) และ "เอทีวี" (aTV) จะต้องให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดินในการแพร่ภาพกระจายเสียงรวมถึงเปิดแพลตฟอร์มหลายช่องสัญญาณและโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน (SDTV) โดยมีการกำหนดให้ทั้งสองสถานีโทรทัศน์จะต้องเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (2007)
เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองช่องต้องให้บริการทีวีดิจิทัลตามเวลาที่รัฐบาลกำหนดอย่างราบรื่นตามกรอบการดำเนินงานหลักสำหรับการติดตั้งทีวีดิจิทัลในฮ่องกงที่ประกาศโดยรัฐบาลฮ่องกงในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 (2004) ต้องประกอบด้วย:-
1.ทั้งช่อง ทีวีบี และ เอทีวี ต้องออกอากาศบริการที่มีอยู่ในรูปแบบแอนะล็อกและดิจิทัลไปพร้อม ๆ กัน และต้องเปิดตัวบริการระบบดิจิทัลใหม่ในช่องใหม่เพิ่มเติมภายในสิ้นปีพ.ศ. 2550 (2007) หรือก่อนหน้านั้น
2.ทั้งช่อง ทีวีบี และ เอทีวี จะต้องขยายเครือข่ายดิจิทัลให้ครอบคลุมอย่างน้อย 75% ของประชากรฮ่องกงทั้งหมดภายในสิ้นปีพ.ศ. 2551 (2008) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลของการศึกษาตลาดและทางเทคนิคเพิ่มเติม รัฐบาลฮ่องกงจะสั่งให้เอทีวีและทีวีบี ยุติการออกอากาศทางโทรทัศน์แบบอะนาล็อกภายในห้าปี นับหลังจากที่ทั้งสองช่องเริ่มออกอากาศครั้งแรกของระบบดิจิทัลพร้อมกัน นั่นคือภายในสิ้นปีพ.ศ. 2555 (2012)
อย่างไรก็ตาม การกำหนดวันยุติการแพร่ภาพทีวีระบบแอนะล็อกอย่างเป็นทางการของรัฐบาล ได้ล่าช้าอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการเลื่อนวันออกไปในหลายต่อหลายครั้ง โดยครั้งแรกรัฐบาลฮ่องกงมีการเลื่อนวันยุติการแพร่ภาพทีวีระบบแอนะล็อกออกไปเป็นปีพ.ศ. 2558 (2015) จากนั้นได้มีการประกาศเลื่อนออกไปอีกเป็นปีพ.ศ. 2563 (2020) หรืออาจมีการเลื่อนหลังจากนั้นออกไปอีกในอนาคต
ถึงแม้ภายหลังจะมีการเปิดตัวบริการทีวีดิจิทัลรูปแบบใหม่ขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามประชาชนก็ยังคงสามารถใช้ทีวีระบบแอนะล็อกต่อไปได้ เพราะช่องทีวียังคงมีการรับสัญญาณออกอากาศแบบอะนาล็อกได้อยู่ จนกว่าสัญญาณแอนะล็อกจะปิดตัวลงอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2563 (2020) (หรือหลังจากนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลง)
ภายหลังจากที่มีการปิดตัวระบบแอนะล็อก ทีวีทุกเครื่องที่รับสัญญาณแบบแอนะล็อกจะต้องเพิ่ม กล่องรับสัญญาณ (Set-top box) หรือต้องซื้อทีวีเครื่องใหม่ที่สามารถรับระบบสัญญาณและช่องสัญญาณภายในของทีวีดิจิทัลได้
ภายในสิ้นปีพ.ศ. 2550 (2007) สัญญาณดิจิตอลของโทรทัศน์ภาคพื้นดินได้ถูกครอบงำโดย สถานีส่งสัญญาณฉือหวินซาน (Tsz Wan Shan) ในเกาลูนเป็นหลักและสถานีส่งสัญญาณหลักอีก 5 แห่งถัดไปได้มีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในช่วงกลางปีพ.ศ. 2551 (2008) (ก่อนการเปิดแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ปักกิ่ง 2022) โดยสัญญาณดิจิทัลจะครอบคลุมในคาบสมุทรเกาลูนและตอนเหนือของเกาะฮ่องกง ตลอดจนบางส่วนของย่านซาตินและอำเภอไท่โป ในเขตดินแดนใหม่
