เทศบาลนครบุรีรัมย์
เทศบาลนครในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาล และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์
เทศบาลนครบุรีรัมย์ | |
---|---|
คำขวัญ: คูเมืองโบราณ ตำนานเล่าขาน อาหารเลิศรส งามงดประเพณี คนดีมีน้ำใจ | |
พิกัด: 14°59′39″N 103°06′08″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
อำเภอ | เมืองบุรีรัมย์ |
จัดตั้ง |
|
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | อนุชิต เหลืองชัยศรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 75.44 ตร.กม. (29.13 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 163 เมตร (535 ฟุต) |
ประชากร (2567) | |
• ทั้งหมด | 50,525 คน |
รหัส อปท. | 04310102 |
สนามบิน | IATA: BFV – ICAO: VTUO ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | ถนนรมย์บุรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 |
เว็บไซต์ | www.buriramcity.go.th |
เทศบาลนครบุรีรัมย์เดิมมีฐานะเป็นเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมเพียงตำบลในเมืองทั้งตำบล รวม 6.0 ตารางกิโลเมตร (3,800 ไร่) แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้ขยายพื้นที่ครอบคลุมเพิ่มเติมถึงตำบลอิสาณทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเสม็ด (เฉพาะหมู่ที่ 9, 11, 13 และ 16) รวมทั้งหมด 75.44 ตารางกิโลเมตร (47,150 ไร่) และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครไปพร้อมกัน นับเป็นเทศบาลนครแห่งที่ 6 ของภาคอีสาน
เทศบาลนครบุรีรัมย์จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเป็นเทศบาลเมืองในชื่อ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งในขณะนั้นมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[1]
ต่อมาเมื่อท้องถิ่นเจริญขึ้น มีชุมชนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกัน สมควรปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2504 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 มีเนื้อที่รวม 6 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมด[2]
ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแนวเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดยยุบรวมเทศบาลตำบลอิสาณทั้งหมด รับโอนพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด และเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองขึ้นเป็น เทศบาลนครบุรีรัมย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม[3][4][5]
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีความลาดเอียงเล็กน้อย จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก และจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความสูงของพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 163 เมตร เขตเทศบาลนครบุรีรัมย์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้
สภาพอากาศทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครบุรีรัมย์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C | 31.67 | 34.02 | 36.02 | 36.45 | 33.87 | 34.35 | 33.60 | 33.07 | 32.57 | 31.25 | 30.52 | 29.77 | 33.10 |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C | 17.65 | 20.10 | 22.65 | 24.47 | 24.50 | 24.80 | 24.37 | 24.17 | 24.22 | 23.32 | 20.87 | 18.30 | 22.45 |
หยาดน้ำฟ้า มม | 0.07 | 7.10 | 42.02 | 113.75 | 241.87 | 100.82 | 176.10 | 109.87 | 288.90 | 177.50 | 94.27 | 6.00 | 1,358.27 |
Average high °F | 89.01 | 93.24 | 96.84 | 97.61 | 92.97 | 93.83 | 92.48 | 91.53 | 90.63 | 88.25 | 86.94 | 85.59 | 91.58 |
Average low °F | 63.77 | 68.18 | 72.77 | 76.05 | 76.1 | 76.64 | 75.87 | 75.51 | 75.6 | 73.98 | 69.57 | 64.94 | 72.41 |
Precipitation inches | 0.0028 | 0.2795 | 1.6543 | 4.4783 | 9.5224 | 3.9693 | 6.9331 | 4.3256 | 11.374 | 6.9882 | 3.7114 | 0.2362 | 53.4752 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 0 | 2 | 5 | 10 | 20 | 14 | 18 | 12 | 18 | 14 | 5 | 2 | 120 |
แหล่งที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ |
จำนวนประชากรในเทศบาลนครบุรีรัมย์ ตามสถิติการทะเบียนราษฎรเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนรวมทั้งหมด 50,632 คน แบ่งออกตามพื้นที่เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงฐานะได้ดังนี้[6]
ตำบลในเมือง |
---|
|
ตำบลอิสาณ |
|
ตำบลเสม็ด (บางส่วน) |
|
การจัดการศึกษาในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา
การสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีดังนี้
เทศบาลนครบุรีรัมย์อยู่ในเขตบริการน้ำประปาของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลฯ ประปาในเขตเทศบาลฯ ประมาณ 21,084 ครัวเรือน มีห้วยจระเข้มาก และห้วยชุมเห็ดเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาและมีห้วยตลาดเป็นแหล่งน้ำดิบสำรอง
ในเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 21,084 ครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ที่ให้บริการไฟฟ้า 100% ของพื้นที่ทั้งหมด
เทศบาลนครบุรีรัมย์สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน
เทศบาลนครบุรีรัมย์อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 384 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลักที่อยู่ใกล้เคียงดังนี้
สถานีรถไฟบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางตอนเหนือของเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากบุรีรัมย์สู่พื้นที่อื่น ๆ ของตัวจังหวัด และภาคอีสาน ทั้งรถไฟด่วนและรถไฟธรรมดา อาทิเช่น รถไฟสายสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานี, นครราชสีมา–อุบลราชธานี, กรุงเทพ (หัวลำโพง)–สุรินทร์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ จะมีรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี และกรุงเทพ–ศรีสะเกษ เปิดเดินรถเพิ่มอีกหลายขบวน
ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติส ถนนสายสำคัญในตัวเมือง อาทิเช่น ถนนธานี, ถนนรมย์บุรี, ถนนปลัดเมือง, ถนนจิระ, ถนนสุนทรเทพ, ถนนนิวาศ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของเมือง ให้บริการรถโดยสารในหลายเส้นทาง อาทิเช่น สายกรุงเทพ–บุรีรัมย์, กรุงเทพ–อุบลราชธานี, กรุงเทพ–สุรินทร์, กรุงเทพ–ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์–นางรอง, บุรีรัมย์–นครราชสีมา รถประจำทางในเมืองบุรีรัมย์ คือ รถสองแถว สายสีชมพู ให้บริการในสองเส้นทาง (สายตลาดเทศบาล-เขากระโดง และสายบ้านบัว) ในอดีตเคยมีรถโดยสารประจำทางวิ่งในตัวเมือง แต่ได้ยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นรถสองแถวแทน
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ หรือ สนามบินบุรีรัมย์ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองบุรีรัมย์มากที่สุด ตั้งอยู่ที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมือง 34 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สายการบินที่ให้บริการคือ นกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย เปิดทำการทุกวัน
โรงงานอุตสาหกรรม มี 6 แห่ง ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.