Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (ไอริช: Foireann peile náisiúnta Phoblacht na hÉireann) เป็นทีมฟุตบอลของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ในการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติ ควบคุมและบริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ใช้สนามอวีวาสเตเดียม กรุงดับลิน เป็นสนามเหย้า
ฉายา | เด็กผู้ชายในชุดเขียว (The Boys in Green; Na buachaillí i nglas) ยักษ์เขียว (ฉายาในภาษาไทย)[1] | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | สตีเฟน เคนนี[2] | ||
กัปตัน | เชมัส โคลแมน | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | ร็อบบี คีน (146) | ||
ทำประตูสูงสุด | ร็อบบี คีน (68) | ||
สนามเหย้า | อวีวาสเตเดียม | ||
รหัสฟีฟ่า | IRL | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 60 (20 มิถุนายน 2024)[3] | ||
อันดับสูงสุด | 6 (สิงหาคม ค.ศ. 1993) | ||
อันดับต่ำสุด | 70 (มิถุนายน–กรกฎาคม ค.ศ. 2014) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
เสรีรัฐไอริช 1–0 บัลแกเรีย (กอลงบ์ ประเทศฝรั่งเศส; 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1924) | |||
ชนะสูงสุด | |||
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 8–0 มอลตา (ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์; 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983) | |||
แพ้สูงสุด | |||
บราซิล 7–0 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (อูเบร์ลังเดีย ประเทศบราซิล; 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1982) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 1990) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบก่อนรองชนะเลิศ (1990) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 1988) | ||
ผลงานดีที่สุด | 8 ทีมสุดท้าย (1988) |
ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ แยกตัวออกมาจากทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม โดยหลังจากเกาะไอร์แลนด์แบ่งแยกออกเป็นไอร์แลนด์เหนือ และ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ฟุตบอลทีมชาติไอร์แลนด์ที่มีมาแต่เดิม ได้เปลี่ยนชื่อเป็นทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ ส่วนสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งทีมชาติของตนเองขึ้นมาใหม่
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1924–1936 ทีมได้ลงแข่งขันภายใต้ชื่อทีมชาติ เสรีรัฐไอริช (Irish Free State) ก่อนที่สมาคมฟุตบอลแห่งไอร์แลนด์จะเปลี่ยนมาใช้ชื่อการแข่งขันในระดับชาติว่า ไอร์แลนด์ (Ireland) โดยใช้ชื่อนี้จนถึงปี ค.ศ. 1950 ต่อมาฟีฟ่าได้กำหนดชื่อสำหรับลงแข่งขันฟุตบอลระดับชาติของทั้ง 2 ชาติไอริช โดยสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ให้ใช้ชื่อว่าทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และ สมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ที่มีมาแต่เดิม ให้ใช้ชื่อว่า ทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ[4]
ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์เคยเข้ารอบฟุตบอลโลก 3 ครั้ง และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอีก 3 ครั้ง (หรือ 4 ครั้ง หากนับในปี 1964 ด้วย หากแต่การแข่งขันครั้งนั้นคัดเลือกทีมเข้าไปแข่งขันรอบสุดท้ายเพียง 4 ทีมเท่านั้น โดยไอร์แลนด์ผ่านเข้าไปถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่แพ้ต่อ สเปน เสียก่อน[1]) โดยเข้าร่วมการแข่งขันระดับโลกครั้งแรก คือ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 และผลงานดีที่สุดในฟุตบอลโลก คือ เข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ในฟุตบอลโลก 1990[1]
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1882–1924 ฟุตบอลในระดับทีมชาติของไอร์แลนด์ มีเพียงหนึ่งเดียวมิได้แยกออกจากกันดั่งเช่นปัจจุบัน บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ซึ่งมีที่ทำการตั้งอยู่ที่เมืองเบลฟาสต์ และลงแข่งขันในนาม ทีมชาติไอร์แลนด์
จากความขัดแย้งภายในเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ในปี ค.ศ. 1920 สหราชอาณาจักรได้ออกพระราชบัญญัติรัฐสภาไอร์แลนด์ขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1921 ได้มีการแบ่งแยกพื้นที่และการปกครองบนเกาะไอร์แลนด์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตอนบนของเกาะ และ ไอร์แลนด์ใต้ (Southern Ireland) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะ
ในปี ค.ศ. 1922 ไอร์แลนด์ใต้ ได้แยกตัวออกจากการปกครองของสหราชอาณาจักร กลายเป็นเสรีรัฐไอริช (Irish Free State) และมีอำนาจการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ ส่วนไอร์แลนด์เหนือ ยังคงขึ้นตรงกับสหราชอาณาจักรเช่นเดิม โดยหลังจากเสรีรัฐไอริชแยกออกจากสหราชอาณาจักร ได้ก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งเสรีรัฐไอริช (Football Association of the Irish Free State) หรือ FAIFS ขึ้น โดยมีสำนักงานอยู่ที่เมืองดับลิน และแยกออกเป็นเอกเทศต่างหากจาก สมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ที่มีมาแต่เดิม[5] และเริ่มพัฒนาลีกอาชีพและทีมชาติของตนเอง
ต่อมาในโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่ประเทศฝรั่งเศส ทีมชาติเสรีรัฐไอริช ได้ลงแข่งขันในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก โดยเป็นการพบกับทีมชาติบัลแกเรีย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม สนามกีฬาโอลิมปิกอีฟว์ ดูว์ มานัวร์ เมืองกอลมเบ โดยการแข่งขันนัดดังกล่าว เสรีรัฐไอริช เอาชนะไปด้วยผล 1–0 จากประตูของ แพดดี ดันแคน ทำให้เขาถูกบันทึกว่าเป็นผู้เล่นคนแรกที่สามารถทำประตูให้กับทีมชาติได้ และทีมสามารถผ่านเข้าไปจนถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย[6][7]
14 มิถุนายน ค.ศ. 1924 ทีมชาติเสรีรัฐไอริช ได้ลงแข่งขันในบ้านเป็นครั้งแรก โดยเป็นการพบกับทีมชาติสหรัฐอเมริกา ที่สนามกีฬาเดลีเมาท์ พาร์ก และสามารถเอาชนะไปได้ 3–1 จากการทำแฮตทริกของ เอ็ด บรูคส์ โดยนับเป็นแฮตทริกแรกของทีมชาติ[8]
ต่อมา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 เสรีรัฐไอริชได้ลงแข่งขันในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก โดยเสมอกับทีมชาติเบลเยี่ยม 4–4 จากการทำคนเดียว 4 ประตูของแพดดี มัวร์ ซึ่งนับเป็นผู้เล่นคนแรกที่สามารถทำได้ถึง 4 ประตูจากการลงเล่นหนึ่งนัดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก[9]
ในปี ค.ศ. 1936 สมาคมฟุตบอลแห่งเสรีรัฐไอริช (FAIFS) ได้เปลี่ยนมาเป็นสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) และใช้ชื่อทีมชาติว่า "ไอร์แลนด์" ทำให้มีฟุตบอลทีมชาติไอร์แลนด์อยู่ถึง 2 ทีม จาก 2 สมาคมฟุตบอล คือทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม ที่ยังอยู่ในความปกครองของสหราชอาณาจักร บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) และทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ ที่แยกตัวออกมาจากสหราชอาณาจักร บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI)
ผลจากกรณีดังกล่าวทำให้เกิดข้อพิพาทกันระหว่าง 2 สมาคมฟุตบอล ในการเรียกตัวผู้เล่นสัญชาติไอริชมาติดทีมชาติ โดยมีผู้เล่นหลายรายที่ต้องเล่นให้ทั้งทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม (IFA) และเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ที่ก่อตั้งใหม่ (FAI)
ในฟุตบอลโลก 1950 รอบคัดเลือก เป็นครั้งแรกที่ทั้ง 2 ไอร์แลนด์ต้องลงแข่งขันรายการเดียวกัน มีผู้เล่นทีมชาติถึง 4 ราย ได้แก่ ทอม อเฮิร์น จากสโมสรลูตัน ทาวน์ , เรก ไรอัน และ เดวี วอลช์ จากเวสต์บรอมมิช อัลเบียน และคอน มาร์ติน จากแอสตันวิลลา ที่ต้องลงเล่นให้กับทั้ง 2 ทีมชาติไอร์แลนด์ในรายการเดียวกัน[10] โดยผู้เล่นทั้ง 4 รายเกิดในดินแดนส่วนใต้ที่เป็นของเสรีรัฐไอร์แลนด์ และลงเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ (FAI) ไปแล้ว แต่ภายหลังกลับไปเลือกเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม (IFA) เรื่องดังกล่าวทำให้ สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ที่บริหารทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ ร้องไปยังฟีฟ่า และเรียกร้องให้ สมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ที่บริหารทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม หยุดเรียกผู้เล่นที่เกิดในแดนของตนไปติดทีมชาติซ้ำซ้อน
จากการที่มีทีมชาติไอร์แลนด์อยู่ถึง 2 ทีม และลงแข่งขันในรายการต่างๆพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาในหลายๆประเด็น ฟีฟ่าจึงยุติปัญหาดังกล่าวโดยมีคำสั่งให้ทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม ที่บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ ส่วนทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ ที่บริหารงานโดย สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ (FAI) ให้ใช้ชื่อว่า ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์
หลังจากฟีฟ่าเปลี่ยนชื่อทีมชาติเป็นทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก แต่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ โดยไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายได้
ในปี ค.ศ. 1965 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้เรียกตัวผู้เล่นที่เกิดนอกดินแดนของตัวเองมาติดทีมชาติเป็นครั้งแรก โดย เชย์ เบรนแนน กองหลังจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่เกิดในแมนเชสเตอร์ อันเป็นดินแดนของอังกฤษ ถูกเรียกตัวมาติดทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ จากการที่มีพ่อหรือแม่เป็นชาวไอริช หลังจากนั้นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ก็มีการเรียกตัวผู้เล่นที่เกิดในดินแดนของอังกฤษ โดยมีพ่อหรือแม่เป็นชาวไอริชหลายรายเข้ามาติดทีมชาติ เช่น มาร์ค ลอว์เรนสัน, เดวิด โอเลียรี่, จอห์น อัลดริดจ์, โทนี่ คาสคาริโน่ หรือ เดวิด เคลลี่ นอกจากนี้ยังมีการเรียกตัวผู้เล่นที่เกิดในดินแดนของสก็อตแลนด์ อย่างเรย์ เฮาจ์ตัน โดยใช้หลักมีพ่อหรือแม่เป็นชาวไอริช เข้ามาติดทีมชาติเช่นเดียวกัน
