Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลทีมชาติฮังการี (ฮังการี: Magyar labdarúgó-válogatott) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนทีมชาติจากประเทศฮังการี ประเทศในแถบยุโรปกลาง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลฮังการี
ฉายา | The Magical Magyars (แมกยาร์มหัศจรรย์; ในทศวรรษที่ 1950) Nemzeti Tizenegy (ชาติที่สิบเอ็ด) นักรบแมกยาร์ (ฉายาในประเทศไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลฮังการี (MLSZ) | ||
สมาพันธ์ | ยุฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มาร์โก รอสซี | ||
กัปตัน | โดมินิก โซโบสลอยี | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | กาเบอร์ คิราลี (104) | ||
ทำประตูสูงสุด | แฟแร็นตส์ ปุชกาช (84) | ||
สนามเหย้า | กรูปามาอารีนา | ||
รหัสฟีฟ่า | HUN | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 27 1 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 18 (เมษายน–พฤษภาคม 2016) | ||
อันดับต่ำสุด | 87 (กรกฎาคม 1996) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ออสเตรีย 5–0 ฮังการี (เวียนนา, ออสเตรีย 12 ตุลาคม 1902) | |||
ชนะสูงสุด | |||
ฮังการี 13–1 ฝรั่งเศส (บูดาเปสต์, ฮังการี; 12 มิถุนายน 1927) ฮังการี 12–0 แอลเบเนีย (บูดาเปสต์, ฮังการี; 24 กันยายน 1950) | |||
แพ้สูงสุด | |||
ฮังการี 0–7 อังกฤษ (บูดาเปสต์, ฮังการี; 10 มิถุนายน 1908) สมัครเล่นอังกฤษ 7–0 ฮังการี (โซลนา, สวีเดน; 30 มิถุนายน 1912)[2] เยอรมนี 7–0 ฮังการี (โคโลญจ์, เยอรมนี; 6 เมษายน 1941) เนเธอร์แลนด์ 8–1 ฮังการี (อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์; 11 ตุลาคม 2013) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 9 (ครั้งแรกใน 1934) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (1938 และ 1954) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 1964) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่ 3 (1964) |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
ฟุตบอลชาย | ||
โอลิมปิกฤดูร้อน | ||
เฮลซิงกิ 1952 | ทีม | |
โตเกียว 1964 | ทีม | |
เม็กซิโกซิตี 1968 | ทีม | |
มิวนิก 1972 | ทีม | |
โรม 1960 | ทีม |
สหพันธ์ฟุตบอลฮังการีก่อตั้งในปี ค.ศ. 1901 ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งฮังการีเคยเป็นชาติที่มีประวัติยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลระดับโลก โดยเป็นถึงรองแชมป์โลก 2 ครั้ง ในฟุตบอลโลก 1938 และฟุตบอลโลก 1954 และได้ที่ 3 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1964 รวมถึงได้เหรียญทอง, เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ในฟุตบอลชายของโอลิมปิกหลายต่อหลายครั้ง โดยมีแฟแร็นตส์ ปุชกาช เป็นผู้เล่นที่โดดเด่นมีชื่อเสียงมากในระดับโลก จนอาจถือได้เป็นระดับตำนานคนหนึ่งเทียบเท่ากับเปเล่[3][4][5][6] [7]
ปัจจุบัน ฮังการีได้ห่างหายจากการแข่งขันระดับโลกไปนาน รวมถึงนักฟุตบอลของฮังการีเองก็ไม่ปรากฏชื่อเสียงเหมือนเดิม ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ฮังการีได้ผ่านเข้ามาในรอบสุดท้ายได้สำเร็จ นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 44 ปี สำหรับการแข่งขันในระดับโลก นับตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1972[8] โดยเข้ารอบสุดท้ายได้ด้วยการคัดเลือกเอาชนะนอร์เวย์ไป 2–1 (รวมผล 2 นัด ชนะ 3–1) โดยฮังการีอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับโปรตุเกส, ออสเตรีย และไอซ์แลนด์ และผลการแข่งขันนัดแรก ฮังการีก็สามารถเอาชนะออสเตรียไปได้ 0–2[9]
