มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมุหมนตรีและองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่ ราชเลขานุการและอธิบดีกรมราชเลขานุการ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข้อมูลเบื้องต้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์, ราชเลขานุการ ...
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสมมตอมรพันธุ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
Thumb
ราชเลขานุการ
ดำรงตำแหน่ง13 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2455
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี
สมุหมนตรี[1]
ดำรงตำแหน่ง16 ธันวาคม พ.ศ. 2453
- 27 เมษายน พ.ศ. 2458
เสนาบดีที่ปรึกษา[2]
ดำรงตำแหน่ง2 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
- 27 เมษายน พ.ศ. 2458
ประสูติ7 กันยายน พ.ศ. 2403
สิ้นพระชนม์21 เมษายน พ.ศ. 2458 (54 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าจำรัส สวัสดิกุล
นักสุดาดวง
หม่อม
หม่อมเพิ่ม สวัสดิกุล ณ อยุธยา
หม่อมตลับ สวัสดิกุล ณ อยุธยา[3]
พระบุตรหม่อมเจ้าใหญ่ สวัสดิกุล
หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล
หม่อมเจ้ามงคลประวัติ สวัสดิกุล
ราชสกุลสวัสดิกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาท้าวทรงกันดาล (หุ่น) ท.จ.ว.
ลายพระอภิไธยThumb
ปิด

พระประวัติ

Thumb
วังกรมพระสมมตอมรพันธุ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ มีพระนามเดิมเมื่อแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหุ่น (ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวทรงกันดาล)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2423 ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าไปรเวตสิเกรตารี (ราชเลขานุการ) กำกับดูแลกรมพระอาลักษณ์ จนกระทั่ง พ.ศ. 2435 กรมพระอาลักษณ์ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง เรียกว่า กระทรวงมุรธาธร และโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ ซึ่งเดิมอยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติมาขึ้นกับกระทรวงมุรธาธร

ช่วงปลาย พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และกรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่อีกตำแหน่งหนึ่ง[4]

ต่อมาใน พ.ศ. 2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสด็จไปตรวจราชการที่หัวเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ไปทรงบังคับบัญชาราชการในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ และให้กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ทรงบังคับบัญชาราชการแทนในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรเป็นการชั่วคราว

ในช่วงปลายรัชกาล ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2450 พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2429 และทรงเลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2443

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ บรมธรรมิกราชวงษ์วิสุทธิ วชิราวุธราชปฤจฉานุวัตน์ รัตนบัณฑิตยชาติย์ สุขุมราชมันตนาธิบดี เมตตาสีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนคุณาลงกรณ์ ธรรมาทรบพิตร ทรงศักดินา 15,000[5] ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอก[6] ได้ดำรงตำแหน่งสมุหมนตรี และเป็นเสนาบดีที่ปรึกษา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2458 เวลา 15:02 น.[7] สิริพระชันษาได้ 55 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิกุล

พระกรณียกิจที่สำคัญ

พระโอรสและพระธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิกุล มีพระชายา 1องค์, ชายา 1 องค์ และหม่อม 2 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมเจ้าหญิงจำรัส (ราชสกุลเดิม: นิลรัตน) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
  2. หม่อมตลับ
  3. หม่อมเพิ่ม
  4. นักสุดาดวง ท.จ.[16] พระธิดาในพระองค์เจ้าแก้วมโนหอแห่งกัมพูชา พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดสระเกษ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2451 (ร.ศ.127) ได้รับพระราชทานผ้าไตร 3 ไตร เงิน 200 เฟื้อง ผ้าขาวพับ 4 พับ เครื่องประโคมศพ กลองชนะ 10 จ่าปี 1 ฉัตรเบญจา 10 คัน[17]
ข้อมูลเพิ่มเติม พระรูป, พระนาม ...
พระรูปพระนามพระมารดาประสูติสิ้นชีพิตักษัยคู่สมรส
1. หม่อมเจ้าหญิงใหญ่7 สิงหาคม พ.ศ. 2428ในวันประสูติ
Thumb2. หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์หม่อมเพิ่ม28 พฤศจิกายน พ.ศ. 242823 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483หม่อมเกื้อ (ณ ระนอง)
ไฟล์:หม่อมเจ้ามงคลประวัติ สวัสดิกุล.JPG3. หม่อมเจ้ามงคลประวัติ (ท่านชายตุ๊)หม่อมเจ้าหญิงจำรัส21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 242929 สิงหาคม พ.ศ. 2491หม่อมราชวงศ์หญิงบัว (สนิทวงศ์)
ปิด

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (7 กันยายน พ.ศ. 2403 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2429)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2429 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)[18]
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[19]
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - ปัจจุบัน)
ข้อมูลเบื้องต้น ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์, การทูล ...
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสมมตอมรพันธุ์
Thumb
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
ปิด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศ

พระยศพลเรือน

  • มหาเสวกเอก
  • มหาอำมาตย์เอก[38]

พระยศเสือป่า

  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายหมู่ใหญ่[39]
  • 26 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - นายกองตรี[40]

พงศาวลี

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ...
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.