ในปี ค.ศ. 1969 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้งให้ มิค มีแกน อดีตกองหลังทีมชาติให้เป็นผู้จัดการทีมอย่างถาวรเป็นคนแรก แต่ทว่าในช่วงระยะเวลา 2 ปี ที่มิค มีแกน อยู่ในตำแหน่ง ทีมกลับมีผลงานที่ย่ำแย่ลงอย่างมาก โดยในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 รอบคัดเลือก ทีมตกรอบด้วยการแพ้ถึง 5 นัดจากการแข่งขันทั้งหมด 6 นัด ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1972 รอบคัดเลือก ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ก็ยังคงไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีขึ้นได้ โดยทีมตกรอบคัดเลือกด้วยการมีคะแนนเป็นอันดับสุดท้ายของกลุ่ม
หลังจากที่มีผลงานย่ำแย่ ทีมได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น เลียม ทูโอฮาย และแม้ทีมจะมีผลงานที่ดีขึ้นแต่ก็ยังไม่ผ่านรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 1974 ก่อนที่เลียม ทูโอฮาย จะขอลาออกในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ. 1973 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้งให้ จอห์นนี่ กิลส์ อดีตผู้เล่นตำแหน่งกองกลางของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่ขณะนั้นยังคงลงเล่นให้กับเวสต์บรอมมิช อัลเบียน เข้ามาทำหน้าที่แทนเลียม ทูโอฮาย โดยจอห์นนี่ กิลส์ นับเป็นผู้เล่นรายแรกของทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่ได้รับตำแหน่งผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ซึ่งเขาได้ให้โอกาสกองกลางดาวรุ่งอย่าง เลียม เบรดี้ ได้ขึ้นมาติดทีมชาติชุดใหญ่ ก่อนที่เบรดี้จะกลายมาเป็นผู้เล่นระดับตำนานของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ในเวลาต่อมา[11] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ต้องพลาดโอกาสในการไปเล่นรอบสุดท้ายที่ประเทศอาร์เจนตินา ด้วยการมีคะแนนห่างทีมชาติฝรั่งเศสที่เป็นที่ 1 ของกลุ่มเพียงแค่ 2 คะแนน
ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1980 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ยังคงต้องพบกับความผิดหวังเมื่อไม่สามารถผ่านเข้าไปแข่งในรอบสุดท้าย โดยตกรอบคัดเลือกด้วยการมีคะแนนตามหลังทีมชาติอังกฤษที่เป็นที่หนึ่งของสาย และตามหลังทีมชาติคู่แข่งสำคัญอย่างทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ ก่อนที่จอห์นนี่ กิลส์จะลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 รอบคัดเลือก สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้งให้ โอเวน แฮนด์ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยสาธารณรัฐไอร์แลนด์มีผลงานดีและใกล้เคียงกับการได้เป็นเล่นรอบสุดท้าย แต่ต้องตกรอบเพราะผลต่างประตูได้เสียที่เป็นรองทีมชาติฝรั่งเศส ตามมาด้วยการตกรอบคัดเลือก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 และมีผลงานไม่น่าประทับใจในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือก โดยทีมตกรอบคัดเลือกด้วยการทำคะแนนได้อันดับรองสุดท้ายของกลุ่ม ชนะเพียงแค่ 2 นัดจากการแข่งขันทั้งหมด 8 นัด
ปี ค.ศ. 1986 สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ ได้แต่งตั้ง แจ็ก ชาร์ลตัน ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษชื่อดังในขณะนั้น ให้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติคนใหม่ โดยในสมัยที่แจ็ก ชาร์ลตัน ยังเป็นผู้เล่น เขาเคยเป็นกองหลังทีมชาติอังกฤษผู้เคยคว้าแชมป์ในฟุตบอลโลก 1966 ร่วมกับน้องชายของเขาอย่างบ็อบบี ชาร์ลตัน ผู้เป็นตำนานของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