รายชื่อผู้เล่น 26 คน ที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 ที่ประเทศเยอรมนี[10]
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | เปแตร์ กูลาชี | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 34 ปี) | 54 | 0 | แอร์เบ ไลพ์ซิช |
2 | DF | อาดาม ล็องก์ | 17 มกราคม ค.ศ. 1993 (อายุ 31 ปี) | 69 | 2 | โอโมเนีย |
3 | DF | โบโตนด์ บอโลก | 6 มิถุนายน ค.ศ. 2002 (อายุ 22 ปี) | 4 | 0 | ปาร์มา |
4 | DF | ออติลลอ ซอลอยี | 20 มกราคม ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) | 44 | 1 | เอ็สเซ ไฟรบวร์ค |
5 | DF | ออติลลอ ฟิโยลอ | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 (อายุ 34 ปี) | 57 | 2 | แฟเฮร์วาร์ |
6 | DF | วิลลี โอร์บาน | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 (อายุ 31 ปี) | 45 | 6 | แอร์เบ ไลพ์ซิช |
7 | DF | ลออิก เนโก | 15 มกราคม ค.ศ. 1991 (อายุ 33 ปี) | 36 | 2 | เลออาฟวร์ |
8 | MF | อาดาม น็อจ | 17 มิถุนายน ค.ศ. 1995 (อายุ 28 ปี) | 81 | 2 | สเปเซีย |
9 | FW | มอร์ติน อาดาม | 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 (อายุ 29 ปี) | 22 | 3 | อุลซัน เอชดี |
10 | MF | โดมินิก โซโบสลอยี (กัปตัน) | 25 ตุลาคม ค.ศ. 2000 (อายุ 23 ปี) | 42 | 12 | ลิเวอร์พูล |
11 | DF | มิล็อช เกร์เก็ซ | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (อายุ 20 ปี) | 16 | 0 | บอร์นมัท |
12 | GK | เดแน็ช ดิบุส | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 (อายุ 33 ปี) | 36 | 0 | แฟแร็นตส์วาโรช |
13 | MF | อ็อนดราช เชเฟอร์ | 13 เมษายน ค.ศ. 1999 (อายุ 25 ปี) | 25 | 3 | อูนีโอนแบร์ลีน |
14 | DF | แบ็นแดกูซ โบลลอ | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (อายุ 24 ปี) | 17 | 0 | แซร์แว็ต |
15 | MF | ลาสโล แกลอินแฮอิชแลร์ | 8 เมษายน ค.ศ. 1994 (อายุ 30 ปี) | 51 | 3 | คัยดูกสปลิต |
16 | MF | ดานิแย็ล ก็อซด็อก | 2 มีนาคม ค.ศ. 1996 (อายุ 28 ปี) | 25 | 4 | ฟิลาเดลเฟียยูเนียน |
17 | MF | แคลลัม สไตลส์ | 28 มีนาคม ค.ศ. 2000 (อายุ 24 ปี) | 22 | 0 | ซันเดอร์แลนด์ |
18 | DF | โฌลต์ น็อจ | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 31 ปี) | 20 | 3 | ปุชกาชออกอเดมิยอ |
19 | FW | บอร์นอบาช วอร์กอ | 25 ตุลาคม ค.ศ. 1994 (อายุ 29 ปี) | 11 | 6 | แฟแร็นตส์วาโรช |
20 | FW | โรล็อนด์ ช็อลลอยี | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) | 49 | 13 | เอ็สเซ ไฟรบวร์ค |
21 | DF | แอ็นแดร โบตกอ | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (อายุ 29 ปี) | 26 | 1 | แฟแร็นตส์วาโรช |
22 | GK | เปแตร์ ซ็อปปอโนช | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 (อายุ 33 ปี) | 1 | 0 | ป็อกช์ |
23 | FW | แกวิน โชโบต | 20 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (อายุ 23 ปี) | 8 | 0 | อูยแป็ชต์ |
24 | DF | มาร์โตน ดาร์ดอยี | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 (อายุ 22 ปี) | 3 | 0 | แฮร์ทา เบเอ็สเซ |
25 | FW | กริสโตแฟร์ โฮร์วาต | 8 มกราคม ค.ศ. 2002 (อายุ 22 ปี) | 2 | 0 | แก็ชแกเมต |
26 | MF | มิฮาย กอตอ | 13 เมษายน ค.ศ. 2002 (อายุ 22 ปี) | 3 | 0 | แอ็มเตกา บูดอแป็ชต์ |
1950s
|
1972
|
1982
|
1986
|
2000
|
2002
|
2004
|
2006
|
2008
|
2010
|
2012
|
2014
|
2016
|
เหย้า
|
เยือน
|
ผู้รักษาประตู 1
|
ผู้รักษาประตู 2
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.