ชลิต พุกผาสุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชลิต พุกผาสุข

พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2491) ประธานกรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง องคมนตรี, เลขาธิการมูลนิธิพระดาบส, อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศของไทย และอดีตรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 1

ข้อมูลเบื้องต้น องคมนตรี, กษัตริย์ ...
ชลิต พุกผาสุข
Thumb
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(13 ปี 318 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550  7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
(129 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสนธิ บุญยรัตกลิน
ถัดไปสิ้นสุดลง
รองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549  1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(1 ปี 0 วัน)
รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2549  1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(12 วัน)
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2548  30 กันยายน พ.ศ. 2551
(2 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลอากาศเอกเฉลิม ชุ่มชื่นสุข (รักษาการ)
ถัดไปพลอากาศเอกอิทธพร ศุภวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2491 (76 ปี)
คู่สมรสพรทิพย์ พุกผาสุข
ปิด

ประวัติ

พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุข เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2491 ในครอบครัวทหาร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ปีการศึกษา 2505 เลขประจำตัว 4970 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6, โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 13, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 40, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 27, วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 25 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 ผ่านหลักสูตรครูการบินไอพ่น (PILOT INSTRUCTOR T - 38) โดยทุน IMETP ที่ซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา

การรับราชการ

สรุป
มุมมอง

เริ่มรับราชการในตำแหน่งสำคัญ คือ

  • ผู้บังคับฝูงบิน 103 กองบิน 1
  • ผู้บังคับฝูงบิน 231 กองบิน 23
  • เสนาธิการกองบิน 23
  • รองผู้บังคับการกองบิน 1
  • ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ
  • ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทยประจำกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
  • รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ
  • ผู้บัญชาการกองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ
  • เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ
  • ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ
  • ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายกำลังพล
  • รองเสนาธิการทหารอากาศ
  • ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ

พล.อ.อ. ชลิต ถือว่าเป็นนายทหารที่มีความรู้ความสามารถสูงในสายงาน "ยุทธการ" โดยผลงานที่สำคัญ คือเป็นหัวหน้าชุดภารกิจรับคนไทยและชาวต่างประเทศกลับจากกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2540

พล.อ.อ. ชลิต ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (2 สมัย) นายกสมาคมโดดร่มแห่งประเทศไทย นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ ประธานคณะกรรมการบริหารชุมนุมนักเรียนนายเรืออากาศ ทั้งเคยได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นการบิน 2,000 ชั่วโมง (เป็นคนแรกของประเทศไทย) ในปี 2528 ขณะดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ฝูงบิน 231 กองบิน 23 จ.อุดรธานี และประธานมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ (ในปัจจุบัน)

นอกจากนี้ ยังเป็นนักบินที่ทำการทดสอบเครื่องเอฟ 5 ซี ของ ทอ. ซึ่งมีเครื่องเดียวในประเทศไทย และจอดเสียอยู่ในโรงซ่อมมากกว่า 5 ปี จากนั้นก็ขับเครื่องบินเป็นเครื่องสุดท้ายของฝูง 103 ย้ายจากกองบิน 1 จากสนามบินดอนเมืองไปไว้ที่กองบิน 1 จ.นครราชสีมา จึงถือว่าเป็นบุคคลที่ทำการบินเครื่องบินรุ่นเอฟ 5 ซี ที่จอดเสียนานที่สุด โดยไม่กลัวอันตราย จนสามารถนำเครื่องบินกลับมารับใช้ชาติได้อีก กระทั่งเครื่องลำดังกล่าวปลดประจำการในเวลาต่อมา

พล.อ.อ. ชลิต ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 แต่งตั้งโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษํตริย์เป็นประมุข[1]

เกียรติประวัติ

สรุป
มุมมอง

เริ่มทำการบินเอฟ 5 มาตลอด จนได้ชั่วโมงการบินถึง 1,000 ชั่วโมง (เป็นคนที่ 5 ของประเทศไทย) และทำการบินต่อจนครบ 2,000 ชั่วโมง (เป็นคนแรกของประเทศไทย) โดยในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่บินโจมตีในพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และยังเคยผ่านประสบการณ์บินลาดตระเวนและโจมตี ชายแดนไทย - กัมพูชา ด้าน จ.ตราด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และ จ.สระแก้ว รวมทั้งภารกิจนำเครื่องบินไปทิ้งที่ระเบิดสมรภูมิบ้านร่มเกล้าถึง 3 รอบ ขณะเป็นเสนาธิการประจำการอยู่กองบิน 23 จ.อุดรธานี

ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2 ในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ และภายหลังเหตุการณ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ และเป็นประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2550 เมื่อ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้เกษียณอายุราชการไป พล.อ.อ. ชลิต จึงรับตำแหน่งเป็นรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสืบต่อ

หลังเกษียณแล้ว พล.อ.อ. ชลิต ได้เข้าไปทำงานในมูลนิธิรักษ์เมืองไทย และมูลนิธิรัฐบุรุษของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์[2]

ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[3][4]

ชีวิตส่วนตัว

พล.อ.อ. ชลิต มีชื่อเล่นว่า "ต๋อย" สมรสกับ ผศ. ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรรมการ มูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์[5] มีธิดา 2 คน มีกีฬาส่วนตัวที่โปรดปรานคือ มวยปล้ำ โดยมีเหตุผลว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และรับหน้าที่เป็นนายกสมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  อินโดนีเซีย :
    • พ.ศ. 2539 – Thumb เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายุทธธรรม ชั้นนาราร์ยา[13]
  •  สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2550 – Thumb เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[14]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.