ภาษาจีนกลาง (จีนตัวย่อ: 官话; จีนตัวเต็ม: 官話; พินอิน: Guānhuà) หรือ ภาษาแมนดาริน อังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ภาษาจีนกลาง | |
---|---|
官话/官話 กวานฮว่า 汉语/漢語 ฮั่นยวี่ 华语/華語 ฮวายวี่ | |
กวานฮว่า (แมนดาริน) เขียนด้วยอักษรจีน (ซ้ายอักษรจีนตัวย่อ ขวาอักษรจีนตัวเต็ม) | |
ประเทศที่มีการพูด | สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และชุมชนจีนอื่นทั่วโลก |
ภูมิภาค | ตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ ของจีน |
จำนวนผู้พูด | 920 ล้านคน (2017) |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาจีนเก่า
|
รูปแบบมาตรฐาน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ |
|
ผู้วางระเบียบ | ในสาธารณรัฐประชาชนจีน: องค์กรต่าง ๆ ในสาธารณรัฐจีน: Mandarin Promotion Council ในสิงคโปร์: Promote Mandarin Council/Speak Mandarin Campaign |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | zh |
ISO 639-2 | chi (B) zho (T) |
ISO 639-3 | cmn |
ภาษาจีนกลาง
ภาษาจีนกลาง เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกภาษาหลักของจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกภาษานี้ว่า ฮวา-ยวี่ (อักษรจีน: 华语/華語) แปลว่าภาษาฮวา ซึ่งคำว่า ฮวา หรือ ฮวาเยริน (อักษรจีน: 华人/華人) เป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกตัวเองในปัจจุบัน สำหรับประเทศจีนจะเรียกภาษานี้ว่า ฮั่นยวี่ (อักษรจีน: 汉语/漢語) แปลว่า ภาษาฮั่น อันเป็นภาษาของชาวฮั่น
ภาษาอังกฤษเรียกภาษานี้ว่า Mandarin (แมนดาริน) ซึ่งมีรากจากคำในภาษาโปรตุเกสว่า Mandarim (มันดาริม), จากคำในภาษามลายูว่า Menteri (เมินเตอรี), และจากคำในภาษาสันสกฤตว่า Mantrin (มันตริน) หรือเทียบตรงกับคำไทยว่า มนตรี และคำว่า กว่านฮว่า (อักษรจีน: 官话/官話) กว่าน (อักษรจีน: 官) แปลว่าราชสำนักและ ฮว่า (อักษรจีน: 话/話) แปลว่าพูด เป็นชื่อโบราณที่ใช้เรียกภาษานี้ ปัจจุบันใช้ในเชิงวิชาการเพื่อแยกว่าไม่ใช่ภาษาจีนกลุ่มอื่นเช่น ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษากวางตุ้ง เป็นต้น
ในวงแคบคำว่า ภาษาจีนกลาง ในทางภาษาจีนกลางเองเรียก ผู่ทงฮว่า (普通话) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศจีน และ กว๋ออวี่ (國語) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศไต้หวันและใช้เป็นภาษากลางในกลุ่มจีนโพ้นทะเลในประเทศมาเลเซีย, สิงค์โปร์ เป็นต้น ในวงกว้างคำว่า เป่ยฟางฮว่า (北方話; "ภาษาพูดทางเหนือ") คือคำประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ทงฮว่าและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียกภาษาประเภทเป่ยฟางฮว่ามีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮว่าก็เป็นพื้นฐานของผู่ทงฮว่าและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮว่าครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮว่าส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮว่าจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อาศัยอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ
เหมือนกับภาษาอื่น ๆ การจัดภาษาจีนกลางเป็นภาษาเดียวหรือเป็นภาษาย่อย ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่
- หมายเหตุ: ภาษาจีนกลางชนิดที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า ผู่ทงฮว่า (Putonghua, 普通话) และ กั๋วอวี่ (Guoyu, 國語) แต่มักจะเรียกรวม ๆ ในภาษาอังกฤษว่า Mandarin, คำว่า "ผู่ทงฮว่า" ในภาษาอังกฤษเรียกแบบเต็ม ว่า Standard Chinese หรือ Standard Mandarin และ "กั๋วอวี่" เรียกว่า Standard Taiwanese Mandarin
ภาษาถิ่น
นักภาษาศาสตร์หลี่หยง ได้จำแนกภาษาจีนกลางไว้ทั้งหมดเป็นแปดถิ่นใหญ่ โดยแบ่งเอาไว้ดังนี้
อ้างอิง
- Chao, Yuen Ren (1968). A Grammar of Spoken Chinese. University of California Press. ISBN 0-520-00219-9.
- Norman, Jerry (1988). Chinese. Cambridge University Press. ISBN 0-521-29653-6.
- Rahgffmsey, S. Robert (1987). The Languages of China. Princeton University Press. ISBN 0-691-01468-X.
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.