ฟุตบอลทีมชาตินอร์เทิร์นไอร์แลนด์ หรือ ฟุตบอลทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของไอร์แลนด์เหนือ ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) โดยเป็นฟุตบอลทีมชาติที่เป็นสมาชิกของยูฟ่าและฟีฟ่า

ข้อมูลเบื้องต้น ฉายา, สมาคม ...
นอร์เทิร์นไอร์แลนด์
Thumb
ฉายาGreen and White Army,
Norn Iron
เจ้าพ่อลูกเซ็ตพีซ (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลไอริช
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนไมเคิล โอนีลล์
กัปตันสตีเวน เดวิส
ติดทีมชาติสูงสุดสตีเวน เดวิส (140)
ทำประตูสูงสุดเดวิด ฮีลีย์ (36)
สนามเหย้าวินด์เซอร์ปาร์ก
รหัสฟีฟ่าNIR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 73 Steady (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด20 (กันยายน ค.ศ. 2017)
อันดับต่ำสุด129 (กันยายน ค.ศ. 2012)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 0–13 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์; 18 กุมภาพันธ์ 1882)
ในฐานะ นอร์เทิร์นไอร์แลนด์
ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ 1–4 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์เหนือ; 7 ตุลาคม ค.ศ. 1950)
ชนะสูงสุด
ธงชาติไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 7–0 เวลส์ ธงชาติเวลส์
(เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์; 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930)
ในฐานะ นอร์เทิร์นไอร์แลนด์
ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ 5–0 ไซปรัส ธงชาติไซปรัส
(เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์เหนือ; 21 เมษายน ค.ศ. 1971)
Flag of the Faroe Islands หมู่เกาะแฟโร 0–5 ไอร์แลนด์เหนือ ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ
(Landskrona ประเทศสวีเดน; 11 กันยายน ค.ศ. 1991)
แพ้สูงสุด
ธงชาติไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 0–13 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์; 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882)
ในฐานะ นอร์เทิร์นไอร์แลนด์
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 6–0 ไอร์แลนด์เหนือ ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ
(อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์; 2 มิถุนายน ค.ศ. 2012)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1958)
ผลงานดีที่สุดรอบรองชนะเลิศ (1958)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2016)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีมสุดท้าย (2016)
ปิด

ทีมชาตินอร์เทิร์นไอร์แลนด์ เป็นทีมที่เปลี่ยนแปลงมาจากทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม โดยภายหลังจากที่เกาะไอร์แลนด์ ได้แยกออกเป็น 2 ส่วน คือไอร์แลนด์เหนือ คือดินแดนส่วนบนของเกาะที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรและ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ คือดินแดนส่วนใต้ที่เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะและได้แยกตัวเป็นเอกราช ทำให้มีฟุตบอลทีมชาติไอร์แลนด์อยู่ถึง 2 ทีม คือทีมชาติไอร์แลนด์ดั้งเดิม ที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร (IFA) และ ทีมชาติไอร์แลนด์ที่ตั้งขึ้นใหม่ ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (FAI) ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย ต่อมาฟีฟ่าได้มีคำสั่งให้ทีมชาติไอร์แลนด์เดิม เปลี่ยนชื่อเป็นทีมชาตินอร์เทิร์นไอร์แลนด์ และทีมชาติไอร์แลนด์ใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น ทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์

แม้ไอร์แลนด์เหนือจะมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ทีมชาตินอร์เทิร์นไอร์แลนด์ ก็เป็นสมาชิกของฟีฟ่าและยูฟ่า ทำให้มีสิทธิลงแข่งขันในรายการสำคัญต่างๆ ยกเว้นกีฬาโอลิมปิกที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้ชาติที่เป็นองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรทั้งอังกฤษ, สกอตแลนด์, เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ รวมตัวกันลงแข่งขันในนามทีมชาติสหราชอาณาจักร