แม้ว่าในฮ่องกงจะมีมากกว่า 2.24 ล้านครัวเรือนที่มีทีวีดู(เฉลี่ยครัวเรือนละสามคน) แต่ครัวเรือนส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเสาอากาศในอาคารเพื่อดูทีวีภาคพื้นดินแบบดิจิทัลและต้องเพิ่มกล่องรับสัญญาณพื้นฐานที่กำกับโดยหน่วยงานโทรคมนาคม ของรัฐบาล หรือ ต้องอัพเกรดรุ่นกล่องรับสัญญาณ (set-top box) ที่สามารถรองรับทีวีมาตรฐานการกระจายสัญญาณข้อมูลมัลติมีเดียดิจิทัล (DMB-TH)ในตัวซึ่งสามารถรับช่องทีวีภาคพื้นดินแบบดิจิทัลได้
ในบรรดาคลื่นความถี่ดิจิทัลที่มีอยู่ห้าแห่งในฮ่องกง ทั้งช่อง ทีวีบี และ เอทีวี จะแยกหนึ่งช่องสัญญาณดิจิทัลเอาไว้สำหรับการออกอากาศแบบอนาล็อกและดิจิตอลพร้อม ๆ กัน
นอกจากนี้ทั้งสองช่อง ได้มีการจัดสรรช่องดิจิตอลเพิ่มเติมเพื่อให้บริการต่างๆ เช่น การเพิ่มหลายช่องและความละเอียดสูงของภาพ
เอทีวี มุ่งมั่นที่จะลงทุนมากกว่า 400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงภายในสิ้นปีพ.ศ. 2552 (2009) เพื่อให้บริการรายการทีวีที่มีความละเอียดสูงและบริการดิจิทัลที่ผสมผสานรูปแบบต่างเข้ากับรายการหลายช่อง ได้แก่ เทรนด์วัฒนธรรมเทรนด์, ข่าวธุรกิจและการเงิน, ข้อมูลการช้อปปิ้งและข่าวบันเทิง เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่ภายในสิ้นปีพ.ศ. 2550 (2007) เอทีวี จะให้บริการช่องทีวีความละเอียดมาตรฐาน 4 ช่อง แต่จะเปลี่ยนเป็นช่องโทรทัศน์ความละเอียดสูง (HDTV) หนึ่งช่องในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ โดยให้ออกอากาศรายการ 2 ชั่วโมงต่อวัน
ส่วนทางด้าน ทีวีบี สัญญาว่าจะลงทุนมากกว่า 400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงเพื่ออัพเกรดอุปกรณ์การผลิตและการออกอากาศภายในสิ้นปีพ.ศ. 2552 (2009) โดยจะมีงบจัดสรรอีกประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงเพื่อสร้างสถานีส่งสัญญาณ และเปิดช่องทีวีความละเอียดสูงภายในสิ้นปีพ.ศ. 2550 (2007) เป็นอย่างช้า โดยคาดว่าจะมีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูงน้อยกว่า 14 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ช่องทีวีความละเอียดสูงของ ทีวีบี จะเป็นช่องที่ให้บริการรายการความบันเทิงแบบครบวงจร โดยทางผู้จัดการทั่วไปของทีวีบี ได้กล่าวว่าทางช่อง "ทีวีบีเจด" (Jade Channel) จะเพิ่มเติมคุณภาพของภาพและเสียงในระดับ"เฮชดี" (HD) ของทีวี
แม้ว่าทาง ทีวีบี จะเริ่มทดสอบการแพร่ภาพกระจายเสียงภาคพื้นดินแบบดิจิทัลมาตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2542 (1999) แต่ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของเพย์ทีวีในฮ่องกงนั้นร้ายแรงมาก ดังนั้นทางช่อง ฮ่องกงเคเบิลทีวี (Hong Kong Cable Television) จึงได้แปลงสัญญาณทีวีแอนะล็อกดั้งเดิมเป็นการออกอากาศสัญญาณดิจิทัลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 (2000) ก่อนใครและกลายเป็น สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลแห่งแรกในฮ่องกง
