คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สโมสรฟุตบอลบอร์นมัท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สโมสรฟุตบอลบอร์นมัท (อังกฤษ: AFC Bournemouth) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพตั้งอยู่ใน คิงส์พาร์ก, บอสคอมบ์, ชานเมืองของบอร์นมัท, ดอร์เซต, อังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1899 ในชื่อ บอสคอมบ์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันใน ค.ศ. 1971 มีฉายาว่า "เดอะเชอร์รีส์" และเรียกกันโดยทั่วไปว่า บอร์นมัท พวกเขาใช้ ดีนคอร์ต เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ ค.ศ. 1910
Remove ads
สโมสรแข่งขันในลีกฟุตบอลระดับภูมิภาคก่อนที่จะไต่ระดับจาก แฮมป์เชอร์ลีก เป็น เซาเทิร์นลีก ใน ค.ศ. 1920 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น บอร์นมัทแอนด์บอสคอมบ์แอตเลติก สโมสรได้รับเลือกเข้าสู่ ฟุตบอลลีก ใน ค.ศ. 1923 สโมสรแข่งขันใน เทิร์ดดิวิชันเซาท์ เป็นเวลา 35 ปี และชนะเลิศ เทิร์ดดิวิชันเซาท์คัพ ใน ค.ศ. 1946 ต่อมาสโมสรแข่งขันใน เทิร์ดดิวิชัน ที่ได้รับการจัดโครงสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1958 สโมสรตกชั้นลงไป โฟร์ตดิวิชัน ใน ค.ศ. 1970 แต่ก็เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในฤดูกาล 1970–71 สโมสรตกชั้นไปโฟร์ตดิวิชันอีกครั้งใน ค.ศ. 1975 และเลื่อนชั้นขึ้นมาในฤดูกาล 1981–82 สโมสรชนะเลิศ แอสโซซิเอทเมมเบอร์สคัพ ใน ค.ศ. 1984 และเทิร์ดดิวิชันในฤดูกาล 1986–87 สโมสรใช้เวลาสามฤดูกาลอยู่ในลีกระดับสองก่อนจะได้รับการลงโทษทางการเงินใน ค.ศ. 1997 และตกชั้นกลับไปลีกระดับสี่ใน ค.ศ. 2002 แม้ว่าจะได้เลื่อนชั้นทันทีด้วยการชนะรอบเพลย์ออฟใน ค.ศ. 2003
บอร์นมัทได้รับการลงโทษทางการเงินเป็นครั้งที่สองและตกชั้นไป ลีกทู ใน ค.ศ. 2008 และแต่งตั้ง เอ็ดดี ฮาว เป็นผู้จัดการทีม สโมสรเลื่อนชั้นถึงสามครั้งในรอบหกปีและเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยสโมสรจบอันดับสองของลีกทูในฤดูกาล 2009–10, จบอันดับสองของลีกวัน ในฤดูกาล 2012–13 และชนะเลิศ อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ในฤดูกาล 2014–15 สโมสรแข่งขันในพรีเมียร์ลีกเป็นเวลาห้าฤดูกาลก่อนจะตกชั้นใน ค.ศ. 2020 แต่ก็กลับขึ้นมาใน ค.ศ. 2022 โดยจบอันดับสองในแชมเปียนชิป ด้วยการคุมทีมของ สก็อต พาร์กเกอร์
Remove ads
ประวัติ
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติในลีก
ผู้เล่น
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
- ณ วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2024[9]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ชุดอายุไม่เกิน 21 ปีและชุดเยาวชน
Remove ads
บุคลากร
สรุป
มุมมอง
- แหล่งข้อมูล:[10]
อดีตบุคลากร
Remove ads
ผู้จัดการทีม

- แหล่งข้อมูล:[13]
วินเซนต์ คิคเชอร์ (1914–1923)
แฮร์รี คิงฮอร์น (1923–1925, 1939–1947)
เลสลี่ ไนต์ตัน (1925–1928)
แฟรงค์ ริชาร์ดส์ (1928–1930)
บิลลี เบอร์เรล (1930–1935)
บ็อบ ครอมป์ตัน (1935–1936)
ชาร์ลี เบลล์ (1936–1939)
แฮร์รี โลว์ (1947–1950)
แจ็ก บรูตัน (1950–1956)