การเข้ามารับตำแหน่งของแจ็ก ชาร์ลตัน นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาสู่ทีม โดยเขาสามารถทำให้ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการสำคัญอย่างฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายถึง 2 ครั้ง และผ่านเข้าไปแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รอบสุดท้าย 1 ครั้ง[12]
การผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการสำคัญได้เป็นครั้งแรกของทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์คือ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 ที่ประเทศเยอรมนีตะวันตก โดยการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มนัดแรกที่เมืองชตุทท์การ์ท สาธารณรัฐไอร์แลนด์สามารถเอาชนะทีมชาติอังกฤษไปได้ 1–0 จากลูกโหม่งของเรย์ เฮาจ์ตัน ตามมาด้วยการเสมอกับทีมชาติสหภาพโซเวียต 1–1 จากการทำประตูของรอนนี วีแลน ที่เมืองฮันโนเฟอร์ โดยการแข่งขันนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่มกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ที่เมืองเกลเซนเคียร์เชิน ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ต้องการเพียงแค่ผลเสมอก็จะได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ แต่กลับโดนวิม เคียฟต์ กองหน้าของเนเธอร์แลนด์ ยิงประตูชัยในช่วง 7 นาทีสุดท้าย และแพ้ไปด้วยผล 1–0 ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย[13]
ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1990 รอบคัดเลือก โซนยุโรป สาธารณรัฐไอร์แลนด์สร้างผลงานเอาชนะได้ถึง 5 นัดจากการแข่งขันรอบคัดเลือก 8 นัด โดยเป็นการเอาชนะทีมชาติสเปน, ทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ, ทีมชาติฮังการี และเอาชนะทีมชาติมอลตาได้ถึง 2 นัด ทำให้สาธารณรัฐไอร์แลนด์ผ่านเข้าไปแข่งขันฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรก ในฟุตบอลโลก 1990 ที่ประเทศอิตาลี
วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1990 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ลงแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นการพบกับทีมชาติอังกฤษ ที่สนามสตาดีโอ ซานเตเลีย เมืองคัลยารี การแข่งขันนัดดังกล่าวอังกฤษ เป็นฝ่ายขึ้นนำก่อนจากประตูของแกรี่ ลินิเกอร์ ก่อนที่สาธารณรัฐไอร์แลนด์ จะตีเสมอได้จากเควิน ชีดี้ กองกลางของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ทำให้เขาถูกบันทึกว่าเป็นผู้เล่นคนแรกของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่สามารถทำประตูได้ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ก่อนที่จะจบลงด้วยการเสมอกัน 1–1 ต่อมาการแข่งขันในอีก 2 นัดที่เหลือในรอบแบ่งกลุ่ม แม้สาธารณรัฐไอร์แลนด์จะทำได้เพียงแค่เสมอกับทีมชาติอิยิปต์ และทีมชาติเนเธอร์แลนด์ แต่ก็เพียงพอจะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายไปพบกับทีมชาติโรมาเนีย
การแข่งขันรอบ 16 ทีมสุดท้ายกับทีมชาติโรมาเนีย ที่สนามสตาดีโอ ลุยจิ เฟอร์ราริส เมืองเจนัว จบลงด้วยการเสมอกัน 0–0 ทำให้ต้องชี้ขาดด้วยการดวลจุดโทษ ซึ่งแพท บอนเนอร์ ผู้รักษาประตูของทีมจากสโมสรกลาสโกว์ เซลติก สามารถเซฟลูกจุดโทษของทีมชาติโรมาเนียเอาไว้ได้ ก่อนที่เดวิด โอเลียรี่ จะทำหน้าที่ยิงจุดโทษเข้าเป็นคนสุดท้ายพาสาธารณรัฐไอร์แลนด์เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายไปพบกับทีมชาติอิตาลี ซึ่งเป็นเจ้าภาพ
