เนโท
พันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาลของ 32 รัฐสมาชิก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาลของ 32 รัฐสมาชิก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราสัญลักษณ์ | |
ที่ตั้งของชาติสมาชิก | |
ชื่อย่อ | เนโท, ออต็อง |
---|---|
คําขวัญ | ละติน: Animus in consulendo liber[1] |
ก่อตั้ง | 4 เมษายน พ.ศ. 2492 |
ประเภท | พันธมิตรทางทหาร |
สํานักงานใหญ่ | บรัสเซลส์ เบลเยียม |
สมาชิก | 32 ประเทศ |
ภาษาทางการ | อังกฤษ ฝรั่งเศส[2] |
เลขาธิการ | มาร์ก รึตเตอ |
ประธานคณะกรรมาธิการทหารเนโท | พลเรือเอก โรบ เบาเออร์ (กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์) |
Supreme Allied Commander Europe | พลเอก ท็อด ดี. โวลเตอส์ (กองทัพอากาศสหรัฐ) |
Supreme Allied Commander Transformation | พลเอก ฟีลิป ลาวีญ (กองทัพอากาศฝรั่งเศส) |
รายจ่าย (2564) | 1.050 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
เว็บไซต์ | www |
เพลง: "เพลงสดุดีเนโท" |
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (อังกฤษ: North Atlantic Treaty Organization; ฝรั่งเศส: Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท[4] (อังกฤษ: NATO) หรือ ออต็อง (ฝรั่งเศส: OTAN) หรือสื่อไทยเรียก นาโต้[5] เรียกอีกอย่างว่า พันธมิตรแอตแลนติกเหนือ เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาลระหว่าง 32 รัฐสมาชิก ประกอบด้วย 30 ประเทศในยุโรปและ 2 ประเทศในอเมริกาเหนือ ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง องค์กรดำเนินการตามสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งลงนามในที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492[6][7] เนโทเป็นระบบความมั่นคงร่วมกัน รัฐสมาชิกอิสระตกลงที่จะปกป้องซึ่งกันและกันจากการโจมตีโดยบุคคลที่สาม ในช่วงสงครามเย็น เนโทดำเนินการเพื่อตรวจสอบภัยคุกคามที่เกิดจากสหภาพโซเวียต พันธมิตรยังคงอยู่หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย และมีส่วนร่วมในปฏิบัติการทางทหารในคาบสมุทรบอลข่าน ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา
สำนักงานใหญ่ของเนโทตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ขณะที่กองบัญชาการทางทหารของเนโทตั้งอยู่ใกล้เมืองมงส์ ประเทศเบลเยียม พันธมิตรได้กำหนดเป้าหมายการติดกองกำลังตอบโต้ของเนโทในยุโรปตะวันออก และกองทัพรวมของสมาชิกเนโททั้งหมดมีทหารและบุคลากรประมาณ 3.5 ล้านคน[8] ค่าใช้จ่ายทางทหารรวมกันใน พ.ศ. 2563 คิดเป็นกว่าร้อยละ 57 ของยอดรวมทั่วโลก[9] ยิ่งไปกว่านั้น สมาชิกตกลงที่จะบรรลุหรือรักษาเป้าหมายการใช้จ่ายด้านกลาโหมอย่างน้อยร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายใน พ.ศ. 2567[10][11]
เนโทก่อตั้งขึ้นโดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 12 ประเทศและได้เพิ่มสมาชิกใหม่ 9 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือสวีเดนที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 หลังจากการยอมรับการสมัครเป็นสมาชิกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เนโทยอมรับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จอร์เจีย และยูเครนว่าเป็นสมาชิกที่ต้องการเข้าร่วม[12] การขยายตัวได้นำไปสู่ความตึงเครียดกับรัสเซียที่ไม่ใช่สมาชิก ซึ่งเป็นหนึ่งในอีก 20 ประเทศที่เข้าร่วมในโครงการความร่วมมือเพื่อสันติภาพของเนโท อีก 19 ประเทศเข้าร่วมในโครงการเจรจาเชิงสถาบันกับเนโท
จากการลงนามในสนธิสัญญากรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยมีเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งสนธิสัญญานี้ และเหตุการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินของโซเวียต ทำให้มีการก่อตั้งองค์กรป้องกันสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 และด้วยการสนับสนุนอย่างดีจากพันธมิตรสำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ทำให้พันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว
ส่วนการเริ่มต้นสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนืออย่างเป็นทางการนั้น เกิดขึ้นเมื่อมีการลงนามในวอชิงตันดีซี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 โดยได้รวมสนธิทั้งห้าของของบรัสเซลส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในครั้งแรกนั้น คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ โดยเสียงสนับสนุนในการก่อตั้งนั้นไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีชาวไอซ์แลนด์บางกลุ่มต่อต้านการเข้าเป็นสมาชิกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2492
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นโยบายของเนโทยุคหลังสงครามเย็น
หลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง เนโทได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและปรับปรุงนโยบายในหลายๆ ด้านเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ดังนี้
ส่วนนี้ขาดข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหาร |
ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท (Major Non-NATO Ally – MNNA)
ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา สถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท" มี 2 ประเภท คือ สถานะที่ 1 เป็นการให้ตาม title 10 หมวดที่ 2350 (a) ของ U.S. code (แก้ไขโดย Nunn Amendment ปี 2530) และสถานะที่ 2 เป็นการให้ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ปี 2541 (ตามที่ได้มีการแก้ไขโดย title 22 หมวดที่ 2321 (k) ของ U.S. Code) หมวดที่ 571
1.) สถานะ MNNA ตาม title 10 หมวดที่ 2350 (a)
กฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในการให้สถานะ “ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท” ด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในการ กำหนดสถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท" โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมในโครงการวิจัยและการพัฒนาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ประเภทนี้มี 11 ประเทศ ได้แก่ อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี (2530) จอร์แดน (2539) อาร์เจนติน่า (2541) นิวซีแลนด์ บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์และไทย (2546)
ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ประเภทนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
• บริษัทของประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมการประมูลสัญญาการซ่อมบำรุง การซ่อมแซม หรือการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในบางโครงการนอกผืนแผ่นดินสหรัฐฯ
• ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA จะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกับสหรัฐฯ บางโครงการ
• กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สามารถเข้าร่วมโครงการร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของประเทศที่ได้รับสถานะ โดยรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายร่วมกันอย่างเป็นธรรม
2.) สถานะ MNNA ตามหมวดที่ 517 ของกฎหมายว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ พ.ศ. 2504 ฉบับแก้ไข
กฎหมายให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการให้สถานะ MNNA แก่ประเทศใดประเทศหนึ่งได้หลังจากที่ได้แจ้งต่อรัฐสภาภายใน 30 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วย การให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกอาวุธ การให้สถานะ MNNA ตามกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในปี 2539 โดยเริ่มแรกมีประเทศที่ได้รับสถานะ คือ ออสเตรเลีย อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และนิวซีแลนด์ ต่อมาได้มีการให้สถานะ MNNA เพิ่มเติมแก่ จอร์แดน (2539) อาร์เจนตินา (2541) บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์ และไทย (2546) รวมทั้งหมด 11 ประเทศ
ประเทศที่ได้รับ MNNA ประเภทที่ 2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
• สำหรับประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ที่อยู่ด้านทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกลุ่มเนโทจะได้รับสิทธิ์ได้รับอุปกรณ์ทางทหารส่วนเกินจากสหรัฐฯ เป็นลำดับแรก
• สิทธิ์ในการซื้อกระสุนที่ทำจากกากยูเรเนียมและสิทธิ์ได้รับคลังอาวุธยุทโธปกรณ์สำรองของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศของตนนอกค่ายทหารสหรัฐฯ
• สิทธิ์ในการทำข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการจัดการฝึกในแบบทวิภาคีหรือ พหุภาคีโดยใช้ระบบการใช้จ่ายต่างตอบแทนที่อาจยกเว้นการใช้คืนค่าใช้จ่ายทางอ้อม และค่าธรรมเนียมต่างๆ เฉพาะรายการ
• สิทธิ์ในการเช่าอุปกรณ์ทางทหารบางอย่างเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ตาม โครงการการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินทางทหารแก่รัฐบาลต่างประเทศของสหรัฐฯ
• สิทธิ์ในการขอยืมวัสดุ อุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์ สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกันและสำหรับการทดสอบและประเมินผล
• สิทธิ์ในการขอให้มีการพิจารณาได้รับใบอนุญาตส่งออกดาวเทียมเพื่อการพาณิชย์ รวมถึงเทคโนโลยี ส่วนประกอบและระบบของดาวเทียมนั้นๆ โดยเร่งด่วน
การให้สถานะ MNNA ประเภทที่ 2 นี้ อาจถูกยกเลิกได้โดยดุลพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งต้องแจ้งรัฐสภาล่วงหน้า 30 วัน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการยกเลิกการให้สถานะ MNNA ประเภทนี้ และไม่มีหลักเกณฑ์ในการยกเลิกสถานะดังกล่าว
รัฐสมาชิกเนโททั้ง 32 รัฐได้แก่
• คณะกรรมาธิการทางทหาร (The Military Committee) มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการทหารแก่คณะมนตรีและผู้บัญชาการกองกำลังผสม ประกอบด้วยเสนาธิการทหารของทุกประเทศภาคี ยกเว้นฝรั่งเศส และไอซ์แลนด์ (ซึ่งไม่มีกำลังทหาร) มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยเนโทได้แบ่งเขตยุทธศาสตร์ตามภูมิศาสตร์เป็น 3 เขต คือ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.