เฟรดดี ค็อกซ์ (1956–1958, 1965–1970)
ดอน เวลช์ (1958–1961)
บิลล์ แม็กแกร์รี (1961–1963)
เร็ก เฟลวิน (1963–1965)
จอห์น บอนด์ (1970–1973)
เทรเวอร์ ฮาร์ตลีย์ (1974–1975)
โทนี เนลสัน (2–23 มกราคม 1975)
จอห์น เบนสัน (23 มกราคม 1975 – 1978)
อเล็กซ์ สต็อก (1979–1980)
เดวิด เว็บบ์ (1980–1982)
ดอน เม็กสัน (มีนาคม–ตุลาคม 1983)
แฮร์รี เรดแนปป์ (ตุลาคม 1983 – 1992)
โทนี พูลิส (1992 – สิงหาคม 1994)
จอห์น วิลเลียมส์ (สิงหาคม–กันยายน 1994)
เมล มาชิน (กันยายน 1994 – 2000)
ฌอน โอดริสคอลล์ (2000 – กันยายน 2006)
สจ๊วร์ต เมอร์ด็อก และ
โจ โรช (ร่วมกัน, กันยายน–ตุลาคม 2006)
เควิน บอนด์ (13 ตุลาคม 2006 – 1 กันยายน 2008)
จิมมี ควินน์ (2 กันยายน 2008 – 31 ธันวาคม 2008)
เอ็ดดี ฮาว (31 ธันวาคม 2008 – 16 มกราคม 2011, 12 ตุลาคม 2012 – 1 สิงหาคม 2020)
ลี แบรดเบอรี (16 มกราคม 2011 – 25 มีนาคม 2012)
พอล โกรฟส์ (25 มีนาคม 2012 – 3 ตุลาคม 2012)
เจสัน ทินดัล (8 สิงหาคม 2020 – 3 กุมภาพันธ์ 2021)
โจนาธาน วูดเกต (3 กุมภาพันธ์ 2021 – 28 มิถุนายน 2021)
สก็อต พาร์กเกอร์ (28 มิถุนายน 2021 – 30 สิงหาคม 2022)
แกรี โอนีล (30 สิงหาคม 2022 – 19 มิถุนายน 2023)
อันโดนี อิราโอลา (19 มิถุนายน 2023 – )
Remove ads
สีชุดแข่ง
สรุป
มุมมอง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สโมสรฟุตบอลบอร์นมัท
สีของทีมมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตลอดประวัติศาสตร์ของสโมสร บอร์นมัทเริ่มต้นด้วยการสวมเสื้อลายทางสีแดงและขาว จากนั้นก็สวมเสื้อสีแดงล้วน แขนสีแดงและสีขาว แล้วก็สวมเสื้อลายทางสีแดงและดำเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ ค.ศ. 1990[14] สโมสรเลือกสวมเสื้อสีแดงเป็นหลักในฤดูกาล 2004–05 และ 2005–06 แต่เนื่องจากความต้องการของแฟนคลับ จึงได้นำลายทางกลับมาใช้อีกครั้งฤดูกาล 2006–07[15]
อัมโบร เป็นผู้ผลิตชุดแข่งขันให้กับบอร์นมัทตั้งแต่ ค.ศ. 2017 ก่อนหน้านี้ชุดแข่งขันผลิตโดย อัมโบร (1974–78, 1983–86), อาดิดาส (1978–81), ออสกา (1982–83), เฮนสัน (1986–87), สกอร์ไลน์ (1987–90), เอลเกรน (1990–92), แมตช์วินเนอร์ (1993–95), เลอค็อกสปอร์ทิฟ (1995–96), แพทริก (1996–2000), ซูเปอร์ลีก (2000-01), ทีเอฟจีสปอร์ตส์แวร์ (2001–03), บอร์นเรด (2003–08), คาร์บรินีสปอร์ตส์แวร์ (2008–11, 2014–15), ฟีลา (2011–14) และ เจดีสปอร์ตส์ (2015–17)
สำหรับฤดูกาล 2024–25 ผู้สนับสนุนบนเสื้อของทีมคือ บีเจ88[16] โดยมี ลีโอส์อินเตอร์เนชันแนล เป็นผู้สนับสนุนบนแขนเสื้อ[17] ผู้สนับสนุนก่อนหน้านี้ ได้แก่ เร็ก เฮย์เนส โตโยต้า (1980–82, 1983–85), คูเปอส์เบียร์ (1985–87), แคนเบอร์ราโฮมส์ (1987–88), โนแลน (1988–89), เอวันวินด์สกรีนส์ (1990–92), เอ็กซ์เชนจ์แอนด์มาร์ต (1992–94), ฟริซเซลล์ (1994–97), ซิวาร์ด (1997–2006), โฟคัลพอยต์ (2006–08, 2011–12), คาร์บรินีสปอร์ตส์แวร์ (2008–11), เอเนอร์จีคอนซัลติง (2012–15), แมนชัน (2015–2020), ไวทาลิตี (2020), เอ็มเอสพีแคปิตัล (2020–2022) และ ดาฟาเบ็ต (2022–2024)[18] ตั้งแต่ฤดูกาล 2017–2018 จนถึง 2019–20 โลโก้ แมนชัน ปรากฏบนแขนเสื้อข้างซ้ายของชุดแข่งขันของบอร์นมัท นอกจากนี้ เดอวอลต์ เคยเป็นผู้สนับสนุนบนแขนเสื้อ ตั้งแต่ฤดูกาล 2022–23 จนถึง 2023–24
