Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 – ) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 และมีบทบาทในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2555 ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
แม่ทัพภาคที่ 2 กองทัพบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ธวัชชัย สมุทรสาคร |
ถัดไป | ชาญชัย ภู่ทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร[1] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย[2] |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพภาคที่ 2[3] |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา[2][4][5] |
จีระศักดิ์เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 12 เพื่อนร่วมรุ่นพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[6][7]
เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 เขาเป็นผู้นำกำลังพลระดับผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเยี่ยมชมโครงการโซลาร์ฟาร์ม เพื่อความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการให้ความรู้ด้านพลังงานทดแทน[8]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งจีระศักดิ์ ชมประสพ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[9][10][11]
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 จีระศักดิ์ได้เป็นตัวแทนรัฐบาลในการเจรจากับฝ่ายรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ถึงกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่[12][13]
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[14]
ในภายหลัง เขาได้รับแต่งตั้งเป็นอดีตราชองครักษ์พิเศษ[15]
พ.ศ. 2561 เขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[16]
เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจีระศักดิ์ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการ ได้ชี้แจงถึงการยกระดับที่ดินให้กว้างขวางขึ้นโดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่แก้ปัญหาเรื่องที่ดิน ตลอดจนกำหนดให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง เนื่องด้วยมีความเกี่ยวข้องในการจัดทำแนวเขตแบบดิจิทัล[1][17]
เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[18][19] โดยโพสต์ทูเดย์ระบุว่าเขาเป็นคนรู้ใจของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี[20] และใน พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[21][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการประชุมคณะกรรมการการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย–กัมพูชา ที่โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างจีระศักดิ์ แม่ทัพภาคที่ 2[22][23] ประธานการประชุม กับพลเอก เจีย มอน รองผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ 4 กัมพูชา เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นทุกภาคส่วน[24][25][26] ซึ่งในเดือนเดียวกันนี้ จีระศักดิ์ยังได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมทหารไทยที่ภูมะเขือ ใกล้ปราสาทพระวิหาร โดยกำชับให้ทหารไทยในพื้นที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับทหารกัมพูชา[27]
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จีระศักดิ์ได้เป็นตัวแทนเข้าเยี่ยมกำลังพล และมอบเงินช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ จากการเหยียบกับระเบิดบริเวณฝั่งตะวันออกของปราสาทพระวิหาร รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[28]
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 จีระศักดิ์ได้เดินทางเพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพบว่าป่าสงวนจำนวนมากถูกบุกรุก จึงหาทางแก้ปัญหา โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่า 40 เปอร์เซ็นต์[29] และในเดือนธันวาคม เขาได้เดินทางพบปะชาวบ้านเผ่าปกาเกอะญอ 7 หมู่บ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาคนอยู่กับป่า[30]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.