ทีมชาตินอร์เทิร์นไอร์แลนด์เคยผ่านเข้าไปแข่งขันฟุตบอลโลก 3 ครั้ง โดยผลงานที่ดีที่สุดคือการเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ในฟุตบอลโลก 1958 และ ฟุตบอลโลก 1982 ส่วนในปี 1986 ตกรอบแรก นอกจากนี้ยังผ่านเข้าไปเล่นในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปเป็นครั้งแรกในปี 2016

ประวัติ

ยุคทีมชาติไอร์แลนด์

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882 , 15 เดือน หลังจากก่อตั้งสมาคมฟุตบอลไอริช (IFA) ทีมชาติไอร์แลนด์ได้ลงแข่งขันฟุตบอลระดับชาติเป็นครั้งแรก โดยเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรกับทีมชาติอังกฤษ ที่เมืองเบลฟาสต์ ซึ่งผลการแข่งขันนัดดังกล่าว ทีมชาติไอร์แลนด์เป็นฝ่ายแพ้คาบ้านไปถึง 13–0 และเป็นสถิติแพ้ขาดลอยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ทีมชาติมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสถิติชนะขาดลอยมากที่สุดของทีมชาติอังกฤษอีกด้วย

ปี ค.ศ. 1884 ไอร์แลนด์ได้ลงแข่งขันในบริติชโฮมแชมเปียนชิป ที่จัดขึ้นเป็นปีแรก และแพ้รวดตลอดการแข่งขัน โดยถูกยิงมากถึง 19 ประตู และยิงได้แค่ประตูเดียว หลังจากนั้นไอร์แลนด์ ก็ยังไม่สามารถเอาชนะทีมคู่แข่งในการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติได้เลยแม้แต่นัดเดียว จนกระทั่งวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ไอร์แลนด์ก็สามารถเอาชนะคู่แข่งได้เป็นครั้งแรก โดยเป็นการเอาชนะทีมชาติเวลส์ ไป 4–1 ที่เมืองเบลฟาสต์

ปี ค.ศ. 1899 สมาคมฟุตบอลไอริช ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงกฏการเรียกตัวผู้เล่นมาติดทีมชาติ จากเดิมเฉพาะผู้เล่นที่อาศัยอยู่ในเกาะไอร์แลนด์เท่านั้น ที่จะมีสิทธิถูกเรียกตัวมาเล่นให้ทีมชาติ และผู้เล่นส่วนใหญ่จะคัดเลือกมาจากไอริช ลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก 3 สโมสรฟุตบอลในเมืองเบลฟาสต์ ได้แก่ ลินฟิลด์, คลิฟตันวิลล์ และ ดิสทิลเลรี , ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1899 ในการแข่งขันกับทีมชาติเวลส์ มีผู้เล่นที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเกาะไอร์แลนด์ ถูกเรียกมาติดทีมชาติถึง 4 ราย จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ไอร์แลนด์สามารถเอาชนะไปได้ 1–0 และอีก 3 สัปดาห์ถัดมา ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1899 อาร์ชี กู๊ดออล นักฟุตบอลจากสโมสรแอสตันวิลลา ที่เป็น 1 ใน 4 ผู้เล่นที่อาศัยอยู่นอกเกาะไอร์แลนด์ กลายเป็นผู้เล่นที่อายุมากที่สุดของทีมชาติในช่วงศตวรรษที่ 19 ที่สามารถทำประตูให้ทีมชาติได้ โดยเขาทำประตูได้ในนัดที่แพ้ทีมชาติสกอตแลนด์ 9–1 ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุ 34 ปี 279 วัน

ปี ค.ศ. 1920 สหราชอาณาจักรได้ออกพระราชบัญญัติรัฐสภาไอร์แลนด์ขึ้น ทำให้ต่อมาเกาะไอร์แลนด์ได้ถูกแบ่งแยกการปกครองออกเป็น 2 ส่วน คือไอร์แลนด์เหนือ และ ไอร์แลนด์ใต้ ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1922 ไอร์แลนด์ใต้จะประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร กลายเป็นเสรีรัฐไอริช

ผู้เล่นคนสำคัญ

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.