Remove ads
คู่แข่ง
ตามผลสำรวจล่าสุดที่มีชื่อว่า 'เดอะลีกออฟเลิฟแอนด์เฮต' ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 ผู้สนับสนุนบอร์นมัทได้ระบุชื่อสโมสรเพื่อนบ้านใกล้สโมสรของตน คือ เซาแทมป์ตัน เป็นคู่แข่งที่ใหญ่ที่สุด ตามมาด้วย พอร์ตสมัท, ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน, เรดิงและลีดส์ยูไนเต็ด ตามลำดับ[19] ในช่วงไม่กี่ฤดูกาลที่ผ่านมา สโมสรยังต้องเผชิญกับความตึงเครียดกับ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ โดยทั้งสองสโมสรเป็นคู่แข่งกันในแชมเปียนชิปฤดูกาล 2021–22 โดยทั้งคู่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ในฤดูกาลนั้น หลังจากความตึงเครียดระหว่างแฟนคลับทั้งสอง[20]
Remove ads
บันทึกและสถิติ
สตีฟ เฟล็ตเชอร์ ครองสถิติเป็นผู้เล่นที่ลงเล่นให้กับบอร์นมัทมากที่สุด โดยลงเล่น 726 นัดให้ทีมชุดใหญ่ระหว่าง ค.ศ. 1992 ถึง 2013[21] เขายังครองสถิติเป็นผู้เล่นที่ลงเล่นในลีกมากที่สุด จำนวน 628 นัด[22] รอน แอร์ ครองสถิติเป็นผู้ทำประตูสูงสุด 229 ประตูให้กับบอร์นมัท โดยลงเล่นให้ทีมชุดใหญ่ 337 นัดระหว่าง ค.ศ. 1924 ถึง 1933[23] เท็ด แม็กดูกัลล์ ครองสถิติเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในฤดูกาลเดียว จำนวน 42 ประตูในฤดูกาล 1970–71 ในโฟร์ตดิวิชัน[24]
ค่าตัวสูงสุดของผู้เล่นที่สโมสรฟุตบอลบอร์นมัทได้รับคือ 65 ล้านปอนด์ จากการย้ายตัวของ ดอมินิก โชลังเก ไปยัง ทอตนัมฮอตสเปอร์ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024[25] ขณะที่ค่าตัวสูงสุดที่สโมสรฟุตบอลบอร์นมัทจ่ายไปคือ 40.2 ล้านปอนด์ จากการย้ายตัวของ เอวานิลซง จาก โปร์ตู เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 เช่นกัน[26]
สโมสรจบฤดูกาลในลีกสูงสุดด้วยอันดับที่ 9 ใน พรีเมียร์ลีก เมื่อฤดูกาล 2016–17 ซึ่งเป็นการจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา[27]
Remove ads
เกียรติประวัติ
ลีก
- แชมเปียนชิป (ระดับ 2)
- เทิร์ดดิวิชันเซาท์ / เทิร์ดดิวิชัน / ลีกวัน (ระดับ 3)
- ชนะเลิศ: 1986–87
- รองชนะเลิศ: 1947–48, 2012–13
- โฟร์ตดิวิชัน / เทิร์ดดิวิชัน / ลีกทู (ระดับ 4)
- รองชนะเลิศ: 1970–71, 2009–10
- เลื่อนชั้น: 1981–82
- ชนะเลิศเพลย์-ออฟ: 2003
- เซาเทิร์นลีก
- รองชนะเลิศ: 1922–23
คัพ
- แอสโซซิเอตเมมเบอส์คัพ / ฟุตบอลลีกโทรฟี
- ชนะเลิศ: 1983–84
- รองชนะเลิศ: 1997–98
- เทิร์ดดิวิชันเซาท์คัพ
- ชนะเลิศ: 1945–46[30]
หมายเหตุ
- ชื่อเต็มของสโมสรคือ AFC Bournemouth[1][2] คำนำหน้า AFC ไม่ใช่ตัวย่อ แต่ถูกรวมไว้ในชื่อสโมสรเพื่อให้แน่ใจว่าสโมสรฟุตบอลบอร์นมัทจะมีชื่อมาก่อน อาร์เซนอลและแอสตันวิลลา ในรายชื่อตามตัวอักษร[3] ตัวอักษรดังกล่าวอ้างอิงถึง (แต่ไม่ใช่ตัวย่อ) ชื่อเดิมของสโมสรคือ "Bournemouth and Boscombe Athletic Football Club"[4] AFC บางครั้งก็ขยายเป็น Athletic Football Club[5] หรือ Association Football Club[6] โดยบุคคลที่สาม
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads