Remove ads
ส่วนกำลังรบของกองทัพบกไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) ของกองทัพบกไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2491 รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ตั้ง กองบัญชาการที่ค่ายสุรนารี ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
กองทัพภาคที่ 2 | |
---|---|
ตราประจำกองทัพภาคที่ 2 | |
ประจำการ | พ.ศ. 2491 – ปัจจุบัน |
ประเทศ | ไทย |
ขึ้นต่อ | พระมหากษัตริย์ไทย |
เหล่า | กองทัพบกไทย |
รูปแบบ | ผสมเหล่า |
กำลังรบ | กองทัพ |
ขึ้นกับ | กองทัพบกไทย |
กองบัญชาการ | ค่ายสุรนารี ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 |
วันสถาปนา | 4 กันยายน |
เว็บไซต์ | https://web.army2.mi.th/ |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พลโท บุญสิน พาดกลาง[1] |
ผบ. สำคัญ | พลเอก กฤษณ์ สีวะรา พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี พลเอก วิมล วงศ์วานิช พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ในปี พ.ศ. 2491 กองทัพบกได้จัดตั้งกองทัพที่ 2 ขึ้นใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2491 ลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2491 โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายหัวหนองบัว จังหวัดนครราชสีมา มีกองพลที่ 3 เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพ หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงการจัดใหม่อีกหลายครั้ง เช่น ปี พ.ศ. 2493 จัดตั้ง กองพลที่ 6 เพิ่มขึ้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี มีหน่วยขึ้นตรง 2 กรม คือ กรมทหารราบที่ 6 และ กรมทหารราบที่ 16 ส่วนกองพลที่ 3 คงมี กรมทหารราบที่ 3 และ กรมทหารราบที่ 13 เป็นหน่วยขึ้นตรง
ปี พ.ศ. 2499 ให้แยกส่วนกำลังรบกับส่วนภูมิภาคออกจากกัน ปี พ.ศ. 2500 มีคำสั่งกองทัพบก ด่วนมาก ที่ 358/2500 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ให้ยุบกองทัพที่ 2 และกองพลที่ 6 แปรสภาพเป็นภาคทหารบกที่ 2 ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2499 ซึ่งกำหนดไว้ว่าภาคทหารบกมีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหารบกโดยตรงกับมีหน้าที่ปกครองและบริการหน่วยรบ ส่วนกำลังรบ เช่น กองพลที่ 3 เป็นหน่วยขึ้นตรงกับกองทัพบก แต่ให้ฝากการบังคับบัญชากับภาคทหารบกที่ 2 ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 กองทัพบกได้มีคำสั่งที่ 136/9122 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2501 ให้แปรสภาพภาคทหารบกที่ 2 เป็นกองทัพภาคที่ 2 มีอำนาจปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารทั้งสิ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งที่เป็นส่วนกำลังรบและส่วนภูมิภาค (ตามพระราชกฤษฎีกา) ดังนั้นกองพลที่ 3 จึงกลับมาเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 2 ตั้งแต่นั้นมา[2]
ดังนั้นกองทัพภาคที่ 2 จึงถือเอาวันที่ 4 กันยายนของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนากองทัพภาคที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2491 มีผลบังคับใช้[3]
รายนามแม่ทัพภาค | |||
ลำดับ | นาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | พลโท หลวงวีระโยธา (วีระ วีระโยธา) | พ.ศ. 2491 - 2493 | |
2 | พลโท หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (ดล บุนนาค) | พ.ศ. 2493 - 2494 | |
3 | พลโท ขุนไสวแสนยากร (ไสว ไสวแสนยากร) | พ.ศ. 2494 - 2497 | |
4 | พลโท ครวญ สุทธานินทร์ | พ.ศ. 2497 - 2498 | |
5 | พลโท สนิท สนิทยุทธการไทยยานนท์ | พ.ศ. 2498 - 2499 | |
6 | พลโท หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ (สวัสดิ์ คุรุพันธุ์) | พ.ศ. 2499 - 2500 | |
7 | พลโท ชลอ จารุกลัส | พ.ศ. 2500 - 2503 | |
8 | พลโท กฤษณ์ สีวะรา | พ.ศ. 2503 - 2506 | |
9 | พลโท จิตต์ สุนทรานนท์ | พ.ศ. 2506 - 2507 | |
10 | พลโท ธงเจิม ศังขวณิช | พ.ศ. 2507 - 2512 | |
11 | พลโท จำลอง สิงหะ | พ.ศ. 2512 - 2513 | |
12 | พลโท พโยม พหุลรัต | พ.ศ. 2513 - 2516 | |
13 | พลโท สวัสดิ์ มักการุณ | พ.ศ. 2516 - 2517 | |
14 | พลโท เปรม ติณสูลานนท์ | พ.ศ. 2517 - 2520 | |
15 | พลโท แสวง จามรจันทร์ | พ.ศ. 2520 - 2521 | |
16 | พลโท ลักษณ์ ศาลิคุปต | พ.ศ. 2521 - 2524 | |
17 | พลโท พักตร์ มีนะกนิษฐ | พ.ศ. 2524 - 2527 | |
18 | พลโท พิศิษฐ์ เหมะบุตร | พ.ศ. 2527 - 2529 | |
19 | พลโท อิสระพงศ์ หนุนภักดี | พ.ศ. 2529 - 2532 | |
20 | พลโท วิมล วงศ์วานิช | พ.ศ. 2532 - 2533 | |
21 | พลโท ไพบูลย์ ห้องสินหลาก | พ.ศ. 2533 - 2534 | |
22 | พลโท อารียะ อุโฆษกิจ | พ.ศ. 2534 - 2535 | |
23 | พลโท อานุภาพ ทรงสุนทร | พ.ศ. 2535 - 2537 | |
24 | พลโท สุรยุทธ์ จุลานนท์ | พ.ศ. 2537 - 2540 | |
25 | พลโท เรวัต บุญทับ | พ.ศ. 2540 - 2541 | |
26 | พลโท สนั่น มะเริงสิทธิ์ | พ.ศ. 2541 - 2544 | |
27 | พลโท เทพทัต พรหโมปกรณ์ | พ.ศ. 2544 - 2546 | |
28 | พลโท ชุมแสง สวัสดิสงคราม | พ.ศ. 2546 - 2547 | |
29 | พลโท เหิร วรรณประเสริฐ | พ.ศ. 2547 - 2548 | |
30 | พลโท สุเจตน์ วัฒนสุข | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2550 | |
31 | พลโท สุจิตร สิทธิประภา | 1 เมษายน พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
32 | พลโท วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552 | |
33 | พลโท วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553 | |
34 | พลโท ธวัชชัย สมุทรสาคร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
35 | พลโท จีระศักดิ์ ชมประสพ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 | |
36 | พลโท ชาญชัย ภู่ทอง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
37 | พลโท ธวัช สุกปลั่ง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
38 | พลโท วิชัย แชจอหอ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
39 | พลโท ธรากร ธรรมวินทร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 | |
40 | พลโท ธัญญา เกียรติสาร | 1 เมษายน พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563[5][6] | |
41 | พลโท ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564[7] | |
42 | พลโท สวราชย์ แสงผล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566[8] | |
43 | พลโท อดุลย์ บุญธรรมเจริญ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - 30 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
44 | พลโท บุญสิน พาดกลาง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน | |
หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี[9]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.