แม้ในการแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้าย ที่สนามสตาดีโอ โอลิมปีโก กรุงโรม สาธารณรัฐไอร์แลนด์จะแพ้ทีมชาติอิตาลีไป 1–0 จากการยิงของซัลวาตอเร่ สกิลลาชี่ ทำให้ตกรอบไปในที่สุด แต่ผลงานของทีมก็ได้รับการสนใจและติดตามจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่ได้เดินทางมาชมการลงแข่งขันฟุตบอลโลกของทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์[14]
ภายหลังจากที่พลาดโอกาสในการไปแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ก็สามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกได้อีกครั้ง ในฟุตบอลโลก 1994 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มนัดแรก ที่สนามไจแอนท์ส สเตเดียม เมืองอีสต์ รูเธอร์ฟอร์ด รัฐนิวเจอร์ซีย์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ต้องพบกับทีมชาติอิตาลี ซึ่งเป็นทีมที่เคยเอาชนะพวกเขาได้ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายของฟุตบอลโลกครั้งก่อน ซึ่งการพบกันครั้งนี้สาธารณรัฐไอร์แลนด์สามารถเอาชนะไปได้ 1–0 จากประตูของเรย์ เฮาจ์ตัน ตามมาด้วยการแพ้ต่อทีมชาติเม็กซิโก 2–1 และปิดท้ายรอบแบ่งกลุ่มด้วยการเสมอกับทีมชาตินอร์เวย์ 0–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายไปพบกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งการแข่งขันในรอบ 16 ทีมสุดท้าย จัดขึ้นที่สนามกีฬาซิตรัส โบวล์ เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ซึ่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นฝ่ายแพ้ไป 2–0 จากการยิงของแด็นนิส แบร์คกัมป์ และวิม ยองค์
ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 6 ร่วมกับทีมชาติโปรตุเกส, ไอร์แลนด์เหนือ, ออสเตรีย, ลัตเวีย และลิกเตนสไตน์ โดยโปรตุเกสสามารถทำคะแนนได้เป็นอันดับ 1 ของกลุ่มและผ่านเข้าไปแข่งในรอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนสาธารณรัฐไอร์แลนด์ได้ที่ 2 ของกลุ่ม และต้องไปแข่งในรอบเพลย์ออฟกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์
โดยการแข่งขันในรอบเพลย์ออฟที่สนามแอนฟีลด์ จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ 2–0 จากการเหมาทำคนเดียว 2 ประตูของแพทริก ไกลเฟิร์ต ทำให้สาธารณรัฐไอร์แลนด์ตกรอบคัดเลือก และเป็นการคุมทีมนัดสุดท้ายของแจ็กกี ชาร์ลตัน
ตำแหน่ง | ชื่อ | ตั้งแต่ |
---|---|---|
ผู้จัดการทีม | มิก มักคาร์ที | 25 พฤศจิกายน 2018 |
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม | ร็อบบี คีน | 25 พฤศจิกายน 2018 |
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม | เทอร์รี คอนเนอร์ | |
โค้ชผู้รักษาประตู | อลัน เคลลี จูเนียร์ | |
ประเมินผลระดับสูง | รุด ดอคเตอร์ | 5 เมษายน 2013 |
รายชื่อผู้เล่นที่ลงแข่งขันใน ฟุตบอลโลก 2018 รอบเพลย์ออฟ กับทีมชาติเดนมาร์ก วันที่ 11 และ 14 พฤศจิกายน 2017
ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2017
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | คีวีน เคลลิเฮอร์ | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 | 4 | 0 | ลิเวอร์พูล |
16 | GK | เจมส์ ทัลบ็อต | 24 เมษายน ค.ศ. 1997 | 0 | 0 | โบฮีเมียนส์ |
23 | GK | แม็กซ์ โอเลียรี | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1996 | 0 | 0 | บริสตอล ซิตี |
2 | DF | เชมัส โคลแมน (กัปตัน) | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1988 | 64 | 1 | เอฟเวอร์ตัน |
3 | DF | ไรอัน แมนนิง | 14 มิถุนายน ค.ศ. 1996 | 6 | 0 | สวอนซี ซิตี |