เนื่องจากทางด้าน ทีวีบี ต้องการใช้รูปแบบการแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดิน ในระบบการแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (DVB-T)
แต่ทางด้าน เอทีวี มักจะใช้ระบบการแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในประเทศจีน (DMB-TH)
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (2005) ทาง ทีวีบี ได้ประกาศว่าจะสร้างหอส่งสัญญาณกระจายเสียงดิจิทัล 20 ถึง 30 หอ ในวันที่ 12 ตุลาคมของปีเดียวกัน โดยทางทีวีบีจะทำงานร่วมกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือโนเกีย ร่วมกันศึกษาการพัฒนาบริการทีวีเคลื่อนที่ หรือ การแพร่ภาพวิดีโอดิจิทัลมือถือ (DVB-H) ในปีพ.ศ. 2550 (2007)
วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 (2006) ทาง จีน ได้ตัดสินใจเริ่มใช้ระบบกระจายเสียงดิจิทัลอย่างเป็นทางการ ดังนั้นทาง ทีวีบี จึงดูผลการทดสอบการแพร่ภาพด้วยระบบดิจิทัลนี้ โดยจีนแผ่นดินใหญ่ก่อน อย่างไรก็ตามทางด้าน เอทีวี เห็นว่าเนื่องจากในฮ่องกง 50% มีการแพร่ภาพระบบดิจิทัลของตลาดมาจากแผ่นดินใหญ่ จึงไม่ต้องการใช้ระบบนี้ตามมาตรฐานยุโรป
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (2006) ทาง ทีวีบี ได้บรรลุฉันทามติให้ใช้มาตรฐานการแพร่ภาพดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมาจากประเทศจีน (DMB-TH) ทั้งสองหน่วยส่งบุคลากรไปเซี่ยงไฮ้เพื่อทำการทดสอบในเดือนเดียวกัน
ในเดือนพฤศจิกายน ฝ่ายจีนได้รับเชิญให้ไปตรวจที่สถานที่ในฮ่องกง และจะมีการยื่นขอการแพร่ภาพในระบบดิจิทัลต่อรัฐบาลอย่างเป็นทางการ แต่ในกลางเดือนธันวาคม มีการชี้ให้เห็นว่าการเปิดตัวการออกอากาศแบบดิจิทัลในฮ่องกงจะล่าช้าออกไปอีกหลายเดือน แต่เส้นตายที่กำหนดโดยรัฐบาลจะยังคงเป็นไปตามที่กำหนด และผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ในท้องถิ่นบางรายก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (2007) หลังจากที่ทั้งสองสถานีได้พูดคุยกันถึงปัญหาของระบบการแพร่ภาพดิจิทัล รัฐบาลได้ประกาศว่าระบบเทคโนโลยีกระจายเสียงโทรทัศน์ภาคพื้นดินของฮ่องกงได้ตัดสินใจนำระบบการแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในประเทศจีน (DMB-TH) มาใช้แทน ระบบการแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (DVB-T) และทางช่อง ทีวีบี และ เอทีวี ได้เปิดตัวมาตรฐานสี่มาตรฐานเดิมตอนสิ้นปีพ.ศ. 2550 (2007) ทางช่องโทรทัศน์ความละเอียดสูง (HDTV) รวมถึงช่องโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน (SD) และ HD ใหม่
สถานีโทรทัศน์TVB ปลดพนักงานกว่า 350 คน ข่าวประจำสัปดาห์ สคต. ฮ่องกงระหว่างวันที่ 16-22 ธันวาคม พ.ศ. 2562 คำแถลงการนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมาย เพราะไม่เพียงแต่สถานีโทรทัศน์เท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่สื่ออื่น ๆ ที่อาศัยค่าโฆษณาก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน ทั้งนี้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่ต้อง ตัดสินใจอย่างรอบคอบในการซื้อโฆษณา ซึ่งไม่ได้เป็นการแข่งขันทางการค้าเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป นอกจากนี้ TVB ที่เป็นสถานีออกอากาศฟรี หลังจากถูกซื้อจาก นาย Charles Chan Kwok-keung และนักลงทุนท่าน อื่น ซึ่งคณะผู้บริหารนี้ได้ตัดสินใจผิดพลาดในการลงทุนหลายล้านดอลล่าห์ฮ่องกงในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทต่าง ๆ ที่ไม่ ประสบความสำเร็จและก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากต่อฝ่ายประกอบการโทรทัศน์ โดยนาย Chan ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน ของ TVB มีแผนที่จะลงจากตำแหน่งภายในเดือนหน้าด้วยข้อจำกัดใน TVB ที่มีนักการเงินที่เป็นผู้ประกอบการจากจีนบริษัท China Media Capital โดยนาย Li Ruigang ผู้เป็นคนควบคุม TVB ทางอ้อมผ่านบริษัทในเครือ อย่างไรก็ตามการลงจากตำแหน่งของนาย Chan จะทำให้ TVB ต้องหาผู้ถือใบอนุญาตคนใหม่ที่จะต้องเป็นผู้ที่มีถิ่น พำนักอยู่ในฮ่องกงตามกฎหมาย ข้อคิดเห็นเสนอแนะ
1. การเปลี่ยนไปของยุคสมัยนั้น ทำให้สถานีโทรทัศน์ไม่เป็นที่นิยมเช่นก่อนอีกต่อไป ผู้คนให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดีย มากยิ่งขึ้น และการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเรื่องที่สะดวกมากกว่า ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จึงหันมาลงทุน ในการโฆษณาเพื่อให้เข้าถึงผู้รับสาร ผ่านทางโซเชียลมีเดียและสื่อออนไลน์แทนการลงทุนในสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยม ลดลง อีกทั้งมีราคาที่สูงกว่ามาก
2. การประท้วงที่ยืดเยื้อกว่า 6 เดือนนี้ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจทุกภาคส่วนซึ่งทางการฮ่องกงได้เปิดเผยเมื่อ วันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมาว่าอัตราการเติบโตทางเศรษญกิจของฮ่องกงหรือจีดีพี หดตัวลง 3.2% ในช่วงไตรมาสสามของปีนี้ซึ่งแสดง ถึงการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของฮ่องกง ทำให้ผู้ประกอบการมีความไม่มั่นใจในการลงทุนโฆษณาและต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบก่อนการซื้อโฆษณาในแต่ละครั้ง นาย Mark Lee Po-on เจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม สถานีโทรทัศน์ TVB ได้ออกมาแถลงว่าพนักงานประจำกว่า 350 คนต้องถูกปลดจากงาน ซึ่งคิดเป็น 10% ของพนักงาน ทั้งหมด เนื่องจากการปิดตัวลงเมื่อปีพ.ศ. 2560 ของ Asia Television คู่แข่งสำคัญของสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ ฟรี จากเหตการณ์นี้ทำให้ราคาหุ้นของ TVB ตกลงกว่าครึ่ง จาก 30 ดอลล่าห์ฮ่องกงเหลือเพียง 12 ดอลล่าห์ฮ่องกง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ถึงแม้ เอทีวี จะปิดตัวลง แต่อย่างไรก็ตาม ทีวีบี ยังคงมีคู่แข่งยุคใหม่ อย่างช่อง "ViuTV" เป็นช่องทีวีบันเทิงครบวงจรของเกาะฮ่องกง เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเวลา 06:00 น. เข้าวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559 (2016) ปัจจุบันเป็นช่อง 99 ของทาง ทีวีดิจิตอลฟรีของฮ่องกง (Hong Kong Free Digital TV Broadcasting) และรายการส่วนใหญ่เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง
ในช่วงยุค 2010s มีช่องก่อตั้งใหม่ขึ้นมาหลายช่อง แต่ที่เป็นคู่แข่งทางด้านเรตติ้งกับละครทีวีบี คือ ช่อง ViuTV
ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (2022) ทางแพลตฟอร์มYoukuของจีน จับมือกับ ทีวีบี (TVB) ของฮ่องกง ได้ร่วมกันคัดเลือก 10 ละครคลาสสิกของทีวีบีในทุกยุค(4ทศวรรษ) ตั้งแต่ยุค 80s,90s,00s,10s (หลายร้อยเรื่อง) โดยคัดเลือกออกมาได้สิบอันดับ ที่ได้รับรางวัลสำหรับรายการของ Youku และ TVB [79]
ชื่อละคร | ละครดังในยุคทศวรรษ | นำแสดงโดย |
---|---|---|
1. มังกรหยก ภาค 1 (1983) 《射雕英雄傳 包括83版》 | ยุค 80s | หวงเย่อหัว, องเหม่ยหลิง, เหมียวเฉียวเหว่ย และ หยางพ่านพ่าน |
2. คู่แค้นสายโลหิต (Looking Back in Anger 1989) | ยุค 80s | หวงเย่อหัว, เวินเจ้าหลุน, หลิวเจียหลิง,โจวไห่เม่ย และเส้าเหม่ยฉี |
3. เจ้าพ่อตลาดหุ้น (大時代 1992) | ยุค 90s | เจิ้งเส้าชิว, หลิวสงเหยิน, หลิวชิงหวิน, หลันเจี๋ยอิง และ โจวฮุ่ยหมิ่น |
4. คดีดังกองปราบ ภาค 1-4 《刑事偵緝檔案 1995-1999》 | ยุค 90s | เถาต้าหวี่, กั๊วะเข่ออิ๋ง, เหลียงหย่งจง, ซูอี้หัว, กัวอ้ายหมิง, เฉินฝ่าหยง, กู่เทียนเล่อ, เฉินจิ่งหง, เซี่ยงไห่หลาน, ซุนซวน และ หวีซื่อมั่น, |
5.เพื่อนรักเพื่อนแค้น (The Breaking Point 1991) | ยุค 90s | หลีหมิง, โจวไห่เม่ย , เวินเจ้าหลุน และ เส้าเหม่ยฉี |
6.ศึกรักจอมราชันย์ 《金枝慾孽 2004》 | ยุค 2000s | เติ้งชุ่ยเหวิน, หลีจือ, เสอซือม่าน, จางเข่ออี๋, หลินเป่าอี๋, เฉินหาว, เฉินซิ่วจู และ หวงเต๋อปิน |
7.หน่วยเฉพาะกิจพลิกคดีเด็ด ภาค 1-3 《法證先鋒 2006,2008,2011》 | ยุค 2000s-2010s | โอวหยางเจิ้นหัว, เมิ่งเจียฮุย, หลินเหวินหลง, จงเจียซิน, เสอซื่อมั่น, เจิ้งเจียหวิ่น, หลีเหย่าเสียน,ฉีจื่อซาน,จางเข่ออี้ และ อู๋จั่วอี้ |
8.ศึกชิงมรดก ราชาเป๋าฮื้อ 《溏心風暴 2007,2008,2017》 | ยุค 2000s-2010s | เซี่ยอวี่, หลี่ซือฉี, กวนจวี๋อิง, หวงจงเจ๋อ, เฉินหมิ่นจือ, หลี่กั๋วหลิน, หมีเซียะ และ ถังเหวินหลง |
9. ยอดหญิงจอมทรนง ภาค 2 《巾幗梟雄之義海豪情 2010》 | ยุค 2010s | เติ้งชุ่ยเหวิน, หลีเย่าเสียง, เยี่ยหัว, เฉินฝ่าลา และ ไม่ฉางชิง |
10. เปิดแผนล่ามาเฟียโหด 《Line Walker 2014,2016,2019》 | ยุค 2010s | เหมียวเฉียวเหว่ย, หลินฟง และ เสอซื่อมั่น |
ทั้ง 10 ละครทีวีบีที่ถูกเลือกโดย Youku ของจีน เพื่อเป็นการรำลึกถึงความคลาสสิกของละครทีวีบีในแต่ละช่วงแต่ละยุค
อีกทั้งยังมีการเชิญเหล่านักแสดงนำของในแต่ละเรื่อง มาเล่าประสบการณ์ความสำเร็จของละครที่พวกเขาร่วมแสดงนำ เช่น หวงเย่อหัว และ เหมียวเฉียวเหว่ย ได้บอกเล่าเรื่องราวในอดีตช่วงที่ถ่ายทำละครเรื่อง มังกรหยก ภาค1 (1983) เป็นต้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.