4 | DF | เชน ดัฟฟี | 1 มกราคม ค.ศ. 1992 | 52 | 7 | ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน |
5 | DF | จอห์น อีแกน | 20 ตุลาคม ค.ศ. 1992 | 23 | 1 | เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด |
10 | DF | แมตต์ โดเฮอร์ตี | 16 มกราคม ค.ศ. 1992 | 29 | 1 | ทอตนัมฮอตสเปอร์ |
12 | DF | นาธาน คอลลินส์ | 30 เมษายน ค.ศ. 2001 | 2 | 0 | เบิร์นลีย์ |
18 | DF | ดารา โอเช | 4 มีนาคม ค.ศ. 1999 | 11 | 0 | เวสต์บรอมมิช อัลเบียน |
6 | MF | โจช คูลเลน | 7 เมษายน ค.ศ. 1996 | 16 | 0 | อันเดอร์เลคต์ |
8 | MF | คอเนอร์ ฮูริแฮน | 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 | 33 | 1 | เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด |
11 | MF | เจมส์ มักเคลน | 22 เมษายน ค.ศ. 1989 | 90 | 11 | วีแกน แอทเลติก |
13 | MF | เจฟฟ์ เฮนดริก | 31 มกราคม ค.ศ. 1992 | 70 | 2 | ควีนส์ปาร์ก เรนเจอส์ |
14 | MF | อลัน บราวน์ | 15 เมษายน ค.ศ. 1995 | 19 | 3 | เพรสตัน นอร์ท เอนด์ |
17 | MF | เจสัน ไนท์ | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 | 11 | 1 | ดาร์บี เคาน์ตี |
7 | FW | แคลลัม โรบินสัน | 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 | 26 | 7 | เวสต์บรอมมิช อัลเบียน |
9 | FW | วิล คีน | 17 มกราคม ค.ศ. 1993 | 3 | 0 | วีแกน แอทเลติก |
19 | FW | สกอตต์ โฮแกน | 13 เมษายน ค.ศ. 1992 | 0 | 0 | แอสตันวิลลา |
ฟุตบอลโลก | สถิติผลงานฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | ลงเล่น | ชนะ | เสมอ * | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | ลงเล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | อันดับ | |
1930 | ไม่ได้เข้าร่วม | – | – | – | – | – | – | – | ||||||||
1934 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 2 | 0 | 1 | 1 | 6 | 9 | 3/3 | ||||||||
1938 | 2 | 0 | 1 | 1 | 5 | 6 | 2/2 | |||||||||
1950 | 4 | 1 | 1 | 2 | 6 | 7 | 2/3 | |||||||||
1954 | 4 | 2 | 0 | 2 | 8 | 6 | 2/3 | |||||||||
1958 | 4 | 2 | 1 | 1 | 6 | 7 | 2/3 | |||||||||
1962 | 4 | 0 | 0 | 4 | 3 | 17 | 3/3 | |||||||||
1966 | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 5 | แพ้ เพลย์ออฟ | |||||||||
1970 | 6 | 0 | 1 | 5 | 3 | 14 | 4/4 | |||||||||
1974 | 4 | 1 | 1 | 2 | 4 | 5 | 2/3 | |||||||||
1978 | 4 | 1 | 1 | 2 | 2 | 4 | 3/3 | |||||||||
1982 | 8 | 4 | 2 | 2 | 17 | 11 | 3/5 | |||||||||
1986 | 8 | 2 | 2 | 4 | 5 | 10 | 4/5 | |||||||||
1990 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 7th | 5 | 0 | 4 | 1 | 2 | 3 | 8 | 5 | 2 | 1 | 10 | 2 | 2/5 | |
1994 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 15th | 4 | 1 | 1 | 2 | 2 | 4 | 12 | 7 | 4 | 1 | 19 | 6 | 2/7 | |
1998 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 12 | 5 | 4 | 3 | 24 | 11 | 2/6 แพ้ เพลย์ออฟ | ||||||||
2002 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 12th | 4 | 1 | 3 | 0 | 6 | 3 | 12 | 8 | 3 | 1 | 25 | 6 | 2/6 ชนะ เพลย์ออฟ | |
2006 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 10 | 4 | 5 | 1 | 12 | 5 | 4/6 | ||||||||
2010 | 12 | 4 | 7 | 1 | 13 | 10 | 2/6 แพ้ เพลย์ออฟ | |||||||||
2014 | 10 | 4 | 2 | 4 | 16 | 17 | 4/6 | |||||||||
2018 | 12 | 5 | 5 | 2 | 13 | 11 | 2/6 แพ้เพลย์ออฟ | |||||||||
2022 | ||||||||||||||||
รวม | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 3/22 | 13 | 2 | 8 | 3 | 10 | 10 | 141 | 56 | 43 | 42 | 199 | 169 |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
# | ผู้เล่น | ช่วงเวลา | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|---|
1. | ร็อบบี คีน | 1998–2016 | 146 | 68 |
2. | เชย์ กิฟเวน | 1996–2016 | 134 | 0 |
3. | จอห์น โอเช | 2001–2018 | 118 | 3 |
4. | เควิน คิลบาน | 1997–2011 | 110 | 8 |
5. | สตีฟ สตอนตัน | 1988–2002 | 102 | 7 |
6. | เดเมียน ดัฟฟ์ | 1998–2012 | 100 | 8 |
7. | เอเดน มักกีดี | 2004– | 93 | 5 |
8. | ไนอัลล์ ควินน์ | 1986–2002 | 91 | 21 |
เกลนน์ วีลัน | 2008–2019 | 91 | 2 | |
10. | โทนี คัสคาริโน | 1985–2000 | 88 | 19 |
เชน ลอง | 2007– | 88 | 17 |
# | ชื่อ | ช่วงเวลา | ประตู | ลงเล่น | ประตูต่อเกม |
---|---|---|---|---|---|
1. | ร็อบบี คีน | 1998–2016 | 68 | 146 | 0.47 |
2. | ไนออลล์ ควินน์ | 1986–2002 | 21 | 91 | 0.23 |
3. | แฟรงก์ สเตเปิลตัน | 1977–1990 | 20 | 71 | 0.28 |
4. | ดอน กิฟเวนส์ | 1969–1981 | 19 | 56 | 0.34 |
จอห์น อัลดริดจ์ | 1986–1997 | 19 | 69 | 0.28 | |
โทนี คัสคาริโน | 1985–2000 | 19 | 88 | 0.22 | |
7. | เชน ลอง | 2007– | 17 | 82 | 0.21 |
8. | โนเอล แคนท์เวลล์ | 1953–1967 | 14 | 36 | 0.39 |
เควิน ดอยล์ | 2006–2017 | 14 | 64 | 0.22 | |
จอนาทัน วอลเทอส์ | 2010–2018 | 14 | 51 | 0.27 | |
11. | จิมมี ดันน์ | 1930–1939 | 13 | 15 | 0.87 |
เจอร์รี ดาลี | 1973–1986 | 13 | 48 | 0.27 | |
ปี | ผู้เล่น | สโมสร |
---|---|---|
2019 | เดวิด แม็คโกลดริค | เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด |
2018[16] | เชน ดัฟฟี | ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน |
2017[17] | เชน ดัฟฟี | ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน |
2016[18] | ร็อบบี เบรดี | นอริช ซิตี/เบิร์นลีย์ |
2015[19] | จอนาทัน วอลเทอส์ | สโต๊ก ซิตี |
2014[20] | จอห์น โอเช | ซันเดอร์แลนด์ |
2013[21] | ร็อบบี คีน | ลอสแอนเจลิส แกแลกซี |
2012[22] | คีธ แอนดรูว์ | โบลตัน วันเดอเรอส์ |
2011[23] | ริชาร์ด ดันน์ | แอสตัน วิลลา |
2010[24] | เควิน ดอยล์ | วุลเวอร์แฮมป์ตัน วอนเดอเรอส์ |
2009[25] | Robbie Keane | Liverpool/Tottenham Hotspur |
2008[26] | Kevin Doyle | Reading |
2007[27] | Richard Dunne | Manchester City |
2006[28] | Shay Given | Newcastle United |
2005[29] | Shay Given | Newcastle United |
2004[30] | Kevin Kilbane | Everton |
2003[31] | No award ceremony. | |
2002[32] | Damien Duff | Blackburn Rovers |
2001[33] | Roy Keane | Manchester United |
2000[34] | Mark Kinsella | Charlton Athletic |
1999[35] | Alan Kelly | Sheffield United/Blackburn Rovers |
1998[36] | Kenny Cunningham | Wimbledon |
1997[37] | Roy Keane | Manchester United |
1996[38] | Alan McLoughlin | Portsmouth |
1995[36] | Andy Townsend | Aston Villa |
1994[36] | Ray Houghton | Aston Villa |
1993[36] | Steve Staunton | Aston Villa |
1992[36] | John Aldridge | Tranmere Rovers |
1991[39] | Paul McGrath | Aston Villa |
1990[39] | Paul McGrath | Aston Villa |
1989[40] | Kevin Moran | Sporting Gijón |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.